พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึง นโยบายการลดระยะเวลาการเรียนภาควิชาการลง ให้เลิกในเวลา 14.00 น.ว่า ใครไปพูดเลิกเรียนบ่ายสองก็ไม่รู้ ตนเห็นหนังสือพิมพ์เขียน ซึ่งการเลิกเรียนนั้นแล้วแต่โรงเรียน ไปบังคับไม่ได้ เพียงแต่ตนต้องการให้มีเวลาในช่วงบ่าย เพื่อให้เด็กมีเวลาอยู่ด้วยกัน มีเวลาปฏิสันถารกัน มีเวลาเอาเรื่องมาวิเคราะห์ วิจารณ์กัน ไปอ่านหนังสือนอกเวลา หรือไม่ก็สอนวิธีการนำสิ่งที่เรียนมาไปทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ในวันหน้า เพราะหากเรียนหนังสืออย่างเดียว ทำงานไม่เป็นอีก ไม่รู้จะนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร ท่องตำราได้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ตนจึงบอกว่า การเรียนมี 2 อย่างที่ไปด้วยกันคือ เรียนเพื่อได้ความรู้ เพื่อสอบ เพื่อใบปริญญาฯ ตนไม่ขัดข้อง แต่คำว่าเรียนรู้ คือ รู้ว่าจะใช้ชีวิตวันข้างหน้าอย่างไร ต้องนำสิ่งนี้มาประกอบกัน
วันนี้สิ่งที่ตนรับฟังจากภายนอก ปัญหาอยู่ที่เด็ก ครู ผู้ปกครอง ระบบบริหารจัดการศึกษา เงินในการพัฒนาการศึกษา ส่วนเด็กจะไม่มีความสุขก็คือ เวลาที่เครียด เรียนเช้าถึงเย็น มีการบ้าน แล้วมีเรียนพิเศษอีก ความหมายของตนคือ ไม่ใช่ลดเวลาลงแล้วกลับบ้าน บางคนเขียนว่า พ่อแม่จะเป็นภาระ เดี๋ยวเด็กไปติดยาอะไรอีก ไปเล่นเกมส์ ใครจะให้ปล่อยกลับบ้านแบบนั้น ประเทศไหนเขาทำ เพียงแต่เวลาที่เหลืออยู่ คาบวิชาเรียน หรือสาระวิชา 8 สาระ ควรจะลดตรงไหนลงบ้าง เพราะหลายอย่างต้องใช้ในการแข่งขัน การสัมภาษณ์ การทัดเทียมต่างประเทศ ก็มีอยู่ แต่บ้านเราต้องเสริมอย่างอื่นด้วย คือการปลูกฝังอุดมการณ์ สร้างจิตสำนึก สร้างกระบวนการ สร้างวิสัยทัศน์ สร้างความรักกันในหมู่คณะ การเสียสละ และอีกมากมาย
ด้าน พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องถึงการดำเนินงานนโยบาย“การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานแผนการดำเนินงานที่ได้วางไว้แล้ว ทั้งการปรับโครงสร้างเวลา การปรับลดจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาหลัก ซึ่งต้องไม่ส่งผลกระทบกับการเรียนในวิชาหลัก และจะเพิ่มกิจกรรมให้เด็กได้ทำในช่วงบ่าย นอกจากนี้ ขอให้สพฐ.ไปกำหนดมาตรการ การดูแลความปลอดภัยของเด็กในช่วงที่ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของกิจกรรมที่จะให้เด็กทำช่วงบ่าย สพฐ. จะกำหนดไว้เป็นกรอบกว้างๆ ให้เหมาะสมกับโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องเลือก จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยแต่ละกิจกรรมไม่จำเป็นต้องทำซ้ำตลอดทั้งปี แต่สามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนได้ตามความเหมาะสม อาทิ เดือนนี้เรียนทำกับข้าว เดือนถัดไป อาจจะเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น โดยได้มอบการบ้านให้ สพฐ. จะไปจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจน ก่อนเสนอให้ตนพิจารณาอีกครั้งวันที่ 7 ก.ย. จากนั้นจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจ ให้กับผู้หารสถานศึกษา และครูในโรงเรียนนำร่องทั้ง 3,500โรงเรียน ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ต.ค. เพื่อให้ครูได้มีเวลาเตรียมความพร้อมจัดการเรียนการสอนให้ทันในวันที่ 1 พ.ย.
"ที่ผ่านมาสังคมอาจเข้าใจไปว่า ลดเวลาเรียน 5 วิชาหลัก และจะย้ายอีก 3 กลุ่มสาระ คือ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ ไปเรียนในช่วงบ่าย ซึ่งความจริงไม่ใช่ เป็นคนละแบบ เพราะที่ ศธ.จะทำคือ ฝึกการเรียนรู้ให้กับเด็ก ให้เขาได้อยู่กับสังคม ต่อสู้ในสังคมได้ เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่ง ศธ. จะต้องไปหารูปแบบกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้สึกอยากจะทำ และมีความสุขที่ได้ทำ พ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัย เรื่องนี้มีการดำเนินงานมาก่อนที่ผมจะเข้ามาเป็น รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งผมก็มาดำเนินการต่อและค่อยๆ กระชับไปเรื่อย ๆ มั่นใจว่า จะทำให้เด็กเรียนอย่างมีความสุข โดยผมให้การบ้านสพฐ.ไปว่า จะต้องเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อตอบโจทย์นายกรัฐมนตรี ที่ว่า จะต้องทำให้เด็กได้เรียนอย่างมีความสุข รวมถึง ผู้ปกครอง และครูก็ต้องมีความสุขด้วย" พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ยืนยันว่า การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไม่ได้ให้เด็กกลับบ้านหลังเรียนวิชาการ แต่เด็กจะต้องทำกิจกรรมและอยู่ในโรงเรียนจนถึงเวลาเลิกเรียน แต่ในกรณีที่นักเรียนผู้ปกครองจะมารับเด็กกลับบ้าน ก็ต้องมาขออนุญาตจากทางโรงเรียนเป็นรายกรณี
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากลดเวลาเรียนวิชาหลักลง แล้วเด็กเรียนอ่อนในวิชาเหล่านี้ ศธ. จะแก้ไขอย่างไร พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า จริงๆ กิจกรรมช่วงบ่าย จะมีกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาเด็กที่มีปัญหาลักษณะนี้ด้วย ส่วนหากผู้ปกครองจะให้เด็กไปเรียนพิเศษ แทนนั้น ก็คงไปห้ามไม่ได้ ส่วนหนึ่งเป็นค่านิยม ไม่สามารถไปคิดแทนผู้ปกครองได้ แต่เชื่อว่าถ้าเราจัดระบบการศึกษาที่ดีจริง และผู้ปกครองมีความมั่นใจ กับสิ่งที่ ศธ.ดำเนินการ ก็จะไม่พาลูกไปเรียนพิเศษนอกเวลา แต่ทั้งหมดต้องใช้เวลา การทำเรื่องนี้คงไม่สามารถตอบคำถามได้ภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี จำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควร จึงจะเห็นผลที่ชัดเจน
วันนี้สิ่งที่ตนรับฟังจากภายนอก ปัญหาอยู่ที่เด็ก ครู ผู้ปกครอง ระบบบริหารจัดการศึกษา เงินในการพัฒนาการศึกษา ส่วนเด็กจะไม่มีความสุขก็คือ เวลาที่เครียด เรียนเช้าถึงเย็น มีการบ้าน แล้วมีเรียนพิเศษอีก ความหมายของตนคือ ไม่ใช่ลดเวลาลงแล้วกลับบ้าน บางคนเขียนว่า พ่อแม่จะเป็นภาระ เดี๋ยวเด็กไปติดยาอะไรอีก ไปเล่นเกมส์ ใครจะให้ปล่อยกลับบ้านแบบนั้น ประเทศไหนเขาทำ เพียงแต่เวลาที่เหลืออยู่ คาบวิชาเรียน หรือสาระวิชา 8 สาระ ควรจะลดตรงไหนลงบ้าง เพราะหลายอย่างต้องใช้ในการแข่งขัน การสัมภาษณ์ การทัดเทียมต่างประเทศ ก็มีอยู่ แต่บ้านเราต้องเสริมอย่างอื่นด้วย คือการปลูกฝังอุดมการณ์ สร้างจิตสำนึก สร้างกระบวนการ สร้างวิสัยทัศน์ สร้างความรักกันในหมู่คณะ การเสียสละ และอีกมากมาย
ด้าน พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องถึงการดำเนินงานนโยบาย“การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานแผนการดำเนินงานที่ได้วางไว้แล้ว ทั้งการปรับโครงสร้างเวลา การปรับลดจำนวนชั่วโมงเรียนวิชาหลัก ซึ่งต้องไม่ส่งผลกระทบกับการเรียนในวิชาหลัก และจะเพิ่มกิจกรรมให้เด็กได้ทำในช่วงบ่าย นอกจากนี้ ขอให้สพฐ.ไปกำหนดมาตรการ การดูแลความปลอดภัยของเด็กในช่วงที่ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของกิจกรรมที่จะให้เด็กทำช่วงบ่าย สพฐ. จะกำหนดไว้เป็นกรอบกว้างๆ ให้เหมาะสมกับโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องเลือก จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยแต่ละกิจกรรมไม่จำเป็นต้องทำซ้ำตลอดทั้งปี แต่สามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนได้ตามความเหมาะสม อาทิ เดือนนี้เรียนทำกับข้าว เดือนถัดไป อาจจะเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น โดยได้มอบการบ้านให้ สพฐ. จะไปจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจน ก่อนเสนอให้ตนพิจารณาอีกครั้งวันที่ 7 ก.ย. จากนั้นจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจ ให้กับผู้หารสถานศึกษา และครูในโรงเรียนนำร่องทั้ง 3,500โรงเรียน ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ต.ค. เพื่อให้ครูได้มีเวลาเตรียมความพร้อมจัดการเรียนการสอนให้ทันในวันที่ 1 พ.ย.
"ที่ผ่านมาสังคมอาจเข้าใจไปว่า ลดเวลาเรียน 5 วิชาหลัก และจะย้ายอีก 3 กลุ่มสาระ คือ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ ไปเรียนในช่วงบ่าย ซึ่งความจริงไม่ใช่ เป็นคนละแบบ เพราะที่ ศธ.จะทำคือ ฝึกการเรียนรู้ให้กับเด็ก ให้เขาได้อยู่กับสังคม ต่อสู้ในสังคมได้ เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่ง ศธ. จะต้องไปหารูปแบบกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้สึกอยากจะทำ และมีความสุขที่ได้ทำ พ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัย เรื่องนี้มีการดำเนินงานมาก่อนที่ผมจะเข้ามาเป็น รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งผมก็มาดำเนินการต่อและค่อยๆ กระชับไปเรื่อย ๆ มั่นใจว่า จะทำให้เด็กเรียนอย่างมีความสุข โดยผมให้การบ้านสพฐ.ไปว่า จะต้องเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อตอบโจทย์นายกรัฐมนตรี ที่ว่า จะต้องทำให้เด็กได้เรียนอย่างมีความสุข รวมถึง ผู้ปกครอง และครูก็ต้องมีความสุขด้วย" พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ยืนยันว่า การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไม่ได้ให้เด็กกลับบ้านหลังเรียนวิชาการ แต่เด็กจะต้องทำกิจกรรมและอยู่ในโรงเรียนจนถึงเวลาเลิกเรียน แต่ในกรณีที่นักเรียนผู้ปกครองจะมารับเด็กกลับบ้าน ก็ต้องมาขออนุญาตจากทางโรงเรียนเป็นรายกรณี
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากลดเวลาเรียนวิชาหลักลง แล้วเด็กเรียนอ่อนในวิชาเหล่านี้ ศธ. จะแก้ไขอย่างไร พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า จริงๆ กิจกรรมช่วงบ่าย จะมีกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาเด็กที่มีปัญหาลักษณะนี้ด้วย ส่วนหากผู้ปกครองจะให้เด็กไปเรียนพิเศษ แทนนั้น ก็คงไปห้ามไม่ได้ ส่วนหนึ่งเป็นค่านิยม ไม่สามารถไปคิดแทนผู้ปกครองได้ แต่เชื่อว่าถ้าเราจัดระบบการศึกษาที่ดีจริง และผู้ปกครองมีความมั่นใจ กับสิ่งที่ ศธ.ดำเนินการ ก็จะไม่พาลูกไปเรียนพิเศษนอกเวลา แต่ทั้งหมดต้องใช้เวลา การทำเรื่องนี้คงไม่สามารถตอบคำถามได้ภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี จำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควร จึงจะเห็นผลที่ชัดเจน