วานนี้ (2 ส.ค.) เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ พร้อมด้วยเครือข่ายงดเหล้า 77 จังหวัด เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ เครือข่ายเฝ้าระวังแอลกอฮอล์กรุงเทพฯ เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา และกลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์รู้ทันแอลกอฮอล์ ได้ออกแถลงการณ์ทวงถามความคืบหน้ากฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบมหาวิทยาลัย และอาชีวะ เนื่องจากนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามไปแล้ว แต่ยังไม่ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงไม่มีผลบังคับใช้
นายชูวิทย์ จันทรส เลขานุการเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่แสดงความห่วงใยปัญหาอบายมุขที่รุกล้ำเข้าใกล้สถานศึกษา สร้างปัญหากับเยาวชน โดยออกคำสั่ง คสช. ที่ 22/2558 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการแข่งรถและควบคุมสถานบริการ โดยเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่เดิมอย่างเข้มข้น รวมถึงเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ปล่อยปละละเลย และเพิ่มบทลงโทษในการเพิกถอนใบอนุญาต 5 ปี ไปจนถึงปิดกิจการถาวร ตลอดจนการกำหนดห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณใกล้เคียงสถานศึกษาทุกประเภทและหอพัก ถือเป็นการยกระดับการป้องกันและแก้ปัญหาที่เรื้อรังมานาน ซึ่งไม่มีรัฐบาลไหนกล้าลงมืออย่างจริงจัง แต่สิ่งที่ควรพิจารณาคือ การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับใช้กฎหมายกำหนดห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา และหอพักที่ไม่ระบุให้ชัดเจน ทั้งไม่กำหนดระยะว่าแค่ไหนที่ตีความว่าใกล้เคียง และไม่กำหนดขอบเขตว่า สถานที่ไหนสร้างปัญหาให้แก่นักเรียนนักศึกษา เกรงว่าจะกลายเป็นจุดอ่อนของการใช้อำนาจตามคำสั่งนี้ ซึ่งต่างจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดสถานที่ หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา (ระดับอุดมศึกษาและอาชีวะศึกษา) ที่กำหนดระยะห่างจากรั้วสถานศึกษาไว้ชัดเจนที่ 300 เมตร ครอบคลุมร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท
"ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในประกาศฉบับนี้แล้ว อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้หลังประกาศ 30 วัน แต่จากกระแสข่าวชะลอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้เครือข่ายฯ เกิดความกังวล จึงวอนขอให้ คสช. และรัฐบาลหารือแนวทางการออกกฎหมาย เพื่อมาหนุนเสริมหนุนกัน ไม่ควรยกเลิกมาตรการ 300 เมตร หรือ หากจะปรับเปลี่ยนก็ควรพิจารณาเรื่องระยะเวลาบังคับใช้กฎหมาย หรือผ่อนผันจาก 30 วัน เป็นหกเดือน หรือหนึ่งปี เป็นต้น สำหรับคำสั่ง คสช. ตามมาตรา 44 ควรให้เป็นไปเพื่อความยั่งยืน และไม่เกิดข้อขัดแย้งในทางปฏิบัติ โดยกำหนดขอบเขตบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา ด้วยการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด โดยเฉพาะสถานศึกษา และชุมชนในพื้นที่ เพื่อกำหนดรูปแบบ ระยะทางแค่ไหน แต่ทั้งนี้ไม่ควรให้มีการอนุญาตขายเหล้าในรัศมี 300 เมตร โดยใช้แนวคิดที่ว่า ใน 300 เมตร ร้านใหม่ไม่เพิ่ม ร้านเดิมต้องทำตามกฎหมาย ในระยะเวลาผ่อนผัน เมื่อครบกำหนด ต้องปลอดขายเหล้าทันที " นายชูวิทย์ กล่าว
นายชูวิทย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ รัฐบาล และ คสช. ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.สถานบริการ และ พ.ร.บ.สุรา ที่ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้นำไปรวมไว้ในร่างประมวลกฎหมายสรรพสามิต ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้มีกลไกที่สอดคล้องกับคำสั่ง คสช.และประกาศห้ามจำหน่าย 300 เมตร รอบมหาวิทยาลัยและอาชีวะศึกษา ทั้งนี้ หวังว่ารัฐบาลจะยืนยันในหลักการ ไม่ยุติมาตรการ 300 เมตร และขอตั้งข้อสงสัยว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือไม่ เพราะทราบมาว่ากลุ่มธุรกิจ และทุนน้ำเมาที่เสียผลประโยชน์พยายามทุกวิถีทาง เพื่อหยุดกฎหมายฉบับนี้ ทำให้กฎหมายไม่ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นคือ การทำแท้งหรือไม่ ทั้งที่นิด้าโพล พบว่ามีประชาชนกว่า 90% เห็นด้วย ซึ่งทั้งหมดจะกลายเป็นความสำเร็จของนายทุนน้ำเมา แต่สร้างความเสียหายให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนที่อยู่รอบๆสถานศึกษา คงเป็นเรื่องแปลก และถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ที่นายกรัฐมนตรี ลงนามเห็นชอบแล้ว แต่ประกาศเป็นกฎหมายไม่ได้ รัฐบาลคงอธิบายได้ยาก ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเจตนารมณ์ในการปกป้องลูกหลานและเยาวชนไทย
นายชูวิทย์ จันทรส เลขานุการเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่แสดงความห่วงใยปัญหาอบายมุขที่รุกล้ำเข้าใกล้สถานศึกษา สร้างปัญหากับเยาวชน โดยออกคำสั่ง คสช. ที่ 22/2558 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการแข่งรถและควบคุมสถานบริการ โดยเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่เดิมอย่างเข้มข้น รวมถึงเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ปล่อยปละละเลย และเพิ่มบทลงโทษในการเพิกถอนใบอนุญาต 5 ปี ไปจนถึงปิดกิจการถาวร ตลอดจนการกำหนดห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณใกล้เคียงสถานศึกษาทุกประเภทและหอพัก ถือเป็นการยกระดับการป้องกันและแก้ปัญหาที่เรื้อรังมานาน ซึ่งไม่มีรัฐบาลไหนกล้าลงมืออย่างจริงจัง แต่สิ่งที่ควรพิจารณาคือ การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับใช้กฎหมายกำหนดห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา และหอพักที่ไม่ระบุให้ชัดเจน ทั้งไม่กำหนดระยะว่าแค่ไหนที่ตีความว่าใกล้เคียง และไม่กำหนดขอบเขตว่า สถานที่ไหนสร้างปัญหาให้แก่นักเรียนนักศึกษา เกรงว่าจะกลายเป็นจุดอ่อนของการใช้อำนาจตามคำสั่งนี้ ซึ่งต่างจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดสถานที่ หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา (ระดับอุดมศึกษาและอาชีวะศึกษา) ที่กำหนดระยะห่างจากรั้วสถานศึกษาไว้ชัดเจนที่ 300 เมตร ครอบคลุมร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท
"ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในประกาศฉบับนี้แล้ว อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้หลังประกาศ 30 วัน แต่จากกระแสข่าวชะลอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้เครือข่ายฯ เกิดความกังวล จึงวอนขอให้ คสช. และรัฐบาลหารือแนวทางการออกกฎหมาย เพื่อมาหนุนเสริมหนุนกัน ไม่ควรยกเลิกมาตรการ 300 เมตร หรือ หากจะปรับเปลี่ยนก็ควรพิจารณาเรื่องระยะเวลาบังคับใช้กฎหมาย หรือผ่อนผันจาก 30 วัน เป็นหกเดือน หรือหนึ่งปี เป็นต้น สำหรับคำสั่ง คสช. ตามมาตรา 44 ควรให้เป็นไปเพื่อความยั่งยืน และไม่เกิดข้อขัดแย้งในทางปฏิบัติ โดยกำหนดขอบเขตบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา ด้วยการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด โดยเฉพาะสถานศึกษา และชุมชนในพื้นที่ เพื่อกำหนดรูปแบบ ระยะทางแค่ไหน แต่ทั้งนี้ไม่ควรให้มีการอนุญาตขายเหล้าในรัศมี 300 เมตร โดยใช้แนวคิดที่ว่า ใน 300 เมตร ร้านใหม่ไม่เพิ่ม ร้านเดิมต้องทำตามกฎหมาย ในระยะเวลาผ่อนผัน เมื่อครบกำหนด ต้องปลอดขายเหล้าทันที " นายชูวิทย์ กล่าว
นายชูวิทย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ รัฐบาล และ คสช. ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.สถานบริการ และ พ.ร.บ.สุรา ที่ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้นำไปรวมไว้ในร่างประมวลกฎหมายสรรพสามิต ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้มีกลไกที่สอดคล้องกับคำสั่ง คสช.และประกาศห้ามจำหน่าย 300 เมตร รอบมหาวิทยาลัยและอาชีวะศึกษา ทั้งนี้ หวังว่ารัฐบาลจะยืนยันในหลักการ ไม่ยุติมาตรการ 300 เมตร และขอตั้งข้อสงสัยว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือไม่ เพราะทราบมาว่ากลุ่มธุรกิจ และทุนน้ำเมาที่เสียผลประโยชน์พยายามทุกวิถีทาง เพื่อหยุดกฎหมายฉบับนี้ ทำให้กฎหมายไม่ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นคือ การทำแท้งหรือไม่ ทั้งที่นิด้าโพล พบว่ามีประชาชนกว่า 90% เห็นด้วย ซึ่งทั้งหมดจะกลายเป็นความสำเร็จของนายทุนน้ำเมา แต่สร้างความเสียหายให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนที่อยู่รอบๆสถานศึกษา คงเป็นเรื่องแปลก และถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ที่นายกรัฐมนตรี ลงนามเห็นชอบแล้ว แต่ประกาศเป็นกฎหมายไม่ได้ รัฐบาลคงอธิบายได้ยาก ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเจตนารมณ์ในการปกป้องลูกหลานและเยาวชนไทย