นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกสภาปฎิบัติแห่งชาติ (สปช.) ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ก่อนหน้าแล้ว เพราะเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญมีการยกร่างไว้ไกลเกินไป เกรงจะทำให้เกิดปัญหาในอนาคต กระบวนการปรับแก้ จึงเป็นสิ่งสำคัญ หากปล่อยให้ไปสู่ขั้นตอนการทำประชามติ โดยส่วนตัวเชื่อว่า จะทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม
ทั้งนี้ หากผ่านการทำประชามติ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำได้ยากมาก เพราะเงื่อนไขรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ซับซ้อน หลายขั้นตอน อาจจะเป็นความคิดของ สปช. เองว่า ในเมื่อมีสาระสำคัญหลายเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขก่อน ดังนั้นการจะส่งไปทำประชามติทันที อาจเป็นเรื่องไม่เหมาะสม จึงต้องให้มีกระบวนการในการทบทวน โดยใช้กระบวนการยกร่างขึ้นใหม่ โดยเอาโครงร่างเดิมเป็นหลัก อะไรที่ดีก็คงไว้ตามเดิม อะไรที่เป็นปัญหาให้นำมาพิจารณาทบทวน อาจจะใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน ก็ถือว่าเป็นกระบวนการคิดที่น่าเหมาะสม เพราะในเนื้อหาสาระที่สำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นความขัดแย้ง ประเด็นที่มีการโต้แย้งเถียงกันว่า เป็นปัญหามีหลายเรื่อง ซึ่งกรรมการยกร่างชุดใหม่ ควรจะเอาประเด็นเหล่านี้ไปเป็นประเด็นในการพิจารณา หากไม่เอาเรื่องเหล่านี้ไปพิจารณาแล้ว ผลที่เกิดขึ้นท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นว่า คงต้องยืดระยะเวลาในการปรับแก้ไขออกไปอีก
อย่างไรก็ตาม นายสมชัย มองว่าประเด็นที่เป็นปัญหาหลักมี 4 เรื่อง 1. เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี การเปิดโอกาสให้มีคนนอกเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น มีความเหมาะสมเพียงไร 2. ที่มาของส.ว. มีที่มาจากการสรรหา 123 คน กระบวนการสรรหา วิธีการสรรหา ซึ่งจากเดิมเขียนไว้ค่อนข้างดี แต่มาเขียนไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในครั้งแรกให้เป็นคณะรัฐมนตรีดำเนินการ จึงต้องพิจารณาทบทวนว่า เหมาะสมหรือไม่ 3. คณะกรรมการยุทธ์ศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) โดยเฉพาะบทบาทหน้าที่ ที่อยู่ในบทเฉพาะกาล หรือรายละเอียดต่างๆ ในรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ และ 4. กลไกต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ จะสามารถป้องกันคนทุจริต สามารถหลุดออกจากวงการเมืองหรือไม่ คือเรื่องใบเหลือง-ใบแดง ซึ่ง กกต.เคยทักท้วง การให้ใบแดง ใบที่ 3 ไม่ว่าจะเป็นก่อนการเลือกตั้ง หรือก่อนประกาศผลเลือกตั้ง ท้ายที่สุดจะเป็นช่องทางให้คนทุจริตสามารถเข้าสู่การเมืองได้โดยง่าย และเอาออกยาก เพราะต้องไปถึง 2 ศาล ศาลที่ 1 คือ ศาลอุทธรณ์ ต้องใช้เวลาเป็นปี รวมทั้งขั้นตอนของกกต. ด้วย และศาลที่ 2 คือ ศาลฎีกา ซึ่งสามารถที่จะฎีกาต่อไปได้ กรณีนี้ก็จะแสดงว่า คนดังกล่าวก็จะสามารถเข้าไปสู่แวดวงการเมืองได้ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นปี ซึ่งคิดว่า เป็นประเด็นที่อยากจะฝากให้กรรมการยกร่างฯ ชุดใหม่ ได้พิจารณา หยิบเอาประเด็นสำคัญที่ยังเป็นปัญหาอยู่ ไปปรับปรุงแก้อีกทีหนึ่ง ส่วนประเด็นใดที่ทำแล้วทำได้ดี เช่น การให้อำนาจแก่พลเมือง เป็นการส่งเสริมสิทธิแก่ประชาชน ของสิทธิสตรี กลุ่มคนต่างๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีแล้ว ไม่ต้องไปแตะ ก็ถือว่าให้ใช้โครงเดิมไป เพราะฉะนั้นกระบวนการร่าง คิดว่า ในระยะเวลา 6 เดือน ก็น่าจะทำให้เกิดผลสำเร็จ
"ที่สำคัญคือการเปิดรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ที่ผ่านมา กระบวนการในการร่างอาจมีปัญหา เพราะกระบวนการในการรับฟังปัญหา อาจจะรับแล้วไม่ได้นำไปพิจารณาอย่างแท้จริง ดังนั้น ควรเป็นบทเรียนของกรรมการยกร่างฯ ชุดใหม่ ที่ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ให้มากขึ้น"
ส่วนที่มองว่า 8 เดือนของการยกร่าง จะเป็นการเสียของนั้น นายสมชัย กล่าวว่า เราคงต้องการทำสิ่งที่ดีที่สุด คงไม่โทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ว่าเกิดปัญหาต่างๆ อย่างไร แต่ก็ถือว่าเป็นบทเรียนร่วมกันว่า กระบวนการในการยกร่างรัฐธรรมนั้น ต้องมาจากการฟังเสียงของฝ่ายต่างๆ อย่าคิดว่าตัวเองได้รับหน้าที่ไปแล้ว ก็จะทำตามความเห็นของตนเองฝ่ายเดียว หากมีโอกาสในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ก็ถือว่าต้องใช้โอกาสในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
เมื่อถามว่า พรรคการเมืองไม่เห็นด้วยกับยกร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะมีฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมเป็นกรรมการยกร่างฯ ชุดใหม่ นายสมชัย กล่าวว่า ฝ่ายการเมืองเป็นฝ่ายที่มีส่วนได้เสีย อาจต้องฟังความเห็นของเขา แต่ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้คนเหล่านั้นเข้าไปทำหน้าที่ในการยกร่าง เพราะเมื่อใดก็ตามผู้มีส่วนได้เสีย มีส่วนในการยกร่างเอง ก็จะมีการดึงเนื้อหาสาระไปในเชิงเอื้อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง ดังนั้นให้มองในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย สามารถที่จะเสนอความเห็นได้ และความเห็นอะไรก็ตาม สิ่งที่ดี เป็นประโยชน์ ก็นำเอาความเห็นดังกล่าวมาใช้ แต่ว่ากรรมการยกร่าง ควรมีความเป็นอิสระ เป็นกลาง และมองภาพที่เกิดจากสังคมไทยอย่างแท้จริง ว่า เกิดปัญหาอะไรขึ้น และข้อเสนอต่างๆ ทางออกต่างๆ ควรจะเป็นข้อเสนอที่เป็นไปได้ในทางปฏบัติ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ตามมา
ทั้งนี้ หากผ่านการทำประชามติ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำได้ยากมาก เพราะเงื่อนไขรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ซับซ้อน หลายขั้นตอน อาจจะเป็นความคิดของ สปช. เองว่า ในเมื่อมีสาระสำคัญหลายเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขก่อน ดังนั้นการจะส่งไปทำประชามติทันที อาจเป็นเรื่องไม่เหมาะสม จึงต้องให้มีกระบวนการในการทบทวน โดยใช้กระบวนการยกร่างขึ้นใหม่ โดยเอาโครงร่างเดิมเป็นหลัก อะไรที่ดีก็คงไว้ตามเดิม อะไรที่เป็นปัญหาให้นำมาพิจารณาทบทวน อาจจะใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน ก็ถือว่าเป็นกระบวนการคิดที่น่าเหมาะสม เพราะในเนื้อหาสาระที่สำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นความขัดแย้ง ประเด็นที่มีการโต้แย้งเถียงกันว่า เป็นปัญหามีหลายเรื่อง ซึ่งกรรมการยกร่างชุดใหม่ ควรจะเอาประเด็นเหล่านี้ไปเป็นประเด็นในการพิจารณา หากไม่เอาเรื่องเหล่านี้ไปพิจารณาแล้ว ผลที่เกิดขึ้นท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นว่า คงต้องยืดระยะเวลาในการปรับแก้ไขออกไปอีก
อย่างไรก็ตาม นายสมชัย มองว่าประเด็นที่เป็นปัญหาหลักมี 4 เรื่อง 1. เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี การเปิดโอกาสให้มีคนนอกเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น มีความเหมาะสมเพียงไร 2. ที่มาของส.ว. มีที่มาจากการสรรหา 123 คน กระบวนการสรรหา วิธีการสรรหา ซึ่งจากเดิมเขียนไว้ค่อนข้างดี แต่มาเขียนไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในครั้งแรกให้เป็นคณะรัฐมนตรีดำเนินการ จึงต้องพิจารณาทบทวนว่า เหมาะสมหรือไม่ 3. คณะกรรมการยุทธ์ศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) โดยเฉพาะบทบาทหน้าที่ ที่อยู่ในบทเฉพาะกาล หรือรายละเอียดต่างๆ ในรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ และ 4. กลไกต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ จะสามารถป้องกันคนทุจริต สามารถหลุดออกจากวงการเมืองหรือไม่ คือเรื่องใบเหลือง-ใบแดง ซึ่ง กกต.เคยทักท้วง การให้ใบแดง ใบที่ 3 ไม่ว่าจะเป็นก่อนการเลือกตั้ง หรือก่อนประกาศผลเลือกตั้ง ท้ายที่สุดจะเป็นช่องทางให้คนทุจริตสามารถเข้าสู่การเมืองได้โดยง่าย และเอาออกยาก เพราะต้องไปถึง 2 ศาล ศาลที่ 1 คือ ศาลอุทธรณ์ ต้องใช้เวลาเป็นปี รวมทั้งขั้นตอนของกกต. ด้วย และศาลที่ 2 คือ ศาลฎีกา ซึ่งสามารถที่จะฎีกาต่อไปได้ กรณีนี้ก็จะแสดงว่า คนดังกล่าวก็จะสามารถเข้าไปสู่แวดวงการเมืองได้ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นปี ซึ่งคิดว่า เป็นประเด็นที่อยากจะฝากให้กรรมการยกร่างฯ ชุดใหม่ ได้พิจารณา หยิบเอาประเด็นสำคัญที่ยังเป็นปัญหาอยู่ ไปปรับปรุงแก้อีกทีหนึ่ง ส่วนประเด็นใดที่ทำแล้วทำได้ดี เช่น การให้อำนาจแก่พลเมือง เป็นการส่งเสริมสิทธิแก่ประชาชน ของสิทธิสตรี กลุ่มคนต่างๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีแล้ว ไม่ต้องไปแตะ ก็ถือว่าให้ใช้โครงเดิมไป เพราะฉะนั้นกระบวนการร่าง คิดว่า ในระยะเวลา 6 เดือน ก็น่าจะทำให้เกิดผลสำเร็จ
"ที่สำคัญคือการเปิดรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ที่ผ่านมา กระบวนการในการร่างอาจมีปัญหา เพราะกระบวนการในการรับฟังปัญหา อาจจะรับแล้วไม่ได้นำไปพิจารณาอย่างแท้จริง ดังนั้น ควรเป็นบทเรียนของกรรมการยกร่างฯ ชุดใหม่ ที่ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ให้มากขึ้น"
ส่วนที่มองว่า 8 เดือนของการยกร่าง จะเป็นการเสียของนั้น นายสมชัย กล่าวว่า เราคงต้องการทำสิ่งที่ดีที่สุด คงไม่โทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ว่าเกิดปัญหาต่างๆ อย่างไร แต่ก็ถือว่าเป็นบทเรียนร่วมกันว่า กระบวนการในการยกร่างรัฐธรรมนั้น ต้องมาจากการฟังเสียงของฝ่ายต่างๆ อย่าคิดว่าตัวเองได้รับหน้าที่ไปแล้ว ก็จะทำตามความเห็นของตนเองฝ่ายเดียว หากมีโอกาสในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ก็ถือว่าต้องใช้โอกาสในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
เมื่อถามว่า พรรคการเมืองไม่เห็นด้วยกับยกร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะมีฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมเป็นกรรมการยกร่างฯ ชุดใหม่ นายสมชัย กล่าวว่า ฝ่ายการเมืองเป็นฝ่ายที่มีส่วนได้เสีย อาจต้องฟังความเห็นของเขา แต่ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้คนเหล่านั้นเข้าไปทำหน้าที่ในการยกร่าง เพราะเมื่อใดก็ตามผู้มีส่วนได้เสีย มีส่วนในการยกร่างเอง ก็จะมีการดึงเนื้อหาสาระไปในเชิงเอื้อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง ดังนั้นให้มองในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย สามารถที่จะเสนอความเห็นได้ และความเห็นอะไรก็ตาม สิ่งที่ดี เป็นประโยชน์ ก็นำเอาความเห็นดังกล่าวมาใช้ แต่ว่ากรรมการยกร่าง ควรมีความเป็นอิสระ เป็นกลาง และมองภาพที่เกิดจากสังคมไทยอย่างแท้จริง ว่า เกิดปัญหาอะไรขึ้น และข้อเสนอต่างๆ ทางออกต่างๆ ควรจะเป็นข้อเสนอที่เป็นไปได้ในทางปฏบัติ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ตามมา