ศาลปค.ไต่สวนกรณี 5 ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ฟ้อง กสทช. ชดใช้หมื่นล้าน กสทช.ยันเตรียมมาตรการช่วยเหลืออื้อ พร้อมรับพิจารณาขอเลื่อนจ่ายค่าใบอนุญาตงวดสาม 16 ก.ย.นี้ ด้าน5ช่องจี้ขอมาตรการเยียวยาเพิ่ม ขยายระยะเวลาใบอนุญาตจาก 15 เป็น 20 ปี
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 31 ส.ค. ที่สำนักงานศาลปกครอง ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคดีที่ 5 ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ประกอบด้วย จีเอ็มเอ็ม วัน / จีเอ็มเอ็ม แชลแนล / พีพีทีวี / ไทยรัฐทีวี และไบรท์ทีวี ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทศทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการกสทช. เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้กสทช.ปฏิบัติตามกฎหมายในการพัฒนาโครงข่ายทีวีดิจิตอล และออกมาตรการเยียวยาความเสียหายด้วยการให้มีการเลื่อนการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ตั้งแต่งวดที่ 3 เป็นต้นไป พร้อมชดใช้ค่าเสียหายให้แต่ละสถานีรวมเป็นเงิน 9,550 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ทั้งนี้ ผู้บริหารทีวีดิจิตอลทั้ง 5 ช่อง ต่างเข้าให้ถ้อยคำกับศาลอย่างพร้อมเพรียง ประกอบด้วยนายบดินทร์ อดุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทจีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทบางกอกมีเดียแอนด์บอร์ดคาสติ้ง จำกัด นายวัชร วัชรพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัททริปเปิลวี บอร์ดคาส (ผู้บริหารไทยรัฐทีวี) นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชแนล และนายสมชาย รังษีธนานนท์ ประธานกรรมการบริษัท ไบรท์ ทีวี จำกัด
ในขณะที่ฝ่ายผู้ถูกฟ้อง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณสรี ประธานกสทช. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทศทัศน์ (กสท.) และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เข้ารับการไต่สวน
นายฐากร กล่าวภายหลังการไต่สวนนานกว่า 4 ชั่วโมง ว่า ทางกสทช.ได้ยืนยันต่อศาลว่า ได้ดำเนินการตามกรอบที่กฎหมายกำหนดทุกอย่าง โดยในส่วนที่ได้มีมติและกำลังจะดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ถูกฟ้อง คือ เรื่องเงินสนับสนุนตามกฎค่าดำเนินการเผยแพร่กิจการรโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์แคร์รี่) ที่เดิมผู้ประกอบการเป็นผู้จ่าย ทางกสทช.ก็จะเป็นผู้รับภาระจ่ายแทน ส่วนค่าธรรมเนียมรายปีที่จะจัดแบบขั้นบันไดแทนการจ่ายปีละร้อยละ 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บ
อีกทั้งมติบอร์ดกสทช.ที่ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายได้เข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากสทช.เพื่อประโยชน์สาธราณะ (ยูโซ่) ที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย และมติบอร์ดกสทช. ได้อนุมัติสนับสนุนค่าการกำกับดูแลบริการแบบประยุกต์ประเภทสำรวจความนิยม (เรตติ้ง) ในวงเงิน 368 ล้านบาทแล้ว
"ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบการขอเลื่อนชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ตั้งแต่งวดที่ 3 นั้น จะมีการนำไปหารือในที่ประชุมบอร์ดกสทช. วันที่ 16 ก.ย. นี้ ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะเงินจำนวนดังกล่าวเมื่อนำส่งถือเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งก่อนหน้าที่ 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และอัยการสูงสุด ได้ส่งข้อท้วงติงมายังกสทช.แล้วว่าไม่ควรให้มีการเลื่อนจ่าย อย่างไรก็ตาม ถ้ามีมติให้มีการเลื่อนก็จะมีผลใช้บังคับกับทีวีดิจิตอลทั้งหมด 24 ช่อง" นายฐากูรกล่าว
นายเขมทัตต์กล่าวว่า คำชี้แจงกสทช.ต่อศาลวันนี้ ทางผู้ประกอบการได้มีหนังสือเรียกร้องให้กสทช.ดำเนินการมาตลอด 2 ปี นับแต่ได้รับสัมปทาน กรณีกสทช.ต้องสนับสนุนเรื่องการจัดเรตติ้ง การอนุมัติงบ 386 ล้านบาทนั้น ยังไม่ถือว่าครอบคลุม เพราะในช่วงการเปลี่ยนผ่านเรตติ้งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทีวีดิจิตอลและเป็นเครื่องวัดการทำงานกสทช.เองด้วย การที่ 5 ช่อง ขอให้กสทช.กำหนดมาตรการเยียวยาโดยให้เลื่อนการจ่ายค่าใบอนุญาตงวดที่ 3 เพราะเรามีความเสียหายจากการล่าช้าในการดำเนินการของกสทช.
โดยที่การที่เราฟ้องเรียกค่าเสียหายเฉลี่ย 400-600 ล้านบาท ในแต่ละช่อง ซึ่งกสทช.ระบุว่าจะนำไปหารือในที่ประชุมในวันที่ 16 ก.ย. แต่ทางเราได้ขอเพิ่มเติมว่าควรจะมีการกำหนดมาตรการเยียวยาเพิ่ม เช่น การขยายระยะเวลาของใบอนุญาตเพิ่มจาก 15 ปี เป็น 20 ปี แต่กสทช.อ้างว่าไม่มีอำนาจ เราจึงเสนอว่ากสทช.สามารถทำเรื่องเสนอไปยังครม.พิจารณาได้.
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 31 ส.ค. ที่สำนักงานศาลปกครอง ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคดีที่ 5 ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ประกอบด้วย จีเอ็มเอ็ม วัน / จีเอ็มเอ็ม แชลแนล / พีพีทีวี / ไทยรัฐทีวี และไบรท์ทีวี ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทศทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการกสทช. เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้กสทช.ปฏิบัติตามกฎหมายในการพัฒนาโครงข่ายทีวีดิจิตอล และออกมาตรการเยียวยาความเสียหายด้วยการให้มีการเลื่อนการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ตั้งแต่งวดที่ 3 เป็นต้นไป พร้อมชดใช้ค่าเสียหายให้แต่ละสถานีรวมเป็นเงิน 9,550 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ทั้งนี้ ผู้บริหารทีวีดิจิตอลทั้ง 5 ช่อง ต่างเข้าให้ถ้อยคำกับศาลอย่างพร้อมเพรียง ประกอบด้วยนายบดินทร์ อดุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทจีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทบางกอกมีเดียแอนด์บอร์ดคาสติ้ง จำกัด นายวัชร วัชรพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัททริปเปิลวี บอร์ดคาส (ผู้บริหารไทยรัฐทีวี) นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชแนล และนายสมชาย รังษีธนานนท์ ประธานกรรมการบริษัท ไบรท์ ทีวี จำกัด
ในขณะที่ฝ่ายผู้ถูกฟ้อง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณสรี ประธานกสทช. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทศทัศน์ (กสท.) และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เข้ารับการไต่สวน
นายฐากร กล่าวภายหลังการไต่สวนนานกว่า 4 ชั่วโมง ว่า ทางกสทช.ได้ยืนยันต่อศาลว่า ได้ดำเนินการตามกรอบที่กฎหมายกำหนดทุกอย่าง โดยในส่วนที่ได้มีมติและกำลังจะดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ถูกฟ้อง คือ เรื่องเงินสนับสนุนตามกฎค่าดำเนินการเผยแพร่กิจการรโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์แคร์รี่) ที่เดิมผู้ประกอบการเป็นผู้จ่าย ทางกสทช.ก็จะเป็นผู้รับภาระจ่ายแทน ส่วนค่าธรรมเนียมรายปีที่จะจัดแบบขั้นบันไดแทนการจ่ายปีละร้อยละ 2 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บ
อีกทั้งมติบอร์ดกสทช.ที่ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายได้เข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากสทช.เพื่อประโยชน์สาธราณะ (ยูโซ่) ที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย และมติบอร์ดกสทช. ได้อนุมัติสนับสนุนค่าการกำกับดูแลบริการแบบประยุกต์ประเภทสำรวจความนิยม (เรตติ้ง) ในวงเงิน 368 ล้านบาทแล้ว
"ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบการขอเลื่อนชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ตั้งแต่งวดที่ 3 นั้น จะมีการนำไปหารือในที่ประชุมบอร์ดกสทช. วันที่ 16 ก.ย. นี้ ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะเงินจำนวนดังกล่าวเมื่อนำส่งถือเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งก่อนหน้าที่ 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และอัยการสูงสุด ได้ส่งข้อท้วงติงมายังกสทช.แล้วว่าไม่ควรให้มีการเลื่อนจ่าย อย่างไรก็ตาม ถ้ามีมติให้มีการเลื่อนก็จะมีผลใช้บังคับกับทีวีดิจิตอลทั้งหมด 24 ช่อง" นายฐากูรกล่าว
นายเขมทัตต์กล่าวว่า คำชี้แจงกสทช.ต่อศาลวันนี้ ทางผู้ประกอบการได้มีหนังสือเรียกร้องให้กสทช.ดำเนินการมาตลอด 2 ปี นับแต่ได้รับสัมปทาน กรณีกสทช.ต้องสนับสนุนเรื่องการจัดเรตติ้ง การอนุมัติงบ 386 ล้านบาทนั้น ยังไม่ถือว่าครอบคลุม เพราะในช่วงการเปลี่ยนผ่านเรตติ้งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทีวีดิจิตอลและเป็นเครื่องวัดการทำงานกสทช.เองด้วย การที่ 5 ช่อง ขอให้กสทช.กำหนดมาตรการเยียวยาโดยให้เลื่อนการจ่ายค่าใบอนุญาตงวดที่ 3 เพราะเรามีความเสียหายจากการล่าช้าในการดำเนินการของกสทช.
โดยที่การที่เราฟ้องเรียกค่าเสียหายเฉลี่ย 400-600 ล้านบาท ในแต่ละช่อง ซึ่งกสทช.ระบุว่าจะนำไปหารือในที่ประชุมในวันที่ 16 ก.ย. แต่ทางเราได้ขอเพิ่มเติมว่าควรจะมีการกำหนดมาตรการเยียวยาเพิ่ม เช่น การขยายระยะเวลาของใบอนุญาตเพิ่มจาก 15 ปี เป็น 20 ปี แต่กสทช.อ้างว่าไม่มีอำนาจ เราจึงเสนอว่ากสทช.สามารถทำเรื่องเสนอไปยังครม.พิจารณาได้.