“ดูก่อนอุบาลี บุคคลที่ภิกษุไม่พึงไหว้ 5 ประเภทคือ 1. ภิกษุผู้บวชภายหลัง 2. บุคคลที่มิได้บวชเป็นภิกษุ 3. ภิกษุต่างนิกายที่แก่กว่าแต่พูดไม่เป็นธรรม 4. มาตุคาม 5. บัณเฑาะก์”
นี่คือพุทธบัญญัติซึ่งมีปรากฏในวินัยปิฎก ปริวาร เล่มที่ 8 หน้าที่ 506
โดยนัยแห่งพุทธพจน์นี้หมายถึงบุคคลที่ภิกษุหรือนักบวชชายในพุทธศาสนาไม่พึงแสดงอาการเคารพด้วยการกราบไหว้ และถ้าภิกษุรูปใดกระทำเช่นนั้นเป็นการกระทำอันมิบังควรเป็นอาบัติทุกกฎ
ใน 5 ประเภทดังกล่าวข้างต้น ข้อที่ 2 หมายถึงผู้ที่มิได้เป็นภิกษุหรือที่วินัยเรียกว่า อนุปสัมบัน ซึ่งรวมถึงสามเณรด้วย
ส่วนข้อ 4 หมายถึงสตรีเพศ แม้กระทั่งผู้เป็นมารดาก็รวมอยู่ในข้อนี้
นอกจากบุคคล 5 ประเภทดังกล่าวข้างต้นแล้ว พระพุทธองค์ยังทรงบัญญัติภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้อีก 15 ประเภทดังนี้
1. ภิกษุผู้เข้าไปสู่บริเวณบ้านเรือน
2. ภิกษุผู้เดินในทาง
3. ภิกษุผู้อยู่ในที่มืด
4. ภิกษุผู้ไม่ทันสนใจคือ มัวสนใจในเรื่องอื่นๆ ไม่ทันเห็น ไม่ทันสังเกต แม้ไหว้ก็คงไม่รู้ว่าไหว้
5. ภิกษุผู้นอนหลับ
6. ภิกษุผู้กำลังดื่มข้าวยาคู
7. ภิกษุผู้อยู่ในโรงฉัน
8. ภิกษุที่เป็นศัตรูกัน
9. ภิกษุผู้ส่งใจไปที่อื่น
10. ภิกษุผู้เปลือยกาย
11. ภิกษุผู้กำลังเคี้ยว
12. ภิกษุผู้กำลังฉันอาหาร
13. ภิกษุผู้กำลังถ่ายอุจจาระ
14. ภิกษุผู้กำลังถ่ายปัสสาวะ
15. ภิกษุผู้อันสงฆ์ประกาศยกเสียจากหมู่ถูกลงอุกเขปนียกรรม
จากพุทธบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ที่เป็นภิกษุนอกจากทำการกราบไหว้ผู้ที่มิได้เป็นภิกษุด้วยกัน ดังที่ได้นำมาเกริ่นไว้ในข้างต้นแล้ว ยังทรงห้ามมิให้ภิกษุทำความเคารพกราบไหว้ภิกษุด้วยกันอีก 15 ประเภท ซึ่งล้วนแล้วทรงพระประสงค์ให้การแสดงความเคารพของภิกษุเหมาะสมกับเพศและภาวะของนักบวชในพุทธศาสนา
แต่ถึงแม้จะมีพระวินัยห้ามไว้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม ก็ยังมีพระภิกษุบางรูปได้แสดงอาการไม่เหมาะสม และขัดต่อพระวินัย โดยการกราบเท้าแม่ในวันแม่ที่ผ่านมา และปรากฏเป็นข่าวฉาวโฉ่เป็นที่ติเตียนของผู้รู้พระธรรมวินัย แต่อาจได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนผู้ไม่รู้ ไม่เข้าใจพระวินัยที่ห้ามภิกษุกราบไหว้มาตุคามคือผู้หญิง
จากข่าวที่ปรากฏนี้เอง ผู้เขียนเห็นว่าถึงแม้พุทธศาสนาในประเทศไทยจะรุ่งเรือง พระภิกษุส่วนใหญ่จะเคร่งในพระธรรมวินัยตามแบบอย่างของนิกายเถรวาทผู้ยึดมั่นแนวทางแห่งวินัยบัญญัติอย่างเคร่งครัด แต่ก็ยังมีภิกษุบางส่วนประพฤติตนนอกรีต และนำแนวคิดของตนมาเป็นแนวทางปฏิบัติตั้งแต่เป็นเกจิอาจารย์ตั้งตนเป็นเจ้าสำนักจนโด่งดังได้รับการเคารพนับถือ และที่หนักกว่านี้ก็คือ มีการสอนผิดแยกไปจากพระธรรมวินัย แต่ยังดำรงอยู่ได้โดยที่สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติก็มิได้จัดการใดๆ จึงเท่ากับยอมรับอิทธิพลของบรรดาเกจิเหล่านี้ไปโดยปริยาย
อะไรเป็นเหตุให้บรรดาเกจิอาจารย์ทั้งหลายทำผิดวินัย และจะมีแนวทางใดแก้ไขปัญหานี้ให้ลดลง และหมดไปในที่สุด
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของพฤติกรรมอันผิดแยกไปจากพระธรรมวินัย ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูมูลเหตุแห่งการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ซึ่งปรารภเหตุข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการของภิกษุวัชชีบุตรอันเกิดจากการตีความพระวินัยอย่างผิดๆ เช่นถือว่าควรเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์) เพื่อเอาไว้ฉันได้ตะวันชายเกิน 2 นิ้วควรฉันอาหารได้ และควรรับเงินทองได้ เป็นต้น และมูลเหตุให้ทำสังคายนาครั้งที่ 3 คือพวกเดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวช และได้นำเอาลัทธิของตนมาเผยแพร่โดยอ้างว่าเป็นของพระพุทธองค์
วันนี้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีเหตุให้ประสบความเสื่อมในทำนองเดียวกันกับเหตุให้เกิดสังคายนาครั้งที่ 2 และ 3 อยู่ดาษดื่น และมีแนวโน้มว่าจะขยายวงกว้างออกไปจนกลายเป็นลัทธิหนึ่งในพุทธศาสนาเข้าไปทุกที ถ้าไม่มีการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เชื่อได้ว่าสักวันหนึ่งข้างหน้าจะมีลัทธิแอบอ้างคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยการนำความคิดเห็นของตนเองยัดเยียดเข้าไปแทนมากขึ้นทุกที จนทำให้พุทธศาสนาเสื่อมแทบจะไม่เหลือคำสอนอันเป็นแก่นแท้ให้เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระวินัย
แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนประเทศไทยจะยังโชคดีเมื่อรัฐบาลและ คสช. ได้มีแนวทางปฏิรูปพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการปฏิรูปด้านอื่นๆ
ดังนั้น จึงควรถือโอกาสนี้จัดการแก้ไขลัทธิแอบอ้างดังกล่าวให้หมดไป จะได้ไม่เป็นเสี้ยนหนามของพุทธศาสนาอีกต่อไป
นี่คือพุทธบัญญัติซึ่งมีปรากฏในวินัยปิฎก ปริวาร เล่มที่ 8 หน้าที่ 506
โดยนัยแห่งพุทธพจน์นี้หมายถึงบุคคลที่ภิกษุหรือนักบวชชายในพุทธศาสนาไม่พึงแสดงอาการเคารพด้วยการกราบไหว้ และถ้าภิกษุรูปใดกระทำเช่นนั้นเป็นการกระทำอันมิบังควรเป็นอาบัติทุกกฎ
ใน 5 ประเภทดังกล่าวข้างต้น ข้อที่ 2 หมายถึงผู้ที่มิได้เป็นภิกษุหรือที่วินัยเรียกว่า อนุปสัมบัน ซึ่งรวมถึงสามเณรด้วย
ส่วนข้อ 4 หมายถึงสตรีเพศ แม้กระทั่งผู้เป็นมารดาก็รวมอยู่ในข้อนี้
นอกจากบุคคล 5 ประเภทดังกล่าวข้างต้นแล้ว พระพุทธองค์ยังทรงบัญญัติภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้อีก 15 ประเภทดังนี้
1. ภิกษุผู้เข้าไปสู่บริเวณบ้านเรือน
2. ภิกษุผู้เดินในทาง
3. ภิกษุผู้อยู่ในที่มืด
4. ภิกษุผู้ไม่ทันสนใจคือ มัวสนใจในเรื่องอื่นๆ ไม่ทันเห็น ไม่ทันสังเกต แม้ไหว้ก็คงไม่รู้ว่าไหว้
5. ภิกษุผู้นอนหลับ
6. ภิกษุผู้กำลังดื่มข้าวยาคู
7. ภิกษุผู้อยู่ในโรงฉัน
8. ภิกษุที่เป็นศัตรูกัน
9. ภิกษุผู้ส่งใจไปที่อื่น
10. ภิกษุผู้เปลือยกาย
11. ภิกษุผู้กำลังเคี้ยว
12. ภิกษุผู้กำลังฉันอาหาร
13. ภิกษุผู้กำลังถ่ายอุจจาระ
14. ภิกษุผู้กำลังถ่ายปัสสาวะ
15. ภิกษุผู้อันสงฆ์ประกาศยกเสียจากหมู่ถูกลงอุกเขปนียกรรม
จากพุทธบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ที่เป็นภิกษุนอกจากทำการกราบไหว้ผู้ที่มิได้เป็นภิกษุด้วยกัน ดังที่ได้นำมาเกริ่นไว้ในข้างต้นแล้ว ยังทรงห้ามมิให้ภิกษุทำความเคารพกราบไหว้ภิกษุด้วยกันอีก 15 ประเภท ซึ่งล้วนแล้วทรงพระประสงค์ให้การแสดงความเคารพของภิกษุเหมาะสมกับเพศและภาวะของนักบวชในพุทธศาสนา
แต่ถึงแม้จะมีพระวินัยห้ามไว้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม ก็ยังมีพระภิกษุบางรูปได้แสดงอาการไม่เหมาะสม และขัดต่อพระวินัย โดยการกราบเท้าแม่ในวันแม่ที่ผ่านมา และปรากฏเป็นข่าวฉาวโฉ่เป็นที่ติเตียนของผู้รู้พระธรรมวินัย แต่อาจได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนผู้ไม่รู้ ไม่เข้าใจพระวินัยที่ห้ามภิกษุกราบไหว้มาตุคามคือผู้หญิง
จากข่าวที่ปรากฏนี้เอง ผู้เขียนเห็นว่าถึงแม้พุทธศาสนาในประเทศไทยจะรุ่งเรือง พระภิกษุส่วนใหญ่จะเคร่งในพระธรรมวินัยตามแบบอย่างของนิกายเถรวาทผู้ยึดมั่นแนวทางแห่งวินัยบัญญัติอย่างเคร่งครัด แต่ก็ยังมีภิกษุบางส่วนประพฤติตนนอกรีต และนำแนวคิดของตนมาเป็นแนวทางปฏิบัติตั้งแต่เป็นเกจิอาจารย์ตั้งตนเป็นเจ้าสำนักจนโด่งดังได้รับการเคารพนับถือ และที่หนักกว่านี้ก็คือ มีการสอนผิดแยกไปจากพระธรรมวินัย แต่ยังดำรงอยู่ได้โดยที่สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติก็มิได้จัดการใดๆ จึงเท่ากับยอมรับอิทธิพลของบรรดาเกจิเหล่านี้ไปโดยปริยาย
อะไรเป็นเหตุให้บรรดาเกจิอาจารย์ทั้งหลายทำผิดวินัย และจะมีแนวทางใดแก้ไขปัญหานี้ให้ลดลง และหมดไปในที่สุด
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของพฤติกรรมอันผิดแยกไปจากพระธรรมวินัย ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูมูลเหตุแห่งการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ซึ่งปรารภเหตุข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการของภิกษุวัชชีบุตรอันเกิดจากการตีความพระวินัยอย่างผิดๆ เช่นถือว่าควรเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์) เพื่อเอาไว้ฉันได้ตะวันชายเกิน 2 นิ้วควรฉันอาหารได้ และควรรับเงินทองได้ เป็นต้น และมูลเหตุให้ทำสังคายนาครั้งที่ 3 คือพวกเดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวช และได้นำเอาลัทธิของตนมาเผยแพร่โดยอ้างว่าเป็นของพระพุทธองค์
วันนี้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีเหตุให้ประสบความเสื่อมในทำนองเดียวกันกับเหตุให้เกิดสังคายนาครั้งที่ 2 และ 3 อยู่ดาษดื่น และมีแนวโน้มว่าจะขยายวงกว้างออกไปจนกลายเป็นลัทธิหนึ่งในพุทธศาสนาเข้าไปทุกที ถ้าไม่มีการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เชื่อได้ว่าสักวันหนึ่งข้างหน้าจะมีลัทธิแอบอ้างคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยการนำความคิดเห็นของตนเองยัดเยียดเข้าไปแทนมากขึ้นทุกที จนทำให้พุทธศาสนาเสื่อมแทบจะไม่เหลือคำสอนอันเป็นแก่นแท้ให้เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระวินัย
แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนประเทศไทยจะยังโชคดีเมื่อรัฐบาลและ คสช. ได้มีแนวทางปฏิรูปพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการปฏิรูปด้านอื่นๆ
ดังนั้น จึงควรถือโอกาสนี้จัดการแก้ไขลัทธิแอบอ้างดังกล่าวให้หมดไป จะได้ไม่เป็นเสี้ยนหนามของพุทธศาสนาอีกต่อไป