วานนี้ (1 ต.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จะเรียกประชุม คสช. ในวันนี้ (2 ต.ค.) เพื่อพิจารณาบุคคลที่จะมาเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) จำนวน 21 คน และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จำนวน 200 คนว่า อาจจริงก็ได้ ยังไม่กล้าปฏิเสธ อาจมีคนให้ข่าวสื่อ
เมื่อถามว่า ถ้าเรียกประชุมคสช.วันนี้จริง มีรายชื่อพร้อมเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ แล้วใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า รายชื่อทั้งหมดทั้งของ กรธ.และ สปท. อยู่ที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ในฐานะรองหัวหน้า คสช.แล้ว แต่จำนวนมากกว่าที่ควรจะต้องเลือก และถ้าพล.อ.ประยุทธ์ จะเรียกประชุมคสช. ก็สามารถทำได้ หรือ พล.อ.ประยุทธ์ อาจทำเองก็ได้ และแน่นอนว่าเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ กลับมาต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องเผื่อเวลาในการติดต่อยืนยัน และการพิมพ์รายชื่อ เพราะทั้ง กรธ.และสปท. ไม่ต้องนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ สามารถประกาศในราชกิจานุเบกษาได้เลย ฉะนั้นใช้เวลา 1-2 วัน ก็สามารถทำได้ และภายในวันที่ 5 ต.ค.ก็ยังสามารถทำได้
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ ถ้าเรียกประชุมคสช.วันนี้ จะได้รายชื่อกรธ.และสปท. ครบ นายวิษณุ กล่าวว่า "น่าจะเป็นไปได้" เมื่อถามว่า สัดส่วนของกรรมการกรธ. มาจากทหารด้วยหรือไม่ นายวิษณุ ตอบว่า เป็นธรรมดาที่ต้องมีบ้าง ซึ่งไม่แปลกประหลาด แต่จะมีมากมีน้อย อีกเรื่องหนึ่ง ถ้ามีมากก็ประหลาด เมื่อถามว่า กรธ.มีมาจากอดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ขอไม่ตอบ เพราะกำลังรอให้นายกฯ พิจารณาบางประเด็นอยู่
เมื่อถามว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ สมาชิกคสช. ตอบรับที่จะมาเป็นประธานกรธ.แล้วหรือยัง นายวิษณุ กล่าวว่า ท่านยังไม่ตอบเลย เมื่อคืนวันที่ 30 ก.ย. ยังทานข้าวกับท่าน ซึ่งอยู่กันหลายคน ท่านก็ยังไม่ให้คำตอบ ท่านบอกว่า ขอหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งนายกฯ ก็มีเรื่องต้องหารือกับนายมีชัย เพราะฉะนั้น ยังไม่มีคำตอบในส่วนนี้ และได้ยินว่านายกฯ ก็มีนัดคนอื่นหารือด้วยเหมือนกัน ตามที่เห็นตามข่าว อย่างไรก็ตาม เรื่องของกรธ.และสปท. คนที่จะตัดสินใจเรื่องนี้คือนายกฯ และหัวหน้าคสช.
เมื่อถามว่าการประชุมคสช. นายมีชัย จะมาร่วมประชุมด้วยใช่หรือไม่ เพราะเป็นสมาชิกคสช.ด้วย นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นไปได้ ตนถึงได้บอกว่า ท่านมีความจำเป็นต้องพบกัน เพราะในเมื่อคสช.ต้องเป็นคนเลือก และท่านก็อยู่ในคสช.ด้วย
** ชม"บิ๊กตู่"แจงยูเอ็นเคลียร์โรดแมป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องบทบาทของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. บนเวทีที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น)ว่า ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และนายกฯ ได้ยืนยันความตั้งใจที่จะเดินตามโรดแมป และยืนยันที่จะมีส่วนร่วมในการเมือง หรือประเด็นของเวทีของประชาคมโลกของระหว่างประเทศ
ส่วนที่นายกฯประกาศโรดแมปบนเวที จะเป็นการผูกมัดหรือไม่นั้น ตนเห็นว่า นายกฯพูดตามเนื้อหาสาระของกติกาที่ได้วางเอาไว้ แต่ต้องบอกว่า ไม่ค่อยเป็นธรรมเท่าไร ที่ในต่างประเทศมีการไปเขียน หรือไปพูดกันทำนองว่า ทางคสช. ไม่มีความชัดเจน หรือไม่มีความตั้งใจในการที่จะคืนกลับสู่สภาวะปกติ โดยยกเอากรณีที่ สปช. คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่จริงตนบอกแล้วว่า หลายคนต้องการให้คว่ำร่าง เพราะเห็นว่าเป็นกติกาที่น่าจะมีปัญหา จึงไม่คิดว่าขณะนี้ไม่มีใครจงใจอยากให้เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นอีก
ส่วนที่นายกฯ ประกาศถึงโรดแมป 6–4,6–4 นั้น ตนคิดว่าเป็นการเพิ่มความชัดเจนระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นการไปประกาศตรงนี้ ก็อาจจะช่วยทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้น เพราะการที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่า มองไม่เห็นว่าประเทศไทยจะกลับเข้าสู่การเลือกตั้งได้อย่างไร ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น และคำประกาศนี้ ไม่ใช่ชาวโลกที่รับรู้ แต่ชาวไทยก็รับรู้ จึงต้องถือว่าเป็นความตั้งใจของคสช. ถ้าไม่มีอุบัติเหตุอะไรจริงๆก็ควรจะเดินไปตามนี้
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง การคัดเลือก สปท. และ กรธ. ที่นายกฯต้องตัดสินใจ หลังกลับจากยูเอ็น ว่า ทั้งหมดเป็นอำนาจและดุลพินิจของนายกฯ อยู่แล้ว คงต้องรอดูอย่างเดียว ตนเชื่อว่าคงไม่มีปัญหา เพราะมีคนอยากเป็นเยอะ อีกทั้งนายกฯ ก็บอกว่าไม่เอาพวกวิ่งเต้น จึงสะท้อนการมีส่วนร่วมจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ดี ในแง่ของสภาขับเคลื่อนฯ เพราะตนคิดว่าไม่มีความจำเป็นที่นายกฯ ต้องกังวลอะไร เนื่องจากเป็นเวทีการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่เวทีที่สามารถตัดสินชี้ขาด หรือมีอำนาจใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้ากระจายให้มากที่สุด มันก็จะช่วยให้การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูปนั้นกว้างขวางที่สุด
ส่วนกรธ.นั้น ต้องบอกว่าคนที่จะทำหน้าที่นี้ได้ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญทั้งด้านกฎหมาย รัฐศาสตร์ ประสบการณ์การบริหาร ตนเคยย้ำว่าไม่คิดว่า กรธ.ทั้ง 21 คน หรือแม้แต่ประธานกรธ. จะมาชี้ขาดทุกอย่างได้ เพราะเรื่องบุคคลนั้นเป็นเรื่องรอง คนเก่งแต่ถ้าหากว่าไม่เข้าใจในที่สุดก็จะทำงานไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นเงื่อนไขของการกำหนดวิธีการทำงาน คือการตีโจทย์ให้ถูก
**อ้างปชช.ยอมรับ"อานันท์"มากกว่า"มีชัย"
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่ปรากฏรายชื่อทหารที่จะเข้าร่วมเป็น กรธ. จำนวนมากว่า เรื่องนี้อยู่ที่ความตั้งใจของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าจะให้รัฐธรรมนูญออกมาอย่างไร ตามที่ได้ประกาศไว้ในที่ประชุมสหประชาชาติ ว่าจะให้ประชาชนมีส่วนร่วม ต้องแสดงเจตนาให้ชัดจากการแต่งตั้งกรธ. และสิ่งที่ใหญ่กว่าเรื่องตัวบุคคล คือเรื่องเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ คนที่มาเป็นประธานกรธ. จะมีทัศนะที่เปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นประชาชน หรือกล้าเห็นต่างจากคสช. หรือไม่ นั่นคือสิ่งสำคัญ
ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนมากกว่า เนื่องจากมีประสบการณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งถ้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน กรธ. ก็สามารถนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาแก้ไขปรับปรุงประเด็นการตรวจสอบที่เป็นจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ แต่สัญญาณจากแม่น้ำทุกสายใน คสช. ก็ส่งเสียงเชียร์แต่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ตนคาดว่ารายชื่อกรธ. ที่ออกมา จะไม่ต่างกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุดนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งทำตามคสช.ทุกอย่าง แต่ก็ยังถูกทิ้งจากเรือแป๊ะ ลงทะเล
"นายกรัฐมนตรีต้องแสดงเจตนาให้ชัดเจน ในเรื่องประชาธิปไตยที่เป็นสากล ดังที่ได้ประกาศไว้ในที่ประชุมสหประชาชาติ ใครจะเป็นประธาน กรธ. อยู่ที่นายกฯจะตัดสินใจ น่าเสียดายนายอานันท์ ที่น่าจะได้รับการยอมรับจากประชาชนมากกว่า แต่ดูองคาพยพแล้วมาทางนายมีชัย " นายจตุพร กล่าว
** แนะกรธ.อย่าเขียนรธน.แบบล่อเป้า
นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ หากอยากให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติไปได้ ก็ต้องพยายามเขียนอย่าให้มีประเด็นที่พรรคการเมืองจะนำมาโจมตีได้ อย่าเขียนล่อเป้าแบบร่างที่ผ่านมา ส่วนที่สำคัญคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่ผ่าน สปช. เนื้อหาหลายๆ ส่วนดีมาก เช่น สิทธิของประชาชน แต่มีประเด็นที่ถูกหยิบมาโจมตีเพียงส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง เช่น ที่มานายกฯ การเลือกตั้งส.ส. และที่มาส.ว. จนทำให้เกิดกระแสต่อต้าน และทำให้ถูกโหวตคว่ำในที่สุด หาก กรธ. สามารถปรับแก้ตรงนี้ให้เป็นที่ยอมรับของฝ่ายการเมือง และฝ่ายผู้มีอำนาจได้ รวมทั้งต้องเขียนอำนาจของคณะกรรมการยุทธ์ศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.)ให้ชัดเจน เชื่อว่าจะผ่านการทำประชามติไปได้
ด้านนายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกระแสข่าวที่ปรากฏรายชื่อทหาร ที่จะเข้าร่วมเป็น กรธ. จำนวนมาก ว่า ควรดูเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญว่ามาในรูปแบบไหน เนื่องจากทหารมีหลายส่วน ทหารส่วนที่เข้าใจประชาธิปไตยก็มีเยอะ ถ้าเอาทหารส่วนนี้มาร่างก็พอไปได้ จะทำให้เกิดความก้าวหน้าไม่มีปัญหา แต่ถ้าเอาทหารที่มีความคิดแนวอนุรักษ์นิยม ขวาจัด ล้าหลัง รัฐธรรมนูญก็ออกมาสร้างปัญหาแบบเดิมๆ ที่จะทำให้ไม่ผ่านการทำประชามติ เนื่องจากประชาชนไม่ยอมรับ ก็จะถูกมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจต่อไปอีก ดังนั้นจึงอยู่ที่เจตนารมณ์ ว่าเอาทหารแบบไหนมาทำรัฐธรรมนูญให้ออกมาแบบเดิม หรือเป็นประชาธิปไตยก้าวหน้า
เมื่อถามว่า ถ้าเรียกประชุมคสช.วันนี้จริง มีรายชื่อพร้อมเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ แล้วใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า รายชื่อทั้งหมดทั้งของ กรธ.และ สปท. อยู่ที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ในฐานะรองหัวหน้า คสช.แล้ว แต่จำนวนมากกว่าที่ควรจะต้องเลือก และถ้าพล.อ.ประยุทธ์ จะเรียกประชุมคสช. ก็สามารถทำได้ หรือ พล.อ.ประยุทธ์ อาจทำเองก็ได้ และแน่นอนว่าเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ กลับมาต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องเผื่อเวลาในการติดต่อยืนยัน และการพิมพ์รายชื่อ เพราะทั้ง กรธ.และสปท. ไม่ต้องนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ สามารถประกาศในราชกิจานุเบกษาได้เลย ฉะนั้นใช้เวลา 1-2 วัน ก็สามารถทำได้ และภายในวันที่ 5 ต.ค.ก็ยังสามารถทำได้
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ ถ้าเรียกประชุมคสช.วันนี้ จะได้รายชื่อกรธ.และสปท. ครบ นายวิษณุ กล่าวว่า "น่าจะเป็นไปได้" เมื่อถามว่า สัดส่วนของกรรมการกรธ. มาจากทหารด้วยหรือไม่ นายวิษณุ ตอบว่า เป็นธรรมดาที่ต้องมีบ้าง ซึ่งไม่แปลกประหลาด แต่จะมีมากมีน้อย อีกเรื่องหนึ่ง ถ้ามีมากก็ประหลาด เมื่อถามว่า กรธ.มีมาจากอดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ขอไม่ตอบ เพราะกำลังรอให้นายกฯ พิจารณาบางประเด็นอยู่
เมื่อถามว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ สมาชิกคสช. ตอบรับที่จะมาเป็นประธานกรธ.แล้วหรือยัง นายวิษณุ กล่าวว่า ท่านยังไม่ตอบเลย เมื่อคืนวันที่ 30 ก.ย. ยังทานข้าวกับท่าน ซึ่งอยู่กันหลายคน ท่านก็ยังไม่ให้คำตอบ ท่านบอกว่า ขอหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งนายกฯ ก็มีเรื่องต้องหารือกับนายมีชัย เพราะฉะนั้น ยังไม่มีคำตอบในส่วนนี้ และได้ยินว่านายกฯ ก็มีนัดคนอื่นหารือด้วยเหมือนกัน ตามที่เห็นตามข่าว อย่างไรก็ตาม เรื่องของกรธ.และสปท. คนที่จะตัดสินใจเรื่องนี้คือนายกฯ และหัวหน้าคสช.
เมื่อถามว่าการประชุมคสช. นายมีชัย จะมาร่วมประชุมด้วยใช่หรือไม่ เพราะเป็นสมาชิกคสช.ด้วย นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นไปได้ ตนถึงได้บอกว่า ท่านมีความจำเป็นต้องพบกัน เพราะในเมื่อคสช.ต้องเป็นคนเลือก และท่านก็อยู่ในคสช.ด้วย
** ชม"บิ๊กตู่"แจงยูเอ็นเคลียร์โรดแมป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องบทบาทของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. บนเวทีที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น)ว่า ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และนายกฯ ได้ยืนยันความตั้งใจที่จะเดินตามโรดแมป และยืนยันที่จะมีส่วนร่วมในการเมือง หรือประเด็นของเวทีของประชาคมโลกของระหว่างประเทศ
ส่วนที่นายกฯประกาศโรดแมปบนเวที จะเป็นการผูกมัดหรือไม่นั้น ตนเห็นว่า นายกฯพูดตามเนื้อหาสาระของกติกาที่ได้วางเอาไว้ แต่ต้องบอกว่า ไม่ค่อยเป็นธรรมเท่าไร ที่ในต่างประเทศมีการไปเขียน หรือไปพูดกันทำนองว่า ทางคสช. ไม่มีความชัดเจน หรือไม่มีความตั้งใจในการที่จะคืนกลับสู่สภาวะปกติ โดยยกเอากรณีที่ สปช. คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่จริงตนบอกแล้วว่า หลายคนต้องการให้คว่ำร่าง เพราะเห็นว่าเป็นกติกาที่น่าจะมีปัญหา จึงไม่คิดว่าขณะนี้ไม่มีใครจงใจอยากให้เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นอีก
ส่วนที่นายกฯ ประกาศถึงโรดแมป 6–4,6–4 นั้น ตนคิดว่าเป็นการเพิ่มความชัดเจนระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นการไปประกาศตรงนี้ ก็อาจจะช่วยทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้น เพราะการที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่า มองไม่เห็นว่าประเทศไทยจะกลับเข้าสู่การเลือกตั้งได้อย่างไร ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น และคำประกาศนี้ ไม่ใช่ชาวโลกที่รับรู้ แต่ชาวไทยก็รับรู้ จึงต้องถือว่าเป็นความตั้งใจของคสช. ถ้าไม่มีอุบัติเหตุอะไรจริงๆก็ควรจะเดินไปตามนี้
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง การคัดเลือก สปท. และ กรธ. ที่นายกฯต้องตัดสินใจ หลังกลับจากยูเอ็น ว่า ทั้งหมดเป็นอำนาจและดุลพินิจของนายกฯ อยู่แล้ว คงต้องรอดูอย่างเดียว ตนเชื่อว่าคงไม่มีปัญหา เพราะมีคนอยากเป็นเยอะ อีกทั้งนายกฯ ก็บอกว่าไม่เอาพวกวิ่งเต้น จึงสะท้อนการมีส่วนร่วมจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ดี ในแง่ของสภาขับเคลื่อนฯ เพราะตนคิดว่าไม่มีความจำเป็นที่นายกฯ ต้องกังวลอะไร เนื่องจากเป็นเวทีการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่เวทีที่สามารถตัดสินชี้ขาด หรือมีอำนาจใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้ากระจายให้มากที่สุด มันก็จะช่วยให้การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูปนั้นกว้างขวางที่สุด
ส่วนกรธ.นั้น ต้องบอกว่าคนที่จะทำหน้าที่นี้ได้ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญทั้งด้านกฎหมาย รัฐศาสตร์ ประสบการณ์การบริหาร ตนเคยย้ำว่าไม่คิดว่า กรธ.ทั้ง 21 คน หรือแม้แต่ประธานกรธ. จะมาชี้ขาดทุกอย่างได้ เพราะเรื่องบุคคลนั้นเป็นเรื่องรอง คนเก่งแต่ถ้าหากว่าไม่เข้าใจในที่สุดก็จะทำงานไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นเงื่อนไขของการกำหนดวิธีการทำงาน คือการตีโจทย์ให้ถูก
**อ้างปชช.ยอมรับ"อานันท์"มากกว่า"มีชัย"
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่ปรากฏรายชื่อทหารที่จะเข้าร่วมเป็น กรธ. จำนวนมากว่า เรื่องนี้อยู่ที่ความตั้งใจของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าจะให้รัฐธรรมนูญออกมาอย่างไร ตามที่ได้ประกาศไว้ในที่ประชุมสหประชาชาติ ว่าจะให้ประชาชนมีส่วนร่วม ต้องแสดงเจตนาให้ชัดจากการแต่งตั้งกรธ. และสิ่งที่ใหญ่กว่าเรื่องตัวบุคคล คือเรื่องเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ คนที่มาเป็นประธานกรธ. จะมีทัศนะที่เปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นประชาชน หรือกล้าเห็นต่างจากคสช. หรือไม่ นั่นคือสิ่งสำคัญ
ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนมากกว่า เนื่องจากมีประสบการณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งถ้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน กรธ. ก็สามารถนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาแก้ไขปรับปรุงประเด็นการตรวจสอบที่เป็นจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ แต่สัญญาณจากแม่น้ำทุกสายใน คสช. ก็ส่งเสียงเชียร์แต่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ตนคาดว่ารายชื่อกรธ. ที่ออกมา จะไม่ต่างกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุดนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งทำตามคสช.ทุกอย่าง แต่ก็ยังถูกทิ้งจากเรือแป๊ะ ลงทะเล
"นายกรัฐมนตรีต้องแสดงเจตนาให้ชัดเจน ในเรื่องประชาธิปไตยที่เป็นสากล ดังที่ได้ประกาศไว้ในที่ประชุมสหประชาชาติ ใครจะเป็นประธาน กรธ. อยู่ที่นายกฯจะตัดสินใจ น่าเสียดายนายอานันท์ ที่น่าจะได้รับการยอมรับจากประชาชนมากกว่า แต่ดูองคาพยพแล้วมาทางนายมีชัย " นายจตุพร กล่าว
** แนะกรธ.อย่าเขียนรธน.แบบล่อเป้า
นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ หากอยากให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติไปได้ ก็ต้องพยายามเขียนอย่าให้มีประเด็นที่พรรคการเมืองจะนำมาโจมตีได้ อย่าเขียนล่อเป้าแบบร่างที่ผ่านมา ส่วนที่สำคัญคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่ผ่าน สปช. เนื้อหาหลายๆ ส่วนดีมาก เช่น สิทธิของประชาชน แต่มีประเด็นที่ถูกหยิบมาโจมตีเพียงส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง เช่น ที่มานายกฯ การเลือกตั้งส.ส. และที่มาส.ว. จนทำให้เกิดกระแสต่อต้าน และทำให้ถูกโหวตคว่ำในที่สุด หาก กรธ. สามารถปรับแก้ตรงนี้ให้เป็นที่ยอมรับของฝ่ายการเมือง และฝ่ายผู้มีอำนาจได้ รวมทั้งต้องเขียนอำนาจของคณะกรรมการยุทธ์ศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.)ให้ชัดเจน เชื่อว่าจะผ่านการทำประชามติไปได้
ด้านนายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกระแสข่าวที่ปรากฏรายชื่อทหาร ที่จะเข้าร่วมเป็น กรธ. จำนวนมาก ว่า ควรดูเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญว่ามาในรูปแบบไหน เนื่องจากทหารมีหลายส่วน ทหารส่วนที่เข้าใจประชาธิปไตยก็มีเยอะ ถ้าเอาทหารส่วนนี้มาร่างก็พอไปได้ จะทำให้เกิดความก้าวหน้าไม่มีปัญหา แต่ถ้าเอาทหารที่มีความคิดแนวอนุรักษ์นิยม ขวาจัด ล้าหลัง รัฐธรรมนูญก็ออกมาสร้างปัญหาแบบเดิมๆ ที่จะทำให้ไม่ผ่านการทำประชามติ เนื่องจากประชาชนไม่ยอมรับ ก็จะถูกมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจต่อไปอีก ดังนั้นจึงอยู่ที่เจตนารมณ์ ว่าเอาทหารแบบไหนมาทำรัฐธรรมนูญให้ออกมาแบบเดิม หรือเป็นประชาธิปไตยก้าวหน้า