นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวเปิดโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ให้หน่วยงานสำคัญของประเทศ ว่า คณะกรรมการเตรียมการสังคมเศรษฐกิจดิจิตอล (กรรมการดีอี) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความมั่นคงทางไซเบอร์กับระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ ในอนาคตภาครัฐต้องปรับเข้าสู่การบริหารและการบริการด้วยดิจิทัลตามแผนแม่บทที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนการทำงานของหน่วยงานรัฐบาลในส่วนนี้ความมั่นคงปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในระบบ
จากสถิติของศูนย์ประสานการรักษความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ หรือไทยเซิร์ต ในปี 2015 ต้องจัดการกับภัยคุกคามรวม 4,300 กรณี ในจำนวนนี้เป็นภัยคุกคามที่ไม่พึงประสงค์1500 กรณี หรือร้อยละ 35 รองลงมาคือภัยจากการหลอกลวง 1100 กรณี
ทั้งนี้ ประเทศไทยถูกจัดอันดับความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ในลำดับที่ 25 ของโลก และอันดับที่ 2 ในอาเซียน ซึ่งไม่ใช่สถิติที่ดี เพื่อป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้หน่วยงานภาครัฐจึงมีโครงการในการดูแลภัยคุกคามไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมแล้ว 40 หน่วยงาน คาดว่าจะมีหน่วยงานเข้าร่วมในปีนี้อีก 80 หน่วยงานภายในสิ้นปีนี้ และต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งปีครึ่งจากนี้ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐระดับกรมเข้าร่วมครบ 252 หน่วยงาน รัฐบาลมีแนวคิดให้มีการตั้งหน่วยงานดูแลและรักษาความปลอดภัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในหน่วยราชการ เพื่อให้การดูแลความปลอดภัยระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการผลักดันร่างกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ และร่างกฎหมายเพื่อปรับปรุงการทำงานของหน่วยราชการเพื่อการเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งจะมีส่วนทำให้การดูแลและการรักษาความมั่นคงเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทางด้านนายชัยชนะ มิตรพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) กล่าวว่า สถิติภัยคุกคามในประเทศไทยปี 2558 มีภัยคุกคามที่ตรวจพบจำนวน 4,371 กรณี อันดับหนึ่งคือ มัลแวร์ 1,546 กรณี รองลงมาคือพิชชิ่ง 1,141 กรณี และการเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ 1,005 กรณี เว็บไซต์ภาครัฐที่ถูกระบกวนจากภัยคุกคามมากที่สุดคือเว็บไซต์ของหน่วยราชกา รและสถาบันการศึกษา โดยโดเมนเนม .go.th และ ac.th มีสถิติการถูกโจมตีสูงกวาร้อยละ 80 ของภัยคุกคามภาครัฐ เหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้การดูแลความปลอดภัยทำได้ยาก เพราะเว็บไซต์ส่วนใหญ่นิยมจดโดเมนเนมดอทคอม ทำให้การดูแลทำได้ยากกว่า
ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดอันดับความเสี่ยงจากภัยคุกคามในอาเซียนเป็นอันดับสองรองจากอินโดนีเซีย หากมีการป้องกันเฝ้าระวังที่ดีจะแก้ไขปัญหาและทำให้สถิตินี้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้
สำหรับกลยุทธ์หลักในการจัดการปัญหาความมั่นคงไซเบอร์ จำเป็นต้องมีความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงมีกฎหมายและนโยบายชัดเจน การป้องกันและเฝ้าระวังเป็นการลดความเสี่ยงสร้างความพร้อมรับมือภัยคุกคาม
จากสถิติของศูนย์ประสานการรักษความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ หรือไทยเซิร์ต ในปี 2015 ต้องจัดการกับภัยคุกคามรวม 4,300 กรณี ในจำนวนนี้เป็นภัยคุกคามที่ไม่พึงประสงค์1500 กรณี หรือร้อยละ 35 รองลงมาคือภัยจากการหลอกลวง 1100 กรณี
ทั้งนี้ ประเทศไทยถูกจัดอันดับความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ในลำดับที่ 25 ของโลก และอันดับที่ 2 ในอาเซียน ซึ่งไม่ใช่สถิติที่ดี เพื่อป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้หน่วยงานภาครัฐจึงมีโครงการในการดูแลภัยคุกคามไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมแล้ว 40 หน่วยงาน คาดว่าจะมีหน่วยงานเข้าร่วมในปีนี้อีก 80 หน่วยงานภายในสิ้นปีนี้ และต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งปีครึ่งจากนี้ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐระดับกรมเข้าร่วมครบ 252 หน่วยงาน รัฐบาลมีแนวคิดให้มีการตั้งหน่วยงานดูแลและรักษาความปลอดภัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในหน่วยราชการ เพื่อให้การดูแลความปลอดภัยระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการผลักดันร่างกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ และร่างกฎหมายเพื่อปรับปรุงการทำงานของหน่วยราชการเพื่อการเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งจะมีส่วนทำให้การดูแลและการรักษาความมั่นคงเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทางด้านนายชัยชนะ มิตรพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) กล่าวว่า สถิติภัยคุกคามในประเทศไทยปี 2558 มีภัยคุกคามที่ตรวจพบจำนวน 4,371 กรณี อันดับหนึ่งคือ มัลแวร์ 1,546 กรณี รองลงมาคือพิชชิ่ง 1,141 กรณี และการเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ 1,005 กรณี เว็บไซต์ภาครัฐที่ถูกระบกวนจากภัยคุกคามมากที่สุดคือเว็บไซต์ของหน่วยราชกา รและสถาบันการศึกษา โดยโดเมนเนม .go.th และ ac.th มีสถิติการถูกโจมตีสูงกวาร้อยละ 80 ของภัยคุกคามภาครัฐ เหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้การดูแลความปลอดภัยทำได้ยาก เพราะเว็บไซต์ส่วนใหญ่นิยมจดโดเมนเนมดอทคอม ทำให้การดูแลทำได้ยากกว่า
ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดอันดับความเสี่ยงจากภัยคุกคามในอาเซียนเป็นอันดับสองรองจากอินโดนีเซีย หากมีการป้องกันเฝ้าระวังที่ดีจะแก้ไขปัญหาและทำให้สถิตินี้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้
สำหรับกลยุทธ์หลักในการจัดการปัญหาความมั่นคงไซเบอร์ จำเป็นต้องมีความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงมีกฎหมายและนโยบายชัดเจน การป้องกันและเฝ้าระวังเป็นการลดความเสี่ยงสร้างความพร้อมรับมือภัยคุกคาม