00 เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการเมืองบ้านเรา แต่ถ้ามองให้เป็นเรื่องปกติมันก็มองแบบนั้นก็ได้ เพราะเส้นทางข้างหน้ามันจะเริ่มแคบ จำเป็นต้องชี้ขาดกันแล้ว อย่างเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญที่จะต้องเสร็จ และถึงคราวที่จะลงมติใน สปช.ว่าจะรับหรือไม่รับ เรื่องปฏิรูปที่กำลังพิจารณาอยู่ ก็จะเริ่มสรุปว่าจะมีเรื่องใดบ้าง จะได้เรื่องได้ราวแค่ไหน ทุกเรื่องล้วนสัมพันธ์กันแบบต่อเนื่อง
00 เวลานี้เริ่มมีข้อเสนอให้คว่ำร่างรธน.ในสปช. อ้างว่าเพื่อให้มีเวลาในการปฏิรูปให้เรียบร้อยก่อนเลือกตั้ง คนที่สนับสนุนเรื่องดังกล่าวก็มีหลายคน ในจำนวนนั้นก็มี สปช.ไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าในใจเขาจะคิดอย่างไร แต่สำหรับเรามองว่า วิธีการแบบนี้มันไม่เวิร์ก และมีโอกาสที่จะถูกนำไปขยายผล "บิดเบือน" เป็นอื่นได้ตลอดเวลา
00 แน่นอนว่า ฝ่ายที่จ้องเล่นงานให้จมเขี้ยวก็คือฝ่ายเครือข่ายทักษิณ ชินวัตร ทั้งในนามของพรรคเพื่อไทย พวกลิ่วล้อคนเสื้อแดง ซึ่งต้องป่าวประกาศว่า นี่คือเจตนา "ยื้ออำนาจ" ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคสช. ซึ่งมันก็ทำให้สังคมคล้อยตามได้ไม่ยากเสียด้วยซี อย่างไรก็ดี มันก็มีวิธีการเหมือนกัน นั่นคือ หากจะใหัอยู่ต่อก็ต้องถามความเห็นของชาวบ้านส่วนใหญ่เหมือนกันว่าเห็นอย่างไร อย่างน้อยก็ลองสำรวจความเห็นเบื้องต้นกันก่อนว่าโอเคมั๊ย จากนั้นก็ค่อยถามให้เป็นเรื่องเป็นราว ว่าจะให้เอาไงต่อ ต้องมีการพิจารณา "วาระปฏิรูป" กันแบบจริงจัง เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังใช้เวลาเท่าไหร่ ไม่ใช่ปล่อยกันแบบล่องลอยแบบนี้ ถามว่าเวลานี้การพิจารณาของ สปช. ในแต่ละเรื่องไปถึงไหนกันแล้วบ้าง และที่สำคัญก็คือ ต้อง "มีท่าที" ให้ชัดเจนจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. ในฐานะที่ถืออำนาจ"พิเศษ"ในมือออกมาด้วย ไม่ใช่เอะอะก็โยนไปใหั สปช. ไปหาข้อสรุปมาอย่างเดียว
00 อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากเสียงเรียกร้องจากฝ่าย กปปส. ที่นำโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ย้ำให้มีการ "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" ใครจะมองแบบไหนก็แล้วแต่ แต่ในส่วนดีก็คือ ทำให้สังคมได้หันกลับมามองเรื่องปฏิรูปกันให้จริงจังเสียที ทางหนึ่งมันก็เหมือนกับเป็นการกดดัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลายๆ เหมือนกัน เพราะที่ผ่านมาพูดก็พูดเถอะ เหมือนกับ "ลอยตัว" ทั้งที่ภารกิจสำคัญที่สุดและความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่นอกเหนือจากให้แก้ไขเรื่องเศรษฐกิจปากท้องแล้ว ก็มีเรื่องนี้แหละที่ต้องทำ ส่วนจะมีเรื่องใดบ้าง เช่น ปฏิรูปตำรวจ การกระจายอำนาจ เป็นไงบ้างเป็นเรื่องเป็นราวหรือเปล่า
00 ขณะเดียวกัน ประเด็น "ต่ออายุ" ด้วยเรื่องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง จะกลายเป็นเรื่อง "อ่อนไหว" และมีโอกาสบานปลายได้ตลอดเวลา ประเด็นสำคัญก็คือเวลานี้ "กระแสลุงตู่" ไม่เหมือนเดิม เวลานี้หากพูดกันแบบตรงไปตรงมาก็ต้องบอกว่า "เริ่มขาลง" แล้ว แม้จะไม่ใช่ลงแบบพรวดพราด แต่ก็ถือว่าลง ไม่เพิ่มขึ้นแน่นอน ดังนั้นจึงอยู่ในช่วงที่ต้อง "ปรับตัว" หากทำได้กระแสบวกก็จะกลับมา แต่ถึงอย่างไรก็จะไม่มีทางเหมือนเดิมแน่นอน
00 เวลานี้เริ่มมีข้อเสนอให้คว่ำร่างรธน.ในสปช. อ้างว่าเพื่อให้มีเวลาในการปฏิรูปให้เรียบร้อยก่อนเลือกตั้ง คนที่สนับสนุนเรื่องดังกล่าวก็มีหลายคน ในจำนวนนั้นก็มี สปช.ไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าในใจเขาจะคิดอย่างไร แต่สำหรับเรามองว่า วิธีการแบบนี้มันไม่เวิร์ก และมีโอกาสที่จะถูกนำไปขยายผล "บิดเบือน" เป็นอื่นได้ตลอดเวลา
00 แน่นอนว่า ฝ่ายที่จ้องเล่นงานให้จมเขี้ยวก็คือฝ่ายเครือข่ายทักษิณ ชินวัตร ทั้งในนามของพรรคเพื่อไทย พวกลิ่วล้อคนเสื้อแดง ซึ่งต้องป่าวประกาศว่า นี่คือเจตนา "ยื้ออำนาจ" ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคสช. ซึ่งมันก็ทำให้สังคมคล้อยตามได้ไม่ยากเสียด้วยซี อย่างไรก็ดี มันก็มีวิธีการเหมือนกัน นั่นคือ หากจะใหัอยู่ต่อก็ต้องถามความเห็นของชาวบ้านส่วนใหญ่เหมือนกันว่าเห็นอย่างไร อย่างน้อยก็ลองสำรวจความเห็นเบื้องต้นกันก่อนว่าโอเคมั๊ย จากนั้นก็ค่อยถามให้เป็นเรื่องเป็นราว ว่าจะให้เอาไงต่อ ต้องมีการพิจารณา "วาระปฏิรูป" กันแบบจริงจัง เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังใช้เวลาเท่าไหร่ ไม่ใช่ปล่อยกันแบบล่องลอยแบบนี้ ถามว่าเวลานี้การพิจารณาของ สปช. ในแต่ละเรื่องไปถึงไหนกันแล้วบ้าง และที่สำคัญก็คือ ต้อง "มีท่าที" ให้ชัดเจนจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. ในฐานะที่ถืออำนาจ"พิเศษ"ในมือออกมาด้วย ไม่ใช่เอะอะก็โยนไปใหั สปช. ไปหาข้อสรุปมาอย่างเดียว
00 อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากเสียงเรียกร้องจากฝ่าย กปปส. ที่นำโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ย้ำให้มีการ "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" ใครจะมองแบบไหนก็แล้วแต่ แต่ในส่วนดีก็คือ ทำให้สังคมได้หันกลับมามองเรื่องปฏิรูปกันให้จริงจังเสียที ทางหนึ่งมันก็เหมือนกับเป็นการกดดัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลายๆ เหมือนกัน เพราะที่ผ่านมาพูดก็พูดเถอะ เหมือนกับ "ลอยตัว" ทั้งที่ภารกิจสำคัญที่สุดและความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่นอกเหนือจากให้แก้ไขเรื่องเศรษฐกิจปากท้องแล้ว ก็มีเรื่องนี้แหละที่ต้องทำ ส่วนจะมีเรื่องใดบ้าง เช่น ปฏิรูปตำรวจ การกระจายอำนาจ เป็นไงบ้างเป็นเรื่องเป็นราวหรือเปล่า
00 ขณะเดียวกัน ประเด็น "ต่ออายุ" ด้วยเรื่องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง จะกลายเป็นเรื่อง "อ่อนไหว" และมีโอกาสบานปลายได้ตลอดเวลา ประเด็นสำคัญก็คือเวลานี้ "กระแสลุงตู่" ไม่เหมือนเดิม เวลานี้หากพูดกันแบบตรงไปตรงมาก็ต้องบอกว่า "เริ่มขาลง" แล้ว แม้จะไม่ใช่ลงแบบพรวดพราด แต่ก็ถือว่าลง ไม่เพิ่มขึ้นแน่นอน ดังนั้นจึงอยู่ในช่วงที่ต้อง "ปรับตัว" หากทำได้กระแสบวกก็จะกลับมา แต่ถึงอย่างไรก็จะไม่มีทางเหมือนเดิมแน่นอน