เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (16 ก.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เข้าให้ปากคำกับคณะกรรมการไต่สวน ของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) กรณีเป็นผู้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ มีข้อขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 50
นายอภิสิทธิ์ กล่าวภายหลังว่า เรื่องนี้ตนไม่ได้เป็นผู้ร้อง แต่มาในฐานะพยานในประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าเป็นปัญหาในข้อกฎหมาย ทั้งนี้ ตนไม่ทราบว่า กรณีที่รัฐธรรมนูญไม่มีผลบังคับใช้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อคดีนี้เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับคดีอื่นหรือไม่ เนื่องจากต้องดูรายละเอียดคำร้อง ข้อกล่าวหา และการกระทำความผิดกฎหมาย ซึ่งอาจมีกฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วย ส่วนคดีจะสะดุดหรือไม่ ป.ป.ช.ต้องวินิจฉัยเอง โดยต้องมีบรรทัดฐานในการพิจารณาด้วยว่า ทำไมคดีใดสามารถเดินได้ แต่บางคดีเดินต่อไม่ได้ แต่โดยปกติในแง่ของพฤติกรรมไม่ใช่มีแค่เรื่องขัดรัฐธรรมนูญ แต่ขัด กฎหมายอื่น ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ด้วย
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่ง ป.ป.ช. 5 คน ที่จะว่างลงในสิ้นเดือนก.ย.นี้ว่า เป็นไปตามกระบวนการ ซึ่งผู้ที่สรรหา ก็ต้องให้ได้คนที่สุจริต และมีความกล้า เพราะการทำงานของป.ป.ช. หากไม่กล้ายืนหยัด ก็จะเผชิญกับแรงกดดันสารพัด และถ้าไม่กล้า ก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างตรงไป ตรงมา และสังคมควรให้กำลังองค์กรที่ทำงานตรงไปตรงมา
ส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาตามคำสั่ง คสช. ที่ไม่ได้เป็นไปตามระบบปกติ โดยมีตัวแทนของรัฐบาลเข้าไปร่วมสรรหาด้วย จะทำให้ ป.ป.ช.ที่ถูกคัดเลือก ถูกมองว่าเป็นคนของคสช.หรือไม่นั้น ตนเห็นว่าตอนนี้สภาพบ้านเมืองไม่ปกติ ทำให้คณะกรรมการสรรหาไม่ครบถ้วนตามระบบปกติ ทำให้มีข้อจำกัด แต่ทั้งหมดก็อยู่ที่การทำงานของคณะกรรมการสรรหา และพิจารณาว่า มีใครสมัครบ้าง โดยคนที่จะสมัคร หรือคนที่ได้รับคัดสรรให้เป็น ป.ป.ช. แล้วต้องมีความเป็นอิสระ
ผู้สื่อข่าวถามว่าเคยมีกรณีตัวอย่าง การสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินในช่วง ที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้รับเลือก แต่กลับเป็นที่ปรึกษา คสช. และสุดท้ายไปเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มองอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้พยายามหลีกเลี่ยงกรณีผลประโยชน์ทับซ้อน และอยากให้คนที่ตั้งใจจริงมีโอกาสทำงาน เนื่องจากประชาชนคาดหวังเรื่องการปฏิรูป ปราบปรามการทุจริต เป็นความต้องการอันดับหนึ่งของสังคม
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง คดีการสลายการชุมนุมปี 53 ที่ป.ป.ช. กำลังพิจารณา เพื่อชี้มูลว่ามีความผิด ต้องถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือไม่ว่า ไม่มีความกังวลใจในเรื่องนี้ เพราะตนได้ให้ความร่วมมือมาตลอด ไม่ว่าจะขอเอกสาร หรือการอ้างอิงพยาน ซึ่งก็มีการชี้แจงไปแล้ว และตนก็อยากให้คดีสิ้นสุดโดยเร็ว เพราะยืดเยื้อมานาน
"ผมพร้อมรับคำตัดสิน เพราะยึดในระบบ หากตัดสินแล้วผมไม่เห็นด้วย ก็ต่อสู้ตามกระบวนการกฎหมายในสนช.ต่อไป แต่ยืนยันว่าการทำหน้าที่ที่ผ่านมา เป็นไปโดยสุจริต และนึกไม่ออกว่าถ้าไม่ทำเช่นนั้น จะต้องทำอย่างไร เพื่อรักษาหลักการของบ้านเมืองและกฎหมาย โดยคำนึงถึงที่สุดแล้วว่า ต้องหลีกเลี่ยงความสูญเสียให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้"
ส่วนกรณีที่ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงทุจริตมันเส้น ในสมัยรัฐบาลตนนั้นได้รับทราบเรื่องแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการติดต่อ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ แต่ต้องดูรายละเอียดว่า ประเด็นที่ร้องเกี่ยวกับเรื่องอะไร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวภายหลังว่า เรื่องนี้ตนไม่ได้เป็นผู้ร้อง แต่มาในฐานะพยานในประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าเป็นปัญหาในข้อกฎหมาย ทั้งนี้ ตนไม่ทราบว่า กรณีที่รัฐธรรมนูญไม่มีผลบังคับใช้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อคดีนี้เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับคดีอื่นหรือไม่ เนื่องจากต้องดูรายละเอียดคำร้อง ข้อกล่าวหา และการกระทำความผิดกฎหมาย ซึ่งอาจมีกฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วย ส่วนคดีจะสะดุดหรือไม่ ป.ป.ช.ต้องวินิจฉัยเอง โดยต้องมีบรรทัดฐานในการพิจารณาด้วยว่า ทำไมคดีใดสามารถเดินได้ แต่บางคดีเดินต่อไม่ได้ แต่โดยปกติในแง่ของพฤติกรรมไม่ใช่มีแค่เรื่องขัดรัฐธรรมนูญ แต่ขัด กฎหมายอื่น ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ด้วย
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่ง ป.ป.ช. 5 คน ที่จะว่างลงในสิ้นเดือนก.ย.นี้ว่า เป็นไปตามกระบวนการ ซึ่งผู้ที่สรรหา ก็ต้องให้ได้คนที่สุจริต และมีความกล้า เพราะการทำงานของป.ป.ช. หากไม่กล้ายืนหยัด ก็จะเผชิญกับแรงกดดันสารพัด และถ้าไม่กล้า ก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างตรงไป ตรงมา และสังคมควรให้กำลังองค์กรที่ทำงานตรงไปตรงมา
ส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาตามคำสั่ง คสช. ที่ไม่ได้เป็นไปตามระบบปกติ โดยมีตัวแทนของรัฐบาลเข้าไปร่วมสรรหาด้วย จะทำให้ ป.ป.ช.ที่ถูกคัดเลือก ถูกมองว่าเป็นคนของคสช.หรือไม่นั้น ตนเห็นว่าตอนนี้สภาพบ้านเมืองไม่ปกติ ทำให้คณะกรรมการสรรหาไม่ครบถ้วนตามระบบปกติ ทำให้มีข้อจำกัด แต่ทั้งหมดก็อยู่ที่การทำงานของคณะกรรมการสรรหา และพิจารณาว่า มีใครสมัครบ้าง โดยคนที่จะสมัคร หรือคนที่ได้รับคัดสรรให้เป็น ป.ป.ช. แล้วต้องมีความเป็นอิสระ
ผู้สื่อข่าวถามว่าเคยมีกรณีตัวอย่าง การสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินในช่วง ที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้รับเลือก แต่กลับเป็นที่ปรึกษา คสช. และสุดท้ายไปเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มองอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้พยายามหลีกเลี่ยงกรณีผลประโยชน์ทับซ้อน และอยากให้คนที่ตั้งใจจริงมีโอกาสทำงาน เนื่องจากประชาชนคาดหวังเรื่องการปฏิรูป ปราบปรามการทุจริต เป็นความต้องการอันดับหนึ่งของสังคม
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง คดีการสลายการชุมนุมปี 53 ที่ป.ป.ช. กำลังพิจารณา เพื่อชี้มูลว่ามีความผิด ต้องถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือไม่ว่า ไม่มีความกังวลใจในเรื่องนี้ เพราะตนได้ให้ความร่วมมือมาตลอด ไม่ว่าจะขอเอกสาร หรือการอ้างอิงพยาน ซึ่งก็มีการชี้แจงไปแล้ว และตนก็อยากให้คดีสิ้นสุดโดยเร็ว เพราะยืดเยื้อมานาน
"ผมพร้อมรับคำตัดสิน เพราะยึดในระบบ หากตัดสินแล้วผมไม่เห็นด้วย ก็ต่อสู้ตามกระบวนการกฎหมายในสนช.ต่อไป แต่ยืนยันว่าการทำหน้าที่ที่ผ่านมา เป็นไปโดยสุจริต และนึกไม่ออกว่าถ้าไม่ทำเช่นนั้น จะต้องทำอย่างไร เพื่อรักษาหลักการของบ้านเมืองและกฎหมาย โดยคำนึงถึงที่สุดแล้วว่า ต้องหลีกเลี่ยงความสูญเสียให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้"
ส่วนกรณีที่ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงทุจริตมันเส้น ในสมัยรัฐบาลตนนั้นได้รับทราบเรื่องแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการติดต่อ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ แต่ต้องดูรายละเอียดว่า ประเด็นที่ร้องเกี่ยวกับเรื่องอะไร