นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเลือกตั้ง โดยนายสมชัยเปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ได้มีการพิจารณาเรื่องการเลือกตั้งด้วยเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะมีการจัดทำแผนพัฒนาเครื่องลงคะแนนใน 3 ระดับ คือ ระยะสั้น 1 ปี ระยะกลาง 5 ปี และระยะยาว 10 ปี และเพื่อให้ทันกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ กกต.จะใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ในหน่วยออกเสียงประชามติ ซึ่งจะเป็นหน่วยต้นแบบ 2 หน่วย ในเขตราชเทวี กรุงเทพฯ ซึ่งจะมีจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประมาณ 1,600 คน ซึ่งจะทำให้ผู้มาใช้สิทธิได้มีโอกาสเลือกรูปแบบการออกเสียง และเป็นการทดสอบระบบเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ว่าสามารถตรวจสอบได้ และให้เกิดความไว้ใจ ซึ่งจะเป็นการโชว์ศักยภาพของหน่วยเลือกตั้งในอนาคต
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการหารือถึงการพัฒนาแอพพลิเคชั่นดาวเหนือ ในโทรศัพท์มือถือ ที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดยสามารถโหลดแอพพลิเคชั่น แล้วกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ก็จะสามารถทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยเลือกตั้ง ที่ตั้งหน่วย ลำดับการใช้สิทธิ์ รวมทั้งแผนที่นำทางไปยังหน่วยเลือกตั้ง ที่บุคคลนั้นมีสิทธิ ทั้งนี้จะเร่งพัฒนาแอพพลิเคชั่นดังกล่าวให้เสร็จภายในเดือน พ.ย.นี้ และหากมีการทำประชามติในเดือน ม.ค. 59 ก็จะเป็นครั้งแรก ที่ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติจะได้ใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าว และถือว่าเป็นประเทศแรกในโลก ที่ใช้แอพพลิเคชั่นอำนวยความสะดวกและลดความยุ่งยากให้กับผู้มีสิทธิออกเสียง เพราะจากที่ผ่านมา ได้สอบถามผู้จัดการเลือกตั้งในประเทศต่างๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ก็ยังไม่มีการใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการบุกเบิกแห่งแรกของโลก และเชื่อว่าจะทำให้จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิสูงกว่าเดิมอย่างแน่นอน โดยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นดังกล่าวจะใช้งบประมาณกว่าแสนบาท แต่ทั้งนี้ในส่วนของแผนที่นำทางน่าจะใช้ได้ในเขตเมือง แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล
**”สดศรี”หนุนศาลแจกใบแดง
นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) อยู่ในอำนาจของศาล ว่า ที่ผ่านมางานของกกต. จะกว้างขวางมาก ตั้งแต่การจัดเลือกตั้ง ไปถึงการสืบสวนสอบสวนคำร้องคัดค้านเลือกตั้ง เพื่อตรวจสอบว่ามีการทุจริตหรือไม่ แต่หน้าที่สำคัญที่สุดของกกต.คือ การจัดการเลือกตั้ง จึงเห็นว่าการพิจารณาบทลงโทษเพิกถอนสิทธินักการเมืองที่ทุจริตการเลือกตั้ง ควรเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสำนวนคดี นั่นคือ ให้เป็นหน้าที่ของศาล ยิ่งถ้าได้ผู้พิพากษาที่มีความเข้าใจในระบบเลือกตั้งเพียงพอ ก็จะทำให้การพิจารณานั้นมีศักยภาพมากขึ้น ทางที่ดีควรจะเป็นการพิจารณาอย่างน้อยสองศาล คือ ให้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์แสดงความบริสุทธิ์ได้ เนื่องจากในร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะมีบทกำหนดโทษที่รุนแรง คือ ตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต เป็นมาตรการที่เข้มงวดมากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม กระบวนการพิจารณาของศาลในคดีเลือกตั้ง คงต้องมีการปรับให้มีความรวดเร็วเพิ่มขึ้น
นางสดศรี กล่าวด้วยว่า กกต. ต้องกลับมามองตัวเองว่าการทำงานที่ผ่านมา มีความเรียบร้อยดีหรือไม่ การขออำนาจการให้ใบแดง ซึ่งควรเป็นอำนาจที่ตรวจสอบได้ เพราะตามกฎหมายเดิมที่มีการระบุถ้อยคำว่า “เชื่อได้ว่า” ว่าจะอาจทุจริต ก็สามารถให้ใบเหลือง หรือใบแดงได้ แต่สิ่งนี้ไม่ได้เป็นมาตราการที่จะรับประกันว่าถูกต้อง จริงหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้คือ ต้องทบทวนตัวเอง ว่าทำไมเขาจึงมีแนวคิดให้จัดตั้ง กจต. หรือมอบอำนาจการให้ใบแดง ไปสู่ศาล ถ้าทำงานดีจริงร้อยเปอร์เซนต์ จะมีแนวคิดดังกล่าวออกมาหรือไม่ สิ่งที่ทำได้คือ ควรนำประเด็นเหล่านี้มาปรับปรุงแก้ไขปัญหาในองค์กรให้มีสมรรถภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ กกต.จะใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ในหน่วยออกเสียงประชามติ ซึ่งจะเป็นหน่วยต้นแบบ 2 หน่วย ในเขตราชเทวี กรุงเทพฯ ซึ่งจะมีจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประมาณ 1,600 คน ซึ่งจะทำให้ผู้มาใช้สิทธิได้มีโอกาสเลือกรูปแบบการออกเสียง และเป็นการทดสอบระบบเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ว่าสามารถตรวจสอบได้ และให้เกิดความไว้ใจ ซึ่งจะเป็นการโชว์ศักยภาพของหน่วยเลือกตั้งในอนาคต
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการหารือถึงการพัฒนาแอพพลิเคชั่นดาวเหนือ ในโทรศัพท์มือถือ ที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดยสามารถโหลดแอพพลิเคชั่น แล้วกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ก็จะสามารถทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยเลือกตั้ง ที่ตั้งหน่วย ลำดับการใช้สิทธิ์ รวมทั้งแผนที่นำทางไปยังหน่วยเลือกตั้ง ที่บุคคลนั้นมีสิทธิ ทั้งนี้จะเร่งพัฒนาแอพพลิเคชั่นดังกล่าวให้เสร็จภายในเดือน พ.ย.นี้ และหากมีการทำประชามติในเดือน ม.ค. 59 ก็จะเป็นครั้งแรก ที่ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติจะได้ใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าว และถือว่าเป็นประเทศแรกในโลก ที่ใช้แอพพลิเคชั่นอำนวยความสะดวกและลดความยุ่งยากให้กับผู้มีสิทธิออกเสียง เพราะจากที่ผ่านมา ได้สอบถามผู้จัดการเลือกตั้งในประเทศต่างๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ก็ยังไม่มีการใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการบุกเบิกแห่งแรกของโลก และเชื่อว่าจะทำให้จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิสูงกว่าเดิมอย่างแน่นอน โดยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นดังกล่าวจะใช้งบประมาณกว่าแสนบาท แต่ทั้งนี้ในส่วนของแผนที่นำทางน่าจะใช้ได้ในเขตเมือง แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล
**”สดศรี”หนุนศาลแจกใบแดง
นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) อยู่ในอำนาจของศาล ว่า ที่ผ่านมางานของกกต. จะกว้างขวางมาก ตั้งแต่การจัดเลือกตั้ง ไปถึงการสืบสวนสอบสวนคำร้องคัดค้านเลือกตั้ง เพื่อตรวจสอบว่ามีการทุจริตหรือไม่ แต่หน้าที่สำคัญที่สุดของกกต.คือ การจัดการเลือกตั้ง จึงเห็นว่าการพิจารณาบทลงโทษเพิกถอนสิทธินักการเมืองที่ทุจริตการเลือกตั้ง ควรเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสำนวนคดี นั่นคือ ให้เป็นหน้าที่ของศาล ยิ่งถ้าได้ผู้พิพากษาที่มีความเข้าใจในระบบเลือกตั้งเพียงพอ ก็จะทำให้การพิจารณานั้นมีศักยภาพมากขึ้น ทางที่ดีควรจะเป็นการพิจารณาอย่างน้อยสองศาล คือ ให้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์แสดงความบริสุทธิ์ได้ เนื่องจากในร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะมีบทกำหนดโทษที่รุนแรง คือ ตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต เป็นมาตรการที่เข้มงวดมากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม กระบวนการพิจารณาของศาลในคดีเลือกตั้ง คงต้องมีการปรับให้มีความรวดเร็วเพิ่มขึ้น
นางสดศรี กล่าวด้วยว่า กกต. ต้องกลับมามองตัวเองว่าการทำงานที่ผ่านมา มีความเรียบร้อยดีหรือไม่ การขออำนาจการให้ใบแดง ซึ่งควรเป็นอำนาจที่ตรวจสอบได้ เพราะตามกฎหมายเดิมที่มีการระบุถ้อยคำว่า “เชื่อได้ว่า” ว่าจะอาจทุจริต ก็สามารถให้ใบเหลือง หรือใบแดงได้ แต่สิ่งนี้ไม่ได้เป็นมาตราการที่จะรับประกันว่าถูกต้อง จริงหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้คือ ต้องทบทวนตัวเอง ว่าทำไมเขาจึงมีแนวคิดให้จัดตั้ง กจต. หรือมอบอำนาจการให้ใบแดง ไปสู่ศาล ถ้าทำงานดีจริงร้อยเปอร์เซนต์ จะมีแนวคิดดังกล่าวออกมาหรือไม่ สิ่งที่ทำได้คือ ควรนำประเด็นเหล่านี้มาปรับปรุงแก้ไขปัญหาในองค์กรให้มีสมรรถภาพยิ่งขึ้น