**แม้จะมีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) บางส่วน เริ่มขยับนัดถก-ชำแหละ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับใหม่ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรธน.ได้เผยแพร่ และส่งมอบให้สปช.ไปแล้วเมื่อวันเสาร์ที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา
แต่เสียง"หนุน-ค้าน"ร่าง รธน. ที่ปรากฏออกมา ถึงตอนนี้ในช่วงเหลือเวลาอีกไม่ถึงสองสัปดาห์จะถึงวันโหวต รับ-ไม่รับ ร่างรธน. ของสปช. ในวันอาทิตย์ที่ 6 ก.ย. สปช.ยังประเมินว่า ร่าง รธน.น่าจะผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมไปได้ แบบไม่น่ามีอะไรพลิกผัน ถึงจะมี สปช. บางส่วนที่ไม่ใช่พวกหน้าเดิมก่อนหน้านี้ อย่าง วันชัย สอนศิริ- ดิเรก ถึงฝั่ง- สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ –เสรี สุวรรณภานนท์ เริ่มเปิดตัวแสดงท่าทีออกมาบ้างแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับร่างรธน. ดังกล่าวในบางประเด็น แต่เสียงต้านดังกล่าวยังไม่ขยายวงมากนัก ทำให้กระแสในสปช. ยังมั่นใจว่า ยังไง ร่าง รธน. ก็น่าจะผ่าน สปช.ไปได้
ร่าง รธน. จะผ่านหรือไม่ผ่าน ความชัดเจนตรงนี้จะชัดมากขึ้นในช่วงไม่เกิน วันที่ 3-4 ก.ย. ถึงตอนนั้น ทุกอย่างน่าจะนิ่งแล้ว ยากที่กระแสจะตีกลับได้ หากทิศทางมันชัด เผลอๆ ปลายสัปดาห์นี้ ก็น่าจะพอฟันธงแบบร้อยเปอร์เซนต์ได้แล้วว่า ผ่าน-ไม่ผ่าน
ทั้งนี้ เมื่อกมธ.ยกร่างฯ ส่งร่าง รธน.ให้สปช.แล้ว ทาง สปช.ไม่สามารถเปิดประชุมเพื่ออภิปราย ถกเถียงเรื่อง ร่าง รธน.อย่างเป็นทางการกันได้อีก ต้องรอโหวตอย่างเดียว
**วันที่ 6 ก.ย. ชี้ขาดสถานเดียว
แม้ว่า สปช.อาจมีข้อข้องใจ เช่น ทำไม กมธ.ยกร่างฯ เขียนรธน.ออกมาแบบนี้ อยากรู้เหตุผล ก็ไม่สามารถซักถามอย่างเป็นทางการในที่ประชุมได้ ต้องไปถามกันนอกรอบเป็นการส่วนตัว ทำได้อย่างมากก็คือ จัดเสวนาวงเล็กๆ แลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นกันอย่างไม่เป็นทางการ ที่รัฐสภาหรือสถานที่ต่างๆ แล้วจะให้กมธ.ยกร่างฯ ไปอธิบาย พูดคุยด้วย แบบนี้ทำได้
ส่วนการจัดปิดห้องพูดคุยกันดังกล่าว ที่คาดว่าจะมีหลายวง ที่ทำแบบเปิดเผย และไม่เปิดเผย จะเปิดช่องให้มีการ ล็อบบี้พวก สปช. ให้โหวตเสียงไปในทางหนึ่งทางใดหรือไม่ เชื่อได้ว่า คงไม่มีผล เพราะการออกเสียงของสปช.ส่วนใหญ่ว่า จะโหวตรับ-ไม่รับ ว่ากันตามเนื้อผ้า มันเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนจะ เห็นร่างทั้งฉบับ เมื่อ 22 ส.ค.แล้ว
อย่างไรก็ตาม การล็อบบี้อะไรต่างๆ จึงไม่น่าจะมีผล และคงไม่มีใครคิดทำ เพราะหากโดนแฉขึ้นมา จบเห่
จาก ร่าง รธน.ทั้งฉบับ 285 มาตรา “ทีมข่าวการเมือง”มุ่งเจาะไปที่ สาระสำคัญในร่าง รธน. ที่อยู่ใน"บทเฉพาะกาล" ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า ถือเป็น"หมวดสำคัญ"ของร่าง รธน. หมวดหนึ่ง เพราะบทบัญญัติต่างๆที่มีอยู่ใน ร่าง รธน. การจะให้มีผลบังคับใช้ หรือยังไม่ให้มีผลบังคับใช้ แม้ต่อให้รัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว หรือจะให้มีผลบังคับใช้เมื่อใด ตลอดจนมีข้อยกเว้นอะไรบ้าง หลังร่าง รธน.ประกาศใช้ มันอยู่ที่การเขียนล็อกไว้ใน บทเฉพาะกาล เป็นสำคัญ
อย่างบทเฉพาะกาลของ ร่าง รธน.ฉบับนี้ ก็มีหลายเรื่องสำคัญ ชวนให้วิเคราะห์และพูดถึงกันทางการเมือง
เช่น มาตราสุดท้าย 285 ก็เป็นเรื่องปกติของรธน.ที่เกิดขึ้นหลังการทำรัฐประหาร ก็จะต้องเป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการ "นิรโทษกรรมให้กับคณะรัฐประหาร–คสช." รวมถึงผลที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหารต่างๆ เช่น คำสั่ง คสช. ไม่ให้มีการเอาผิดย้อนหลังได้ ซึ่ง ร่าง รธน.ฉบับนี้ ให้การรับรองไว้ว่า เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อีกทั้งหากจะมีการยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงประกาศ คสช.ดังกล่าว ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
อีกประเด็นสำคัญก็คือ ในมาตรา 277 ที่เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง "ที่มา ส.ว.สรรหา" ซึ่งบทเฉพาะกาลดังกล่าว ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินในช่วงก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา 123 คน โดยมีข้อแม้ว่า การได้มาซึ่ง ส.ว.สรรหา 123 คนดังกล่าว ให้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 118 ที่เป็นเรื่องการสรรหาส.ว. ที่ต้องกระจายไปยังกลุ่มต่างๆ ให้มากที่สุด
สรุปก็คือ บทเฉพาะกาล ให้อำนาจ ครม.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ตั้ง ส.ว. 123 คน ไปยึดกุมเสียงสภาสูงนั่นเอง เพียงแต่ทำให้ดูไม่น่าเกลียด ก็ให้มีกรรมการสรรหามา เหมือนกับคอยกลั่นกรอง แต่ถึงเวลาจริงๆ ครม.-คสช. ก็เอาโผ ส.ว. 123 คนไปให้กรรมการสรรหาประทับตรารับรองนั่นเอง เชื่อได้ว่า ครม.ก็คงตั้งพวกเดียวกันเอง อาทิ รองนายกฯ หรือ รัฐมนตรี สัก 1-2 คน รวมถึงพวกเครือข่ายคสช.ไปนั่งเป็นกรรมการสรรหา ส.ว.อยู่แล้ว
แม้บทเฉพาะกาล จะบอกว่าให้การสรรหาเลือก ส.ว.123 คนชุดแรก หลังรธน.บังคับใช้ อยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 3 ปี จะเขียนว่า เลือกให้หลากหลาย เช่น กลุ่มอดีตปลัดกระทรวง อดีตผู้นำเหล่าทัพ ตัวแทนองค์กรวิชาชีพ ตัวแทนด้านเกษตรกรรม แรงงาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และอื่นๆ แต่ถึงเวลาจริงๆ รายชื่อ ส.ว.123 คน ก็จะเป็นพวกคนของ คสช. เป็นส่วนใหญ่ อาจแต่งหน้าเค้กเอา ผู้ทรงคุณวุฒิบางด้านที่มีชื่อเสียงมาปนๆ กันไว้บ้าง เพื่อให้รายชื่อออกมาดูดี แต่สุดท้าย ส.ว. 123 คน ก็คือ เครือข่าย คสช. ในสภาสูง นั่นเอง
แม้จะเป็นแค่ช่วง 3 ปี แต่ก็เป็น 3 ปี ที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านอำนาจคสช. ไปสู่รัฐบาลหลังเลือกตั้ง ทำให้ คสช. ยังมีอำนาจอยู่ในระบบรัฐสภาผ่าน ส.ว. 123 คน ต่อไป
ยังมีอีกหลายประเด็นในบทเฉพาะกาลที่น่าสนใจ แต่ที่น่าสนใจมากสุด คงไม่พ้น มาตรา 280 ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักก่อนหน้านี้ว่า เป็นการ"ต่อท่ออำนาจให้คสช." บ้างก็บอกไปว่าคือการสร้างให้เกิด “คสช.ภาคสอง”นั่นก็คือ การให้"อำนาจพิเศษ" กับคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดอง 23 คน ที่แม้จะมีกรรมการโดยตำแหน่ง เช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี แต่ก็มีพวก ฝ่ายความมั่นคง อยู่ในกรรมการยุทธศาสตร์ฯครบครัน อาทิ ผบ.ทบ. - ผบ.สส. - ผบ.ทอ. - ผบ.ทร .- ผบ.ตร. ตลอดจนกรรมการจากกลุ่มอื่นๆ ที่จะเข้ามาตามรธน. แต่ก็เปิดช่องให้ล็อกชื่อคนบางคนเข้ามาได้ เป็นที่ชัดเจนว่า กมธ.ยกร่างรธน. ยังคงอำนาจพิเศษ ให้กับกรรมการยุทธศาสตร์ต่อไป แม้ก่อนหน้านี้จะมีเสียงคัดค้านมากมาย แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะในบทเฉพาะกาล ยังคงระบุอำนาจพิเศษไว้ ดังนี้
"ภายในห้าปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ถ้ามีความจำเป็นเพื่อรักษาเอกราชของชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับหรือปราบปราม การกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยของชาติฯ เศรษฐกิจของประเทศ หรือกรณี เกิดความขัดแย้งอันอาจนำไปสู่ความรุนแรงขึ้นภายในประเทศ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ทั้งการดำเนินการตามปกติของสถาบันการเมืองตามรัฐธรรมนูญและคณะรัฐมนตรี ไม่อาจดำเนินการเพื่อยุติกรณีดังกล่าวได้
คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการที่มีทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มีอำนาจใช้มาตรการที่จำเป็น สำหรับจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวแทนได้ ภายหลังจากที่ได้มีการปรึกษาหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญและประธานศาลปกครองสูงสุดแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
**และอีกวรรคที่สำคัญคือ การให้การคุ้มครองทางกฎหมายกับการใช้อำนาจพิเศษของกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ระบุว่า ไม่ให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีใดๆ กับกรรมการยุทธศาสตร์ได้ไม่ว่ากรณีใด ทั้งสิ้น
**"ให้ถือว่าคำสั่ง การกระทำ และการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่ง การกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ และกฎหมายและเป็นที่สุด"
วรรคดังกล่าวใน มาตรา280 ทำให้เป็นห่วงว่า หากกรรมการใช้อำนาจหรือตัดสินใจใดๆ ผิดพลาดขึ้นมา จะหาคนรับผิดชอบไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ร่างทั้งหมดถือว่าเสร็จสิ้นหมดแล้ว ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก หากไม่ต้องการ หรือเห็นว่าร่างรธน.มาตราไหน มีข้อเสียหรือเป็นอันตรายต่อส่วนรวม หากให้มีการบังคับใช้รธน. ก็ไม่สามารถแก้ไขถ้อยคำอะไรได้อีกแล้ว
มีอยู่ทางเดียวเท่านั้นคือ ต้องทำให้ ร่าง รธน.ไม่ผ่าน สปช. แต่เมื่อกระแสทิศทางดูแล้ว มีความเป็นไปได้สูงที่จะผ่าน สปช. จึงต้องไปลุ้นขั้นตอนต่อไปหากต้องการให้ ร่าง รธน.แท้ง นั่นก็คือ ประชาชนต้องลง ประชามติ คว่ำ ร่าง รธน.ในเดือนมกราคม 59
**ประชาชนจะเอาด้วยไหม โดยเฉพาะฝ่ายเพื่อไทย - คนเสื้อแดง หากจะรณรงค์ให้คว่ำ ร่าง รธน.ในช่วงประชามติ เพราะสิ่งที่จะตามมาคือ การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปอย่างน้อยก็ 8 เดือน จากโรดแมปเดิมที่วางไว้ หากร่าง รธน.ไม่ผ่านประชามติ นี้คือข้อสงสัย?
แต่เสียง"หนุน-ค้าน"ร่าง รธน. ที่ปรากฏออกมา ถึงตอนนี้ในช่วงเหลือเวลาอีกไม่ถึงสองสัปดาห์จะถึงวันโหวต รับ-ไม่รับ ร่างรธน. ของสปช. ในวันอาทิตย์ที่ 6 ก.ย. สปช.ยังประเมินว่า ร่าง รธน.น่าจะผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมไปได้ แบบไม่น่ามีอะไรพลิกผัน ถึงจะมี สปช. บางส่วนที่ไม่ใช่พวกหน้าเดิมก่อนหน้านี้ อย่าง วันชัย สอนศิริ- ดิเรก ถึงฝั่ง- สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ –เสรี สุวรรณภานนท์ เริ่มเปิดตัวแสดงท่าทีออกมาบ้างแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับร่างรธน. ดังกล่าวในบางประเด็น แต่เสียงต้านดังกล่าวยังไม่ขยายวงมากนัก ทำให้กระแสในสปช. ยังมั่นใจว่า ยังไง ร่าง รธน. ก็น่าจะผ่าน สปช.ไปได้
ร่าง รธน. จะผ่านหรือไม่ผ่าน ความชัดเจนตรงนี้จะชัดมากขึ้นในช่วงไม่เกิน วันที่ 3-4 ก.ย. ถึงตอนนั้น ทุกอย่างน่าจะนิ่งแล้ว ยากที่กระแสจะตีกลับได้ หากทิศทางมันชัด เผลอๆ ปลายสัปดาห์นี้ ก็น่าจะพอฟันธงแบบร้อยเปอร์เซนต์ได้แล้วว่า ผ่าน-ไม่ผ่าน
ทั้งนี้ เมื่อกมธ.ยกร่างฯ ส่งร่าง รธน.ให้สปช.แล้ว ทาง สปช.ไม่สามารถเปิดประชุมเพื่ออภิปราย ถกเถียงเรื่อง ร่าง รธน.อย่างเป็นทางการกันได้อีก ต้องรอโหวตอย่างเดียว
**วันที่ 6 ก.ย. ชี้ขาดสถานเดียว
แม้ว่า สปช.อาจมีข้อข้องใจ เช่น ทำไม กมธ.ยกร่างฯ เขียนรธน.ออกมาแบบนี้ อยากรู้เหตุผล ก็ไม่สามารถซักถามอย่างเป็นทางการในที่ประชุมได้ ต้องไปถามกันนอกรอบเป็นการส่วนตัว ทำได้อย่างมากก็คือ จัดเสวนาวงเล็กๆ แลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นกันอย่างไม่เป็นทางการ ที่รัฐสภาหรือสถานที่ต่างๆ แล้วจะให้กมธ.ยกร่างฯ ไปอธิบาย พูดคุยด้วย แบบนี้ทำได้
ส่วนการจัดปิดห้องพูดคุยกันดังกล่าว ที่คาดว่าจะมีหลายวง ที่ทำแบบเปิดเผย และไม่เปิดเผย จะเปิดช่องให้มีการ ล็อบบี้พวก สปช. ให้โหวตเสียงไปในทางหนึ่งทางใดหรือไม่ เชื่อได้ว่า คงไม่มีผล เพราะการออกเสียงของสปช.ส่วนใหญ่ว่า จะโหวตรับ-ไม่รับ ว่ากันตามเนื้อผ้า มันเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนจะ เห็นร่างทั้งฉบับ เมื่อ 22 ส.ค.แล้ว
อย่างไรก็ตาม การล็อบบี้อะไรต่างๆ จึงไม่น่าจะมีผล และคงไม่มีใครคิดทำ เพราะหากโดนแฉขึ้นมา จบเห่
จาก ร่าง รธน.ทั้งฉบับ 285 มาตรา “ทีมข่าวการเมือง”มุ่งเจาะไปที่ สาระสำคัญในร่าง รธน. ที่อยู่ใน"บทเฉพาะกาล" ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า ถือเป็น"หมวดสำคัญ"ของร่าง รธน. หมวดหนึ่ง เพราะบทบัญญัติต่างๆที่มีอยู่ใน ร่าง รธน. การจะให้มีผลบังคับใช้ หรือยังไม่ให้มีผลบังคับใช้ แม้ต่อให้รัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว หรือจะให้มีผลบังคับใช้เมื่อใด ตลอดจนมีข้อยกเว้นอะไรบ้าง หลังร่าง รธน.ประกาศใช้ มันอยู่ที่การเขียนล็อกไว้ใน บทเฉพาะกาล เป็นสำคัญ
อย่างบทเฉพาะกาลของ ร่าง รธน.ฉบับนี้ ก็มีหลายเรื่องสำคัญ ชวนให้วิเคราะห์และพูดถึงกันทางการเมือง
เช่น มาตราสุดท้าย 285 ก็เป็นเรื่องปกติของรธน.ที่เกิดขึ้นหลังการทำรัฐประหาร ก็จะต้องเป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการ "นิรโทษกรรมให้กับคณะรัฐประหาร–คสช." รวมถึงผลที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหารต่างๆ เช่น คำสั่ง คสช. ไม่ให้มีการเอาผิดย้อนหลังได้ ซึ่ง ร่าง รธน.ฉบับนี้ ให้การรับรองไว้ว่า เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อีกทั้งหากจะมีการยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงประกาศ คสช.ดังกล่าว ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
อีกประเด็นสำคัญก็คือ ในมาตรา 277 ที่เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง "ที่มา ส.ว.สรรหา" ซึ่งบทเฉพาะกาลดังกล่าว ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินในช่วงก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา 123 คน โดยมีข้อแม้ว่า การได้มาซึ่ง ส.ว.สรรหา 123 คนดังกล่าว ให้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 118 ที่เป็นเรื่องการสรรหาส.ว. ที่ต้องกระจายไปยังกลุ่มต่างๆ ให้มากที่สุด
สรุปก็คือ บทเฉพาะกาล ให้อำนาจ ครม.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ตั้ง ส.ว. 123 คน ไปยึดกุมเสียงสภาสูงนั่นเอง เพียงแต่ทำให้ดูไม่น่าเกลียด ก็ให้มีกรรมการสรรหามา เหมือนกับคอยกลั่นกรอง แต่ถึงเวลาจริงๆ ครม.-คสช. ก็เอาโผ ส.ว. 123 คนไปให้กรรมการสรรหาประทับตรารับรองนั่นเอง เชื่อได้ว่า ครม.ก็คงตั้งพวกเดียวกันเอง อาทิ รองนายกฯ หรือ รัฐมนตรี สัก 1-2 คน รวมถึงพวกเครือข่ายคสช.ไปนั่งเป็นกรรมการสรรหา ส.ว.อยู่แล้ว
แม้บทเฉพาะกาล จะบอกว่าให้การสรรหาเลือก ส.ว.123 คนชุดแรก หลังรธน.บังคับใช้ อยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 3 ปี จะเขียนว่า เลือกให้หลากหลาย เช่น กลุ่มอดีตปลัดกระทรวง อดีตผู้นำเหล่าทัพ ตัวแทนองค์กรวิชาชีพ ตัวแทนด้านเกษตรกรรม แรงงาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และอื่นๆ แต่ถึงเวลาจริงๆ รายชื่อ ส.ว.123 คน ก็จะเป็นพวกคนของ คสช. เป็นส่วนใหญ่ อาจแต่งหน้าเค้กเอา ผู้ทรงคุณวุฒิบางด้านที่มีชื่อเสียงมาปนๆ กันไว้บ้าง เพื่อให้รายชื่อออกมาดูดี แต่สุดท้าย ส.ว. 123 คน ก็คือ เครือข่าย คสช. ในสภาสูง นั่นเอง
แม้จะเป็นแค่ช่วง 3 ปี แต่ก็เป็น 3 ปี ที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านอำนาจคสช. ไปสู่รัฐบาลหลังเลือกตั้ง ทำให้ คสช. ยังมีอำนาจอยู่ในระบบรัฐสภาผ่าน ส.ว. 123 คน ต่อไป
ยังมีอีกหลายประเด็นในบทเฉพาะกาลที่น่าสนใจ แต่ที่น่าสนใจมากสุด คงไม่พ้น มาตรา 280 ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักก่อนหน้านี้ว่า เป็นการ"ต่อท่ออำนาจให้คสช." บ้างก็บอกไปว่าคือการสร้างให้เกิด “คสช.ภาคสอง”นั่นก็คือ การให้"อำนาจพิเศษ" กับคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดอง 23 คน ที่แม้จะมีกรรมการโดยตำแหน่ง เช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี แต่ก็มีพวก ฝ่ายความมั่นคง อยู่ในกรรมการยุทธศาสตร์ฯครบครัน อาทิ ผบ.ทบ. - ผบ.สส. - ผบ.ทอ. - ผบ.ทร .- ผบ.ตร. ตลอดจนกรรมการจากกลุ่มอื่นๆ ที่จะเข้ามาตามรธน. แต่ก็เปิดช่องให้ล็อกชื่อคนบางคนเข้ามาได้ เป็นที่ชัดเจนว่า กมธ.ยกร่างรธน. ยังคงอำนาจพิเศษ ให้กับกรรมการยุทธศาสตร์ต่อไป แม้ก่อนหน้านี้จะมีเสียงคัดค้านมากมาย แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะในบทเฉพาะกาล ยังคงระบุอำนาจพิเศษไว้ ดังนี้
"ภายในห้าปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ถ้ามีความจำเป็นเพื่อรักษาเอกราชของชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับหรือปราบปราม การกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยของชาติฯ เศรษฐกิจของประเทศ หรือกรณี เกิดความขัดแย้งอันอาจนำไปสู่ความรุนแรงขึ้นภายในประเทศ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ทั้งการดำเนินการตามปกติของสถาบันการเมืองตามรัฐธรรมนูญและคณะรัฐมนตรี ไม่อาจดำเนินการเพื่อยุติกรณีดังกล่าวได้
คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการที่มีทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มีอำนาจใช้มาตรการที่จำเป็น สำหรับจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวแทนได้ ภายหลังจากที่ได้มีการปรึกษาหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญและประธานศาลปกครองสูงสุดแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
**และอีกวรรคที่สำคัญคือ การให้การคุ้มครองทางกฎหมายกับการใช้อำนาจพิเศษของกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ระบุว่า ไม่ให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีใดๆ กับกรรมการยุทธศาสตร์ได้ไม่ว่ากรณีใด ทั้งสิ้น
**"ให้ถือว่าคำสั่ง การกระทำ และการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่ง การกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ และกฎหมายและเป็นที่สุด"
วรรคดังกล่าวใน มาตรา280 ทำให้เป็นห่วงว่า หากกรรมการใช้อำนาจหรือตัดสินใจใดๆ ผิดพลาดขึ้นมา จะหาคนรับผิดชอบไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ร่างทั้งหมดถือว่าเสร็จสิ้นหมดแล้ว ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก หากไม่ต้องการ หรือเห็นว่าร่างรธน.มาตราไหน มีข้อเสียหรือเป็นอันตรายต่อส่วนรวม หากให้มีการบังคับใช้รธน. ก็ไม่สามารถแก้ไขถ้อยคำอะไรได้อีกแล้ว
มีอยู่ทางเดียวเท่านั้นคือ ต้องทำให้ ร่าง รธน.ไม่ผ่าน สปช. แต่เมื่อกระแสทิศทางดูแล้ว มีความเป็นไปได้สูงที่จะผ่าน สปช. จึงต้องไปลุ้นขั้นตอนต่อไปหากต้องการให้ ร่าง รธน.แท้ง นั่นก็คือ ประชาชนต้องลง ประชามติ คว่ำ ร่าง รธน.ในเดือนมกราคม 59
**ประชาชนจะเอาด้วยไหม โดยเฉพาะฝ่ายเพื่อไทย - คนเสื้อแดง หากจะรณรงค์ให้คว่ำ ร่าง รธน.ในช่วงประชามติ เพราะสิ่งที่จะตามมาคือ การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปอย่างน้อยก็ 8 เดือน จากโรดแมปเดิมที่วางไว้ หากร่าง รธน.ไม่ผ่านประชามติ นี้คือข้อสงสัย?