ASTVผู้จัดการรายวัน - เปิดวงถก 3 สมาคมอสังหาฯหารือกระทรวงการคลัง พุ่งเป้าประเด็นหลักมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจำนอง พร้อมหยิบยกปัญหาการขอสินเชื่อไม่ผ่าน ทั้งหนี้รถคันแรก ปัญหาเครดิตบูโร และเพดานหักลดหย่อนเงินกู้ หนุนแนวทางธอส.เป็นหัวหอกหลักสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย ยันไม่การเสนอปรับลดภาษีธุรกิจเฉพาะ เหตุผู้ประกอบการในตลาดหุ้นและนอกตลาดแข็งแรง พร้อมเป็นห่วงรัฐมีภาระเยอะอยู่แล้ว
แหล่งข่าวจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้คณะทำงานด้านเศรษฐกิจของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ได้เชิญตัวแทนจาก 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอาคารชุดไทย เข้าหารือแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านธุรกิจอสังหาฯ ซึ่งเป็นการหารือแลกเปลี่ยนความเห็นว่าหาก ถ้ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น มาตรการใดที่ทั้ง3สมาคมเห็นว่าสำคัญและสามารถกระตุ้นได้รวดเร็ว
ซึ่งตัวแทนของทั้ง3สมาคมฯ ได้ยกเอามาตรการการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน 2 % และการลดหน่อยค่าจดจำนอง1% มานำเสนอเป็นประเด็นหลัก นอกจากนี้ยังได้หยิบยกปัญหาเครดิตบูโร ปัญหารถคันแรก และ การนำสินเชื่อที่อยู่อาศัยของผู้ซื้อบ้านไปหักลดหย่อนภาษีรายได้ส่วนบุคคล ซึ่งคณะทำงานของรัฐบาลได้รับฟังและนำข้อเสนอทั้งหมดไปพิจารณาประกอบการออกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์
สำหรับมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาฯนั้น หากรัฐบาลสามารถเร่งดำเนินการได้ก่อนการจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 33 หรือก่อนสิ้นปีนี้ จะทำให้ตลาดอสังหาฯฟื้นตัวได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมจะฟื้นตัวได้มากกว่าตลาดแนวราบ เนื่องจากในปีนี้มียอดคอนโดมิเนียมที่ครบกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ หรือยอดโอนกรรมสิทธิ์จำนวนกว่า 70,000 หน่วยเศษ หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 1.93 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ในส่วนของภาครัฐเองยังได้เตรียมเม็ดเงินในการปล่อยกู้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยรายย่อย ซึ่งจะดำเนินการผ่านสถาบันการเงินภายใต้กำกับดูแลของภาครัฐ คือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งยังไม่ทราบว่าวงเงินจำนวนเท่าใด เพื่อปล่อยกู้ประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯได้อีกทาง
แหล่งข่าวรายหนึ่ง อธิบายว่า การนำเสนอมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯในคราวนี้ ในด้านของสมาคมฯไม่ได้เสนอเกี่ยวกับมาตรการให้แก่สมาคมฯ เนื่องจากผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดมีความแข็งแรงอยู่แล้ว แต่ทางสมาคมฯจะเน้นเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนผู้ซื้อที่อยู่อาศัย
"ที่คุยกับภาครัฐ หากจะออกมาตรการออกมา ภาครัฐต้องชัดเจนและรวดเร็ว ซึ่งมีข้อหารืออยู่ 2 เรื่อง คือ หากจะผลักดันนโยบายเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รัฐต้องระมัดระวัง ต้องพยายามทำความเข้าใจผู้ซื้อให้มาก และเรื่องมาตรการกระตุ้นระยะสั้น การลดค่าธรรมการโอนและจดจำนอง โดยยืนยันจะไม่มีการแตะภาษีธุรกิจเฉพาะที่จัดเก็บอยู่ที่ร้อยละ 3.3 เนื่องจากรัฐบาลมีภาระอยู่เยอะ ทั้งนี้ เรื่องลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง ส่วนใหญ่จะเป็นมาตรการระยะสั้นประมาณ 1 ปี แต่ถึงกระนั้น รัฐบาลก็ต้องไปชั่งใจว่าจะดีต่อเนื่องถึงธุรกิจอื่นมากน้อยเพียงใด "
สำหรับแนวทางที่จะให้ธนาคารของรัฐ โดยมีแกนนำธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)ดำเนินการสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น ก็ถือว่าที่
ผ่านมา ธอส.เข้ามามีบทบาทหลักในการดูแลสินเชื่อระดับกลางและล่าง ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดในสินเชื่อที่อยู่อาศัยประมาณ 30% ดังนั้น มาตรการดอกเบี้ยต่ำ น่าจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเงินในการผลักดันนโยบายออกมา
"สุดท้ายแล้วกระทรวงการคลังต้องเข้าไปค้ำประกันให้ธอส.อยู่แล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก หรือเรื่องผิด เพราะที่ผ่านมาก็ทำกันเช่นนี้"
แหล่งข่าวยังมองว่า แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะเข้มในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อดูแลสินเชื่อไม่ให้เกิดหนี้เสีย แต่ในปี 2557 นั้น ปรากฎว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบโตสูงสุดในรอบ 17 ปี และขณะนี้ การแข่งขันก็รุนแรงมากขึ้น มีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเข้ามาสู่ตลาด แข่งกันปล่อยสินเชื่อรายย่อย (Post-Finance).
แหล่งข่าวจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้คณะทำงานด้านเศรษฐกิจของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ได้เชิญตัวแทนจาก 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอาคารชุดไทย เข้าหารือแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านธุรกิจอสังหาฯ ซึ่งเป็นการหารือแลกเปลี่ยนความเห็นว่าหาก ถ้ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น มาตรการใดที่ทั้ง3สมาคมเห็นว่าสำคัญและสามารถกระตุ้นได้รวดเร็ว
ซึ่งตัวแทนของทั้ง3สมาคมฯ ได้ยกเอามาตรการการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน 2 % และการลดหน่อยค่าจดจำนอง1% มานำเสนอเป็นประเด็นหลัก นอกจากนี้ยังได้หยิบยกปัญหาเครดิตบูโร ปัญหารถคันแรก และ การนำสินเชื่อที่อยู่อาศัยของผู้ซื้อบ้านไปหักลดหย่อนภาษีรายได้ส่วนบุคคล ซึ่งคณะทำงานของรัฐบาลได้รับฟังและนำข้อเสนอทั้งหมดไปพิจารณาประกอบการออกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์
สำหรับมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาฯนั้น หากรัฐบาลสามารถเร่งดำเนินการได้ก่อนการจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 33 หรือก่อนสิ้นปีนี้ จะทำให้ตลาดอสังหาฯฟื้นตัวได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมจะฟื้นตัวได้มากกว่าตลาดแนวราบ เนื่องจากในปีนี้มียอดคอนโดมิเนียมที่ครบกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ หรือยอดโอนกรรมสิทธิ์จำนวนกว่า 70,000 หน่วยเศษ หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 1.93 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ในส่วนของภาครัฐเองยังได้เตรียมเม็ดเงินในการปล่อยกู้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยรายย่อย ซึ่งจะดำเนินการผ่านสถาบันการเงินภายใต้กำกับดูแลของภาครัฐ คือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งยังไม่ทราบว่าวงเงินจำนวนเท่าใด เพื่อปล่อยกู้ประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯได้อีกทาง
แหล่งข่าวรายหนึ่ง อธิบายว่า การนำเสนอมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯในคราวนี้ ในด้านของสมาคมฯไม่ได้เสนอเกี่ยวกับมาตรการให้แก่สมาคมฯ เนื่องจากผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดมีความแข็งแรงอยู่แล้ว แต่ทางสมาคมฯจะเน้นเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนผู้ซื้อที่อยู่อาศัย
"ที่คุยกับภาครัฐ หากจะออกมาตรการออกมา ภาครัฐต้องชัดเจนและรวดเร็ว ซึ่งมีข้อหารืออยู่ 2 เรื่อง คือ หากจะผลักดันนโยบายเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รัฐต้องระมัดระวัง ต้องพยายามทำความเข้าใจผู้ซื้อให้มาก และเรื่องมาตรการกระตุ้นระยะสั้น การลดค่าธรรมการโอนและจดจำนอง โดยยืนยันจะไม่มีการแตะภาษีธุรกิจเฉพาะที่จัดเก็บอยู่ที่ร้อยละ 3.3 เนื่องจากรัฐบาลมีภาระอยู่เยอะ ทั้งนี้ เรื่องลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง ส่วนใหญ่จะเป็นมาตรการระยะสั้นประมาณ 1 ปี แต่ถึงกระนั้น รัฐบาลก็ต้องไปชั่งใจว่าจะดีต่อเนื่องถึงธุรกิจอื่นมากน้อยเพียงใด "
สำหรับแนวทางที่จะให้ธนาคารของรัฐ โดยมีแกนนำธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)ดำเนินการสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น ก็ถือว่าที่
ผ่านมา ธอส.เข้ามามีบทบาทหลักในการดูแลสินเชื่อระดับกลางและล่าง ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดในสินเชื่อที่อยู่อาศัยประมาณ 30% ดังนั้น มาตรการดอกเบี้ยต่ำ น่าจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเงินในการผลักดันนโยบายออกมา
"สุดท้ายแล้วกระทรวงการคลังต้องเข้าไปค้ำประกันให้ธอส.อยู่แล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก หรือเรื่องผิด เพราะที่ผ่านมาก็ทำกันเช่นนี้"
แหล่งข่าวยังมองว่า แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะเข้มในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อดูแลสินเชื่อไม่ให้เกิดหนี้เสีย แต่ในปี 2557 นั้น ปรากฎว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบโตสูงสุดในรอบ 17 ปี และขณะนี้ การแข่งขันก็รุนแรงมากขึ้น มีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเข้ามาสู่ตลาด แข่งกันปล่อยสินเชื่อรายย่อย (Post-Finance).