แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) ยันรับงบ สสส.ทำโครงการเกี่ยวกับสุขภาพ แจงสำรวจภูมิทัศน์การเมืองไทย เหตุวางแผนพัฒนาสุขภาพต้องเข้าใจการเมืองด้วย ชี้มีผลต่อความสัมพันธ์คนในชุมชน เผยปิดเว็บไซต์เพราะสิ้นสุดโครงการ เร่งย้ายข้อมูลเดิมมาดูแลเอง
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ผู้อำนวยการแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) กล่าวถึงกรณีรับงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าไม่ได้เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ว่า นสธ.ประกอบด้วยชุดโครงการ 12 เรื่องที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ อาทิ นโยบายการนำเข้าอาหารปลอดภัย นโยบายการแก้ไขปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ นโยบายเพื่อการพัฒนาการแพทย์แผนไทย นโยบายการจัดการภัยพิบัติ นโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งชุดโครงการ “สู่อนาคตไทย” ที่ถูกระบุในข่าว เป็นเพียง 1 ใน 12 ชุดโครงการเท่านั้น ที่ระบุว่าโครงการส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเมือง จึงไม่เป็นความจริง โดยชุดโครงการวิจัย “สู่อนาคตไทย” เป็นการศึกษาแนวโน้มและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กระทบกับสุขภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยในสองทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของสังคมชนบท อนาคตของเกษตรกรรมไทย แรงงานข้ามชาติ และฉากทัศน์ชีวิตคนไทย พ.ศ. 2567 เป็นต้น ส่วนการศึกษาผลกระทบของภูมิทัศน์การเมืองไทย ที่ระบุว่าเป็นเรื่องการเมืองนั้น การวางแผนพัฒนาสุขภาพของประชาชนนั้นย่อมต้องเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคนในชุมชนและสังคมต่อไปในอนาคต
"นสธ.รับผิดชอบโดยสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งให้ความสำคัญในการส่งเสริมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน ตามแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ที่ระบุในกฎบัตรออตตาวา ที่ได้รับการยอมรับในสากล ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพไว้ 5 ประการ และ 1 ใน 5 นั้นก็คือ “การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ” เพื่อก่อให้เกิดกติกาของสังคมที่จะไปสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและกายภาพให้เอื้อต่อการมีชีวิตที่มีคุณภาพดี นอกจากศึกษาวิจัยแล้ว แผนงานนสธ. เน้นสร้างเครือข่ายนักวิจัยจากทุกสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสให้นักวิชาการได้เรียนรู้ มีมุมมองทางสังคมที่เหมาะสม และได้ร่วมมือกันสร้างสังคมที่มีสุขภาวะ" ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าว
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าวว่า ผลงานการศึกษาวิจัยทั้ง 12 ประเด็นได้มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น 1.ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของภาคเหนือและมีผลกระทบด้านสุขภาพที่รุนแรงต่อประชาชนในวงกว้าง เกิดความเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจและสภาพความเป็นอยู่ ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยของ นสธ. ได้ช่วยให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน นำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ 2.ชุดโครงการนโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง ได้นำไปใช้ในการเสนอปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม จนผ่านความเห็นชอบของ ครม.
"สำหรับประเด็นเรื่องการปิดเว็บไซต์นั้น เนื่องมาจากแผนงาน นสธ. ได้สิ้นสุดโครงการตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2557 และปัจจุบันแผนงานนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. แล้ว เพื่อให้ข้อมูลวิจัยที่ยังมีประโยชน์ต่อประเทศได้เผยแพร่ต่อเนื่อง นสธ. จึงกำลังโอนย้ายข้อมูลจากเว็บเดิมที่ปิดไปมาดูแลเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำให้การโอนย้ายใช้เวลา" ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าว
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ผู้อำนวยการแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) กล่าวถึงกรณีรับงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าไม่ได้เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ว่า นสธ.ประกอบด้วยชุดโครงการ 12 เรื่องที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ อาทิ นโยบายการนำเข้าอาหารปลอดภัย นโยบายการแก้ไขปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ นโยบายเพื่อการพัฒนาการแพทย์แผนไทย นโยบายการจัดการภัยพิบัติ นโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งชุดโครงการ “สู่อนาคตไทย” ที่ถูกระบุในข่าว เป็นเพียง 1 ใน 12 ชุดโครงการเท่านั้น ที่ระบุว่าโครงการส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเมือง จึงไม่เป็นความจริง โดยชุดโครงการวิจัย “สู่อนาคตไทย” เป็นการศึกษาแนวโน้มและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กระทบกับสุขภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยในสองทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของสังคมชนบท อนาคตของเกษตรกรรมไทย แรงงานข้ามชาติ และฉากทัศน์ชีวิตคนไทย พ.ศ. 2567 เป็นต้น ส่วนการศึกษาผลกระทบของภูมิทัศน์การเมืองไทย ที่ระบุว่าเป็นเรื่องการเมืองนั้น การวางแผนพัฒนาสุขภาพของประชาชนนั้นย่อมต้องเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคนในชุมชนและสังคมต่อไปในอนาคต
"นสธ.รับผิดชอบโดยสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งให้ความสำคัญในการส่งเสริมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน ตามแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ที่ระบุในกฎบัตรออตตาวา ที่ได้รับการยอมรับในสากล ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพไว้ 5 ประการ และ 1 ใน 5 นั้นก็คือ “การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ” เพื่อก่อให้เกิดกติกาของสังคมที่จะไปสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและกายภาพให้เอื้อต่อการมีชีวิตที่มีคุณภาพดี นอกจากศึกษาวิจัยแล้ว แผนงานนสธ. เน้นสร้างเครือข่ายนักวิจัยจากทุกสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสให้นักวิชาการได้เรียนรู้ มีมุมมองทางสังคมที่เหมาะสม และได้ร่วมมือกันสร้างสังคมที่มีสุขภาวะ" ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าว
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าวว่า ผลงานการศึกษาวิจัยทั้ง 12 ประเด็นได้มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น 1.ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของภาคเหนือและมีผลกระทบด้านสุขภาพที่รุนแรงต่อประชาชนในวงกว้าง เกิดความเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจและสภาพความเป็นอยู่ ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยของ นสธ. ได้ช่วยให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน นำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ 2.ชุดโครงการนโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง ได้นำไปใช้ในการเสนอปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม จนผ่านความเห็นชอบของ ครม.
"สำหรับประเด็นเรื่องการปิดเว็บไซต์นั้น เนื่องมาจากแผนงาน นสธ. ได้สิ้นสุดโครงการตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2557 และปัจจุบันแผนงานนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. แล้ว เพื่อให้ข้อมูลวิจัยที่ยังมีประโยชน์ต่อประเทศได้เผยแพร่ต่อเนื่อง นสธ. จึงกำลังโอนย้ายข้อมูลจากเว็บเดิมที่ปิดไปมาดูแลเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำให้การโอนย้ายใช้เวลา" ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าว