เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (7ก.ย.) ที่ศูนย์บริการประชาชนฯ ฝั่งสำนักงานก.พ. กลุ่มสมัชชาเกษตรกรรายย่อย (สกย.) จำนวน 300 คน นำโดย นายนคร ศรีวิพัฒน์ เลขาธิการสมัชชาเกษตรกรรายย่อย เข้าร้องเรียนต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ผ่านศูนย์บริการประชาชนฯ เพื่อขอให้นายกฯแก้ไขปัญหาหนี้สิน ที่ทำกิน และการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.)
โดยนายนคร กล่าวว่า สกย. ได้ติดตามแก้ไขปัญหาเกษตรกรจากรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ไม่อาจดำเนินการทีเดียวทุกเรื่อง แต่สามารถเลือกเรื่องได้ ในเรื่องการดำเนินงานของ กฟก. ขอให้นายกฯ รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองเป็นไปตามข้อบัญญัติของ พ.ร.บ.กฟก. พ.ศ. 2542 โดยไม่มอบหมายให้รองนายกฯ มาดำรงตำแหน่งแทน นอกจากนี้ขอเรียกร้องให้ นายอำนวย ปะติเส อดีตรมช.เกษตรฯ ร่วมแก้ไขปัญหา เพราะเป็นผู้เข้าใจปัญหาของเกษตรกร ขณะเดียวกัน ขอให้ตั้งคณะกรรมการแปรยุทธศาสตร์กองทุนฟื้นฟูฯ ที่นายอำนวยได้ วางแผนไว้ แต่ยังไม่มีโอกาสดำเนินการ
นายนคร กล่าวอีกว่า ส่วนการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ขอให้ดำรงคณะกรรมการประสานงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไว้ขอให้รัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการนี้อย่างเต็มที่ ส่วนการแก้ไขปัญหาที่ทำกินของเกษตรกรขอให้ดำรงคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการและผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการของรัฐไว้โดยขอให้รัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนอย่างเต็มที่กรณีปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างฝ่ายข้าราชการ กับตัวแทนเกษตรกรผู้เดือดร้อน ขณะเดียวกันจากการที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ได้มีมติไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ทางกลุ่มเห็นว่ารัฐบาลควรเปิดโอกาส ให้มีตัวแทนของกลุ่มเข้าไปมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา โดยขอให้แต่งตั้งผู้แทนสมัชชาเกษตรกรรายย่อยจำนวน 1 คน ในคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในครั้งนี้ด้วย
**นายกฯตั้งอนุกก.จัดที่อยู่อาศัยให้คนยากไร้
เวลา 13.30 น. วันเดียวกันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2558 ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงหลังการประชุมว่า คณะกรรมการฯ ต้องการจัดสรรที่ดินของรัฐ ให้กับประชาชนที่ไม่มีพื้นที่ทำกินได้เข้าไปอยู่อาศัย และมีที่ดินทำกิน โดยจะใช้พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม พื้นที่ของส.ป.ก. และอีกส่วนเป็นพื้นที่จัดสรรให้ ซึ่งหลังจากย้ายประชาชนเข้ามาในพื้นที่ที่จัดสรรแล้ว ในระยะเริ่มต้นนายกฯได้ให้นโยบายแก่เจ้าหน้าที่รัฐต้องจัดพื้นที่อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็น ถนน ไฟฟ้า น้ำ และการส่งเสริมอาชีพให้สามารถอยู่ได้ ส่วนในพื้นที่ห่างไกล และไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ต้องการให้ใช้พลังงานทดแทนที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย ไปดูประชาชนในระหว่างรอยต่อรอพืชผลเติบโตด้วย
พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังอนุมัติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินทำกินเพื่อบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพื้นที่ทำกินอยู่ในความรับผิดชอบของหลายกระทรวง และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องประมาณ 20 ฉบับ และอนุมัติจัดตั้งคณะอนุกรรมการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน เพื่อติดตามว่าหลังจากประชาชนเข้าไปอยู่อาศัยและทำกินสามารถมีผลผลิตและมีรายได้จำนวนเท่าไร ขณะเดียวกัน นายกฯ มีข้อกังวลเรื่องที่อยู่อาศัย จึงให้ตั้งคณะอนุกรรมการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่คนยากไร้ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการเพิ่มเติมอีกหนึ่งชุดที่อยู่ภายใต้คสช. เพื่อให้การทำงานครบถ้วนในทุกมิติ ทั้งนี้ นายกฯยังได้มอบหมายให้ตนไปศึกษาว่า ควรจะต้องมีคณะทำงานบริหารความขัดแย้งโดยสันติวิธีหรือไม่ เพื่อทำหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจในกรณีเกิดข้อขัดแย้งของคนที่บุกรุกอยู่ก่อน หรือคนได้รับจัดสรรเข้าไปใหม่ หรือคนที่มีอิทธิพลในพื้นที่
โดยนายนคร กล่าวว่า สกย. ได้ติดตามแก้ไขปัญหาเกษตรกรจากรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ไม่อาจดำเนินการทีเดียวทุกเรื่อง แต่สามารถเลือกเรื่องได้ ในเรื่องการดำเนินงานของ กฟก. ขอให้นายกฯ รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองเป็นไปตามข้อบัญญัติของ พ.ร.บ.กฟก. พ.ศ. 2542 โดยไม่มอบหมายให้รองนายกฯ มาดำรงตำแหน่งแทน นอกจากนี้ขอเรียกร้องให้ นายอำนวย ปะติเส อดีตรมช.เกษตรฯ ร่วมแก้ไขปัญหา เพราะเป็นผู้เข้าใจปัญหาของเกษตรกร ขณะเดียวกัน ขอให้ตั้งคณะกรรมการแปรยุทธศาสตร์กองทุนฟื้นฟูฯ ที่นายอำนวยได้ วางแผนไว้ แต่ยังไม่มีโอกาสดำเนินการ
นายนคร กล่าวอีกว่า ส่วนการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ขอให้ดำรงคณะกรรมการประสานงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไว้ขอให้รัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการนี้อย่างเต็มที่ ส่วนการแก้ไขปัญหาที่ทำกินของเกษตรกรขอให้ดำรงคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการและผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการของรัฐไว้โดยขอให้รัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนอย่างเต็มที่กรณีปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างฝ่ายข้าราชการ กับตัวแทนเกษตรกรผู้เดือดร้อน ขณะเดียวกันจากการที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ได้มีมติไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ทางกลุ่มเห็นว่ารัฐบาลควรเปิดโอกาส ให้มีตัวแทนของกลุ่มเข้าไปมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา โดยขอให้แต่งตั้งผู้แทนสมัชชาเกษตรกรรายย่อยจำนวน 1 คน ในคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในครั้งนี้ด้วย
**นายกฯตั้งอนุกก.จัดที่อยู่อาศัยให้คนยากไร้
เวลา 13.30 น. วันเดียวกันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2558 ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงหลังการประชุมว่า คณะกรรมการฯ ต้องการจัดสรรที่ดินของรัฐ ให้กับประชาชนที่ไม่มีพื้นที่ทำกินได้เข้าไปอยู่อาศัย และมีที่ดินทำกิน โดยจะใช้พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม พื้นที่ของส.ป.ก. และอีกส่วนเป็นพื้นที่จัดสรรให้ ซึ่งหลังจากย้ายประชาชนเข้ามาในพื้นที่ที่จัดสรรแล้ว ในระยะเริ่มต้นนายกฯได้ให้นโยบายแก่เจ้าหน้าที่รัฐต้องจัดพื้นที่อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็น ถนน ไฟฟ้า น้ำ และการส่งเสริมอาชีพให้สามารถอยู่ได้ ส่วนในพื้นที่ห่างไกล และไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ต้องการให้ใช้พลังงานทดแทนที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย ไปดูประชาชนในระหว่างรอยต่อรอพืชผลเติบโตด้วย
พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังอนุมัติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินทำกินเพื่อบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพื้นที่ทำกินอยู่ในความรับผิดชอบของหลายกระทรวง และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องประมาณ 20 ฉบับ และอนุมัติจัดตั้งคณะอนุกรรมการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน เพื่อติดตามว่าหลังจากประชาชนเข้าไปอยู่อาศัยและทำกินสามารถมีผลผลิตและมีรายได้จำนวนเท่าไร ขณะเดียวกัน นายกฯ มีข้อกังวลเรื่องที่อยู่อาศัย จึงให้ตั้งคณะอนุกรรมการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่คนยากไร้ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการเพิ่มเติมอีกหนึ่งชุดที่อยู่ภายใต้คสช. เพื่อให้การทำงานครบถ้วนในทุกมิติ ทั้งนี้ นายกฯยังได้มอบหมายให้ตนไปศึกษาว่า ควรจะต้องมีคณะทำงานบริหารความขัดแย้งโดยสันติวิธีหรือไม่ เพื่อทำหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจในกรณีเกิดข้อขัดแย้งของคนที่บุกรุกอยู่ก่อน หรือคนได้รับจัดสรรเข้าไปใหม่ หรือคนที่มีอิทธิพลในพื้นที่