เมื่อเวลา 11.30 น. วานนี้ (28 ก.ย.) ที่โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แถลงผลงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ว่า ที่ผ่านมาอยู่เราภายใต้กติกาใหม่ของการจัดการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมา สมช.ได้ทำหน้าที่ต่อเนื่องจาก นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาฯ สมช.คนที่แล้ว โดยมีการนำเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์หลายเรื่อง ทั้งการเสนอแผนการบูรณาการความมั่นคง เพื่อให้เตรียมความพร้อมของชาติในการเผชิญวิกฤต อาทิ นโยบายความมั่นคงทางทะเล ซึ่งมีมูลค่ากว่า 24 ล้านล้านบาท ต่อปี ซึ่งขณะอยู่ระหว่างการพิจารณาของสนช. และยังทำหน้าที่กำหนดกรอบการทำงานในเรื่องการบริหารจัดการชายแดน เพื่อรองรับการเปิดประเทศร่วมกับอาเซียนในปลายปีนี้ และยุทธศาสตร์ การเมืองและความมั่นคงของอาเซียน
นอกจากนี้มีการเสนอยุทธศาสตร์ข่าวกรองแห่งชาติ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยเป็นกรอบทำงานด้านการข่าว ที่จะทำให้กลไกการทำงานด้านการข่าว มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเตรียมเสนอปรับปรุง พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ ฉบับล่าสุดให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบของสมาชิก สมช. มีการเอาสัดส่วนงานด้านความมั่นคงเข้ามามีส่วนร่วม เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ม.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์
ดังนั้น สมช.มีอำนาจหน้าที่ทำให้นโยบายมีการเชื่อมโยงการบริหารแผ่นดินและการบริหารงบประมาณ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง ทั้งนี้หากผ่านการเห็นชอบของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี แล้วจะเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ต่อไป
นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ยังมีการทบทวนเรื่องการก่อการร้ายสากล ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากเดิม เพราะก่อนหน้านี้การก่อการร้ายมีรูปแบบชัดเจน มีองค์กรที่อ้างตัวในการปฏิบัติที่ชัดเจน และมีข้อเรียกร้อง แต่ขณะนี้เป็นการกระทำขององค์กรในประเทศหนึ่งต่ออีกประเทศหนึ่ง เพื่อส่งผลไปยังประเทศหนึ่ง จึงต้องมีการปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อให้ตอบสนองต่อสถานการณ์เหล่านี้
นายอนุสิษฐ กล่าวด้วย ตนขอฝากก่อนที่จะเกษียณ ว่า งานด้านความมั่นคงเป็นเรื่องของทุกคน เป็นเรื่องของประเทศชาติ สิ่งที่ทำเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ หลายเรื่องไม่สามารถพูดได้ แต่หลายเรื่องก็ถูกกำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์ เช่น ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ที่จะนำไปผนวกร่วมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาลด้วย ซึ่งอนาคตจะได้เห็นมิติด้านต่างๆ โดยสังคมก็ต้องมีการปรับตัวในระยะต่อไป ซึ่งภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่ประเทศชาติต้องมีแผนในการเผชิญภัยคุกคามเหล่านั้น
เมื่อถามถึงความคืบหน้าในการพิจารณาตั้งกระทรวงความมั่นคง นายอนุสิษฐ กล่าวว่า เป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น แต่งานความมั่นคงต้องมีการบูรณาการงานกันในทุกเรื่อง เพื่อให้มีเอกภาพ แต่ต้องประเมินถึงความคุ้มค่าในการตั้งกระทรวง ซึ่งจะต้องมีการหารือกันอีกครั้ง แต่เรื่องดังกล่าวไม่ได้ระบุอยู่ในยุทธศาสตร์ 20 ปี แต่อาจจะตั้งขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะกิจเท่านั้น ซึ่งหากมีความจำเป็นต่อประเทศ ก็ต้องหารือกันอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อถามว่า จุดอ่อนด้านความมั่นคงที่น่าเป็นห่วง คือ อะไร นายอนุสิษฐ กล่าวว่า งานในเชิงบูรณาการมีความสำคัญ เพราะวันนี้ภัยคุกคามมีความหลากหลาย หลายหน่วยงานจึงต้องเชื่อมโยงชุดข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ซึ่งภัยคุกคามใหม่นอกจากเรื่องภัยธรรมชาติแล้วยังมีภัยเรื่องโรคระบาดคน สัตว์ ภัยที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ ภัยจากกระแสความรุนแรงในโลกที่เติบโต ขอบเขตการเคลื่อนย้ายของคน สิ่งของ โดยเฉพาะในอนาคตการเปิดอาเซียน ซึ่งต้องมีการทบทวนความร่วมมือในส่วนนี้ ประเทศไทยต้องพัฒนาประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง งานด้านข่าวกรอง และการใช้ข้อมูลที่หลากหลายเพื่อเชื่อมโยงและแก้ไขปัญหาได้ทันที
นายอนุสิษฐ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ สมช.ได้รับมอบหมายในการบูรณาการแก้ไขปัญหาพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งขณะนี้ไม่มีบุคลากร มีเพียงตนคนเดียว จึงต้องใช้บุคลากรจากหน่วยงานอื่น ซึ่งตนเตรียมเสนอต่อ ครม. ให้เพิ่มบุคลากรอีก 48 ตำแหน่ง และหากยังไม่เพียงพอก็จะต้องขอบุคลากรในปีงบประมาณต่อไปอีก และการแก้ไขปัญหาพื้นที่ภาคใต้ยังคงต้องดำเนินการต่อไป โดยเวทีการพูดคุยต้องดำเนินการต่อและขณะนี้สถานการณ์มีแนวโน้มที่ดี อาจจะมีการยกเลิกประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินในบางอำเภอที่ปลอดภัยและไม่มีการเคลื่อนไหว
เมื่อถามว่า การที่ พล.อ.ทวีป เนตรนิยม ว่าที่เลขาฯ สมช. คนใหม่ มาจากหน่วยงานอื่นนั้น จะมีปัญหาต่อการสานงานต่อหรือไม่ นายอนุสิษฐ กล่าวว่า สมช. มีโครงสร้างและทิศทางการทำงานที่เข้มแข็ง และมีนโยบายการทำงานอยู่แล้ว ตนจึงไม่เป็นห่วงเรื่องนี้ พล.อ.ทวีป เข้ามาก็เป็นการกำกับดูแลและประสานงานกับรัฐบาล ส่วนงานด้านบริหาร ทุกคนที่อยู่ในที่นี้ก็ต้องทำงานต่อ
เมื่อถามว่า เมื่อปลดเกษียณแล้ว นายกฯ ขอให้มาช่วยงานด้านความมั่นคง จะมาช่วยหรือไม่ เลขาฯสมช. กล่าวว่า คิดว่าหากตนไปคุยกับนายกฯ ว่าอยากจะทำ เชื่อว่านายกฯ คงไม่ปฏิเสธ และถ้าได้ทำ ก็จะทำอย่างเต็มที่
นอกจากนี้มีการเสนอยุทธศาสตร์ข่าวกรองแห่งชาติ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยเป็นกรอบทำงานด้านการข่าว ที่จะทำให้กลไกการทำงานด้านการข่าว มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเตรียมเสนอปรับปรุง พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ ฉบับล่าสุดให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบของสมาชิก สมช. มีการเอาสัดส่วนงานด้านความมั่นคงเข้ามามีส่วนร่วม เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ม.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์
ดังนั้น สมช.มีอำนาจหน้าที่ทำให้นโยบายมีการเชื่อมโยงการบริหารแผ่นดินและการบริหารงบประมาณ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง ทั้งนี้หากผ่านการเห็นชอบของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี แล้วจะเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ต่อไป
นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ยังมีการทบทวนเรื่องการก่อการร้ายสากล ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากเดิม เพราะก่อนหน้านี้การก่อการร้ายมีรูปแบบชัดเจน มีองค์กรที่อ้างตัวในการปฏิบัติที่ชัดเจน และมีข้อเรียกร้อง แต่ขณะนี้เป็นการกระทำขององค์กรในประเทศหนึ่งต่ออีกประเทศหนึ่ง เพื่อส่งผลไปยังประเทศหนึ่ง จึงต้องมีการปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อให้ตอบสนองต่อสถานการณ์เหล่านี้
นายอนุสิษฐ กล่าวด้วย ตนขอฝากก่อนที่จะเกษียณ ว่า งานด้านความมั่นคงเป็นเรื่องของทุกคน เป็นเรื่องของประเทศชาติ สิ่งที่ทำเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ หลายเรื่องไม่สามารถพูดได้ แต่หลายเรื่องก็ถูกกำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์ เช่น ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ที่จะนำไปผนวกร่วมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาลด้วย ซึ่งอนาคตจะได้เห็นมิติด้านต่างๆ โดยสังคมก็ต้องมีการปรับตัวในระยะต่อไป ซึ่งภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่ประเทศชาติต้องมีแผนในการเผชิญภัยคุกคามเหล่านั้น
เมื่อถามถึงความคืบหน้าในการพิจารณาตั้งกระทรวงความมั่นคง นายอนุสิษฐ กล่าวว่า เป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น แต่งานความมั่นคงต้องมีการบูรณาการงานกันในทุกเรื่อง เพื่อให้มีเอกภาพ แต่ต้องประเมินถึงความคุ้มค่าในการตั้งกระทรวง ซึ่งจะต้องมีการหารือกันอีกครั้ง แต่เรื่องดังกล่าวไม่ได้ระบุอยู่ในยุทธศาสตร์ 20 ปี แต่อาจจะตั้งขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะกิจเท่านั้น ซึ่งหากมีความจำเป็นต่อประเทศ ก็ต้องหารือกันอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อถามว่า จุดอ่อนด้านความมั่นคงที่น่าเป็นห่วง คือ อะไร นายอนุสิษฐ กล่าวว่า งานในเชิงบูรณาการมีความสำคัญ เพราะวันนี้ภัยคุกคามมีความหลากหลาย หลายหน่วยงานจึงต้องเชื่อมโยงชุดข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ซึ่งภัยคุกคามใหม่นอกจากเรื่องภัยธรรมชาติแล้วยังมีภัยเรื่องโรคระบาดคน สัตว์ ภัยที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ ภัยจากกระแสความรุนแรงในโลกที่เติบโต ขอบเขตการเคลื่อนย้ายของคน สิ่งของ โดยเฉพาะในอนาคตการเปิดอาเซียน ซึ่งต้องมีการทบทวนความร่วมมือในส่วนนี้ ประเทศไทยต้องพัฒนาประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง งานด้านข่าวกรอง และการใช้ข้อมูลที่หลากหลายเพื่อเชื่อมโยงและแก้ไขปัญหาได้ทันที
นายอนุสิษฐ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ สมช.ได้รับมอบหมายในการบูรณาการแก้ไขปัญหาพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งขณะนี้ไม่มีบุคลากร มีเพียงตนคนเดียว จึงต้องใช้บุคลากรจากหน่วยงานอื่น ซึ่งตนเตรียมเสนอต่อ ครม. ให้เพิ่มบุคลากรอีก 48 ตำแหน่ง และหากยังไม่เพียงพอก็จะต้องขอบุคลากรในปีงบประมาณต่อไปอีก และการแก้ไขปัญหาพื้นที่ภาคใต้ยังคงต้องดำเนินการต่อไป โดยเวทีการพูดคุยต้องดำเนินการต่อและขณะนี้สถานการณ์มีแนวโน้มที่ดี อาจจะมีการยกเลิกประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินในบางอำเภอที่ปลอดภัยและไม่มีการเคลื่อนไหว
เมื่อถามว่า การที่ พล.อ.ทวีป เนตรนิยม ว่าที่เลขาฯ สมช. คนใหม่ มาจากหน่วยงานอื่นนั้น จะมีปัญหาต่อการสานงานต่อหรือไม่ นายอนุสิษฐ กล่าวว่า สมช. มีโครงสร้างและทิศทางการทำงานที่เข้มแข็ง และมีนโยบายการทำงานอยู่แล้ว ตนจึงไม่เป็นห่วงเรื่องนี้ พล.อ.ทวีป เข้ามาก็เป็นการกำกับดูแลและประสานงานกับรัฐบาล ส่วนงานด้านบริหาร ทุกคนที่อยู่ในที่นี้ก็ต้องทำงานต่อ
เมื่อถามว่า เมื่อปลดเกษียณแล้ว นายกฯ ขอให้มาช่วยงานด้านความมั่นคง จะมาช่วยหรือไม่ เลขาฯสมช. กล่าวว่า คิดว่าหากตนไปคุยกับนายกฯ ว่าอยากจะทำ เชื่อว่านายกฯ คงไม่ปฏิเสธ และถ้าได้ทำ ก็จะทำอย่างเต็มที่