พล.ต.วีรชน สุคนธปฎิภาค รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกำหนดการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ 70 ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 23 ก.ย.-1 ต.ค.นี้ว่า การประชุมในปีนี้ถือเป็นปีที่พิเศษมาก เพราะสหประชาชาติ มีอายุครบ 70 ปี ในเวทีนี้จะมีการพูดถึงความก้าวหน้าของแต่ละประเทศในรอบ 15 ปีที่ผ่านมาว่า มีการพัฒนาในด้านไหนไปบ้าง และในอีก 15 ปีจะมีความร่วมมือในลักษณะไหนต่อไป โดยเฉพาะการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการดำเนินการของไทยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
“โอกาสนี้ประเทศไทยจะบอกและเล่าถึงประสบการณ์ที่เดินตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาโดยตลอดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ไทยผ่านวิกฤติต่างๆมาหลายช่วง ที่ประชาชนในประเทศประสบปัญหา พร้อมทั้งจัดนิทรรศการแสดงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแจกจ่ายหนังสือให้กับผู้ที่สนใจด้วย เพื่อให้แต่ละประเทศนำไปใช้ในประเทศของเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ” พล.ต.วีรชน ระบุ
**นายกเตรียมสปีช 10 นาที
พล.ต.วีรชน ยังกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเตรียมถ้อยแถลงที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้ความยาวประมาณ 10 นาที โดยจะพูดถึงบทบาทความร่วมมือไทยกับสหประชาชาติ รวมถึงการพัฒนา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายกรัฐมนตรีมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในทั่วโลกมาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ความไม่เท่าเทียม ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องมี 2 ลักษณะคือ การพัฒนา และใช้กำลัง ซึ่งการใช้กำลังอย่างเดียวเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่เราจะต้องเข้าไปศึกษาปัญหาที่แท้จริงแต่ละกลุ่มแต่ละพื้นที่และทำความเข้าใจ หากพื้นที่ใดต้องการลดความเหลื่อมล้ำความยากจน ความไม่เสมอภาค ก็จะเน้นการพัฒนาเข้าไป ขณะเดียวกันพื้นที่มีเหตุรุนแรง ใช้กำลังต้องนำกำลังเข้าไปใช้เพื่อรักษาสันติภาพ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องต้องทำควบคู่กันไป
**มีคิวคุย “บันคีมุน” ด้วย
พล.ต.วีรชน กล่าวต่อว่า โอกาสเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์หรือกล่าวถ้อยแถลงในหลายประเด็น อาทิ การจัดการความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมในสังคม ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการในเรื่องนี้อยู่ และมีจะการพูดถึงการบริหารจัดการน้ำ และการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มเน้นเพิ่มบทบาทสตรี สำหรับการหารือนอกรอบในการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นพบปะกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ ความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ค่อยมีโอกาสพบปะกัน อาทิ ประเทศกลุ่มหมู่เกาะและประเทศละตินอเมริกา อย่างเช่น บราซิล ทะเลแคริเบียน กลุ่มประเทศในแถบยุโรปอีก 2-3 ประเทศ หากประเทศไหนจะหารือทวิภาคี เราก็มีความพร้อม รวมถึงองค์กรต่างเกี่ยวกับการพัฒนาต่างๆ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียังมีนัดหมายหารือกับ นายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ด้วย
** พร้อมแจงสถาณการณ์ในไทย
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น พล.ต.วีรชน กล่าวว่า หากมีการสอบถาม นายกรัฐมนตรีก็พร้อมที่จะชี้แจง แต่เชื่อว่าทุกๆประเทศมองข้ามเรื่องนี้ไปแล้ว แม้ต่างประเทศจะไม่สนับสนุน แต่เขาก็เข้าใจ ในสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการซึ่งส่วนใหญ่จะถามเรื่องความร่วมมือในอนาคตมากกว่า โดยเฉพาะในภูมิภาคนี้เรากำลังจะร่วมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน นานาประเทศมองไทยมีบทบาทสำคัญ เพราะมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ และการเป็นศูนย์กลางความได้เปรียบเหล่านี้ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ตนเองอย่างเดียว แต่พยายามสื่อสารเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจค้าขายในภูมิภาคนี้ ว่าไทยพร้อมเอื้ออำนวยความสะดวก ตามนโยบายไทยบวกหนึ่งที่เคยเสนอไป และพยายามบอกว่านโยบายของไทยไม่ใช่การแข่งขันหรือชิงดีชิงเด่นหรือก้าวหน้าแต่เพียงประเทศเดียว แต่เราต้องก้าวไปร่วมกันด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ทั้งภูมิภาค
“เชื่อว่าการที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปร่วมประชุมครั้งนี้ จะทำให้นานาประเทศในโลกได้รู้จักตัวตนของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาอาจจะรู้จักนายกรัฐมนตรีไทยหรือสถานการณ์ในไทยผ่านสื่อ ตรงนี้คงมีโอกาสได้พูดคุยทำความเข้าใจกันในบริบทของตัวผู้นำไทยอย่างชัดเจนขึ้น และมั่นใจว่าการประชุมในครั้งนี้ไทยจะประสบผลสำเร็จ” พล.ต.วีรชน กล่าว
“โอกาสนี้ประเทศไทยจะบอกและเล่าถึงประสบการณ์ที่เดินตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาโดยตลอดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ไทยผ่านวิกฤติต่างๆมาหลายช่วง ที่ประชาชนในประเทศประสบปัญหา พร้อมทั้งจัดนิทรรศการแสดงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแจกจ่ายหนังสือให้กับผู้ที่สนใจด้วย เพื่อให้แต่ละประเทศนำไปใช้ในประเทศของเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ” พล.ต.วีรชน ระบุ
**นายกเตรียมสปีช 10 นาที
พล.ต.วีรชน ยังกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเตรียมถ้อยแถลงที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้ความยาวประมาณ 10 นาที โดยจะพูดถึงบทบาทความร่วมมือไทยกับสหประชาชาติ รวมถึงการพัฒนา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายกรัฐมนตรีมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในทั่วโลกมาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ความไม่เท่าเทียม ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องมี 2 ลักษณะคือ การพัฒนา และใช้กำลัง ซึ่งการใช้กำลังอย่างเดียวเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่เราจะต้องเข้าไปศึกษาปัญหาที่แท้จริงแต่ละกลุ่มแต่ละพื้นที่และทำความเข้าใจ หากพื้นที่ใดต้องการลดความเหลื่อมล้ำความยากจน ความไม่เสมอภาค ก็จะเน้นการพัฒนาเข้าไป ขณะเดียวกันพื้นที่มีเหตุรุนแรง ใช้กำลังต้องนำกำลังเข้าไปใช้เพื่อรักษาสันติภาพ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องต้องทำควบคู่กันไป
**มีคิวคุย “บันคีมุน” ด้วย
พล.ต.วีรชน กล่าวต่อว่า โอกาสเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์หรือกล่าวถ้อยแถลงในหลายประเด็น อาทิ การจัดการความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมในสังคม ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการในเรื่องนี้อยู่ และมีจะการพูดถึงการบริหารจัดการน้ำ และการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มเน้นเพิ่มบทบาทสตรี สำหรับการหารือนอกรอบในการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นพบปะกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ ความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ค่อยมีโอกาสพบปะกัน อาทิ ประเทศกลุ่มหมู่เกาะและประเทศละตินอเมริกา อย่างเช่น บราซิล ทะเลแคริเบียน กลุ่มประเทศในแถบยุโรปอีก 2-3 ประเทศ หากประเทศไหนจะหารือทวิภาคี เราก็มีความพร้อม รวมถึงองค์กรต่างเกี่ยวกับการพัฒนาต่างๆ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียังมีนัดหมายหารือกับ นายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ด้วย
** พร้อมแจงสถาณการณ์ในไทย
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น พล.ต.วีรชน กล่าวว่า หากมีการสอบถาม นายกรัฐมนตรีก็พร้อมที่จะชี้แจง แต่เชื่อว่าทุกๆประเทศมองข้ามเรื่องนี้ไปแล้ว แม้ต่างประเทศจะไม่สนับสนุน แต่เขาก็เข้าใจ ในสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการซึ่งส่วนใหญ่จะถามเรื่องความร่วมมือในอนาคตมากกว่า โดยเฉพาะในภูมิภาคนี้เรากำลังจะร่วมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน นานาประเทศมองไทยมีบทบาทสำคัญ เพราะมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ และการเป็นศูนย์กลางความได้เปรียบเหล่านี้ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ตนเองอย่างเดียว แต่พยายามสื่อสารเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจค้าขายในภูมิภาคนี้ ว่าไทยพร้อมเอื้ออำนวยความสะดวก ตามนโยบายไทยบวกหนึ่งที่เคยเสนอไป และพยายามบอกว่านโยบายของไทยไม่ใช่การแข่งขันหรือชิงดีชิงเด่นหรือก้าวหน้าแต่เพียงประเทศเดียว แต่เราต้องก้าวไปร่วมกันด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ทั้งภูมิภาค
“เชื่อว่าการที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปร่วมประชุมครั้งนี้ จะทำให้นานาประเทศในโลกได้รู้จักตัวตนของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาอาจจะรู้จักนายกรัฐมนตรีไทยหรือสถานการณ์ในไทยผ่านสื่อ ตรงนี้คงมีโอกาสได้พูดคุยทำความเข้าใจกันในบริบทของตัวผู้นำไทยอย่างชัดเจนขึ้น และมั่นใจว่าการประชุมในครั้งนี้ไทยจะประสบผลสำเร็จ” พล.ต.วีรชน กล่าว