ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติคาดปีนี้สินเชื่อรวมโตได้ 4.4% ถือว่าไม่เลวร้ายในช่วงเศรษฐกิจซบเซาและลูกค้ารายใหญ่หันระดมทุนตราสารหนี้แทนขอสินเชื่อ พบแบงก์มีการขายหนี้ ตัดหนี้สูญ พร้อมทั้งกันสำรองเพิ่มขึ้น ทำให้กำไรลดลง หวังลดปัญหาหนี้เสีย ขณะเดียวกันแบงก์ปฏิเสธลูกค้าขอสินเชื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นเป็น 45% จากช่วงบูมการปฏิเสธลูกค้า 30% ชี้แบงก์มีแนวโน้มตั้งสำรองเพิ่มและหันปล่อยกู้ SMEs
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปี 58 ธปท.คาดว่าสินเชื่อรวมโตได้ 4.4% ซึ่งไม่นับรวมสินเชื่อธุรกิจ ระยะหลังหันไปออกหุ้นกู้หรือระดมทุนผ่านตลาดหุ้นมากขึ้น ถือว่าสัดส่วนสินเชื่อดังกล่าวไม่เลวร้ายนักในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งธนาคารพาณิชย์มีการขายหนี้เสียและตัดหนี้สงสัยจะสูญไปบ้าง เพื่อลดปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และพบว่าปัจจุบันสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีการปฏิเสธลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 45% เมื่อเทียบกับช่วงเศรษฐกิจดีมีการปฏิเสธสินเชื่อ30- 40%
สินเชื่อรวมชะลอลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 55 เป็นต้นมา หรือตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดในไตรมาส 2 ปีนี้ สินเชื่อขยายตัว 4.6% ถ้านับรวมตราสารหนี้ภาคเอกชน ทำให้สินเชื่อรวมขยายตัวถึง 6.4%ล่าสุดในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ภาคเอกชนมียอดคงค้างออกตราสารหนี้ทั้งสิ้น 2.31 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมสินเชื่อไม่สูงนัก แต่ช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้เริ่มเห็นแนวโน้มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เร่งตัวขึ้น สอดคล้องมุมมองผู้บริหารสถาบันเงินมุ่งสินเชื่อกลุ่มนี้มากขึ้น แม้สินเชื่อ SMEs เป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดวิกฤตขึ้น
ธปท.ยอมรับว่าความต้องการสินเชื่อและปัญหา NPL ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ในไตรมาสนี้ NPL ค่อยๆ เพิ่มขึ้น มียอดคงค้าง 3.12 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.33 หมื่นล้านบาท จากธุรกิจภาคพาณิชย์ อุตสาหกรรม และSMEs ขนาดเล็กเป็นสำคัญ ทำให้สัดส่วน NPL ขยับอยู่ที่ 2.38% จากไตรมาสก่อน 2.29%ต่อสินเชื่อรวม ถือว่าสัดส่วนไม่สูงมากนัก ขณะที่หนี้ค้างชำระ 1-3 เดือน (SM) มียอดคงค้าง 3.56 แสนล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 1.06 หมื่นล้านบาทส่งผลให้สัดส่วน SM เหลือ 2.72% จากไตรมาสก่อน 2.81%
“ในไตรมาสนี้ สินเชื่อภาคธุรกิจ พบว่า NPL เพิ่มขึ้นภาคพาณิชย์และอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันคุณภาพสินเชื่ออุปโภคบริโภคด้อยลงในสินเชื่อทุกประเภท ยกเว้นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เพราะสามารถยึดรถ เพื่อนำเงินไปชำระคืนหนี้ได้เร็ว”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ยังมีฐานะมั่นคงและมีเสถียรภาพที่ดี ธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวงเงินกันสำรองเพิ่มขึ้น 3.2 หมื่นล้านบาทในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ทำให้กำไรสุทธิลดลง ซึ่งงวดนี้มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 5.33 หมื่นล้านบาท นอกเหนือจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับคุณภาพสินเชื่อด้อยลงแล้ว รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงตามการชะลอตัวสินเชื่อ ทั้งนี้ยังเชื่อว่าแนวโน้มธนาคารพาณิชย์ยังมีการกันสำรองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือลูกหนี้ บางส่วนเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้น
***ลดคุ้มครองเงินไม่พบถอนเงินผิดปกติ**
ด้านการลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 25 ล้านบาทต่อคนต่อสถาบันการเงิน ถือเป็นวันแรกเมื่อวานนี้ (11ส.ค.) ที่มีการลดวงเงินฝากและมองว่าวงเงินการคุ้มครองยังอยู่ระดับสูงอยู่ และจากการสำรวจล่าสุดยังไม่พบพฤติกรรมของผู้เงินฝากผิดปกติ และส่วนใหญ่เป็นการสอบถามรายละเอียดข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าววมากกว่าผ่านศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ฝากเงินที่มียอดเงินฝากเกิน 25 ล้านบาท ถือว่าไม่ได้รับความคุ้มครองมีสัดส่วน 0.06%
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปี 58 ธปท.คาดว่าสินเชื่อรวมโตได้ 4.4% ซึ่งไม่นับรวมสินเชื่อธุรกิจ ระยะหลังหันไปออกหุ้นกู้หรือระดมทุนผ่านตลาดหุ้นมากขึ้น ถือว่าสัดส่วนสินเชื่อดังกล่าวไม่เลวร้ายนักในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งธนาคารพาณิชย์มีการขายหนี้เสียและตัดหนี้สงสัยจะสูญไปบ้าง เพื่อลดปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และพบว่าปัจจุบันสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีการปฏิเสธลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 45% เมื่อเทียบกับช่วงเศรษฐกิจดีมีการปฏิเสธสินเชื่อ30- 40%
สินเชื่อรวมชะลอลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 55 เป็นต้นมา หรือตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดในไตรมาส 2 ปีนี้ สินเชื่อขยายตัว 4.6% ถ้านับรวมตราสารหนี้ภาคเอกชน ทำให้สินเชื่อรวมขยายตัวถึง 6.4%ล่าสุดในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ภาคเอกชนมียอดคงค้างออกตราสารหนี้ทั้งสิ้น 2.31 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมสินเชื่อไม่สูงนัก แต่ช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้เริ่มเห็นแนวโน้มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เร่งตัวขึ้น สอดคล้องมุมมองผู้บริหารสถาบันเงินมุ่งสินเชื่อกลุ่มนี้มากขึ้น แม้สินเชื่อ SMEs เป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดวิกฤตขึ้น
ธปท.ยอมรับว่าความต้องการสินเชื่อและปัญหา NPL ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ในไตรมาสนี้ NPL ค่อยๆ เพิ่มขึ้น มียอดคงค้าง 3.12 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.33 หมื่นล้านบาท จากธุรกิจภาคพาณิชย์ อุตสาหกรรม และSMEs ขนาดเล็กเป็นสำคัญ ทำให้สัดส่วน NPL ขยับอยู่ที่ 2.38% จากไตรมาสก่อน 2.29%ต่อสินเชื่อรวม ถือว่าสัดส่วนไม่สูงมากนัก ขณะที่หนี้ค้างชำระ 1-3 เดือน (SM) มียอดคงค้าง 3.56 แสนล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 1.06 หมื่นล้านบาทส่งผลให้สัดส่วน SM เหลือ 2.72% จากไตรมาสก่อน 2.81%
“ในไตรมาสนี้ สินเชื่อภาคธุรกิจ พบว่า NPL เพิ่มขึ้นภาคพาณิชย์และอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันคุณภาพสินเชื่ออุปโภคบริโภคด้อยลงในสินเชื่อทุกประเภท ยกเว้นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เพราะสามารถยึดรถ เพื่อนำเงินไปชำระคืนหนี้ได้เร็ว”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ยังมีฐานะมั่นคงและมีเสถียรภาพที่ดี ธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวงเงินกันสำรองเพิ่มขึ้น 3.2 หมื่นล้านบาทในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ทำให้กำไรสุทธิลดลง ซึ่งงวดนี้มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 5.33 หมื่นล้านบาท นอกเหนือจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับคุณภาพสินเชื่อด้อยลงแล้ว รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงตามการชะลอตัวสินเชื่อ ทั้งนี้ยังเชื่อว่าแนวโน้มธนาคารพาณิชย์ยังมีการกันสำรองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือลูกหนี้ บางส่วนเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้น
***ลดคุ้มครองเงินไม่พบถอนเงินผิดปกติ**
ด้านการลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 25 ล้านบาทต่อคนต่อสถาบันการเงิน ถือเป็นวันแรกเมื่อวานนี้ (11ส.ค.) ที่มีการลดวงเงินฝากและมองว่าวงเงินการคุ้มครองยังอยู่ระดับสูงอยู่ และจากการสำรวจล่าสุดยังไม่พบพฤติกรรมของผู้เงินฝากผิดปกติ และส่วนใหญ่เป็นการสอบถามรายละเอียดข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าววมากกว่าผ่านศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ฝากเงินที่มียอดเงินฝากเกิน 25 ล้านบาท ถือว่าไม่ได้รับความคุ้มครองมีสัดส่วน 0.06%