**บรรยากาศภายในศาลปกครองยังคงขมุกขมัวอืมครืมต่อไปกับสถานะของ“หัสวุฒิ วิทิตวิริยกุล”ประธานศาลปกครองสูงสุด ที่ถูก คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) เสียงข้างมาก สั่งพักราชการและตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย
ในความเป็นจริง ตัว หัสวุฒิเอง แม้จะรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมมาตั้งแต่ต้น แต่ก็ยอมรับในกระบวนการของก.ศป. เพราะหลังจากที่มีมติเสียงข้างมาก ให้พักราชการ และตั้งกรรมการสอบสวนในกรณี"จดหมายน้อยฝากตำรวจ" เจ้าตัวเองก็ไม่ได้ออกมาตอบโต้แต่อย่างใด
หากแต่ระยะเวลาในการสอบสวนทางวินัยนั้นกลับล่วงเลยมานานกว่า 6 เดือน โดยที่ไม่มีข้อสรุปใดๆออกมา จึงเป็นเหตุที่ หัสวุฒิ ต้องออกมาแถลงเรียกร้องขอความเป็นธรรมเป็นครั้งแรก เมื่อสัปดาห์ก่อน พร้อมตั้งคำถามไปถึงการดำเนินการของก.ศป. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาตอบคำถาม
วันที่ หัสวุฒิ ออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมนั้น ก็เป็นวันเดียวกับที่มีการประชุมก.ศป. ซึ่งนอกจากจะไม่มีคำชี้แจงใดๆ ออกมาแล้ว ที่ประชุม ก.ศป. ยังสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยหัสวุฒิ เพิ่มเติมในการกรณีเบิกเบี้ยเลี้ยงในระหว่างการเดินทางไปร่วมพิธียกยอดฉัตรทองคำที่ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับที่หัสวุฒิมีภารกิจที่ จ.พิษณุโลก
ก่อนที่หลายวันต่อมา ก.ศป.จะชี้แจงประเด็นต่างๆ ออกมาในรูปแถลงการณ์ของสำนักงานศาลปกครอง โดยยืนยันกระบวนการต่างๆดำเนินการโดยชอบตามกฎหมายทุกประการ
แต่ฝ่าย หัสวุฒิ ก็ได้ออกมาแถลงข่าวอีกครั้งภายหลังจากการเข้าให้ถ้อยคำเพิ่มเติมและรับทราบข้อกล่าวหาพร้อมพยานหลักฐานสนับสนุน กับคณะกรรมการสอบสวนวินัย กรณีจดหมายน้อย เมื่อวานนี้ โดยเห็นว่า การชี้แจงของก.ศป.ไม่ตรงประเด็น และยังเป็นการชี้นำให้สาธารณชนเกิด
ความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการกระทำของ ก.ศป. ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครองแล้ว ทั้งยังไม่ได้อธิบายเหตุผลให้เกิดความชัดเจน และแสดงพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามประเด็นเรียกร้องไป
พร้อมกันนี้ หัสวุฒิ ก็ได้โยนประเด็นคำถามไปถึง ก.ศป.อีกครั้งรวมแล้ง 5 ประเด็นด้วยกัน
ประเด็นแรก กรณีที่ ก.ศป. เสียงข้างมากได้มีมติตั้งคณะกรรมการสอบสวนและพักราชการ ตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชี้มูลความผิด เหตุผลที่ว่าคือ การที่ หัสวุฒิ ไม่ออกมาแถลงข่าวปฏิเสธต่อสื่อมวลชนตามที่มีคณะตุลาการเรียกร้อง ถือเป็นเหตุผลที่มาจากความรู้สึกและอคติ มากกว่าการอ้างอิงจากพยานหลักฐาน
**หัสวุฒิ จึงมองว่า ก.ศป.เสียงข้างมากมีเจตนาซ่อนเร้นบางประการ
ประเด็นที่ 2 การที่ ก.ศป.เสียงข้างมากมีมติสั่งพักราชการ โดยไม่รอรับฟังความเห็นของคณะกรรมการสอบสวน ทั้งที่ในข้อ 12 ของระเบียบ ก.ศป.ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครอง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 กำหนดให้คณะกรรมการสอบสวนเป็นผู้เสนอความเห็นว่า สมควรจะพักราชการตุลาการผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ แต่กลับมีมติให้พักราชการทันที
**จึงมีคำถามว่าการกระทำของ ก.ศป.ไม่มีมาตรฐาน และเลือกปฏิบัติหรือไม่
ประการที่ 3 เมื่อมีการสั่งพักราชการหัสวุฒิ แล้ว ก.ศป.กลับไม่เร่งรัดให้กระบวนการสอบสวนแล้วเสร็จโดยเร็วตามเวลาตามข้อ 11 ของระเบียบ ก.ศป.ฉบับเดียวกันกำหนด คือ ภายใน 30 วัน และขยายได้รวมแล้วไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ หรือเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 ที่สุดคณะกรรมการฯใช้เวลาในการสอบสวนทั้งสิ้นนานกว่า 4 เดือน โดยอ้างว่า การสอบสวนมีอุปสรรคบางประการ โดยไม่ได้อธิบายชัดเจนว่าอุปสรรคบางประการ
**ถือเป็นการกระทำที่ล่าช้าเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด “จนผิดปกติ”และกระทบสิทธิ หัสวุฒิในฐานะผู้ถูกกล่าวหาโดยตรง
ประการที่ 4 สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสอบสวนล่าช้า เนื่องจากประธานและเลขานุการคณะกรรมการสอบสวนฯได้ใช้อำนาจส่วนตัวระงับการดำเนินการสอบสวนไว้ก่อนโดยไม่เคยมีมติที่ประชุม และเสนอเรื่องให้ ก.ศป. คัดค้านกรรมการสอบสวนวินัย ซึ่งเป็นผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ถึง 2 ครั้ง ซึ่ง ก.พ. ก็ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันส่งกรรมการผู้แทนจาก ก.พ. คนเดิมถึง 2 ครั้ง เหมือนมีความพยายามในการประวิงเวลาให้ล่าช้าออกไป
ประเด็นที่ 5 เมื่อคณะกรรมการสอบสวนฯดำเนินการแล้วเสร็จ โดยมีมติเสียงข้างมาก 3-2 สรุปผลว่า หัสวุฒิไม่มีมูลความผิด และเสนอเรื่องเข้าสู่การประชุมของ ก.ศป. ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2558 แต่ ก.ศป.เสียงข้างมากกลับมีมติให้เรียก หัสวุฒิมารับทราบข้อกล่าวหาและพยานหลัก
ฐานสนับสนุนข้อกล่าวหาอีก ทั้งที่ได้สรุปผลการสอบสวนไปแล้วว่าไม่ผิด ก่อนที่จะยกเลิกหลังมีเสียงทัดทานจาก ก.ศป. เสียงข้างน้อย แต่แล้วในการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 กลับมีมติให้คณะกรรมการฯเรียก หัสวุฒิ มาพบเช่นเดิมอีก
** มองได้ว่าผลการสอบสวนไม่เป็นไปตาม“ธง”ที่ ก.ศป.ตั้งไว้ จึงพยายามประวิงเวลาต่อไป
“หัสวุฒิ”มองว่าการประวิงเวลาต่อไปก็เพื่อรอให้ “ไพบูลย์ เสียงก้อง”ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ที่เป็นเสียงข้างมากในคณะกรรมการสอบวินัยที่เห็นว่าคดีไม่มีมูลหมดวาระ เนื่องจากจะเกียษณอายุในปลายเดือนกันยายนนี้
เมื่อ ไพบูลย์ เกษียณก็จะเปิดโอกาสให้มีการตั้งบุคคลอื่นมาทำหน้าที่กรรมการสอบสวนแทนซึ่ง หัสวุฒิ มองว่าต้องการเปลี่ยนแปลงเสียงโหวตเปลี่ยนกลายจากเดิมที่ชี้ว่าไม่มีมูลความผิด กลับมามีความผิดตาม“ธง”ที่ตั้งไว้
**ต้องติดตามว่า“เกมการเมือง”ในศาลปกครองจะเป็นไปอย่าง หัสวุฒิตั้งข้อสังเกตหรือไม่ โดยก.ศป.จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 23 กันยายนนี้ ซึ่งหากเรื่องต่างๆ ลงล็อก ตามที่วางแผนไว้อาจมี "เซอร์ไพร์ส" ถึงขนาดมีมติเห็นตามเสียงข้างน้อย และไล่ หัสวุฒิออกจากราชการก็เป็นได้
"เป็นความพยายามที่จะกำจัดผมให้พ้นจากองค์กรนี้ ถ้าสอบเอาผิดเรื่องจดหมายน้อยไม่ได้ ก็จะเอาเรื่องอื่น ซึ่งมีหลายเรื่องมาสอบ พูดง่ายๆ ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยกลก็เอาด้วยมนต์คาถา หรืออาจจะมีการจ้างคนมายิงผมก็ได้ แต่ผมไม่กลัวหรอก"
คำพูดแบบคำต่อคำของหัสวุฒิ ที่เชื่อว่าเป็นเจตนาไม่สุจริต ประพฤติมิชอบ และกลั่นแกล้ง เพื่อมุ่ง“ยึดอำนาจ”ในการดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ของใครบางคน
เรียนผูกต้องเรียนแก้ ก่อนจะถึงวันที่ 23 กันยายน ก.ศป. จึงควรยุติปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กรศาลปกครองอย่างเร่งด่วนที่สุด โดยการออกมาชี้แจงประเด็นที่ถูกตั้งข้อสังเกตให้เคลียร์คัทชัดเจนที่สุด
**ก่อนที่จะความอึมครึมในตอนนี้จะก่อตัวเป็น“วิกฤต”อย่างที่กังวลกัน
ในความเป็นจริง ตัว หัสวุฒิเอง แม้จะรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมมาตั้งแต่ต้น แต่ก็ยอมรับในกระบวนการของก.ศป. เพราะหลังจากที่มีมติเสียงข้างมาก ให้พักราชการ และตั้งกรรมการสอบสวนในกรณี"จดหมายน้อยฝากตำรวจ" เจ้าตัวเองก็ไม่ได้ออกมาตอบโต้แต่อย่างใด
หากแต่ระยะเวลาในการสอบสวนทางวินัยนั้นกลับล่วงเลยมานานกว่า 6 เดือน โดยที่ไม่มีข้อสรุปใดๆออกมา จึงเป็นเหตุที่ หัสวุฒิ ต้องออกมาแถลงเรียกร้องขอความเป็นธรรมเป็นครั้งแรก เมื่อสัปดาห์ก่อน พร้อมตั้งคำถามไปถึงการดำเนินการของก.ศป. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาตอบคำถาม
วันที่ หัสวุฒิ ออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมนั้น ก็เป็นวันเดียวกับที่มีการประชุมก.ศป. ซึ่งนอกจากจะไม่มีคำชี้แจงใดๆ ออกมาแล้ว ที่ประชุม ก.ศป. ยังสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยหัสวุฒิ เพิ่มเติมในการกรณีเบิกเบี้ยเลี้ยงในระหว่างการเดินทางไปร่วมพิธียกยอดฉัตรทองคำที่ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับที่หัสวุฒิมีภารกิจที่ จ.พิษณุโลก
ก่อนที่หลายวันต่อมา ก.ศป.จะชี้แจงประเด็นต่างๆ ออกมาในรูปแถลงการณ์ของสำนักงานศาลปกครอง โดยยืนยันกระบวนการต่างๆดำเนินการโดยชอบตามกฎหมายทุกประการ
แต่ฝ่าย หัสวุฒิ ก็ได้ออกมาแถลงข่าวอีกครั้งภายหลังจากการเข้าให้ถ้อยคำเพิ่มเติมและรับทราบข้อกล่าวหาพร้อมพยานหลักฐานสนับสนุน กับคณะกรรมการสอบสวนวินัย กรณีจดหมายน้อย เมื่อวานนี้ โดยเห็นว่า การชี้แจงของก.ศป.ไม่ตรงประเด็น และยังเป็นการชี้นำให้สาธารณชนเกิด
ความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการกระทำของ ก.ศป. ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครองแล้ว ทั้งยังไม่ได้อธิบายเหตุผลให้เกิดความชัดเจน และแสดงพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามประเด็นเรียกร้องไป
พร้อมกันนี้ หัสวุฒิ ก็ได้โยนประเด็นคำถามไปถึง ก.ศป.อีกครั้งรวมแล้ง 5 ประเด็นด้วยกัน
ประเด็นแรก กรณีที่ ก.ศป. เสียงข้างมากได้มีมติตั้งคณะกรรมการสอบสวนและพักราชการ ตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชี้มูลความผิด เหตุผลที่ว่าคือ การที่ หัสวุฒิ ไม่ออกมาแถลงข่าวปฏิเสธต่อสื่อมวลชนตามที่มีคณะตุลาการเรียกร้อง ถือเป็นเหตุผลที่มาจากความรู้สึกและอคติ มากกว่าการอ้างอิงจากพยานหลักฐาน
**หัสวุฒิ จึงมองว่า ก.ศป.เสียงข้างมากมีเจตนาซ่อนเร้นบางประการ
ประเด็นที่ 2 การที่ ก.ศป.เสียงข้างมากมีมติสั่งพักราชการ โดยไม่รอรับฟังความเห็นของคณะกรรมการสอบสวน ทั้งที่ในข้อ 12 ของระเบียบ ก.ศป.ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครอง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 กำหนดให้คณะกรรมการสอบสวนเป็นผู้เสนอความเห็นว่า สมควรจะพักราชการตุลาการผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ แต่กลับมีมติให้พักราชการทันที
**จึงมีคำถามว่าการกระทำของ ก.ศป.ไม่มีมาตรฐาน และเลือกปฏิบัติหรือไม่
ประการที่ 3 เมื่อมีการสั่งพักราชการหัสวุฒิ แล้ว ก.ศป.กลับไม่เร่งรัดให้กระบวนการสอบสวนแล้วเสร็จโดยเร็วตามเวลาตามข้อ 11 ของระเบียบ ก.ศป.ฉบับเดียวกันกำหนด คือ ภายใน 30 วัน และขยายได้รวมแล้วไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ หรือเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 ที่สุดคณะกรรมการฯใช้เวลาในการสอบสวนทั้งสิ้นนานกว่า 4 เดือน โดยอ้างว่า การสอบสวนมีอุปสรรคบางประการ โดยไม่ได้อธิบายชัดเจนว่าอุปสรรคบางประการ
**ถือเป็นการกระทำที่ล่าช้าเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด “จนผิดปกติ”และกระทบสิทธิ หัสวุฒิในฐานะผู้ถูกกล่าวหาโดยตรง
ประการที่ 4 สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสอบสวนล่าช้า เนื่องจากประธานและเลขานุการคณะกรรมการสอบสวนฯได้ใช้อำนาจส่วนตัวระงับการดำเนินการสอบสวนไว้ก่อนโดยไม่เคยมีมติที่ประชุม และเสนอเรื่องให้ ก.ศป. คัดค้านกรรมการสอบสวนวินัย ซึ่งเป็นผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ถึง 2 ครั้ง ซึ่ง ก.พ. ก็ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันส่งกรรมการผู้แทนจาก ก.พ. คนเดิมถึง 2 ครั้ง เหมือนมีความพยายามในการประวิงเวลาให้ล่าช้าออกไป
ประเด็นที่ 5 เมื่อคณะกรรมการสอบสวนฯดำเนินการแล้วเสร็จ โดยมีมติเสียงข้างมาก 3-2 สรุปผลว่า หัสวุฒิไม่มีมูลความผิด และเสนอเรื่องเข้าสู่การประชุมของ ก.ศป. ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2558 แต่ ก.ศป.เสียงข้างมากกลับมีมติให้เรียก หัสวุฒิมารับทราบข้อกล่าวหาและพยานหลัก
ฐานสนับสนุนข้อกล่าวหาอีก ทั้งที่ได้สรุปผลการสอบสวนไปแล้วว่าไม่ผิด ก่อนที่จะยกเลิกหลังมีเสียงทัดทานจาก ก.ศป. เสียงข้างน้อย แต่แล้วในการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 กลับมีมติให้คณะกรรมการฯเรียก หัสวุฒิ มาพบเช่นเดิมอีก
** มองได้ว่าผลการสอบสวนไม่เป็นไปตาม“ธง”ที่ ก.ศป.ตั้งไว้ จึงพยายามประวิงเวลาต่อไป
“หัสวุฒิ”มองว่าการประวิงเวลาต่อไปก็เพื่อรอให้ “ไพบูลย์ เสียงก้อง”ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ที่เป็นเสียงข้างมากในคณะกรรมการสอบวินัยที่เห็นว่าคดีไม่มีมูลหมดวาระ เนื่องจากจะเกียษณอายุในปลายเดือนกันยายนนี้
เมื่อ ไพบูลย์ เกษียณก็จะเปิดโอกาสให้มีการตั้งบุคคลอื่นมาทำหน้าที่กรรมการสอบสวนแทนซึ่ง หัสวุฒิ มองว่าต้องการเปลี่ยนแปลงเสียงโหวตเปลี่ยนกลายจากเดิมที่ชี้ว่าไม่มีมูลความผิด กลับมามีความผิดตาม“ธง”ที่ตั้งไว้
**ต้องติดตามว่า“เกมการเมือง”ในศาลปกครองจะเป็นไปอย่าง หัสวุฒิตั้งข้อสังเกตหรือไม่ โดยก.ศป.จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 23 กันยายนนี้ ซึ่งหากเรื่องต่างๆ ลงล็อก ตามที่วางแผนไว้อาจมี "เซอร์ไพร์ส" ถึงขนาดมีมติเห็นตามเสียงข้างน้อย และไล่ หัสวุฒิออกจากราชการก็เป็นได้
"เป็นความพยายามที่จะกำจัดผมให้พ้นจากองค์กรนี้ ถ้าสอบเอาผิดเรื่องจดหมายน้อยไม่ได้ ก็จะเอาเรื่องอื่น ซึ่งมีหลายเรื่องมาสอบ พูดง่ายๆ ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยกลก็เอาด้วยมนต์คาถา หรืออาจจะมีการจ้างคนมายิงผมก็ได้ แต่ผมไม่กลัวหรอก"
คำพูดแบบคำต่อคำของหัสวุฒิ ที่เชื่อว่าเป็นเจตนาไม่สุจริต ประพฤติมิชอบ และกลั่นแกล้ง เพื่อมุ่ง“ยึดอำนาจ”ในการดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ของใครบางคน
เรียนผูกต้องเรียนแก้ ก่อนจะถึงวันที่ 23 กันยายน ก.ศป. จึงควรยุติปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กรศาลปกครองอย่างเร่งด่วนที่สุด โดยการออกมาชี้แจงประเด็นที่ถูกตั้งข้อสังเกตให้เคลียร์คัทชัดเจนที่สุด
**ก่อนที่จะความอึมครึมในตอนนี้จะก่อตัวเป็น“วิกฤต”อย่างที่กังวลกัน