**การออกมาปรากฏตัวพร้อมให้สัมภาษณ์เปิดใจครั้งแรก ภายหลังจากที่ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน และถูกให้พักราชการมากว่า 6 เดือน สะท้อนให้เห็นถึงความอึดอัดใจของ"หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล"ประธานศาลปกครองสูงสุด อย่างชัดเจน
เพราะที่ผ่านมา หัสวุฒิ เลือกที่เล่นบทนิ่ง และยอมรับมติของที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) เสียงข้างมาก ที่สั่งพักราชการและตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบกรณี"จดหมายน้อย"สนับสนุนตำรวจ ของเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ทั้งที่จริงๆแล้ว สามารถโต้แย้งคำสั่งได้
แต่การนิ่งของหัสวุฒิ กลับกลายเป็นเหมือนข้ออ้างที่ทำให้การสอบสวนของคณะกรรมการชุดที่มี"ชาญชัย แสวงศักดิ์"รองประธานศาลปกครองสูงสุด คนที่ 2 เป็นประธาน เป็นไปอย่างล่าช้า เพราะก.ศป.เสียงข้างมาก ได้มีมติชี้มูลความผิด และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย หัสวุฒิ ตั้งแต่ 17 ม.ค.58 ก่อนที่จะมีมติเสียงข้างมาก พักราชการตามมาในการประชุม เมื่อวันที่ 30 มี.ค.58
ซึ่งมติทั้ง 2 ครั้งของ ก.ศป. เสียงข้างมาก ก็มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทักท้วง แต่ก็ไม่เป็นผล ตั้งแต่การชี้มูลความผิด ซึ่งถูกมองว่าเหตุผลไร้น้ำหนักและเลื่อนลอย เพราะมีการอ้างในที่ประชุมว่า หัสวุฒิไม่ออกมาแถลงข่าวปฏิเสธต่อสื่อ หลังจากที่มีตุลาการศาลปกครอง ลงชื่อร้องขอให้ตรวจสอบเรื่องจดหมายน้อย เหมือนเป็นการยอมรับข้อกล่าวหา จนหลายคนในที่ประชุมวันนั้น เห็นว่าเป็นการชี้มูลความผิด ที่ไม่สมเหตุสมผล
อีกทั้งยังมีข้อสังเกตด้วยว่า ตามระเบียบ ก.ศป. ระบุว่า ผู้ที่มีอำนาจลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่ประธานศาลปกครองสูงสุดไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ มีเพียง“รองประธานศาลปกครองสูงสุดคนที่ 1”ซึ่งก็คือ "ปิยะ ปะตังทา" แต่ผู้ลงนามในคำสั่งตั้งกรรมการสอบวินัยกลับเป็น ชาญชัย แสวงศักดิ์ รองประธานศาลปกครองสูงสุด คนที่ 2 ซึ่งขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมก.ศป.
**ตรงนี้เป็นประเด็นแรกที่ทำให้ถูกมองว่า เรื่องนี้มีเบื้องลึกเบื้องหลัง ที่จะเล่นงานเอาผิด หัสวุฒิ เพราะคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนไม่ชอบตามระเบียบของ ก.ศป.เอง
ขณะที่มติพักราชการ หัสวุฒินั้น ก็มีการเปิดเผยว่า มีการทักท้วงจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเช่นกัน โดยให้ความเห็นว่าก.ศป.ไม่อาจลงมติพักราชการ “ประธานศาลปกครองสูงสุด”ได้โดยตรง แต่ต้องมีคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของก.ศป. ซึ่งก็เป็นไปตามระเบียบ ก.ศป.อีกเช่นกัน
** แต่ก.ศป. เสียงข้างมากก็ไม่รับฟัง และลงมติพักราชการ หัสวุฒิทันที
นอกเหนือไปจากนั้นการถูกพักราชการถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับข้าราชการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนระดับ "ประธานศาล" ซึ่งก็ได้มีการกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ต้องเป็นกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะเรื่องการทุจริตต่อหน้าที่ แต่ก.ศป.เสียงข้างมากกลับใช้ข้ออ้างว่า หัสวุฒิ อาจมีพฤติการณ์ขัดขวางการสอบสวนของคณะกรรมการ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่งกับการสั่งพักราชการ"ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่" คนหนึ่ง
ในชั้นคณะกรรมการสอบสวนก็ถูกมองว่า มีเจตนาประวิงเวลา จนล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กฎหมายกำหนด เพราะหลังจากที่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯแล้ว ก็มีการกล่าวหาว่า ชาญชัย แสวงศักดิ์ ในฐานะประธานฯ และ "วิษณุ วรัญญู" เลขานุการคณะกรรมการสอบสวนฯไม่มีการนัดประชุมเพื่อดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด ทั้งยังเสนอต่อที่ประชุม ก.ศป. ให้ทำหนังสือคัดค้านกรรมการผู้แทนที่ส่งมาจาก "คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน" (ก.พ.) จนทาง ก.พ. ต้องมีการประชุม และมีหนังสือแจ้งยืนยันตามเดิมถึง 2 ครั้ง
ส่งผลให้ หัสวุฒิ ต้องเดินหน้าไปยื่นฟ้อง "ชาญชัย–วิษณุ" ต่อศาลอาญา ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 157 เพราะเห็นว่า คณะกรรมการสอบไม่ปฏิบัติตาม ข้อ 11 ของระเบียบ ก.ศป.ที่ระบุว่า "...คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งจากก.ศป. ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจสอบสวนได้ทันภายในกำหนดเวลานั้น ให้ขยายออกไปได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน..."
**ตีความตามตัวอักษรเท่ากับว่า คณะกรรมการสอบสวนมีเวลาทำงานเต็มที่ 2 เดือน แต่จนถึงบัดนี้ได้ล่วงเลยมาเกือบ 6 เดือน เป็นเหตุให้ หัสวุฒิ ต้องออกมาเรียกร้องของความเป็นธรรมดังกล่าว
ทั้งนี้ยังมีการเปิดเผยด้วยว่า ในการประชุม ก.ศป. เมื่อวันที่ 19 ส.ค.58 คณะกรรมการสอบสวนฯได้นำรายงานสรุปผลการสอบวินัย หัสวุฒิ เข้าสู่ที่ประชุม ก.ศป.แล้ว ซึ่งตามรายงานข่าวระบุว่า คณะกรรมการสอบสวนฯ ได้มีมติ 3 ต่อ 2 เสียง สรุปผลการสอบสวนว่าไม่มีมูลตามที่ถูกกล่าวหา แต่ ก.ศป.ก็ไม่ยอมลงมติ ในผลการสอบสวนดังกล่าว
กลับมีมติว่า เมื่อมีกรรมการเสียงข้างน้อยมีความเห็นตรงกันข้ามกันในคณะกรรมการสอบสวนฯ จึงสั่งการให้ไปสอบสวนใหม่ โดย ชาญชัย ได้เป็นผู้ออกหนังสือเองเรียก หัสวุฒิ มาพบเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวหาอีก ทั้งที่คณะกรรมการสอบสวนสรุปผลแล้วว่าไม่มีมูล
ซึ่งเรื่องนี้ถูกทักท้วงว่า ไม่เหมาะสมอย่างหนัก เพราะจะเป็นการเรียกผู้ถูกกล่าวหามาให้ข้อมูล ทั้งที่ผลสอบสวนระบุว่า ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด ซึ่งขัดกับหลักความเป็นจริง จนมีการแจ้งยกเลิกในภายหลัง
ที่สุดความอดทนของ หัสวุฒิ ก็มีจำกัด เพราะมองว่าที่ผ่านมา เป็นฝ่ายถูกกระทำ ด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ถ่วงเวลาเพื่อไม่ต้องการให้ตัวเขากลับทำหน้าที่ประธานศาลปกครองสูงสุด
หัสวุฒิ มองว่า ความผิดปกติของเรื่องนี้ก็ต้องการให้เพียงเขี่ยตัวเขาเองให้พ้นจากเก้าอี้ "ประธานศาลปกครองสูงสุด"
ไม่เพียงเท่านั้น ในขณะที่ข้อกล่าวหาเรื่อง จดหมายน้อย กำลังจะหมดไป ก็ได้มีความพยายามกล่าวหาในกรณีอื่น เพื่อให้มีการตั้งกรรมการสอบสวน และพักราชการ หัสวุฒิ ต่อไป ซึ่งหากติดตามเรื่องราวดีๆ ก็จะเห็นได้ว่า ในทุกกระบวนการ ทั้งการตั้งเรื่องกล่าวหา ตั้งคณะกรรมการสอบสวน การสั่งพักราชการ รวมทั้งการพิจารณาผลการสอบสวน ล้วนแล้วแต่เป็น "บุคคลกลุ่มเดียวกัน"
** ถือว่าอันตรายอย่างยิ่ง ที่องค์กรอำนวยความยุติธรรมอย่างศาลปกครอง เกิดเรื่องราวในลักษณะนี้ ส่วนจะเข้าข่าย"วิกฤต"หรือไม่ อยู่ที่คนในหน่วยงาน ว่าจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร หรือจะปล่อยให้ "บางคน" บ่อนทำลายหน่วยงานเช่นนี้ เพียงเพื่อตำแหน่ง"ประธานศาลปกครองสูงสุด"เช่นนี้
เพราะที่ผ่านมา หัสวุฒิ เลือกที่เล่นบทนิ่ง และยอมรับมติของที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) เสียงข้างมาก ที่สั่งพักราชการและตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบกรณี"จดหมายน้อย"สนับสนุนตำรวจ ของเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ทั้งที่จริงๆแล้ว สามารถโต้แย้งคำสั่งได้
แต่การนิ่งของหัสวุฒิ กลับกลายเป็นเหมือนข้ออ้างที่ทำให้การสอบสวนของคณะกรรมการชุดที่มี"ชาญชัย แสวงศักดิ์"รองประธานศาลปกครองสูงสุด คนที่ 2 เป็นประธาน เป็นไปอย่างล่าช้า เพราะก.ศป.เสียงข้างมาก ได้มีมติชี้มูลความผิด และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย หัสวุฒิ ตั้งแต่ 17 ม.ค.58 ก่อนที่จะมีมติเสียงข้างมาก พักราชการตามมาในการประชุม เมื่อวันที่ 30 มี.ค.58
ซึ่งมติทั้ง 2 ครั้งของ ก.ศป. เสียงข้างมาก ก็มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทักท้วง แต่ก็ไม่เป็นผล ตั้งแต่การชี้มูลความผิด ซึ่งถูกมองว่าเหตุผลไร้น้ำหนักและเลื่อนลอย เพราะมีการอ้างในที่ประชุมว่า หัสวุฒิไม่ออกมาแถลงข่าวปฏิเสธต่อสื่อ หลังจากที่มีตุลาการศาลปกครอง ลงชื่อร้องขอให้ตรวจสอบเรื่องจดหมายน้อย เหมือนเป็นการยอมรับข้อกล่าวหา จนหลายคนในที่ประชุมวันนั้น เห็นว่าเป็นการชี้มูลความผิด ที่ไม่สมเหตุสมผล
อีกทั้งยังมีข้อสังเกตด้วยว่า ตามระเบียบ ก.ศป. ระบุว่า ผู้ที่มีอำนาจลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่ประธานศาลปกครองสูงสุดไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ มีเพียง“รองประธานศาลปกครองสูงสุดคนที่ 1”ซึ่งก็คือ "ปิยะ ปะตังทา" แต่ผู้ลงนามในคำสั่งตั้งกรรมการสอบวินัยกลับเป็น ชาญชัย แสวงศักดิ์ รองประธานศาลปกครองสูงสุด คนที่ 2 ซึ่งขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมก.ศป.
**ตรงนี้เป็นประเด็นแรกที่ทำให้ถูกมองว่า เรื่องนี้มีเบื้องลึกเบื้องหลัง ที่จะเล่นงานเอาผิด หัสวุฒิ เพราะคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนไม่ชอบตามระเบียบของ ก.ศป.เอง
ขณะที่มติพักราชการ หัสวุฒินั้น ก็มีการเปิดเผยว่า มีการทักท้วงจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเช่นกัน โดยให้ความเห็นว่าก.ศป.ไม่อาจลงมติพักราชการ “ประธานศาลปกครองสูงสุด”ได้โดยตรง แต่ต้องมีคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของก.ศป. ซึ่งก็เป็นไปตามระเบียบ ก.ศป.อีกเช่นกัน
** แต่ก.ศป. เสียงข้างมากก็ไม่รับฟัง และลงมติพักราชการ หัสวุฒิทันที
นอกเหนือไปจากนั้นการถูกพักราชการถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับข้าราชการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนระดับ "ประธานศาล" ซึ่งก็ได้มีการกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ต้องเป็นกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะเรื่องการทุจริตต่อหน้าที่ แต่ก.ศป.เสียงข้างมากกลับใช้ข้ออ้างว่า หัสวุฒิ อาจมีพฤติการณ์ขัดขวางการสอบสวนของคณะกรรมการ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่งกับการสั่งพักราชการ"ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่" คนหนึ่ง
ในชั้นคณะกรรมการสอบสวนก็ถูกมองว่า มีเจตนาประวิงเวลา จนล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กฎหมายกำหนด เพราะหลังจากที่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯแล้ว ก็มีการกล่าวหาว่า ชาญชัย แสวงศักดิ์ ในฐานะประธานฯ และ "วิษณุ วรัญญู" เลขานุการคณะกรรมการสอบสวนฯไม่มีการนัดประชุมเพื่อดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด ทั้งยังเสนอต่อที่ประชุม ก.ศป. ให้ทำหนังสือคัดค้านกรรมการผู้แทนที่ส่งมาจาก "คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน" (ก.พ.) จนทาง ก.พ. ต้องมีการประชุม และมีหนังสือแจ้งยืนยันตามเดิมถึง 2 ครั้ง
ส่งผลให้ หัสวุฒิ ต้องเดินหน้าไปยื่นฟ้อง "ชาญชัย–วิษณุ" ต่อศาลอาญา ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 157 เพราะเห็นว่า คณะกรรมการสอบไม่ปฏิบัติตาม ข้อ 11 ของระเบียบ ก.ศป.ที่ระบุว่า "...คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งจากก.ศป. ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจสอบสวนได้ทันภายในกำหนดเวลานั้น ให้ขยายออกไปได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน..."
**ตีความตามตัวอักษรเท่ากับว่า คณะกรรมการสอบสวนมีเวลาทำงานเต็มที่ 2 เดือน แต่จนถึงบัดนี้ได้ล่วงเลยมาเกือบ 6 เดือน เป็นเหตุให้ หัสวุฒิ ต้องออกมาเรียกร้องของความเป็นธรรมดังกล่าว
ทั้งนี้ยังมีการเปิดเผยด้วยว่า ในการประชุม ก.ศป. เมื่อวันที่ 19 ส.ค.58 คณะกรรมการสอบสวนฯได้นำรายงานสรุปผลการสอบวินัย หัสวุฒิ เข้าสู่ที่ประชุม ก.ศป.แล้ว ซึ่งตามรายงานข่าวระบุว่า คณะกรรมการสอบสวนฯ ได้มีมติ 3 ต่อ 2 เสียง สรุปผลการสอบสวนว่าไม่มีมูลตามที่ถูกกล่าวหา แต่ ก.ศป.ก็ไม่ยอมลงมติ ในผลการสอบสวนดังกล่าว
กลับมีมติว่า เมื่อมีกรรมการเสียงข้างน้อยมีความเห็นตรงกันข้ามกันในคณะกรรมการสอบสวนฯ จึงสั่งการให้ไปสอบสวนใหม่ โดย ชาญชัย ได้เป็นผู้ออกหนังสือเองเรียก หัสวุฒิ มาพบเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวหาอีก ทั้งที่คณะกรรมการสอบสวนสรุปผลแล้วว่าไม่มีมูล
ซึ่งเรื่องนี้ถูกทักท้วงว่า ไม่เหมาะสมอย่างหนัก เพราะจะเป็นการเรียกผู้ถูกกล่าวหามาให้ข้อมูล ทั้งที่ผลสอบสวนระบุว่า ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด ซึ่งขัดกับหลักความเป็นจริง จนมีการแจ้งยกเลิกในภายหลัง
ที่สุดความอดทนของ หัสวุฒิ ก็มีจำกัด เพราะมองว่าที่ผ่านมา เป็นฝ่ายถูกกระทำ ด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ถ่วงเวลาเพื่อไม่ต้องการให้ตัวเขากลับทำหน้าที่ประธานศาลปกครองสูงสุด
หัสวุฒิ มองว่า ความผิดปกติของเรื่องนี้ก็ต้องการให้เพียงเขี่ยตัวเขาเองให้พ้นจากเก้าอี้ "ประธานศาลปกครองสูงสุด"
ไม่เพียงเท่านั้น ในขณะที่ข้อกล่าวหาเรื่อง จดหมายน้อย กำลังจะหมดไป ก็ได้มีความพยายามกล่าวหาในกรณีอื่น เพื่อให้มีการตั้งกรรมการสอบสวน และพักราชการ หัสวุฒิ ต่อไป ซึ่งหากติดตามเรื่องราวดีๆ ก็จะเห็นได้ว่า ในทุกกระบวนการ ทั้งการตั้งเรื่องกล่าวหา ตั้งคณะกรรมการสอบสวน การสั่งพักราชการ รวมทั้งการพิจารณาผลการสอบสวน ล้วนแล้วแต่เป็น "บุคคลกลุ่มเดียวกัน"
** ถือว่าอันตรายอย่างยิ่ง ที่องค์กรอำนวยความยุติธรรมอย่างศาลปกครอง เกิดเรื่องราวในลักษณะนี้ ส่วนจะเข้าข่าย"วิกฤต"หรือไม่ อยู่ที่คนในหน่วยงาน ว่าจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร หรือจะปล่อยให้ "บางคน" บ่อนทำลายหน่วยงานเช่นนี้ เพียงเพื่อตำแหน่ง"ประธานศาลปกครองสูงสุด"เช่นนี้