นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์พิเศษ ทีมข่าว PPTV ถึงแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลปรองดองแห่งชาติเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งว่า เป็นการตั้งสมมติฐานที่ผิด ที่คิดว่าความขัดแย้งในบ้านเมืองวันนี้สามารถแก้ด้วยการที่เอาพรรคการเมืองทั้งหมดมาจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันแล้วจบ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นจนนำไปสู่ความขัดแย้งบานปลาย คือ รัฐบาลใช้อำนาจเกินขอบเขต ทำให้ประชาชนไม่พอใจ ปี 2554 พรรคเพื่อไทย ชนะเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นฝ่ายค้านในสภามายาวนาน ไม่มีปัญหา แต่ที่เป็นปัญหาคือ การไปออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ประขาชนไม่ยอมรับ แล้วก็ลุกลามบานปลาย ตรงนี้เป็นต้น วันนี้จึงต้องวางกติกาควบคุมไม่ให้รัฐบาล หรือรัฐสภา ใช้อำนาจตามอำเภอใจจนสร้างความพอใจให้กับประชาชน
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคเพื่อไทย ไม่มีทางจับมือเป็นรัฐบาลร่วมกันได้เลยหรือ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าจุดยืนของพรรคเพื่อไทย ยังผูกติดกับผลประโยชน์ของครอบครัวชินวัตร ก็ร่วมงานกันไม่ได้ นอกจากนี้ แนวคิดหลายอย่างก็ไม่ตรงกัน เช่น พรรคเพื่อไทยอยากทำจำนำข้าว แต่พรรคประชาธิปัตย์ ประกันราคาข้าว จะเดินหน้าอย่างไร รูปแบบรัฐบาลปรองดอง เป็นการวินิจฉัยโรคผิด แต่ละพรรคไม่ควรมีนโยบายที่เหมือนกัน ต้องให้ประชาชนตัดสินจากความแตกต่างเหล่านั้น ไม่เช่นนั้นต่อไปประชาชนจะไม่สนใจนโยบายของแต่ละพรรค เพราะสุดท้ายทุกพรรคก็เป็นรัฐบาลเหมือนกัน
"รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ ฟังดูดี แต่อีกมุมหนึ่งมันก็อาจจะเป็นรัฐบาลฮั้วแห่งชาติก็ได้ ถ้าวันหนึ่งสมมติว่า พรรคเพื่อไทย จะออกกฎหมายนิรโทษกรรม และ สมมติว่าผมทรยศความคิดตัวเองสนับสนุน วันนั้นประชาชนทุกฝ่ายร่วมกันต่อต้าน วันนั้นจะกลายเป็นความล้มเหลว ครั้งยิ่งใหญ่" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**พท.แนะทำเป็นกม.ปรองดองดีกว่า
นายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีที่มีความพยายามจะให้เกิดรัฐบาลปรองดอง โดยจะสอบถามประชาชนผ่านประชามติในเรื่องนี้นั้น เห็นว่าควรทำเป็น พ.ร.บ.ปรองดองมากกว่า เพราะมีกฎหมายรองรับ มีที่มาที่ไปชัดเจน ว่าใครเป็นอะไร มากจากหน่วยงานไหนบ้าง ต่างจากสิ่งที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ กำลังทำอยู่ ซึ่งไม่มีรายละเอียดอะไรให้คนเห็นเลย วันนี้ทราบดีว่ากรรมาธิการยกร่างฯ จะเขียนอะไรก็ได้ แต่อย่างน้อย ขอให้คิดถึงผลที่จะตามมา ถ้าวันหน้าเกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีก พวกท่านต้องรับผิดชอบด้วย ตนไม่อยากเห็นเหตุการณ์น้ำผึ้งหยดเดียว มาสร้างความแตกแยกให้กับสังคมไทยอีก
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯและรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการตั้งรัฐบาลปรองดองว่า ถ้าพวกท่านอยากรู้ว่า รัฐบาลปรองดองเป็นไปได้หรือไม่ อยากเสนอให้ท่านนายกฯประยุทธ์ ปรับครม. ที่กำลังจะปรับอยู่ในตอนนี้เป็น ครม. ปรองดอง รุ่นทดลองไปเลย เชิญทุกฝ่าย ทุกพรรคการเมืองมาร่วม จะได้รู้ว่ามันดีหรือไม่ สืบทอดอำนาจหรือไม่ และทำงานกันได้ไหม ขณะเดียวกันก็จะได้ทดลองการใช้กรรมการยุทธศาสตร์ไปในตัวถ้ามันเกิดปัญหาขึ้นมา ทั้งหมดนี้ประชาชนจะได้เห็นภาพก่อนตัดสินใจลงประชามติ
นายสุรพงษ์ ยังกล่าวถึง กรณีที่มใการวิพากษ์วิจารณ์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ส่งสัญญาณมายังประเทศไทย เพื่อไม่ให้รัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามตินั้น เป็นความคิดของพวกที่ชอบพูดเอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น ยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องส่งสัญญาณอะไรมาไทยทั้งสิ้น เพราะคนไทยมีวิจารณญาณ ที่จะตัดสินใจได้
"ท่านทักษิณ ได้ก้าวข้ามเรื่องที่พวกท่านยังย่ำอยู่กับที่ไปนานแล้ว เรื่องถอดยศถอดตำแหน่งท่านก็ไม่ได้นำมาคิดให้รกสมองท่านเลย การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิของคนไทยทุกคนพึงกระทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่จะมาบังคับใช้กับคนไทยทั้งแผ่นดิน และการร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาโดยกลุ่มคนไม่กี่คน ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีหรือสมบรูณ์ที่สุดได้ เพราะไม่ใช่ว่าพวกท่านจะเป็นคนเก่งที่สุดหรือคนที่ฉลาดรอบรู้ที่สุดในประเทศไทย คนติติง คนไม่เห็นด้วยในเรื่องใดพวกท่านคนยกร่างก็ต้องรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่เอาแต่มัดมือคนอื่นแล้วชกเขาเอา อย่างเดียว หรือแน่จริง ต้องให้แก้รัฐธรรมนูญได้โดยรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง" นายสุรพงษ์ กล่าว
**ชี้ สปช.เสนอคำถามประชามติอาจขัดรธน.
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า การประชุม กมธ.ปฏิรูปการเมือง ได้มีการหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสมาชิกสปช. ที่เสนอให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยที่ประชุมได้มีความคิดเห็นเป็น 2 แนวทาง คือ 1. เห็นด้วยกับที่ประชุม สปช. โดยให้มีการประชุมในวันที่ 18 ส.ค. เพื่อให้หารือกันถึงแนวทางคำถามประชามติ และ 2. ไม่เห็นด้วยกับที่ประชุม สปช. เนื่องจากเห็นว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแก้ไข 57 กำหนดให้ สปช. มีมติเสนอประเด็นคำถามประชามติในวันเดียวกับการลงมติ รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หาก สปช.รับร่าง ก็ตั้งคำถามได้ แต่หากไม่รับร่าง เรื่องก็จบไป ดังนั้น กมธ.ปฏิรูปการเมือง จะไปอภิปรายถึงเหตุผล และข้อห่วงใยในที่ประชุม สปช. ทราบว่า การนำญัตติคำถามประชามติมาพูดก่อนการลงมติ อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุมว่า จะเห็นคล้อยตามหรือไม่ ทั้งนี้สมาชิกที่ประสงค์จะอภิปราย อาทิ นายนิรันดร์ พันธกิจ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา และทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ เป็นต้น
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคเพื่อไทย ไม่มีทางจับมือเป็นรัฐบาลร่วมกันได้เลยหรือ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าจุดยืนของพรรคเพื่อไทย ยังผูกติดกับผลประโยชน์ของครอบครัวชินวัตร ก็ร่วมงานกันไม่ได้ นอกจากนี้ แนวคิดหลายอย่างก็ไม่ตรงกัน เช่น พรรคเพื่อไทยอยากทำจำนำข้าว แต่พรรคประชาธิปัตย์ ประกันราคาข้าว จะเดินหน้าอย่างไร รูปแบบรัฐบาลปรองดอง เป็นการวินิจฉัยโรคผิด แต่ละพรรคไม่ควรมีนโยบายที่เหมือนกัน ต้องให้ประชาชนตัดสินจากความแตกต่างเหล่านั้น ไม่เช่นนั้นต่อไปประชาชนจะไม่สนใจนโยบายของแต่ละพรรค เพราะสุดท้ายทุกพรรคก็เป็นรัฐบาลเหมือนกัน
"รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ ฟังดูดี แต่อีกมุมหนึ่งมันก็อาจจะเป็นรัฐบาลฮั้วแห่งชาติก็ได้ ถ้าวันหนึ่งสมมติว่า พรรคเพื่อไทย จะออกกฎหมายนิรโทษกรรม และ สมมติว่าผมทรยศความคิดตัวเองสนับสนุน วันนั้นประชาชนทุกฝ่ายร่วมกันต่อต้าน วันนั้นจะกลายเป็นความล้มเหลว ครั้งยิ่งใหญ่" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**พท.แนะทำเป็นกม.ปรองดองดีกว่า
นายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีที่มีความพยายามจะให้เกิดรัฐบาลปรองดอง โดยจะสอบถามประชาชนผ่านประชามติในเรื่องนี้นั้น เห็นว่าควรทำเป็น พ.ร.บ.ปรองดองมากกว่า เพราะมีกฎหมายรองรับ มีที่มาที่ไปชัดเจน ว่าใครเป็นอะไร มากจากหน่วยงานไหนบ้าง ต่างจากสิ่งที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ กำลังทำอยู่ ซึ่งไม่มีรายละเอียดอะไรให้คนเห็นเลย วันนี้ทราบดีว่ากรรมาธิการยกร่างฯ จะเขียนอะไรก็ได้ แต่อย่างน้อย ขอให้คิดถึงผลที่จะตามมา ถ้าวันหน้าเกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีก พวกท่านต้องรับผิดชอบด้วย ตนไม่อยากเห็นเหตุการณ์น้ำผึ้งหยดเดียว มาสร้างความแตกแยกให้กับสังคมไทยอีก
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯและรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการตั้งรัฐบาลปรองดองว่า ถ้าพวกท่านอยากรู้ว่า รัฐบาลปรองดองเป็นไปได้หรือไม่ อยากเสนอให้ท่านนายกฯประยุทธ์ ปรับครม. ที่กำลังจะปรับอยู่ในตอนนี้เป็น ครม. ปรองดอง รุ่นทดลองไปเลย เชิญทุกฝ่าย ทุกพรรคการเมืองมาร่วม จะได้รู้ว่ามันดีหรือไม่ สืบทอดอำนาจหรือไม่ และทำงานกันได้ไหม ขณะเดียวกันก็จะได้ทดลองการใช้กรรมการยุทธศาสตร์ไปในตัวถ้ามันเกิดปัญหาขึ้นมา ทั้งหมดนี้ประชาชนจะได้เห็นภาพก่อนตัดสินใจลงประชามติ
นายสุรพงษ์ ยังกล่าวถึง กรณีที่มใการวิพากษ์วิจารณ์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ส่งสัญญาณมายังประเทศไทย เพื่อไม่ให้รัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามตินั้น เป็นความคิดของพวกที่ชอบพูดเอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น ยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องส่งสัญญาณอะไรมาไทยทั้งสิ้น เพราะคนไทยมีวิจารณญาณ ที่จะตัดสินใจได้
"ท่านทักษิณ ได้ก้าวข้ามเรื่องที่พวกท่านยังย่ำอยู่กับที่ไปนานแล้ว เรื่องถอดยศถอดตำแหน่งท่านก็ไม่ได้นำมาคิดให้รกสมองท่านเลย การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิของคนไทยทุกคนพึงกระทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่จะมาบังคับใช้กับคนไทยทั้งแผ่นดิน และการร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาโดยกลุ่มคนไม่กี่คน ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีหรือสมบรูณ์ที่สุดได้ เพราะไม่ใช่ว่าพวกท่านจะเป็นคนเก่งที่สุดหรือคนที่ฉลาดรอบรู้ที่สุดในประเทศไทย คนติติง คนไม่เห็นด้วยในเรื่องใดพวกท่านคนยกร่างก็ต้องรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่เอาแต่มัดมือคนอื่นแล้วชกเขาเอา อย่างเดียว หรือแน่จริง ต้องให้แก้รัฐธรรมนูญได้โดยรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง" นายสุรพงษ์ กล่าว
**ชี้ สปช.เสนอคำถามประชามติอาจขัดรธน.
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า การประชุม กมธ.ปฏิรูปการเมือง ได้มีการหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสมาชิกสปช. ที่เสนอให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยที่ประชุมได้มีความคิดเห็นเป็น 2 แนวทาง คือ 1. เห็นด้วยกับที่ประชุม สปช. โดยให้มีการประชุมในวันที่ 18 ส.ค. เพื่อให้หารือกันถึงแนวทางคำถามประชามติ และ 2. ไม่เห็นด้วยกับที่ประชุม สปช. เนื่องจากเห็นว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแก้ไข 57 กำหนดให้ สปช. มีมติเสนอประเด็นคำถามประชามติในวันเดียวกับการลงมติ รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หาก สปช.รับร่าง ก็ตั้งคำถามได้ แต่หากไม่รับร่าง เรื่องก็จบไป ดังนั้น กมธ.ปฏิรูปการเมือง จะไปอภิปรายถึงเหตุผล และข้อห่วงใยในที่ประชุม สปช. ทราบว่า การนำญัตติคำถามประชามติมาพูดก่อนการลงมติ อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุมว่า จะเห็นคล้อยตามหรือไม่ ทั้งนี้สมาชิกที่ประสงค์จะอภิปราย อาทิ นายนิรันดร์ พันธกิจ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา และทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ เป็นต้น