โดย...อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ใบไม้ในกำมือ เป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้ใช้สอนพระภิกษุ ในการตอบสนทนาธรรมว่า ใบไม้ที่อยู่ในมือของตถาคตกับใบไม้ที่อยู่ในป่าทั้งหมด ส่วนไหนจะมากกว่ากัน พระภิกษุได้ทูลตอบว่า ใบไม้ในกำมือมีเพียงนิดเดียว จะไปมากกว่าที่มีอยู่ในป่าได้อย่างไร
พระพุทธเจ้า ทรงตรัสตอบว่า ความรู้ที่ตถาคตรู้ เป็นเหมือนใบไม้ในป่ามีเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้นำเอามาสั่งสอน สิ่งที่สอนเป็นเหมือนใบไม้ในกำมือ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลรักษาจิตใจให้อยู่เหนือความทุกข์ต่างๆ ขอให้สนใจธรรมะคำสอนก็พอแล้ว ไม่ต้องสนใจความรู้อื่นๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ข้อความข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ความรู้ต่างๆ มีมากมาย แต่สิ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อชีวิต ขอให้เลือกนำเอามาใช้ให้เหมาะสม โดยไม่ต้องมีจำนวนมาก แต่ขอให้ได้สิ่งที่เป็นสาระสำคัญหรือแก่นสาร เหมือนกับคุณธรรมที่มีจำนวนมากมายหลากหลาย ทว่า คุณธรรมที่ควรนำมาใช้เป็นแกนในการวางบรรทัดฐานทางสังคม อาจไม่จำเป็นต้องปลูกฝังในหลายเรื่องไปในคราวเดียวกัน
คุณธรรม (Virtue) เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาบุคคลให้มีความงดงามภายในจิตใจ จะมีชื่อเรียกคุณธรรมมากมายหลายชื่อ ตามเจตนาความมุ่งหมายของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของคุณธรรมนั้น แล้วจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม เช่น คุณธรรม เรื่องความรับผิดชอบ ความกตัญญูกตเวที ความมีวินัย ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความอดทน ความประหยัด ความละอายต่อบาป เป็นต้น ดังนั้น การกำหนดคุณธรรมสำคัญ เพื่อพัฒนาส่วนรวม อาจไม่จำเป็นต้องกำหนดให้มากข้อ แต่ควรกำหนดคุณธรรมสำคัญให้เป็นบรรทัดฐาน หรือค่านิยมทางสังคม ที่น้อยข้อ แต่เป็นแกนคุณธรรมที่จะเอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมอื่นได้ด้วย
ถ้าสังคมใดมีคุณธรรมสำคัญ ไม่มากชื่อ โดยถูกวางไว้เป็นบรรทัดฐานหรือถูกกำหนดเป็นคุณลักษณะของพลเมืองทางสังคม สังคมนั้น ย่อมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น หรือแขกบ้านต่างเมืองที่ได้ไปเยี่ยมเยียน
การพัฒนาคุณภาพพลเมือง นอกจากเรื่องความรู้ ทักษะความสามารถ เจตคติต่างๆ แล้ว คุณธรรมถือเป็นปัจจัยที่ทรงคุณค่าสำคัญหนึ่ง ที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นในจิตสำนึกของพลเมือง เพราะหากพลเมืองยึดถือคุณธรรมต่างๆ เป็นข้อปฏิบัติทางสังคมแล้ว ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดกฎหมาย บทบัญญัติต่างๆ อาจจะทุเลาลงได้ ด้วยความเชื่อพื้นฐานที่ว่า คุณธรรม คือ กฎหมายในวิถีชีวิตของผู้คน แม้ที่ไม่มีบทลงโทษตามกฎหมาย แต่ใช้เป็นกติกาแห่งข้อปฏิบัติทางสังคมได้
คุณธรรมสำคัญข้อเดียวก็พอ สำหรับการสร้างชาติ จะเห็นตัวอย่าง เพื่อนบ้านในอาเซียนและในเอเชียอย่างสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือแม้กระทั่งในซีกโลกตะวันตกอย่างเยอรมนี เป็นต้น
ตัวอย่าง คุณธรรมสร้างชาติ สำหรับคนญี่ปุ่นคือ วินัยที่จากการศึกษาข้อมูลในพื้นที่ความคิด ในโพสต์เรื่อง วินัยของคนญี่ปุ่น…เขาเริ่มฝึกกันตั้งแต่…ที่โรงเรียน โดย PeerapatS อยู่ใน http://www.oknation.net/blog/Smartlearning/2012/08/27/entry-1 ได้เขียนบันทึกเล่าว่า
โรงเรียนในประเทศญี่ปุ่น เด็กชั้นประถม 1 - 6 ส่วนใหญ่ มักจะเดินไปโรงเรียน โดยจะมีการรวมตัวกันตามจุดต่างๆ เดินแถวไปโรงเรียน โดยจะมี “ซิลเวอร์ซัง” ซึ่งเป็นผู้สูงอายุในชุมชนที่เกษียณอายุแล้ว จะมาคอยทำหน้าที่ดูแลและรักษาความปลอดภัยให้เด็กนักเรียน ทั้งขาไปและขากลับ
เด็กจะใส่หมวกสีเหลือง เพราะเป็นสีที่เห็นได้ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง โดยผู้ใหญ่จะสังเกตได้ง่าย และสามารถให้ความช่วยเหลือได้
เด็กนักเรียนโรงเรียนรัฐบาล จะไม่ใส่ชุดนักเรียน เพื่อให้เด็กรู้จักสร้างสรรค์ แสดงออกในการแต่งกายที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นการบ่งชี้เอกลักษณ์ของเด็กคนนั้นๆ แต่ก็มีการแต่ชุดเครื่องแบบในโรงเรียนเอกชน
ตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน เด็กจะเปลี่ยนรองเท้าเป็นแบบเดียวกันและเก็บให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะอาดของห้องเรียน และไม่ต้องการให้มีความแตกต่างของรองเท้าที่อาจจะมีทั้งราคาถูกและราคาแพง
เด็กนักเรียน จะไม่มีการพกเงินไปโรงเรียน เพราะที่โรงเรียนจะไม่มีร้านขายของ ไม่มีตู้ขายอัตโนมัติ
ทุกเช้าก่อนเริ่มเรียน จะมีการตรวจเช็กว่า นักเรียนพกผ้าเช็ดหน้าและกระดาษทิชชูมาหรือไม่ เพื่อการรักษาความสะอาดและสุขอนามัย ถ้าลืมจะถูกหักคะแนน และมีผ้าเช็ดหน้าสำรองให้ยืม และจะมีการซักถามว่า มีใครไม่สบายหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องใช้ผ้าปิดปาก ดูแลตัวเอง ไม่ให้แพร่ไปยังเพื่อน และทุกคนก็จะมีการติดป้ายชื่อนักเรียน
ที่หลังห้องเรียนจะมีกระดาษเขียนเป้าหมายของเด็กๆ ปิดไว้เพื่อเตือนให้ปฏิบัติตนตามเป้าหมายที่ให้ไว้ เช่น ผมจะไม่มีสายอีก หนูจะยกมือตอบคำถามให้บ่อยขึ้น
เด็กนักเรียนจะมีการเปลี่ยนที่นั่งกันทุก 1 เดือน หรือทุก 3 เดือน โดยให้เด็กผู้ชายอกไปยืนรอนอกห้อง แล้วให้เด็กผู้หญิงจัดโต๊ะและเลือกที่นั่งก่อน แล้วจึงให้เด็กผู้ชายเขามาเลือกที่นั่ง โดยไม่รู้ว่าจะได้นั่งคู่กับใคร เป็นการทำความรู้จักกัน เรียนรู้ ปรับตัว สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความสามัคคีกับเพื่อนนักเรียน
ในเรื่องการเรียนการสอน ในญี่ปุ่นจะจัดการเรียนการสอน โดยมักจะเน้นการเรียนนอกห้องเรียน เพื่อเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น เด็กจะลุกขึ้นมาอ่านคนละประโยคเอง ไม่มีการชี้หรือบังคับ
การเรียน มักจะปล่อยให้เด็กได้ทำอะไรได้อย่างอิสระ เรียนด้วยความสุข สนุก ครูจะไม่มีการดุหรือต่อว่านักเรียนที่คุยกันในห้องเรียน เด็กนักเรียนจะมีความตั้งใจในการเรียน แข่งขันกันตอบ แข่งขันกันอย่างเต็มที่ เด็กที่ตอบจะได้ติดป้ายชื่อขึ้นบนกระดาน
วิชาดนตรีทำให้เด็กๆ มีจิตใจที่อ่อนโยน โรงเรียนก็จะจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาดนตรี
ครูจะให้เด็กเป็นคนคิดเอง ว่าจะต้องทำอะไร ตัดสินใจเองว่า เรื่องนี้ควรทำ เรื่องนั้นต้องทำอย่างไรเรื่องอาหารการกิน
ส่วนห้องครัวจะมีการรักษาสะอาดอย่างมาก ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไป
เด็กจะถูกฝึกให้สัมผัสรสชาติอาหารต่างๆ จะถูกเปลี่ยนจากอาหารที่ไม่ชอบ ให้ชอบมากขึ้น โดยจะมีการทำเป็นชิ้นเล็ก บด หรือโดยการผสมกับอาหารที่ชอบ
เด็กจะเป็นคนตักอาหารด้วยตนอง หลังจากที่ทำความเคารพขอบคุณอาหารแล้ว ถ้าอาหารที่รับมามากเกินไป สามารถนำกลับไปคืน ไม่มีการกินเหลือ เป็นการสร้างนิสัยการรู้จักความพอดี
หลังจากทานอาหารเสร็จ ทุกคนจะช่วยกันเก็บภาชนะให้เรียบร้อย เก็บพับกล่องนมเพื่อนำไปรีไซเคิล (Recycle) ช่วยกันทำความสะอาด เก็บกวาดห้องเรียน แยกขยะเปียกแห้ง รีไซเคิล ดังนั้น นิสัยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ จะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก
หลังอาหารก็จะเป็นเวลาเล่น เด็กๆ จะเรียน 2 ชั่วโมง และจะได้พัก 15 นาที เด็กเล็กๆ จะใส่หมวกสีแดง เพื่อให้เด็กโตระมัดระวังความปลอดภัย
ในวิชาพละ เด็กๆ จะต้องนำอุปกรณ์ออกมาเอง เมื่อเรียนเสร็จก็จะต้องเก็บอุปกรณ์ เพื่อสร้างนิสัยการเสียสละเพื่อส่วนรวม การเล่นก็จะให้เด็กได้มีการวางแผน เพื่อที่จะกำหนดว่า จะชนะอย่างไร
ก่อนจะเลิกเรียน จะมีการประชุมกัน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ผ่านมา 1 วัน สิ่งที่ดี ที่เพื่อนทำให้ จะมีการชมเชย สิ่งใดที่ผิดพลาด ก็จะนำกลับไปแก้ไข คุณครูก็จะช่วยสรุปว่า ให้เด็กทุกคน ทำดีทุกวัน
ก่อนกลับบ้านก็จะมีเสียงตามสาย จากนักเรียนรุ่นพี่ จะกล่าวคำลำลา และย้ำเตือนว่าเรื่องของพรุ่งนี้ อย่าลืมทำตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ อย่าลืมของ และดูแลรักษาสุขภาพตนเอง
จากบันทึกในบล็อกของ PeerapatS ที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวการสร้างวินัยของคนญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่า คุณธรรมข้อเดียว คือ วินัย ที่ใช้เป็นแกนสำคัญในการสร้างชาติ ช่วยให้ทิศทางในการพัฒนาพลเมืองของประเทศมีความโดดเด่น จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติญี่ปุ่น ซึ่งได้เห็นจากภาพข่าวสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วสะท้อนว่า คนญี่ปุ่นมีวินัยอย่างไร
เหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งผู้เขียน คิดเห็นว่า เหตุการณ์นั้นเป็นภาพที่น่าประทับใจมากที่สุด เมื่อครั้งที่ญี่ปุ่นประสบภัยสึนามิครั้งใหญ่ แต่คนญี่ปุ่นยังเข้าแถวรอรับสิ่งของช่วยเหลืออย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย จนปรากฏเป็นภาพที่มีความหมายต่อชาวโลก ที่ได้เห็นความเป็นอัตลักษณ์ของคนญี่ปุ่น
ภาพ 1 คนญี่ปุ่นต่อแถวเข้าคิด รอรับสิ่งของช่วยเหลือจากภัยสึนามิ
ที่มา: www.oknation.net (สืบค้นภาพเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2558)
จากภาพ 1 ที่คนญี่ปุ่นจำนวนมาก ซึ่งในในท่ามกลางสภาวะอดอยากอาหารเนื่องจากอุบัติภัยทางธรรมชาติสึนามิ แต่กลับต่อแถวเข้าคิวเพื่อรอรับความช่วยเหลืออย่างเป็นระเบียบ เป็นภาพที่น่าประทับใจ
จะเห็นได้ว่า คุณธรรมสำคัญข้อเดียว ที่ใช้เป็นแกนในการสร้างชาติของคนญี่ปุ่น คือ วินัย ช่วยทำให้ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมเกิดขึ้นได้อย่างน่าประทับใจ ซึ่งคล้ายกับชนชาติเยอรมนีของตะวันตก ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นชนชาติที่เข้มแข็งด้วยวินัย ไม่ต่างจากญี่ปุ่น
อีกตัวอย่างหนึ่ง เป็นกรณีคุณธรรมสร้างชาติของเกาหลีใต้ ที่ศึกษาจาก khajochi Blog ใน http://www.khajochi.com/2015/02/khajochi-blog-korea-nation-building.html ที่เขียนบันทึกเล่าวิธีการสร้างชาติแบบเกาหลีใต้ ว่า เกาหลีใต้ สร้างชาติ จากคุณธรรมเรื่อง ความสุจริต (ไม่คอร์รัปชัน) ผนวกกับการศึกษาและพัฒนาสร้างคน โดยเขียนเล่าบันทึก ไว้ว่า
เมื่อ 50 ปีก่อนเกาหลียากจนมาก ล้าหลังสุดๆ ไทยเราต้องส่งหมอครูไปช่วยเค้าเลยทีเดียว แต่ทุกวันนี้เกาหลีล้ำหน้าไทยในทุกด้าน น่าจะล้ำเกิน 10 ปีได้ โดยภูมิประเทศแล้วเกาหลีเป็นประเทศที่น่าสงสาร คือพื้นที่สวย เป็นติ่งติดทะเล ค้าขายดีแน่นอน ใครก็อยากได้ แต่ความซวยของเกาหลี คือ มองไปทางซ้ายมีจีน ขวามีญี่ปุ่น ... ขาโหดทั้งนั้น เกาหลีโดนเป็นเมืองขึ้นมาตลอด โดยจีน, ญี่ปุ่น, ชาติตะวันตก ผลัดกันมากดขี่ โดยเฉพาะญี่ปุ่นนี่ทำบาปกับที่นี่ไว้หลายกรณีมาก จนทุกวันนี้ยังเกลียดกันไม่เลิก ปัญหาหลักของเกาหลีช่วงนั้น คือ คนไม่มีการศึกษา ความเจริญมีแค่ในเมืองหลวง และรัฐบาลโกงกิน ใครโกงโดนจับได้ก็แค่บินหนีต่างประเทศ แป๊บๆ ก็ได้กลับบ้าน วิธีสร้างชาติ สรุปง่ายๆ มีแค่ 3 อย่าง คือ สร้างการศึกษา, สร้างคน กับเลิกคอร์รัปชัน
การศึกษาต้องมาก่อนทุกอย่าง
แผนแรกของเกาหลีใต้ในตอนนั้นคือ การที่ประเทศจะเจริญสู้ประเทศอื่นได้ การศึกษาต้องดีก่อน
ตอนที่เพิ่งไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศได้ปี 1945 เกาหลีมีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรไม่ถึง 10 คน แต่หลังจากนั้นแค่ 15 ปี ปั๊มยอดได้เกิน 150,000 คน
หนังสือที่เกาหลีถูกมาก ห้องสมุดไม่มีค่าเข้าใช้บริการ ต่างจังหวัด มีหนังสือเพียบ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง ส่วนอัตราการเข้าเรียนป. 1 มากถึง 99.99%
คนอ่านหนังสือและ e-book เยอะแบบที่เป็นกิจการระดับประเทศ
คนเกาหลีนิยมเรียนสูงๆ และชอบไปต่อนอก เช่นอเมริกา เพราะค่าครองชีพพอกัน
ทุกคนรักการอ่าน มีการสอนให้อ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก มีหนังสือระดับโคตรฮิตให้แต่ละวัยได้อ่าน ไม่ใช่แค่หนังสือวิชาการ
คนรักการอ่าน ก็จะมีสมาธิดี เรียนหนังสือก็เข้าใจง่าย ไม่รู้สึกเกลียดการอ่านหนังสือ
สร้างคนแบบคนเกาหลี
ชาวเกาหลีใต้ซึมซับความเป็นคนญี่ปุ่นและคนจีนมาไม่มากก็น้อย เพราะเคยเป็นเมืองขึ้น คนเกาหลีรักชาติแบบญี่ปุ่น ขยันอดทนแบบคนจีน และฉลาดไม่โกงกินแบบฝรั่ง การสร้างคนของที่นี่เน้นปลูกฝังค่านิยมและนิสัย ไม่ใช่เน้นปลายทางที่แจกแท็บเล็ตหรือลดภาษีเลิกหนี้ให้ เด็กจะขยันอ่านหนังสือ เรียนหนัก ทุกคนต้องเข้ามหาลัย ใครไม่เรียนมหาลัยจะอายมาก เด็กมหาลัยเกาหลีจะนอนกันแค่ 4-5 ชั่วโมง เพราะใช้เวลาอ่านหนังสือกับค้นข้อมูล แต่คนเกาหลีใจร้อน ก็เอาข้อด้อยมาใช้ในการทำงาน ประโยคที่พูดกันบ่อยในออฟฟิศคือ “เร็วๆ หน่อย”
ภาพ 2 ค่านิยมรักชาติ ที่พยายามเผยแพร่วัฒนธรรมไปทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่สนามบิน
http://www.khajochi.com/ (สืบค้นภาพเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2558)
ประเทศมีงานแทบทุกชนิดให้คนเก่งทำงานได้ในประเทศ ไม่ต้องออกไปเป็นอาจารย์หรือออกไปทำงานต่างประเทศ คนที่เก่งกีฬา มีลีกกีฬาอาชีพรองรับ ส่วนคนเก่งวิชาการ มีบริษัทเน้นงานวิจัยเพียบ เช่น Samsung, Hyundai, LG ได้งานทำจริงๆ ไม่ใช่เด็กชนะเหรียญทองวิชาการมาแล้วก็ไม่รู้จะทำอะไรต่อคนเก่งไปได้สุดทาง คนไม่เก่งมีงานระดับกลางจำนวนมาก แต่ข้อเสีย คือ ความเครียดสูง เป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงมากๆ ประเทศหนึ่ง (อ่านเพิ่ม : “Bridge of Life” สะพานแห่งชีวิตในเกาหลี มีคนมาฆ่าตัวตายเพิ่ม 4 เท่าหลังปรับปรุงใหม่)
เลิกคอร์รัปชัน เลิกโกง แค่นี้ชาติก็เจริญ
เงินประเทศมันพอสร้างชาติอยู่แล้ว แค่ไม่โกง ประเทศก็เจริญ เกาหลีใต้เคยเหมือนเมืองไทย คือ ข้าราชการ, รัฐ, ผู้มีอำนาจ โกงทั้งระบบ ช่วงหนึ่งเกาหลีโชคดีได้ประธานาธิบดีชื่อ “ปาร์ค จุง ฮี” ที่ไม่ใช่แค่เก่ง แต่เป็นเผด็จการขาโหด ความโหดนี้ ทำให้ปราบคอร์รัปชันได้ ปาร์ค ได้ประกาศจัดการระบบคอร์รัปชันให้สิ้นซาก แบบไม่มีเกรงใจคนชู 3 นิ้ว ใครโกง โดนขังคุกใหญ่แค่ไหน ประธานาธิบดี ลงมาเล่นเอง ศาลตัดสินว่องไว โดนประจานไปทั้งประเทศ ว่ากันว่า หดถึงขนาดว่าใครที่คิดจะโกงบ้านเมืองแล้วหนีไปต่างประเทศ จะโดนลากกลับมารับโทษได้ไม่เกิน 7 วัน ระบบตรวจสอบข้าราชการที่นี่เลยโหดมาก จนค่านิยมไม่คอร์รัปชันปลูกฝังไปทั่วประเทศ ทั้งหมดนี้ก็เป็นความเห็นจากคนเกาหลี ที่มองประเทศตัวเองว่าเจริญขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีนี้ได้อย่างไร แน่นอนว่าก็คงมีอีกหลายเหตุผลมากกว่านั้น แต่ก็ถือว่าเป็นการเปิดหูเปิดตาไม่น้อย ที่ได้รับฟัง
เรื่องดีที่สุดของการได้รับรู้วิธีสร้างชาติของเกาหลีใต้ คือ เขาเคยจนมาก่อน เขาเคยทะเลาะกันเองในประเทศมาก่อน ประเทศเขาเคยมีแต่คนโกงมาก่อน ... แต่เขาก็สามารถสร้างชาติขึ้นมาได้
จากข้อความใน khajochi Blog ที่บันทึกเกี่ยวกับการสร้างชาติของเกาหลีใต้ จะเห็นได้ว่า คุณธรรมสำคัญในการสร้างชาติ คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ต้องการให้มีการทุจริตคอร์รัปชัน จึงสร้างค่านิยมต้านคอร์รัปชันให้กับคนในชาติ แล้วพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนากำลังคน จนกลายเป็นคุณธรรมสร้างชาติได้
คุณธรรมสำคัญข้อเดียวในการสร้างชาติ จากกรณีของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทำให้มองเห็นว่า การสร้างค่านิยมหลักทางสังคม เพื่อก่อให้เกิดกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงในชาติและสร้างอัตลักษณ์ของชนชาติ สามารถกระทำได้ โดยอาศัยมาตรการทางสังคม ที่ไม่ต้องใช้คุณธรรมมากหมายหลายหัวข้อในการพัฒนาพลเมืองไปในคราวเดียวกัน
สำหรับเมืองไทยของเรานั้น ผู้เขียน มองเห็นเด่นชัดในมิติว่า คุณธรรมสำคัญของคนไทย คือความกตัญญูกตเวที ด้วยความเชื่อว่า ความกตัญญูกตเวที หากมีในบุคคลใด บุคคลนั้น จะแสดงถึงความมีวินัยที่พร้อมจะแสดงมีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งนั่นหมายถึงความมีคุณธรรมความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความมีน้ำใจ หรือคุณธรรมอื่นๆ ติดสอยห้อยตามมาด้วย เพราะหากมีคุณธรรมสำคัญ เป็นแก่นข้อหนึ่ง คุณธรรมอื่น จะติดตามมาโดยธรรมชาติของความดี
การปักธงพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 8 ประการ ถือเป็นความมุ่งหมายที่ดีในการพัฒนาคุณงามความดีให้เกิดขึ้นในบุคคล แต่หากไม่เข้าใจวิธีการพัฒนาคุณธรรมสำคัญ อันจะเป็นตัวนำคุณธรรมรองอื่นๆ ให้เกิดขึ้นได้ด้วยแล้ว อาจเกิดปัญหาในการพัฒนาคุณธรรมที่มีมากชื่อ มากด้วยตัวชี้วัดในการพัฒนา และอาจมากทั้งวิธีการ รวมทั้งภาระในการวัดและประเมินผล เพื่อสะท้อนพฤติกรรมเชิงประจักษ์ว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมเกิดขึ้นจริง ถาวร ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หลายประการดังกล่าว
หลักคิดใบไม้ในกำมือ หรือคุณธรรมสำคัญข้อเดียว ก็พอ อาจเป็นภาพสะท้อนสำหรับใช้เป็นแนวคิดในการพัฒนาคุณธรรมสำคัญแก่พลเมือง ซึ่งสามารถใช้เป็นคุณธรรมแกนในการเชื่อมต่อไปสู่การพัฒนาคุณธรรมอื่นทั้งน้อยและใหญ่ตามชื่อเรียกและวัตถุประสงค์ของคุณธรรมที่ต่างกัน แต่ขอเพียงให้ได้ฉายภาพของการวางคุณธรรมแห่งชาติให้ชัดสักข้อสองข้อ เพื่อได้พินิจดูว่า คุณธรรมสามารถสร้างชาติได้จริงหรือไม่ อย่างที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ได้พิสูจน์แนวคิดนี้ไว้แล้ว... ผม ยังเชื่อว่า คนไทย ทำได้ และไม่มีคำว่าสายเกินไป
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ใบไม้ในกำมือ เป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าได้ใช้สอนพระภิกษุ ในการตอบสนทนาธรรมว่า ใบไม้ที่อยู่ในมือของตถาคตกับใบไม้ที่อยู่ในป่าทั้งหมด ส่วนไหนจะมากกว่ากัน พระภิกษุได้ทูลตอบว่า ใบไม้ในกำมือมีเพียงนิดเดียว จะไปมากกว่าที่มีอยู่ในป่าได้อย่างไร
พระพุทธเจ้า ทรงตรัสตอบว่า ความรู้ที่ตถาคตรู้ เป็นเหมือนใบไม้ในป่ามีเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้นำเอามาสั่งสอน สิ่งที่สอนเป็นเหมือนใบไม้ในกำมือ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลรักษาจิตใจให้อยู่เหนือความทุกข์ต่างๆ ขอให้สนใจธรรมะคำสอนก็พอแล้ว ไม่ต้องสนใจความรู้อื่นๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ข้อความข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ความรู้ต่างๆ มีมากมาย แต่สิ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อชีวิต ขอให้เลือกนำเอามาใช้ให้เหมาะสม โดยไม่ต้องมีจำนวนมาก แต่ขอให้ได้สิ่งที่เป็นสาระสำคัญหรือแก่นสาร เหมือนกับคุณธรรมที่มีจำนวนมากมายหลากหลาย ทว่า คุณธรรมที่ควรนำมาใช้เป็นแกนในการวางบรรทัดฐานทางสังคม อาจไม่จำเป็นต้องปลูกฝังในหลายเรื่องไปในคราวเดียวกัน
คุณธรรม (Virtue) เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาบุคคลให้มีความงดงามภายในจิตใจ จะมีชื่อเรียกคุณธรรมมากมายหลายชื่อ ตามเจตนาความมุ่งหมายของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของคุณธรรมนั้น แล้วจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม เช่น คุณธรรม เรื่องความรับผิดชอบ ความกตัญญูกตเวที ความมีวินัย ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความอดทน ความประหยัด ความละอายต่อบาป เป็นต้น ดังนั้น การกำหนดคุณธรรมสำคัญ เพื่อพัฒนาส่วนรวม อาจไม่จำเป็นต้องกำหนดให้มากข้อ แต่ควรกำหนดคุณธรรมสำคัญให้เป็นบรรทัดฐาน หรือค่านิยมทางสังคม ที่น้อยข้อ แต่เป็นแกนคุณธรรมที่จะเอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมอื่นได้ด้วย
ถ้าสังคมใดมีคุณธรรมสำคัญ ไม่มากชื่อ โดยถูกวางไว้เป็นบรรทัดฐานหรือถูกกำหนดเป็นคุณลักษณะของพลเมืองทางสังคม สังคมนั้น ย่อมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น หรือแขกบ้านต่างเมืองที่ได้ไปเยี่ยมเยียน
การพัฒนาคุณภาพพลเมือง นอกจากเรื่องความรู้ ทักษะความสามารถ เจตคติต่างๆ แล้ว คุณธรรมถือเป็นปัจจัยที่ทรงคุณค่าสำคัญหนึ่ง ที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นในจิตสำนึกของพลเมือง เพราะหากพลเมืองยึดถือคุณธรรมต่างๆ เป็นข้อปฏิบัติทางสังคมแล้ว ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดกฎหมาย บทบัญญัติต่างๆ อาจจะทุเลาลงได้ ด้วยความเชื่อพื้นฐานที่ว่า คุณธรรม คือ กฎหมายในวิถีชีวิตของผู้คน แม้ที่ไม่มีบทลงโทษตามกฎหมาย แต่ใช้เป็นกติกาแห่งข้อปฏิบัติทางสังคมได้
คุณธรรมสำคัญข้อเดียวก็พอ สำหรับการสร้างชาติ จะเห็นตัวอย่าง เพื่อนบ้านในอาเซียนและในเอเชียอย่างสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือแม้กระทั่งในซีกโลกตะวันตกอย่างเยอรมนี เป็นต้น
ตัวอย่าง คุณธรรมสร้างชาติ สำหรับคนญี่ปุ่นคือ วินัยที่จากการศึกษาข้อมูลในพื้นที่ความคิด ในโพสต์เรื่อง วินัยของคนญี่ปุ่น…เขาเริ่มฝึกกันตั้งแต่…ที่โรงเรียน โดย PeerapatS อยู่ใน http://www.oknation.net/blog/Smartlearning/2012/08/27/entry-1 ได้เขียนบันทึกเล่าว่า
โรงเรียนในประเทศญี่ปุ่น เด็กชั้นประถม 1 - 6 ส่วนใหญ่ มักจะเดินไปโรงเรียน โดยจะมีการรวมตัวกันตามจุดต่างๆ เดินแถวไปโรงเรียน โดยจะมี “ซิลเวอร์ซัง” ซึ่งเป็นผู้สูงอายุในชุมชนที่เกษียณอายุแล้ว จะมาคอยทำหน้าที่ดูแลและรักษาความปลอดภัยให้เด็กนักเรียน ทั้งขาไปและขากลับ
เด็กจะใส่หมวกสีเหลือง เพราะเป็นสีที่เห็นได้ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง โดยผู้ใหญ่จะสังเกตได้ง่าย และสามารถให้ความช่วยเหลือได้
เด็กนักเรียนโรงเรียนรัฐบาล จะไม่ใส่ชุดนักเรียน เพื่อให้เด็กรู้จักสร้างสรรค์ แสดงออกในการแต่งกายที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นการบ่งชี้เอกลักษณ์ของเด็กคนนั้นๆ แต่ก็มีการแต่ชุดเครื่องแบบในโรงเรียนเอกชน
ตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน เด็กจะเปลี่ยนรองเท้าเป็นแบบเดียวกันและเก็บให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะอาดของห้องเรียน และไม่ต้องการให้มีความแตกต่างของรองเท้าที่อาจจะมีทั้งราคาถูกและราคาแพง
เด็กนักเรียน จะไม่มีการพกเงินไปโรงเรียน เพราะที่โรงเรียนจะไม่มีร้านขายของ ไม่มีตู้ขายอัตโนมัติ
ทุกเช้าก่อนเริ่มเรียน จะมีการตรวจเช็กว่า นักเรียนพกผ้าเช็ดหน้าและกระดาษทิชชูมาหรือไม่ เพื่อการรักษาความสะอาดและสุขอนามัย ถ้าลืมจะถูกหักคะแนน และมีผ้าเช็ดหน้าสำรองให้ยืม และจะมีการซักถามว่า มีใครไม่สบายหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องใช้ผ้าปิดปาก ดูแลตัวเอง ไม่ให้แพร่ไปยังเพื่อน และทุกคนก็จะมีการติดป้ายชื่อนักเรียน
ที่หลังห้องเรียนจะมีกระดาษเขียนเป้าหมายของเด็กๆ ปิดไว้เพื่อเตือนให้ปฏิบัติตนตามเป้าหมายที่ให้ไว้ เช่น ผมจะไม่มีสายอีก หนูจะยกมือตอบคำถามให้บ่อยขึ้น
เด็กนักเรียนจะมีการเปลี่ยนที่นั่งกันทุก 1 เดือน หรือทุก 3 เดือน โดยให้เด็กผู้ชายอกไปยืนรอนอกห้อง แล้วให้เด็กผู้หญิงจัดโต๊ะและเลือกที่นั่งก่อน แล้วจึงให้เด็กผู้ชายเขามาเลือกที่นั่ง โดยไม่รู้ว่าจะได้นั่งคู่กับใคร เป็นการทำความรู้จักกัน เรียนรู้ ปรับตัว สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความสามัคคีกับเพื่อนนักเรียน
ในเรื่องการเรียนการสอน ในญี่ปุ่นจะจัดการเรียนการสอน โดยมักจะเน้นการเรียนนอกห้องเรียน เพื่อเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น เด็กจะลุกขึ้นมาอ่านคนละประโยคเอง ไม่มีการชี้หรือบังคับ
การเรียน มักจะปล่อยให้เด็กได้ทำอะไรได้อย่างอิสระ เรียนด้วยความสุข สนุก ครูจะไม่มีการดุหรือต่อว่านักเรียนที่คุยกันในห้องเรียน เด็กนักเรียนจะมีความตั้งใจในการเรียน แข่งขันกันตอบ แข่งขันกันอย่างเต็มที่ เด็กที่ตอบจะได้ติดป้ายชื่อขึ้นบนกระดาน
วิชาดนตรีทำให้เด็กๆ มีจิตใจที่อ่อนโยน โรงเรียนก็จะจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาดนตรี
ครูจะให้เด็กเป็นคนคิดเอง ว่าจะต้องทำอะไร ตัดสินใจเองว่า เรื่องนี้ควรทำ เรื่องนั้นต้องทำอย่างไรเรื่องอาหารการกิน
ส่วนห้องครัวจะมีการรักษาสะอาดอย่างมาก ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไป
เด็กจะถูกฝึกให้สัมผัสรสชาติอาหารต่างๆ จะถูกเปลี่ยนจากอาหารที่ไม่ชอบ ให้ชอบมากขึ้น โดยจะมีการทำเป็นชิ้นเล็ก บด หรือโดยการผสมกับอาหารที่ชอบ
เด็กจะเป็นคนตักอาหารด้วยตนอง หลังจากที่ทำความเคารพขอบคุณอาหารแล้ว ถ้าอาหารที่รับมามากเกินไป สามารถนำกลับไปคืน ไม่มีการกินเหลือ เป็นการสร้างนิสัยการรู้จักความพอดี
หลังจากทานอาหารเสร็จ ทุกคนจะช่วยกันเก็บภาชนะให้เรียบร้อย เก็บพับกล่องนมเพื่อนำไปรีไซเคิล (Recycle) ช่วยกันทำความสะอาด เก็บกวาดห้องเรียน แยกขยะเปียกแห้ง รีไซเคิล ดังนั้น นิสัยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ จะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก
หลังอาหารก็จะเป็นเวลาเล่น เด็กๆ จะเรียน 2 ชั่วโมง และจะได้พัก 15 นาที เด็กเล็กๆ จะใส่หมวกสีแดง เพื่อให้เด็กโตระมัดระวังความปลอดภัย
ในวิชาพละ เด็กๆ จะต้องนำอุปกรณ์ออกมาเอง เมื่อเรียนเสร็จก็จะต้องเก็บอุปกรณ์ เพื่อสร้างนิสัยการเสียสละเพื่อส่วนรวม การเล่นก็จะให้เด็กได้มีการวางแผน เพื่อที่จะกำหนดว่า จะชนะอย่างไร
ก่อนจะเลิกเรียน จะมีการประชุมกัน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ผ่านมา 1 วัน สิ่งที่ดี ที่เพื่อนทำให้ จะมีการชมเชย สิ่งใดที่ผิดพลาด ก็จะนำกลับไปแก้ไข คุณครูก็จะช่วยสรุปว่า ให้เด็กทุกคน ทำดีทุกวัน
ก่อนกลับบ้านก็จะมีเสียงตามสาย จากนักเรียนรุ่นพี่ จะกล่าวคำลำลา และย้ำเตือนว่าเรื่องของพรุ่งนี้ อย่าลืมทำตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ อย่าลืมของ และดูแลรักษาสุขภาพตนเอง
จากบันทึกในบล็อกของ PeerapatS ที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวการสร้างวินัยของคนญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่า คุณธรรมข้อเดียว คือ วินัย ที่ใช้เป็นแกนสำคัญในการสร้างชาติ ช่วยให้ทิศทางในการพัฒนาพลเมืองของประเทศมีความโดดเด่น จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติญี่ปุ่น ซึ่งได้เห็นจากภาพข่าวสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วสะท้อนว่า คนญี่ปุ่นมีวินัยอย่างไร
เหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งผู้เขียน คิดเห็นว่า เหตุการณ์นั้นเป็นภาพที่น่าประทับใจมากที่สุด เมื่อครั้งที่ญี่ปุ่นประสบภัยสึนามิครั้งใหญ่ แต่คนญี่ปุ่นยังเข้าแถวรอรับสิ่งของช่วยเหลืออย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย จนปรากฏเป็นภาพที่มีความหมายต่อชาวโลก ที่ได้เห็นความเป็นอัตลักษณ์ของคนญี่ปุ่น
ภาพ 1 คนญี่ปุ่นต่อแถวเข้าคิด รอรับสิ่งของช่วยเหลือจากภัยสึนามิ
ที่มา: www.oknation.net (สืบค้นภาพเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2558)
จากภาพ 1 ที่คนญี่ปุ่นจำนวนมาก ซึ่งในในท่ามกลางสภาวะอดอยากอาหารเนื่องจากอุบัติภัยทางธรรมชาติสึนามิ แต่กลับต่อแถวเข้าคิวเพื่อรอรับความช่วยเหลืออย่างเป็นระเบียบ เป็นภาพที่น่าประทับใจ
จะเห็นได้ว่า คุณธรรมสำคัญข้อเดียว ที่ใช้เป็นแกนในการสร้างชาติของคนญี่ปุ่น คือ วินัย ช่วยทำให้ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมเกิดขึ้นได้อย่างน่าประทับใจ ซึ่งคล้ายกับชนชาติเยอรมนีของตะวันตก ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นชนชาติที่เข้มแข็งด้วยวินัย ไม่ต่างจากญี่ปุ่น
อีกตัวอย่างหนึ่ง เป็นกรณีคุณธรรมสร้างชาติของเกาหลีใต้ ที่ศึกษาจาก khajochi Blog ใน http://www.khajochi.com/2015/02/khajochi-blog-korea-nation-building.html ที่เขียนบันทึกเล่าวิธีการสร้างชาติแบบเกาหลีใต้ ว่า เกาหลีใต้ สร้างชาติ จากคุณธรรมเรื่อง ความสุจริต (ไม่คอร์รัปชัน) ผนวกกับการศึกษาและพัฒนาสร้างคน โดยเขียนเล่าบันทึก ไว้ว่า
เมื่อ 50 ปีก่อนเกาหลียากจนมาก ล้าหลังสุดๆ ไทยเราต้องส่งหมอครูไปช่วยเค้าเลยทีเดียว แต่ทุกวันนี้เกาหลีล้ำหน้าไทยในทุกด้าน น่าจะล้ำเกิน 10 ปีได้ โดยภูมิประเทศแล้วเกาหลีเป็นประเทศที่น่าสงสาร คือพื้นที่สวย เป็นติ่งติดทะเล ค้าขายดีแน่นอน ใครก็อยากได้ แต่ความซวยของเกาหลี คือ มองไปทางซ้ายมีจีน ขวามีญี่ปุ่น ... ขาโหดทั้งนั้น เกาหลีโดนเป็นเมืองขึ้นมาตลอด โดยจีน, ญี่ปุ่น, ชาติตะวันตก ผลัดกันมากดขี่ โดยเฉพาะญี่ปุ่นนี่ทำบาปกับที่นี่ไว้หลายกรณีมาก จนทุกวันนี้ยังเกลียดกันไม่เลิก ปัญหาหลักของเกาหลีช่วงนั้น คือ คนไม่มีการศึกษา ความเจริญมีแค่ในเมืองหลวง และรัฐบาลโกงกิน ใครโกงโดนจับได้ก็แค่บินหนีต่างประเทศ แป๊บๆ ก็ได้กลับบ้าน วิธีสร้างชาติ สรุปง่ายๆ มีแค่ 3 อย่าง คือ สร้างการศึกษา, สร้างคน กับเลิกคอร์รัปชัน
การศึกษาต้องมาก่อนทุกอย่าง
แผนแรกของเกาหลีใต้ในตอนนั้นคือ การที่ประเทศจะเจริญสู้ประเทศอื่นได้ การศึกษาต้องดีก่อน
ตอนที่เพิ่งไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศได้ปี 1945 เกาหลีมีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรไม่ถึง 10 คน แต่หลังจากนั้นแค่ 15 ปี ปั๊มยอดได้เกิน 150,000 คน
หนังสือที่เกาหลีถูกมาก ห้องสมุดไม่มีค่าเข้าใช้บริการ ต่างจังหวัด มีหนังสือเพียบ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง ส่วนอัตราการเข้าเรียนป. 1 มากถึง 99.99%
คนอ่านหนังสือและ e-book เยอะแบบที่เป็นกิจการระดับประเทศ
คนเกาหลีนิยมเรียนสูงๆ และชอบไปต่อนอก เช่นอเมริกา เพราะค่าครองชีพพอกัน
ทุกคนรักการอ่าน มีการสอนให้อ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก มีหนังสือระดับโคตรฮิตให้แต่ละวัยได้อ่าน ไม่ใช่แค่หนังสือวิชาการ
คนรักการอ่าน ก็จะมีสมาธิดี เรียนหนังสือก็เข้าใจง่าย ไม่รู้สึกเกลียดการอ่านหนังสือ
สร้างคนแบบคนเกาหลี
ชาวเกาหลีใต้ซึมซับความเป็นคนญี่ปุ่นและคนจีนมาไม่มากก็น้อย เพราะเคยเป็นเมืองขึ้น คนเกาหลีรักชาติแบบญี่ปุ่น ขยันอดทนแบบคนจีน และฉลาดไม่โกงกินแบบฝรั่ง การสร้างคนของที่นี่เน้นปลูกฝังค่านิยมและนิสัย ไม่ใช่เน้นปลายทางที่แจกแท็บเล็ตหรือลดภาษีเลิกหนี้ให้ เด็กจะขยันอ่านหนังสือ เรียนหนัก ทุกคนต้องเข้ามหาลัย ใครไม่เรียนมหาลัยจะอายมาก เด็กมหาลัยเกาหลีจะนอนกันแค่ 4-5 ชั่วโมง เพราะใช้เวลาอ่านหนังสือกับค้นข้อมูล แต่คนเกาหลีใจร้อน ก็เอาข้อด้อยมาใช้ในการทำงาน ประโยคที่พูดกันบ่อยในออฟฟิศคือ “เร็วๆ หน่อย”
ภาพ 2 ค่านิยมรักชาติ ที่พยายามเผยแพร่วัฒนธรรมไปทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่สนามบิน
http://www.khajochi.com/ (สืบค้นภาพเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2558)
ประเทศมีงานแทบทุกชนิดให้คนเก่งทำงานได้ในประเทศ ไม่ต้องออกไปเป็นอาจารย์หรือออกไปทำงานต่างประเทศ คนที่เก่งกีฬา มีลีกกีฬาอาชีพรองรับ ส่วนคนเก่งวิชาการ มีบริษัทเน้นงานวิจัยเพียบ เช่น Samsung, Hyundai, LG ได้งานทำจริงๆ ไม่ใช่เด็กชนะเหรียญทองวิชาการมาแล้วก็ไม่รู้จะทำอะไรต่อคนเก่งไปได้สุดทาง คนไม่เก่งมีงานระดับกลางจำนวนมาก แต่ข้อเสีย คือ ความเครียดสูง เป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงมากๆ ประเทศหนึ่ง (อ่านเพิ่ม : “Bridge of Life” สะพานแห่งชีวิตในเกาหลี มีคนมาฆ่าตัวตายเพิ่ม 4 เท่าหลังปรับปรุงใหม่)
เลิกคอร์รัปชัน เลิกโกง แค่นี้ชาติก็เจริญ
เงินประเทศมันพอสร้างชาติอยู่แล้ว แค่ไม่โกง ประเทศก็เจริญ เกาหลีใต้เคยเหมือนเมืองไทย คือ ข้าราชการ, รัฐ, ผู้มีอำนาจ โกงทั้งระบบ ช่วงหนึ่งเกาหลีโชคดีได้ประธานาธิบดีชื่อ “ปาร์ค จุง ฮี” ที่ไม่ใช่แค่เก่ง แต่เป็นเผด็จการขาโหด ความโหดนี้ ทำให้ปราบคอร์รัปชันได้ ปาร์ค ได้ประกาศจัดการระบบคอร์รัปชันให้สิ้นซาก แบบไม่มีเกรงใจคนชู 3 นิ้ว ใครโกง โดนขังคุกใหญ่แค่ไหน ประธานาธิบดี ลงมาเล่นเอง ศาลตัดสินว่องไว โดนประจานไปทั้งประเทศ ว่ากันว่า หดถึงขนาดว่าใครที่คิดจะโกงบ้านเมืองแล้วหนีไปต่างประเทศ จะโดนลากกลับมารับโทษได้ไม่เกิน 7 วัน ระบบตรวจสอบข้าราชการที่นี่เลยโหดมาก จนค่านิยมไม่คอร์รัปชันปลูกฝังไปทั่วประเทศ ทั้งหมดนี้ก็เป็นความเห็นจากคนเกาหลี ที่มองประเทศตัวเองว่าเจริญขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีนี้ได้อย่างไร แน่นอนว่าก็คงมีอีกหลายเหตุผลมากกว่านั้น แต่ก็ถือว่าเป็นการเปิดหูเปิดตาไม่น้อย ที่ได้รับฟัง
เรื่องดีที่สุดของการได้รับรู้วิธีสร้างชาติของเกาหลีใต้ คือ เขาเคยจนมาก่อน เขาเคยทะเลาะกันเองในประเทศมาก่อน ประเทศเขาเคยมีแต่คนโกงมาก่อน ... แต่เขาก็สามารถสร้างชาติขึ้นมาได้
จากข้อความใน khajochi Blog ที่บันทึกเกี่ยวกับการสร้างชาติของเกาหลีใต้ จะเห็นได้ว่า คุณธรรมสำคัญในการสร้างชาติ คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ต้องการให้มีการทุจริตคอร์รัปชัน จึงสร้างค่านิยมต้านคอร์รัปชันให้กับคนในชาติ แล้วพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนากำลังคน จนกลายเป็นคุณธรรมสร้างชาติได้
คุณธรรมสำคัญข้อเดียวในการสร้างชาติ จากกรณีของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทำให้มองเห็นว่า การสร้างค่านิยมหลักทางสังคม เพื่อก่อให้เกิดกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงในชาติและสร้างอัตลักษณ์ของชนชาติ สามารถกระทำได้ โดยอาศัยมาตรการทางสังคม ที่ไม่ต้องใช้คุณธรรมมากหมายหลายหัวข้อในการพัฒนาพลเมืองไปในคราวเดียวกัน
สำหรับเมืองไทยของเรานั้น ผู้เขียน มองเห็นเด่นชัดในมิติว่า คุณธรรมสำคัญของคนไทย คือความกตัญญูกตเวที ด้วยความเชื่อว่า ความกตัญญูกตเวที หากมีในบุคคลใด บุคคลนั้น จะแสดงถึงความมีวินัยที่พร้อมจะแสดงมีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งนั่นหมายถึงความมีคุณธรรมความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความมีน้ำใจ หรือคุณธรรมอื่นๆ ติดสอยห้อยตามมาด้วย เพราะหากมีคุณธรรมสำคัญ เป็นแก่นข้อหนึ่ง คุณธรรมอื่น จะติดตามมาโดยธรรมชาติของความดี
การปักธงพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 8 ประการ ถือเป็นความมุ่งหมายที่ดีในการพัฒนาคุณงามความดีให้เกิดขึ้นในบุคคล แต่หากไม่เข้าใจวิธีการพัฒนาคุณธรรมสำคัญ อันจะเป็นตัวนำคุณธรรมรองอื่นๆ ให้เกิดขึ้นได้ด้วยแล้ว อาจเกิดปัญหาในการพัฒนาคุณธรรมที่มีมากชื่อ มากด้วยตัวชี้วัดในการพัฒนา และอาจมากทั้งวิธีการ รวมทั้งภาระในการวัดและประเมินผล เพื่อสะท้อนพฤติกรรมเชิงประจักษ์ว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมเกิดขึ้นจริง ถาวร ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หลายประการดังกล่าว
หลักคิดใบไม้ในกำมือ หรือคุณธรรมสำคัญข้อเดียว ก็พอ อาจเป็นภาพสะท้อนสำหรับใช้เป็นแนวคิดในการพัฒนาคุณธรรมสำคัญแก่พลเมือง ซึ่งสามารถใช้เป็นคุณธรรมแกนในการเชื่อมต่อไปสู่การพัฒนาคุณธรรมอื่นทั้งน้อยและใหญ่ตามชื่อเรียกและวัตถุประสงค์ของคุณธรรมที่ต่างกัน แต่ขอเพียงให้ได้ฉายภาพของการวางคุณธรรมแห่งชาติให้ชัดสักข้อสองข้อ เพื่อได้พินิจดูว่า คุณธรรมสามารถสร้างชาติได้จริงหรือไม่ อย่างที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ได้พิสูจน์แนวคิดนี้ไว้แล้ว... ผม ยังเชื่อว่า คนไทย ทำได้ และไม่มีคำว่าสายเกินไป