ศูนย์สำรวจความคิดเห็น"นิด้าโพล"สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง"พรรคใหม่ นักการเมืองหน้าใหม่ หรือ พรรคและนักการเมืองเดิมๆ" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 - 24 ก.ย.58 จากประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เมื่อถามถึงพรรคการเมืองทุกพรรคต้องไปจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่าร้อยละ 71.68 ระบุเห็นด้วย รองลงมาร้อยละ 15.44 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะไม่มีความจำเป็น และ ร้อยละ 12.80 ไม่ระบุ /ไม่แน่ใจ
สำหรับความต้องการของประชาชน ที่มีต่อ "นักการเมืองหน้าใหม่" กับ"นักการเมืองหน้าเดิมๆ"ภายหลังการเลือกตั้ง พบว่า ร้อยละ 54.08 ระบุ อยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่มากกว่า รองลงมา ร้อยละ 29.36 ระบุ อยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ และนักการเมืองหน้าเดิมในสัดส่วนเท่ากัน ร้อยละ 3.44 ระบุแบบใดก็ได้ ขอแค่ให้เป็นคนดี
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความต้องการของประชาชน ที่มีต่อรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ร้อยละ 58.24 ระบุ อยากเห็นพรรคการเมืองใหม่ มีโอกาสเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ร้อยละ 22.88 ระบุ อยากเห็นพรรคการเมืองเดิม ที่เคยบริหารประเทศเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ร้อยละ 5.36 ระบุควรมีสัดส่วนระหว่างพรรคการเมืองเดิม และพรรคการเมืองใหม่เท่ากัน
** หนุน คสช.ตั้งหลายฝ่ายเข้าร่วม สปท.
นายสุริยะใส กตะศิลารองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวแสดงความเห็นด้วยที่ คสช. จะคัดสรร คณะกรรมการสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย(สปท.) โดยคำนึงถึงความหลากหลายเชิญทุกกลุ่มทุกฝ่ายทุกขั้วเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะกลุ่มขั้วการเมือง ถ้ามีคนเข้าไปร่วมบ้างก็น่าจะดี เพื่อให้เวที สปท.เป็นเวทีขับเคลื่อนการปฏิรูปที่ทุกภาคส่วนมีบทบาทอย่างแท้จริง
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยและ นปช. ออกมาปฏิเสธโดยสิ้นเชิงนั้น นายสุริยะใส กล่าวว่า ถือเป็นสิทธิ แต่เสียดายที่ปฏิเสธเร็วเกินไป เพราะเมื่อเวทีเปิดให้ ก็น่าจะใช้เวทีนี้ให้เกิดประโยชน์เพื่อเสนอแนวคิดเนื้อหาสาระของการปฏิรูป การอ้างไม่สังฆกรรมกับคณะรัฐประหารนั้น ก็ต้องเคารพ แต่ก็อดแคลงใจไม่ได้ว่า แนวคิดเรื่องปฏิรูปของพรรคเพื่อไทย และนปช. หน้าตาเป็นอย่างไร น่าจะเสนอต่อสาธารณะบ้าง การตั้งธงต้านรัฐประหารแต่ไม่เคยเสนอชุดความคิดเรื่องปฏิรูป จะทำให้คนเบื่อหน่าย และหนีห่างการเลือกตั้งมากขึ้น
"การปฏิรูปประเทศเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและความต่อเนื่อง ไม่ควรถูกเว้นวรรคด้วยเหตุเพราะการมีรัฐประหารเท่านั้น ทุกส่วนต้องช่วยกันผลักดันได้บ้างสำเร็จบ้างก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ยิ่งบทเรียนของประชาชน ยิ่งมีคำตอบชัดเจนว่าการฏิรูปในยามปกติโดยนักการเมืองแทบจะไม่เคยมีเลย"นายสุริยะใส กล่าว
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า ในส่วนของตนนั้นประกาศมาตั้งแต่แรกแล้วว่าจะทำเวทีคู่ขนานในนามสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ม.รังสิต ระดมความเห็นจากภาคประชาสังคมเพื่อเสนอแนะต่อ สปท.และ กรธ. ซึ่งในช่วง สปช.เราก็ทำเวทีและทำข้อเสนอปฏิรูปต่อ สปช.และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรร นูญ (กรธ.) เป็นระยะๆ ซึ่งในครั้งนี้ สปท. ม.รังสิต ก็จะเดินหน้าเป็นเวทีสะท้อนจากข้างนอกต่อไป ในส่วนตนแม้มีคนทาบทามเข้าไปเป็น สปท. ก็ได้ปฏิเสธไป แต่ก็ยินดีและสนับสนุนผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านเข้าไปร่วม ซึ่งก็แล้วแต่คสช.จะพิจารณา
**ญาติวีรชน35 ขวาง"มีชัย"นั่งปธ.กรธ.
นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’35 กล่าวถึง กรณีที่มีการเชียร์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ว่า ญาติวีรชนเดือนพฤษภา’35ต้องขัดขวางนายมีชัย เพราะถือเป็นการประหารญาติวีรชนซ้ำอย่างเลือดเย็น เนื่องจากนายมีชัย เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2534 เปิดช่องให้มีนายกฯคนนอก จนนำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ต้นเหตุการนองเลือดทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย ประเทศชาติเสียหายย่อยยับ และยังออกพ.ร.ก.นิรโทษกรรม ให้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ทำให้ญาติวีรชน เป็นพลเมืองชั้นสองจนถึงทุกวันนี้
"ญาติพฤษภาทมิฬ ไม่ได้ขัดขวางนายมีชัยด้วยความแค้น เพราะอโหสิกรรมให้ รสช.ไปหมดแล้ว แต่ไม่อยากให้มีการตอกย้ำรอยแผลเดิมให้เกิดความขัดแย้งใหม่ขึ้นอีก และถึงแม้ท่านจะมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติสอดรับกับช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งต้องได้บุคคลที่รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เพื่อให้การร่างรัฐธรรมนูญ มีความราบรื่น และผ่านความเห็นชอบ จึงขอเรียกร้องให้คนเดือน พฤษภา’35ได้เมตตา ช่วยส่งเสียง ช่วยเหลือครอบครัวญาติที่ต้องดิ้นรนมาตลอด 23 ปี อย่าให้ นายมีชัย และพวกประหารพวกเราให้ตายเป็นครั้งที่
3 และกราบวิงวอนขอร้องนายมีชัย อย่ามาทำร้ายฆ่าลูกหลานเราอีกเลย" นายอดุลย์ กล่าว
นายอดุลย์ กล่าวว่า ตนมอง คสช. ด้วยความเข้าใจที่มีเจตนารมณ์แรงกล้า ปรารถนาเห็น ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน มีความสงบสุขสันติ ซึ่งจากการร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก สังคมคาดหวังจะเห็นการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง แต่ก็ล้มเหลว ดังนั้นการเลือกสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ และกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ โดยเฉพาะประธาน กรธ. เป็นประเด็นที่ประชาสังคมให้ความคาดหวังสูง เพราะหากได้บุคคลที่มารับคำสั่งร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสืบทอดอำนาจ คสช. อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งของประชาชน และไม่ยอมให้ผ่านประชามติ จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ คสช. ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. จะต้องตัดสินใจให้ถูกต้อง เพราะหากสามารถสร้างปรองดองของคนในชาติได้ คสช.ก็มีแนวทางลงแบบสง่างาม ไม่ใช่ลงแบบผู้นำรสช. ที่มีแต่ความเจ็บปวดของทุกฝ่าย
**พลังชลส่ง"สันตศักย์"ร่วมงาน สปท.
นายสุระ เตชะทัต โฆษกพรรคพลังชล กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ออกมาเรียกร้องให้พรรคการเมืองส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ว่า พรรคพลังชล เข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบันตามที่หลายฝ่ายอยากให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางต่างๆ ต่อการปฏิรูปประเทศ ยอมรับว่า มีการประสานงานมา เพียงแต่ปัจจุบันติดขัดข้อห้าม คสช. ที่ไม่ให้พรรคการเมืองทำกิจกรรม หรือจัดประชุม แต่ทางพรรคพร้อมจะสนับสนุนโดยการส่งบุคคลากรเข้าไปร่วมเป็น สปท. เท่าที่ทราบบุคคลที่มีความเหมาะสม และน่าจะเป็นตัวแทนของพรรคได้คือ นายสันตศักย์ จรูญงามพิเชษฐ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังชล ที่มีความรู้ความสามารถ เนื่องจากเป็นอดีต ส.ส.ชลบุรี หลายสมัย เป็นอดีต รมช.สาธารณสุข และยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองอีกหลายตำแหน่ง ซึ่งน่าจะได้ใช้ความรู้ความสามารถเข้าไปช่วยงานอันเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการปฏิรูปประเทศในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต
สำหรับความต้องการของประชาชน ที่มีต่อ "นักการเมืองหน้าใหม่" กับ"นักการเมืองหน้าเดิมๆ"ภายหลังการเลือกตั้ง พบว่า ร้อยละ 54.08 ระบุ อยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่มากกว่า รองลงมา ร้อยละ 29.36 ระบุ อยากเห็นนักการเมืองหน้าใหม่ และนักการเมืองหน้าเดิมในสัดส่วนเท่ากัน ร้อยละ 3.44 ระบุแบบใดก็ได้ ขอแค่ให้เป็นคนดี
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความต้องการของประชาชน ที่มีต่อรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ร้อยละ 58.24 ระบุ อยากเห็นพรรคการเมืองใหม่ มีโอกาสเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ร้อยละ 22.88 ระบุ อยากเห็นพรรคการเมืองเดิม ที่เคยบริหารประเทศเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ร้อยละ 5.36 ระบุควรมีสัดส่วนระหว่างพรรคการเมืองเดิม และพรรคการเมืองใหม่เท่ากัน
** หนุน คสช.ตั้งหลายฝ่ายเข้าร่วม สปท.
นายสุริยะใส กตะศิลารองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวแสดงความเห็นด้วยที่ คสช. จะคัดสรร คณะกรรมการสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย(สปท.) โดยคำนึงถึงความหลากหลายเชิญทุกกลุ่มทุกฝ่ายทุกขั้วเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะกลุ่มขั้วการเมือง ถ้ามีคนเข้าไปร่วมบ้างก็น่าจะดี เพื่อให้เวที สปท.เป็นเวทีขับเคลื่อนการปฏิรูปที่ทุกภาคส่วนมีบทบาทอย่างแท้จริง
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยและ นปช. ออกมาปฏิเสธโดยสิ้นเชิงนั้น นายสุริยะใส กล่าวว่า ถือเป็นสิทธิ แต่เสียดายที่ปฏิเสธเร็วเกินไป เพราะเมื่อเวทีเปิดให้ ก็น่าจะใช้เวทีนี้ให้เกิดประโยชน์เพื่อเสนอแนวคิดเนื้อหาสาระของการปฏิรูป การอ้างไม่สังฆกรรมกับคณะรัฐประหารนั้น ก็ต้องเคารพ แต่ก็อดแคลงใจไม่ได้ว่า แนวคิดเรื่องปฏิรูปของพรรคเพื่อไทย และนปช. หน้าตาเป็นอย่างไร น่าจะเสนอต่อสาธารณะบ้าง การตั้งธงต้านรัฐประหารแต่ไม่เคยเสนอชุดความคิดเรื่องปฏิรูป จะทำให้คนเบื่อหน่าย และหนีห่างการเลือกตั้งมากขึ้น
"การปฏิรูปประเทศเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและความต่อเนื่อง ไม่ควรถูกเว้นวรรคด้วยเหตุเพราะการมีรัฐประหารเท่านั้น ทุกส่วนต้องช่วยกันผลักดันได้บ้างสำเร็จบ้างก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ยิ่งบทเรียนของประชาชน ยิ่งมีคำตอบชัดเจนว่าการฏิรูปในยามปกติโดยนักการเมืองแทบจะไม่เคยมีเลย"นายสุริยะใส กล่าว
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า ในส่วนของตนนั้นประกาศมาตั้งแต่แรกแล้วว่าจะทำเวทีคู่ขนานในนามสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ม.รังสิต ระดมความเห็นจากภาคประชาสังคมเพื่อเสนอแนะต่อ สปท.และ กรธ. ซึ่งในช่วง สปช.เราก็ทำเวทีและทำข้อเสนอปฏิรูปต่อ สปช.และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรร นูญ (กรธ.) เป็นระยะๆ ซึ่งในครั้งนี้ สปท. ม.รังสิต ก็จะเดินหน้าเป็นเวทีสะท้อนจากข้างนอกต่อไป ในส่วนตนแม้มีคนทาบทามเข้าไปเป็น สปท. ก็ได้ปฏิเสธไป แต่ก็ยินดีและสนับสนุนผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านเข้าไปร่วม ซึ่งก็แล้วแต่คสช.จะพิจารณา
**ญาติวีรชน35 ขวาง"มีชัย"นั่งปธ.กรธ.
นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’35 กล่าวถึง กรณีที่มีการเชียร์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ว่า ญาติวีรชนเดือนพฤษภา’35ต้องขัดขวางนายมีชัย เพราะถือเป็นการประหารญาติวีรชนซ้ำอย่างเลือดเย็น เนื่องจากนายมีชัย เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2534 เปิดช่องให้มีนายกฯคนนอก จนนำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ต้นเหตุการนองเลือดทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย ประเทศชาติเสียหายย่อยยับ และยังออกพ.ร.ก.นิรโทษกรรม ให้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ทำให้ญาติวีรชน เป็นพลเมืองชั้นสองจนถึงทุกวันนี้
"ญาติพฤษภาทมิฬ ไม่ได้ขัดขวางนายมีชัยด้วยความแค้น เพราะอโหสิกรรมให้ รสช.ไปหมดแล้ว แต่ไม่อยากให้มีการตอกย้ำรอยแผลเดิมให้เกิดความขัดแย้งใหม่ขึ้นอีก และถึงแม้ท่านจะมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติสอดรับกับช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งต้องได้บุคคลที่รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เพื่อให้การร่างรัฐธรรมนูญ มีความราบรื่น และผ่านความเห็นชอบ จึงขอเรียกร้องให้คนเดือน พฤษภา’35ได้เมตตา ช่วยส่งเสียง ช่วยเหลือครอบครัวญาติที่ต้องดิ้นรนมาตลอด 23 ปี อย่าให้ นายมีชัย และพวกประหารพวกเราให้ตายเป็นครั้งที่
3 และกราบวิงวอนขอร้องนายมีชัย อย่ามาทำร้ายฆ่าลูกหลานเราอีกเลย" นายอดุลย์ กล่าว
นายอดุลย์ กล่าวว่า ตนมอง คสช. ด้วยความเข้าใจที่มีเจตนารมณ์แรงกล้า ปรารถนาเห็น ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน มีความสงบสุขสันติ ซึ่งจากการร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก สังคมคาดหวังจะเห็นการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง แต่ก็ล้มเหลว ดังนั้นการเลือกสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ และกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ โดยเฉพาะประธาน กรธ. เป็นประเด็นที่ประชาสังคมให้ความคาดหวังสูง เพราะหากได้บุคคลที่มารับคำสั่งร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสืบทอดอำนาจ คสช. อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งของประชาชน และไม่ยอมให้ผ่านประชามติ จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ คสช. ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. จะต้องตัดสินใจให้ถูกต้อง เพราะหากสามารถสร้างปรองดองของคนในชาติได้ คสช.ก็มีแนวทางลงแบบสง่างาม ไม่ใช่ลงแบบผู้นำรสช. ที่มีแต่ความเจ็บปวดของทุกฝ่าย
**พลังชลส่ง"สันตศักย์"ร่วมงาน สปท.
นายสุระ เตชะทัต โฆษกพรรคพลังชล กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ออกมาเรียกร้องให้พรรคการเมืองส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ว่า พรรคพลังชล เข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบันตามที่หลายฝ่ายอยากให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางต่างๆ ต่อการปฏิรูปประเทศ ยอมรับว่า มีการประสานงานมา เพียงแต่ปัจจุบันติดขัดข้อห้าม คสช. ที่ไม่ให้พรรคการเมืองทำกิจกรรม หรือจัดประชุม แต่ทางพรรคพร้อมจะสนับสนุนโดยการส่งบุคคลากรเข้าไปร่วมเป็น สปท. เท่าที่ทราบบุคคลที่มีความเหมาะสม และน่าจะเป็นตัวแทนของพรรคได้คือ นายสันตศักย์ จรูญงามพิเชษฐ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังชล ที่มีความรู้ความสามารถ เนื่องจากเป็นอดีต ส.ส.ชลบุรี หลายสมัย เป็นอดีต รมช.สาธารณสุข และยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองอีกหลายตำแหน่ง ซึ่งน่าจะได้ใช้ความรู้ความสามารถเข้าไปช่วยงานอันเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการปฏิรูปประเทศในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต