เมื่อสองสามวันก่อนทิดสุเทพ เทือกสุบรรณ ในนามของมูลนิธิมวลมหาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย แถลงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมกับกรรมการมูลนิธิอีกหลายคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมการแถลงข่าวด้วย
ข้อสรุปของทิดสุเทพก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีพอที่จะนำไปให้ประชาชนลงประชามติ
คำแถลงของทิดสุเทพและคณะเป็นไปอย่างโอ่อ่าผ่าเผย แม้จะเป็นเรื่องการเมืองซึ่งเป็นเรื่องต้องห้ามของ คสช.หลังจากนี้กลุ่มอื่นเช่น เสื้อแดงก็คงจะเอาบ้างเพราะทิดสุเทพพูดได้คนอื่นก็ควรจะพูดได้
ในขณะที่ก่อนหน้านี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเรียกร้องให้ สปช.คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อให้กลับไปปรับปรุงเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งความเห็นของอภิสิทธิ์ตรงกับคู่แข่งทางการเมืองคือพรรคเพื่อไทย แต่ขัดแย้งกับทิดสุเทพ
พูดได้ว่าปีกของนักการเมืองแม้จะต่างขั้วแต่มีความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ต่างกัน ทั้งๆ ที่เร่งให้รับร่างรัฐธรรมนูญไปก็จะได้รีบกลับมาเลือกตั้ง
คราวนั้นอภิสิทธิ์และคนที่ออกมาพูดถูกพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.สวนว่า นักการเมืองไม่เกี่ยว ที่ให้พูดนี่ก็เก่งแล้ว
แต่เรื่องนี้ก็ไม่สลักสำคัญเท่ากับความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์
คำถามว่า เมื่อลูกพรรคแม้กระทั่งโฆษกพรรคยังมีจุดยืนสวนทางกับตัวเองวันนี้อภิสิทธิ์จะยืนอย่างไรในพรรคประชาธิปัตย์ อยากรู้เหมือนกันว่า อภิสิทธิ์จะกลับคำพูดหรือประกาศแตกหักกับทิดสุเทพและสมาชิกที่สนับสนุนทิดสุเทพ น่าสนใจว่า พรรคประชาธิปัตย์นับจากนี้จะเป็นอย่างไร
ในอดีตพรรคประชาธิปัตย์เคยมีความแตกแยกมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเกิดของกลุ่ม 10 มกราที่นำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ และนายวีระ มุสิกพงศ์ ที่พ่ายแพ้ในการแย่งชิงตำแหน่งหัวหน้าและเลขาธิการพรรคกับนายพิชัย รัตตกุล และพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ความขัดแย้งระหว่างนายชวน หลีกภัยกับนายอุทัย พิมพ์ใจชน การลาออกจากพรรคของนายสมัคร สุนทรเวช เป็นต้น
ต้องยอมรับว่า ขณะนี้บารมีของทิดสุเทพนั้นบดบังคนอื่นในพรรคไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอภิสิทธิ์หรือนายชวน หลีกภัย ชวนซึ่งเป็นเหมือนเทพเจ้าของคนใต้เวลานี้บารมีในภาคใต้ก็เป็นรองทิดสุเทพไปแล้ว
ถ้าจะพูดกันตามความเป็นจริงก่อนหน้านี้ในพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคของชนชั้นกลางในเมือง และพรรคของคนทุกชนชั้นในภาคใต้ ทั้งชวนและอภิสิทธิ์นั้นเปรียบเหมือนเป็นเทพในพรรค ชวน หลีกภัย เป็นภาพของลูกคนจนที่มีภาพลักษณ์สมถะ มือสะอาด สุภาพ นุ่มนวล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีภาพของลูกผู้ดี ที่มีชาติวุฒิและการศึกษาที่ดี ส่วนทิดสุเทพมีภาพเป็นมารเป็นนักการเมืองที่กระดำกระด่างและมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี
แต่พอทิดสุเทพออกมานำมวลชนลอกคราบเป็นกำนันสุเทพ ประกาศบนเวทีว่า ตอนเป็นนักการเมืองไม่เคยโกงแม้แต่บาทเดียวก็เหมือนผู้คนจะลืมภาพเก่าของทิดสุเทพไปชั่วข้ามคืน คนชื่อสุเทพก็กลายเป็นเทพที่แท้จริงตั้งแต่บัดนั้น กระทั่งมาชุบตัวให้เหลืองอร่ามดั่งทองทาในนามของพระสุเทพออกเดินสายแผ่บารมีไปทั่วภาคใต้แบบที่นายชวนเทพองค์เดิมยังต้องไปขอพึ่งใบบุญ
วันนี้ดูเหมือนว่า แม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ยังต้องพึ่งบารมีของทิดสุเทพ
ทิดสุเทพก็คงเชื่อเช่นนั้นถึงกับตอบคำถามอย่างมั่นใจว่า เขามีมวลชนที่หนุนหลังมากพอ คนที่เป็นมวลชนของ กปปส.มีทั้งคนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์และไม่เคยเลือกประชาธิปัตย์ พูดง่ายๆ ทิดสุเทพเชื่อว่าตัวเองมีมวลชนมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์นั่นแหละ
ผมคิดว่า ทิดสุเทพคงจะเหมาว่ามวลชนทั้งหมดที่ออกมาร่วมกับ กปปส.นั้นเป็นมวลชนที่สนับสนุนแนวทางของตัวเองทั้งหมด แต่ถ้าพูดกันตามความเป็นจริงแล้ว การชุมนุมของ กปปส.ในช่วงแรกๆ ที่ยังมีประเด็นนิรโทษกรรมสุดซอยอยู่นั้นก็อาจจะจริงที่คนออกมาร่วมอาจจะไม่ได้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด แต่เขาออกมาเพราะเห็นถึงความไม่ถูกต้องชอบธรรม แต่พอประเด็นนี้จบไป การชุมนุมไปช่วงหลังๆ ของ กปปส.นั้นถ้าจะว่าไปแล้ว แทบจะเหลือมวลชนที่สนับสนุน ปชป.เท่านั้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมวลชนที่มาจากภาคใต้
ดังนั้นไม่ใช่ว่าคนที่ออกมาร่วมชุมนุมสยบเภทภัยของแผ่นดินกับ กปปส.จะเดินตามทิดสุเทพทั้งหมด
การแถลงจุดยืนล่าสุดของทิดสุเทพทำให้สถานการณ์ตอนนี้กลับกันนะครับ ในขณะที่พรรคการเมืองใหญ่สองพรรคไม่อยากให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านควรจะกลับไปแก้ไขใหม่ให้เป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้ ขณะที่ทิดสุเทพและคณะเรียกร้องให้มวลชนสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่านเร็ว เลือกตั้งก็จะกลับมาเร็วขึ้น
ในขณะที่เดิมธงของ กปปส.ที่ต่อสู้จนบาดเจ็บล้มตายก็คือ การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง นั่นหมายความว่า ถ้ายังไม่ปฏิรูปก็ไม่ควรเลือกตั้ง ซึ่งถ้าว่ากันตามเป็นจริงถึงตอนนี้รัฐบาลชุดนี้ก็ยังไม่ได้ปฏิรูปอะไรเลย แต่พอแถลงสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญทิดสุเทพบอกว่า การปฏิรูปทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ทั้งฝ่ายรัฐบาล ส่วนราชการ ประชาชน องค์กรต่างๆ และบอกให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ซึ่งจะดำเนินการให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐทำตามยุทธศาสตร์ชาติ
ตอนนี้จึงเหมือนกับทิดสุเทพและคณะบอกว่า เลือกตั้งไปก่อนและค่อยปฏิรูปก็ได้
ส่วนในพรรคประชาธิปัตย์ก็คงระส่ำระสายว่า จะเดินตามทิดสุเทพ หรือชูธงคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่หัวหน้าพรรคประกาศออกไปแล้ว ซึ่งผมคิดว่าถึงตอนนี้อภิสิทธิ์ก็ยากจะกลับลำได้ เพราะจะกลายเป็นไม่มีจุดยืนทันที ดูเหมือนว่าถึงตอนนี้พรรคประชาธิปัตย์จะอยู่ในฐานะลำบากกว่าพรรคเพื่อไทยด้วยซ้ำไป
หรือว่านี่จะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง
ถ้าพูดกันตามความเป็นจริงแล้ว พรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นพรรคการเมืองเดียวในประเทศที่มีลักษณะความเป็นสถาบันพรรคการเมืองมากที่สุดมีประวัติต่อเนื่องยาวนาน ต่างกับพรรคอื่นที่มักจะมีลักษณะของพรรคนายทุนหรือพรรคที่มีเจ้าของพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทยของทักษิณ พรรคชาติไทยพัฒนาของบรรหาร พรรคชาติพัฒนาของสุวัจน์
การต่อสู้ภายในพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่การก่อตั้งพรรคเป็นต้นมา จึงเข้มข้นพอๆ กับการต่อสู้ภายนอกกับพรรคการเมืองอื่นๆ มีความเป็นปึกแผ่น ความแตกแยก ล้มเหลว และประสบความสำเร็จคลุกเคล้ากันไป
ศึกครั้งนี้จึงเหลือแต่ว่า อภิสิทธิ์จะกลับคำพูดของตัวเองไปยืนกับทิดสุเทพหรือจะนำพาพรรคประชาธิปัตย์ไปสู้ในทิศทางใหม่อีกครั้ง
ข้อสรุปของทิดสุเทพก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีพอที่จะนำไปให้ประชาชนลงประชามติ
คำแถลงของทิดสุเทพและคณะเป็นไปอย่างโอ่อ่าผ่าเผย แม้จะเป็นเรื่องการเมืองซึ่งเป็นเรื่องต้องห้ามของ คสช.หลังจากนี้กลุ่มอื่นเช่น เสื้อแดงก็คงจะเอาบ้างเพราะทิดสุเทพพูดได้คนอื่นก็ควรจะพูดได้
ในขณะที่ก่อนหน้านี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเรียกร้องให้ สปช.คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อให้กลับไปปรับปรุงเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งความเห็นของอภิสิทธิ์ตรงกับคู่แข่งทางการเมืองคือพรรคเพื่อไทย แต่ขัดแย้งกับทิดสุเทพ
พูดได้ว่าปีกของนักการเมืองแม้จะต่างขั้วแต่มีความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ต่างกัน ทั้งๆ ที่เร่งให้รับร่างรัฐธรรมนูญไปก็จะได้รีบกลับมาเลือกตั้ง
คราวนั้นอภิสิทธิ์และคนที่ออกมาพูดถูกพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.สวนว่า นักการเมืองไม่เกี่ยว ที่ให้พูดนี่ก็เก่งแล้ว
แต่เรื่องนี้ก็ไม่สลักสำคัญเท่ากับความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์
คำถามว่า เมื่อลูกพรรคแม้กระทั่งโฆษกพรรคยังมีจุดยืนสวนทางกับตัวเองวันนี้อภิสิทธิ์จะยืนอย่างไรในพรรคประชาธิปัตย์ อยากรู้เหมือนกันว่า อภิสิทธิ์จะกลับคำพูดหรือประกาศแตกหักกับทิดสุเทพและสมาชิกที่สนับสนุนทิดสุเทพ น่าสนใจว่า พรรคประชาธิปัตย์นับจากนี้จะเป็นอย่างไร
ในอดีตพรรคประชาธิปัตย์เคยมีความแตกแยกมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเกิดของกลุ่ม 10 มกราที่นำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ และนายวีระ มุสิกพงศ์ ที่พ่ายแพ้ในการแย่งชิงตำแหน่งหัวหน้าและเลขาธิการพรรคกับนายพิชัย รัตตกุล และพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ความขัดแย้งระหว่างนายชวน หลีกภัยกับนายอุทัย พิมพ์ใจชน การลาออกจากพรรคของนายสมัคร สุนทรเวช เป็นต้น
ต้องยอมรับว่า ขณะนี้บารมีของทิดสุเทพนั้นบดบังคนอื่นในพรรคไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอภิสิทธิ์หรือนายชวน หลีกภัย ชวนซึ่งเป็นเหมือนเทพเจ้าของคนใต้เวลานี้บารมีในภาคใต้ก็เป็นรองทิดสุเทพไปแล้ว
ถ้าจะพูดกันตามความเป็นจริงก่อนหน้านี้ในพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคของชนชั้นกลางในเมือง และพรรคของคนทุกชนชั้นในภาคใต้ ทั้งชวนและอภิสิทธิ์นั้นเปรียบเหมือนเป็นเทพในพรรค ชวน หลีกภัย เป็นภาพของลูกคนจนที่มีภาพลักษณ์สมถะ มือสะอาด สุภาพ นุ่มนวล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีภาพของลูกผู้ดี ที่มีชาติวุฒิและการศึกษาที่ดี ส่วนทิดสุเทพมีภาพเป็นมารเป็นนักการเมืองที่กระดำกระด่างและมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี
แต่พอทิดสุเทพออกมานำมวลชนลอกคราบเป็นกำนันสุเทพ ประกาศบนเวทีว่า ตอนเป็นนักการเมืองไม่เคยโกงแม้แต่บาทเดียวก็เหมือนผู้คนจะลืมภาพเก่าของทิดสุเทพไปชั่วข้ามคืน คนชื่อสุเทพก็กลายเป็นเทพที่แท้จริงตั้งแต่บัดนั้น กระทั่งมาชุบตัวให้เหลืองอร่ามดั่งทองทาในนามของพระสุเทพออกเดินสายแผ่บารมีไปทั่วภาคใต้แบบที่นายชวนเทพองค์เดิมยังต้องไปขอพึ่งใบบุญ
วันนี้ดูเหมือนว่า แม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ยังต้องพึ่งบารมีของทิดสุเทพ
ทิดสุเทพก็คงเชื่อเช่นนั้นถึงกับตอบคำถามอย่างมั่นใจว่า เขามีมวลชนที่หนุนหลังมากพอ คนที่เป็นมวลชนของ กปปส.มีทั้งคนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์และไม่เคยเลือกประชาธิปัตย์ พูดง่ายๆ ทิดสุเทพเชื่อว่าตัวเองมีมวลชนมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์นั่นแหละ
ผมคิดว่า ทิดสุเทพคงจะเหมาว่ามวลชนทั้งหมดที่ออกมาร่วมกับ กปปส.นั้นเป็นมวลชนที่สนับสนุนแนวทางของตัวเองทั้งหมด แต่ถ้าพูดกันตามความเป็นจริงแล้ว การชุมนุมของ กปปส.ในช่วงแรกๆ ที่ยังมีประเด็นนิรโทษกรรมสุดซอยอยู่นั้นก็อาจจะจริงที่คนออกมาร่วมอาจจะไม่ได้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด แต่เขาออกมาเพราะเห็นถึงความไม่ถูกต้องชอบธรรม แต่พอประเด็นนี้จบไป การชุมนุมไปช่วงหลังๆ ของ กปปส.นั้นถ้าจะว่าไปแล้ว แทบจะเหลือมวลชนที่สนับสนุน ปชป.เท่านั้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมวลชนที่มาจากภาคใต้
ดังนั้นไม่ใช่ว่าคนที่ออกมาร่วมชุมนุมสยบเภทภัยของแผ่นดินกับ กปปส.จะเดินตามทิดสุเทพทั้งหมด
การแถลงจุดยืนล่าสุดของทิดสุเทพทำให้สถานการณ์ตอนนี้กลับกันนะครับ ในขณะที่พรรคการเมืองใหญ่สองพรรคไม่อยากให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านควรจะกลับไปแก้ไขใหม่ให้เป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้ ขณะที่ทิดสุเทพและคณะเรียกร้องให้มวลชนสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่านเร็ว เลือกตั้งก็จะกลับมาเร็วขึ้น
ในขณะที่เดิมธงของ กปปส.ที่ต่อสู้จนบาดเจ็บล้มตายก็คือ การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง นั่นหมายความว่า ถ้ายังไม่ปฏิรูปก็ไม่ควรเลือกตั้ง ซึ่งถ้าว่ากันตามเป็นจริงถึงตอนนี้รัฐบาลชุดนี้ก็ยังไม่ได้ปฏิรูปอะไรเลย แต่พอแถลงสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญทิดสุเทพบอกว่า การปฏิรูปทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ทั้งฝ่ายรัฐบาล ส่วนราชการ ประชาชน องค์กรต่างๆ และบอกให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ซึ่งจะดำเนินการให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐทำตามยุทธศาสตร์ชาติ
ตอนนี้จึงเหมือนกับทิดสุเทพและคณะบอกว่า เลือกตั้งไปก่อนและค่อยปฏิรูปก็ได้
ส่วนในพรรคประชาธิปัตย์ก็คงระส่ำระสายว่า จะเดินตามทิดสุเทพ หรือชูธงคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่หัวหน้าพรรคประกาศออกไปแล้ว ซึ่งผมคิดว่าถึงตอนนี้อภิสิทธิ์ก็ยากจะกลับลำได้ เพราะจะกลายเป็นไม่มีจุดยืนทันที ดูเหมือนว่าถึงตอนนี้พรรคประชาธิปัตย์จะอยู่ในฐานะลำบากกว่าพรรคเพื่อไทยด้วยซ้ำไป
หรือว่านี่จะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง
ถ้าพูดกันตามความเป็นจริงแล้ว พรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นพรรคการเมืองเดียวในประเทศที่มีลักษณะความเป็นสถาบันพรรคการเมืองมากที่สุดมีประวัติต่อเนื่องยาวนาน ต่างกับพรรคอื่นที่มักจะมีลักษณะของพรรคนายทุนหรือพรรคที่มีเจ้าของพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทยของทักษิณ พรรคชาติไทยพัฒนาของบรรหาร พรรคชาติพัฒนาของสุวัจน์
การต่อสู้ภายในพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่การก่อตั้งพรรคเป็นต้นมา จึงเข้มข้นพอๆ กับการต่อสู้ภายนอกกับพรรคการเมืองอื่นๆ มีความเป็นปึกแผ่น ความแตกแยก ล้มเหลว และประสบความสำเร็จคลุกเคล้ากันไป
ศึกครั้งนี้จึงเหลือแต่ว่า อภิสิทธิ์จะกลับคำพูดของตัวเองไปยืนกับทิดสุเทพหรือจะนำพาพรรคประชาธิปัตย์ไปสู้ในทิศทางใหม่อีกครั้ง