วานนี้ (28ก.ค.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในที่ประชุม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ว่า วันนี้ดีขึ้น โดยมีปริมาณฝนและปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนหลักๆ ทั้ง 4 เขื่อน ในลุ่มน้ำเจ้าพระยามากขึ้น ซึ่งเป็นการไหลเข้ามากกว่าการระบายออก ในแต่ละวันตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการน้ำแห่งชาติ กำหนดให้ลดการระบายน้ำในเขื่อน จากเดิมวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ลดลงวันละ 2 ล้าน ลบ.ม.จนเหลือวันละ 18 ล้าน ลบ.ม.
พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้ฝากให้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าวางใจ ยังต้องมีมาตรการรณรงค์ สร้างการรับรู้รับทราบ ให้ทุกภาคส่วนทุกฝ่ายร่วมกันประหยัดน้ำ ไม่ใช่เฉพาะภาคเกษตรกรเท่านั้น แต่รวมถึงทุกหน่วยงานราชการ ประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทุกฝ่ายต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบโดยคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ พบว่า ภาคส่วนราชการมีการใช้น้ำถึง 19% จึงต้องมีแนวทางให้การใช้น้ำลดลง 10% จาก 19% โดยคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ ได้ชี้แจงแนวทางการลดใช้น้ำ อาทิ ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ ตรวจสอบอุปกรณ์ไม่ให้มีรอยรั่วซึม หรือการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำ โดยจะแจกจ่ายรายละเอียดไปให้ทุกหน่วยงานยึดถือและปฏิบัติตาม
พล.ต.สรรเสริญ ยังถึงเรื่องการขยายมาตรการโครงการสร้างรายได้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ว่า ครม.มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาโครงการดังกล่าวออกไป ถึงปลายเดือนส.ค. ซึ่งแต่เดิมโครงการดังกล่าว มีพื้นที่เป้าหมาย 3,052 ตำบล ใน 58 จังหวัด มีระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่เดือนก.พ.-มิ.ย. โครงการดังกล่าวมีวงเงินตำบล ละ 1,000,000 บาท โดยทำอะไรก็ได้ ที่เกี่ยวกับการจ้างงาน จัดเตรียมแหล่งน้ำในพื้นที่ ซ่อมถนน โดยให้แต่ละตำบลคิดงานขึ้นเอง
ทั้งนี้ได้รับรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา โครงการทั้งหมดมีอยู่ทั้งสิ้น 6,598 โครงการ เป็นวงเงิน 3,000 ล้านบาทเศษ ซึ่งดำเนินการเรียบร้อยไปแล้ว 5,425 โครงการ ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการ 1,173 โครงการ ซึ่งความล่าช้าอาจเกิดจากฝนตกในบางพื้นที่ หรือมีการปรับรูปแบบของโครงการทำให้ต้องยืดเวลาออกไป
**สถานการณ์น้ำในเขื่อนแนวโน้มสดใส
พล.ต.สรรเสริญ ยังกล่าวถึง สถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนว่า มีแนวโน้มสดใส เนื่องจากสภาพอากาศเป็นใจ มีร่องมรสุมพาดผ่าน ทำให้ฝนตกกระจายหลายพื้นที่ จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยเช่นนี้ ทำให้ปฏิบัติการฝนเทียมมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยในระหว่างวันที่ 20-27 ก.ค. ปฏิบัติการฝนเทียมทำให้น้ำไหลลงเขื่อนหลักรวม 202.73 ล้าน ลบม. เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว เมื่อเทียบกับปฏิบัติการในช่วงต้นเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ที่ดำเนินการในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน มีน้ำไหลเข้าเขื่อนหลัก ประมาณ 100 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น
ทั้งนี้ ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนจากปฏิบัติการฝนเทียม ในระหว่างวันที่ 20-27 ก.ค. ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล 47.58 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 122.62 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 46.19 ล้าน ลบ.ม.และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 4.48 ล้าน ลบ.ม.
**"ปนัดดา"ปล่อยขบวนน้ำดื่มพระราชทาน
เมื่อเวลา 16.00 น.วานนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีปล่อยขบวนรถน้ำดื่มพระราชทาน ตามโครงการ "ปันน้ำดื่มเพื่อพี่น้องไทยประสบภัยแล้ง" โดย ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า รัฐบาลได้จัดทำโครงการปันน้ำดื่มเพื่อพี่น้องประสบภัยแล้งขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือน้ำดื่มแก่ประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง และจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดถูกสุขอนามัย ให้ประชาชนบริโภค
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำดื่มจำนวน 300,000 ขวด โดยมีพระราชประสงค์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว ด้วยการนำน้ำดื่มไปจัดสรรช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ 8 จังหวัด ที่มีสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง ได้แก่ จ.ปทุมธานี แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และชลบุรี
สำหรับน้ำดื่มที่มีผู้บริจาคเข้าร่วมโครงการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกองทัพบก จะร่วมกันดำเนินการแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ประสบภัยแล้งโดยเร็ว
พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้ฝากให้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าวางใจ ยังต้องมีมาตรการรณรงค์ สร้างการรับรู้รับทราบ ให้ทุกภาคส่วนทุกฝ่ายร่วมกันประหยัดน้ำ ไม่ใช่เฉพาะภาคเกษตรกรเท่านั้น แต่รวมถึงทุกหน่วยงานราชการ ประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทุกฝ่ายต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบโดยคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ พบว่า ภาคส่วนราชการมีการใช้น้ำถึง 19% จึงต้องมีแนวทางให้การใช้น้ำลดลง 10% จาก 19% โดยคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ ได้ชี้แจงแนวทางการลดใช้น้ำ อาทิ ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ ตรวจสอบอุปกรณ์ไม่ให้มีรอยรั่วซึม หรือการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำ โดยจะแจกจ่ายรายละเอียดไปให้ทุกหน่วยงานยึดถือและปฏิบัติตาม
พล.ต.สรรเสริญ ยังถึงเรื่องการขยายมาตรการโครงการสร้างรายได้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ว่า ครม.มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาโครงการดังกล่าวออกไป ถึงปลายเดือนส.ค. ซึ่งแต่เดิมโครงการดังกล่าว มีพื้นที่เป้าหมาย 3,052 ตำบล ใน 58 จังหวัด มีระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่เดือนก.พ.-มิ.ย. โครงการดังกล่าวมีวงเงินตำบล ละ 1,000,000 บาท โดยทำอะไรก็ได้ ที่เกี่ยวกับการจ้างงาน จัดเตรียมแหล่งน้ำในพื้นที่ ซ่อมถนน โดยให้แต่ละตำบลคิดงานขึ้นเอง
ทั้งนี้ได้รับรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา โครงการทั้งหมดมีอยู่ทั้งสิ้น 6,598 โครงการ เป็นวงเงิน 3,000 ล้านบาทเศษ ซึ่งดำเนินการเรียบร้อยไปแล้ว 5,425 โครงการ ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการ 1,173 โครงการ ซึ่งความล่าช้าอาจเกิดจากฝนตกในบางพื้นที่ หรือมีการปรับรูปแบบของโครงการทำให้ต้องยืดเวลาออกไป
**สถานการณ์น้ำในเขื่อนแนวโน้มสดใส
พล.ต.สรรเสริญ ยังกล่าวถึง สถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนว่า มีแนวโน้มสดใส เนื่องจากสภาพอากาศเป็นใจ มีร่องมรสุมพาดผ่าน ทำให้ฝนตกกระจายหลายพื้นที่ จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยเช่นนี้ ทำให้ปฏิบัติการฝนเทียมมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยในระหว่างวันที่ 20-27 ก.ค. ปฏิบัติการฝนเทียมทำให้น้ำไหลลงเขื่อนหลักรวม 202.73 ล้าน ลบม. เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว เมื่อเทียบกับปฏิบัติการในช่วงต้นเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ที่ดำเนินการในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน มีน้ำไหลเข้าเขื่อนหลัก ประมาณ 100 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น
ทั้งนี้ ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนจากปฏิบัติการฝนเทียม ในระหว่างวันที่ 20-27 ก.ค. ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล 47.58 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 122.62 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 46.19 ล้าน ลบ.ม.และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 4.48 ล้าน ลบ.ม.
**"ปนัดดา"ปล่อยขบวนน้ำดื่มพระราชทาน
เมื่อเวลา 16.00 น.วานนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีปล่อยขบวนรถน้ำดื่มพระราชทาน ตามโครงการ "ปันน้ำดื่มเพื่อพี่น้องไทยประสบภัยแล้ง" โดย ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า รัฐบาลได้จัดทำโครงการปันน้ำดื่มเพื่อพี่น้องประสบภัยแล้งขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือน้ำดื่มแก่ประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง และจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดถูกสุขอนามัย ให้ประชาชนบริโภค
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำดื่มจำนวน 300,000 ขวด โดยมีพระราชประสงค์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว ด้วยการนำน้ำดื่มไปจัดสรรช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ 8 จังหวัด ที่มีสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง ได้แก่ จ.ปทุมธานี แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และชลบุรี
สำหรับน้ำดื่มที่มีผู้บริจาคเข้าร่วมโครงการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกองทัพบก จะร่วมกันดำเนินการแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ประสบภัยแล้งโดยเร็ว