โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
ฝรั่งคนหนึ่งถามหลวงพ่อชา สุภัทโท ว่า “ชาติหน้ามีจริงไหม ถ้ามีจริง หลวงพ่อช่วยพาไปดูหน่อย”
หลวงพ่อชา ตอบแบบถามว่า “แล้วพรุ่งนี้ มีจริงไหม ถ้ามีจริง ช่วยพาอาตมาไปดูหน่อย”
ฝรั่งคนนั้น...อาจจะปิ๊งแวบ หรือปิ๊งดับก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญาของแต่ละบุคคล
โลกเราทุกวันนี้ ด้านวัตถุเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง ขณะที่ด้านจิตใจกลับเสื่อมทรุดสุดใจหาย การทำชั่วต่างๆ เช่น การทุจริตคอร์รัปชันกำลังจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา คนทำผิดไม่ต้องรับโทษเพราะกฎหมายแก้ไขได้โดยอ้างว่า ใครๆ ในโลกนี้เขาก็โกงกันทั้งนั้น
ความคิดความเชื่อของตนขยายลามปามไปถึงขั้นไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ไม่มีนรก สวรรค์ นิพพานตามแล้วสูญ ไม่ต้องรับผลกรรมที่ตนทำ
คนเราจึงเหิมเกริม และถือคติ... “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” โดยเฉพาะผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองบางคนบางกลุ่ม ทำชั่วทำอัปรีย์แบบออกหน้า ไม่อายฟ้าดิน
นี่คือผลที่มาจากเหตุ คือความเชื่อหรือศรัทธาที่ไร้ปัญญา
ความเชื่อศรัทธา
ศรัทธาหรือความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล หรือมีปัญญานั้น ประกอบด้วย...
1. กัมมสัทธา เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยเจตนาคือจงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือเป็นความดีความชั่วมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่า ผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยการอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
2. วิปากศรัทธา เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือเชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
3. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน คือเชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน
4. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือมั่นใจในองค์พระตถาคตว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง
(ข้อ 1-2-3 = กัมมผลสัทธา = โลกิยสัทธา ข้อ 4 = โลกุตตรสัทธา)
ดังนั้น ศรัทธา 4 ดังกล่าว จึงเป็นกระจกเงาอย่างดีเอาไว้ส่องตนและคนอื่น ตั้งแต่ระดับพื้นๆ ธรรมดา จนกระทั่งระดับสูงๆ ไม่ธรรมดาว่า...เขามีความเชื่อศรัทธาแบบไหน ระหว่างแบบมีปัญญากับแบบไร้ปัญญา เพราะทั้งสองแบบมันคือต้นเหตุแห่งการทำความชั่วและการทำความดี
เกิดมาจากใจ
คนเราประกอบด้วยสองส่วน คือรูปและนาม หรือกายและใจ ธรรมทั้งหลายมีใจนำหน้า จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต จิตหรือใจคือสิ่งเดียวกัน บ้างก็เรียกจิต บ้างก็เรียกใจ บ้างก็เรียกจิตใจ ฯลฯ
ความเชื่อความศรัทธาแบบมีปัญญา และแบบไร้ปัญญา ก็มาจากใจนี่แหละ ใจอย่างไร ความเชื่อก็อย่างนั้น
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึง “ใจ” อยู่เป็นนิจ เพราะมันสำคัญ และเข้าใจยากอยู่ไม่น้อย
โอโช มนุษย์พันธุ์ใหม่ ต้นแบบ “สมาธิแบบตื่นตัว” กล่าวว่า...จิตมี 4 ระดับ คือจิตสำนึก จิตไร้สำนึก จิตไร้สำนึกร่วม จิตไร้สำนึกแห่งจักรวาล เราแตกต่างกันในระดับจิตสำนึกเข้าไปลึกอีกหน่อย เราล้วนไม่แตกต่างกัน ในระดับจิตไร้สำนึกลึกเข้าไปอีก เรายิ่งใกล้ชิดกัน ในระดับจิตไร้สำนึกร่วม พอลึกเข้าไปสุดๆ ในระดับจิตไร้สำนึกแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ที่ศูนย์กลางนี้เราล้วนผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน ความรู้ยิ่งใหญ่ทั้งหมดมาจากศูนย์กลางนี้
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ กล่าวว่า...จิตสำนึกของมนุษย์นั้น มีข้อมูลบรรจุอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับจิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก เขาเปรียบจิตเหมือนภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมาที่มีส่วนของจิตสำนึกโผล่ส่วนยอดพ้นน้ำขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทพ.สม สุจีรา ผู้เขียน เกิดเพราะกรรม หรือความซวย กล่าวว่า...พฤติกรรมของคนมาจากจิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก และเพียรพยายามจะรักษา โดยดึงจิตใต้สำนึก จิตไร้สำนึกเหล่านั้นขึ้นมาแก้ไข การดึงจิตใต้สำนึกสามารถทำได้ โดยการสะกดจิต แต่การดึงจิตไร้สำนึกซึ่งเป็นเรื่องของกรรมเก่า ฟรอยด์ ยังทำไม่สำเร็จ ดังนั้น การรักษาตามเทคนิคของฟรอยด์ จึงมีอัตราของการประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งนั่นก็คือเปอร์เซ็นต์ของจิตใต้สำนึกที่บรรจุข้อมูลอยู่ 10 เปอร์เซ็นต์ อีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นจิตสำนึก ส่วนอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นจิตไร้สำนึก ทำอะไรไม่ได้เลย
ผมว่า...ที่เราเล่นกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะในรูปแบบใด ละคร ลิเก หมอลำ ฯลฯ ดูแล้วไม่ต่างกับ “ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา” คือท่าดีทีเหลว แล้วค่อยๆ ออกลายในที่สุด
ก็จิตที่โผล่เล่นบทให้เห็นเพียงน้อยนิด ขณะที่จิตส่วนใหญ่อันมหึมาหลบอยู่ในความมืด จะไปหวังอะไรนักหนากับภาพที่เห็นซึ่งเป็นมายา หลอกกิน ตีกินไปวันๆ เช่นนั้นเอง
ศรัทธาเพราะเชื่ออย่างงมงายกับศรัทธาเพราะเชื่ออย่างสร้างสรรค์ มันต่างกัน เพราะมาจากใจที่มีปัญญา และใจที่ไร้ปัญญา
เศร้าหมองผ่องใส
“เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง และเมื่อจิตไม่เศร้าหมองหรือผ่องใส สุคติเป็นอันหวังได้” นั่นคือพุทธภาษิตที่เป็นสัจธรรมอยู่นิรันดร์
จิตของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นจิตสำนึก จิตใต้สำนึก จิตไร้สำนึก ต่างก็มีโอกาสเศร้าหมองและผ่องใสได้มากน้อยแตกต่างกันไป
จิตผ่องใสเหมือนแสงตะวันไร้เมฆหมอก จิตเศร้าหมองเหมือนเมฆหมอกที่สัญจรมาบดบังแสงตะวันเป็นครั้งเป็นคราว แสงตะวันเหมือนจิตเดิมแท้ เมฆหมอกเหมือนจิตใหม่เทียม
จิตเดิมแท้ เหมือนจิตตื่นรู้ จิตใหม่เทียม เหมือนจิตหลับยืน “หลับยืน” และ “ตื่นรู้” จึงเป็นสองด้านของชีวิต เป็นผู้ลิขิตชีวิตหรือดีไซน์ชีวิตนั่นเอง
ทำอย่างไร “เศร้าหมอง” จึงจะลดลงและหมดไป ทำอย่างไร “ผ่องใส” จึงจะเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไป ถ้ามีฉันทะ ที่จะทำจริง
เป็นไปตามเหตุ
สรรพสิ่งทั้งมวล ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย จะให้เศร้าหมองดับก็ได้ จะให้ผ่องใสเกิดก็ได้
“สิบสองคำ จำให้แม่น ทุกข์ไม่ทุกข์ อยู่ตรงนี้”
เรามีสิ่งที่ต้องจำมากมาย บางทีสิ่งที่ให้จำนั้นก็ไร้สาระ แต่ก็พากันจำได้จำดี ในขณะที่สิ่งดีเลิศประเสริฐศรี ดั่งเพชรน้ำหนึ่งกลับไม่จำ ไม่ส่งเสริมให้จำ ไม่สนใจ แม้แต่จะเมียงมอง พวกเราจึงพลาดโอกาสที่จะรู้จะเข้าใจอย่างจริงจังกับมัน นั่นคือ...
“สิบสองคำ จำให้แม่น ทุกข์ไม่ทุกข์ อยู่ตรงนี้” ได้แก่...
1. อวิชชา เป็นปัจจัยทำให้เกิดสังขาร
2. สังขาร เป็นปัจจัยทำให้เกิดวิญญาณ
3. วิญญาณ เป็นปัจจัยทำให้เกิดนามรูป
4. นามรูป เป็นปัจจัยทำให้เกิดอายตนะ
5. อายตนะ เป็นปัจจัยทำให้เกิดผัสสะ
6. ผัสสะ เป็นปัจจัยทำให้เกิดเวทนา
7. เวทนา เป็นปัจจัยทำให้เกิดตัณหา
8. ตัณหา เป็นปัจจัยทำให้เกิดอุปาทาน
9. อุปาทาน เป็นปัจจัยทำให้เกิดภพ
10. ภพ เป็นปัจจัยทำให้เกิดชาติ
11. ชาติ เป็นปัจจัยทำให้เกิดชรามรณะ
12. ชรามรณะ เป็นปัจจัยทำให้เกิดอวิชชา
นี่คือ...ปฏิจจสมุปบาท 12 ข้อ หมายถึงการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น หรือความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวง หรือเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
ทุกข์ไม่ทุกข์อยู่ตรงนี้ ทุกข์ก็คือปล่อยให้มันหมุนไปเรื่อยๆ เกิดไปเรื่อยๆ ไม่ทุกข์ก็คือหยุด หรือตัดขาดการหมุนการเกิดของมันเสีย
เช่น ชรามรณะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอวิชชา ถ้าเราตายแล้วไม่เกิดอีก ก็คือตัดขาดหรือหยุดหมุนก็จบ คือไม่ทุกข์อีกต่อไป หากตายแล้วเกิดอีก ก็คือหมุนต่อไปเป็นอวิชชา สังขาร วิญญาญไปเรื่อยๆ...ไหนๆ ก็เกิดแล้ว เมื่อหมุนมาถึงผัสสะให้ตัดขาดอยู่ตรงนี้ อย่าให้เกิดเวทนา ตัณหาต่อไป เพราะมันจะตัดยากยิ่งขึ้น อายตนะภายนอกห้ามไม่ได้ เมื่ออายตนะภายในกระทบหรือผัสสะกับอายตนะภายนอก ก็ให้มีสติรู้ทัน สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน เป็นต้น ฝึกบ่อยๆ ก็จะชำนาญ และว่องไวไฟแลบไปเอง
พระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ พวกเราปุถุชนควรจะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ ก็แล้วแต่ละบุคคลที่ถูกต้องที่สุดคือ มีสติมากเท่าไหร่ ยิ่งตัดวงจรทุกข์ได้มากเท่านั้น เป็นการสร้างเหตุดี สะสมเหตุดีที่เป็นอริยทรัพย์ให้แก่ตนเอง
เรื่องโลกิยธรรม และโลกุตตรธรรมนำไปใช้ได้กับทุกคนทุกระดับ ในสถานการณ์ที่เหมาะสม ไม่เคยแบ่งแยกโลกิยธรรมสำหรับปุถุชน โลกุตตรธรรมสำหรับอริยบุคคล (ที่แบ่งแยกเป็นกลลวงถ่วงรู้จริงรู้เท่ารู้ทันเท่านั้น)
“สรรพสิ่งทั้งมวล ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย” เหตุทุกข์ก็ทุกข์ เหตุไม่ทุกข์ก็ไม่ทุกข์
“ความเชื่อศรัทธา
เกิดมาจากใจ
เศร้าหมองผ่องใส
เป็นไปตามเหตุ”
ศาสนาพุทธสอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยอริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ใครๆ แม้เด็กอนุบาลก็รู้ และจำได้ ถามเมื่อไร ตอบได้เมื่อนั้น
แต่พวกเราทั้งหลายทั้งปวง ก็นิยมเสพทุกข์กันเป็นนิสัย ไปเยี่ยมนรกานต์กันเฮฮา
ทุกข์-ควรกำหนดรู้ สมุทัย-ควรละ นิโรธ-ควรทำให้แจ้ง มรรค-ควรเจริญ ตรงนี้ ซึ่งเป็นกิจในอริยสัจ 4 ไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อยเน้นกัน จึงไม่รู้จริง รู้กันเล่นๆ หลอกๆ ตามสูตร... “ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา”
ศรัทธา 4 เป็นความเชื่ออย่างมีเหตุมีผล เชื่ออย่างมีปัญญา
อริยสัจ 4 เป็นการแก้ทุกข์ ชุดเล็ก ชุดย่อ
ปฏิจจสมุปบาท 12 เป็นการแก้ทุกข์ ชุดใหญ่ ชุดเต็ม
ต้องเชื่ออย่างนี้ ศรัทธาอย่างนี้ สอนอย่างนี้ ส่งเสริมอย่างนี้ จึงจะรู้เรื่องทุกข์ และดับทุกข์ ดับปัญหาได้จริง ตามที่ผู้ตื่นรู้ชี้แนะ
อย่ามัวแต่เล่นละครดูละคร หัดย้อนดูตัวเองบ้าง จะได้รู้จักตน-เห็นตน อย่างที่ตนเป็นจริงๆ
ฝรั่งคนหนึ่งถามหลวงพ่อชา สุภัทโท ว่า “ชาติหน้ามีจริงไหม ถ้ามีจริง หลวงพ่อช่วยพาไปดูหน่อย”
หลวงพ่อชา ตอบแบบถามว่า “แล้วพรุ่งนี้ มีจริงไหม ถ้ามีจริง ช่วยพาอาตมาไปดูหน่อย”
ฝรั่งคนนั้น...อาจจะปิ๊งแวบ หรือปิ๊งดับก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญาของแต่ละบุคคล
โลกเราทุกวันนี้ ด้านวัตถุเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง ขณะที่ด้านจิตใจกลับเสื่อมทรุดสุดใจหาย การทำชั่วต่างๆ เช่น การทุจริตคอร์รัปชันกำลังจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา คนทำผิดไม่ต้องรับโทษเพราะกฎหมายแก้ไขได้โดยอ้างว่า ใครๆ ในโลกนี้เขาก็โกงกันทั้งนั้น
ความคิดความเชื่อของตนขยายลามปามไปถึงขั้นไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ไม่มีนรก สวรรค์ นิพพานตามแล้วสูญ ไม่ต้องรับผลกรรมที่ตนทำ
คนเราจึงเหิมเกริม และถือคติ... “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” โดยเฉพาะผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองบางคนบางกลุ่ม ทำชั่วทำอัปรีย์แบบออกหน้า ไม่อายฟ้าดิน
นี่คือผลที่มาจากเหตุ คือความเชื่อหรือศรัทธาที่ไร้ปัญญา
ความเชื่อศรัทธา
ศรัทธาหรือความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล หรือมีปัญญานั้น ประกอบด้วย...
1. กัมมสัทธา เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยเจตนาคือจงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือเป็นความดีความชั่วมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่า ผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยการอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
2. วิปากศรัทธา เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือเชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
3. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน คือเชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน
4. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือมั่นใจในองค์พระตถาคตว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง
(ข้อ 1-2-3 = กัมมผลสัทธา = โลกิยสัทธา ข้อ 4 = โลกุตตรสัทธา)
ดังนั้น ศรัทธา 4 ดังกล่าว จึงเป็นกระจกเงาอย่างดีเอาไว้ส่องตนและคนอื่น ตั้งแต่ระดับพื้นๆ ธรรมดา จนกระทั่งระดับสูงๆ ไม่ธรรมดาว่า...เขามีความเชื่อศรัทธาแบบไหน ระหว่างแบบมีปัญญากับแบบไร้ปัญญา เพราะทั้งสองแบบมันคือต้นเหตุแห่งการทำความชั่วและการทำความดี
เกิดมาจากใจ
คนเราประกอบด้วยสองส่วน คือรูปและนาม หรือกายและใจ ธรรมทั้งหลายมีใจนำหน้า จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต จิตหรือใจคือสิ่งเดียวกัน บ้างก็เรียกจิต บ้างก็เรียกใจ บ้างก็เรียกจิตใจ ฯลฯ
ความเชื่อความศรัทธาแบบมีปัญญา และแบบไร้ปัญญา ก็มาจากใจนี่แหละ ใจอย่างไร ความเชื่อก็อย่างนั้น
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึง “ใจ” อยู่เป็นนิจ เพราะมันสำคัญ และเข้าใจยากอยู่ไม่น้อย
โอโช มนุษย์พันธุ์ใหม่ ต้นแบบ “สมาธิแบบตื่นตัว” กล่าวว่า...จิตมี 4 ระดับ คือจิตสำนึก จิตไร้สำนึก จิตไร้สำนึกร่วม จิตไร้สำนึกแห่งจักรวาล เราแตกต่างกันในระดับจิตสำนึกเข้าไปลึกอีกหน่อย เราล้วนไม่แตกต่างกัน ในระดับจิตไร้สำนึกลึกเข้าไปอีก เรายิ่งใกล้ชิดกัน ในระดับจิตไร้สำนึกร่วม พอลึกเข้าไปสุดๆ ในระดับจิตไร้สำนึกแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ที่ศูนย์กลางนี้เราล้วนผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน ความรู้ยิ่งใหญ่ทั้งหมดมาจากศูนย์กลางนี้
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ กล่าวว่า...จิตสำนึกของมนุษย์นั้น มีข้อมูลบรรจุอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับจิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก เขาเปรียบจิตเหมือนภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมาที่มีส่วนของจิตสำนึกโผล่ส่วนยอดพ้นน้ำขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทพ.สม สุจีรา ผู้เขียน เกิดเพราะกรรม หรือความซวย กล่าวว่า...พฤติกรรมของคนมาจากจิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก และเพียรพยายามจะรักษา โดยดึงจิตใต้สำนึก จิตไร้สำนึกเหล่านั้นขึ้นมาแก้ไข การดึงจิตใต้สำนึกสามารถทำได้ โดยการสะกดจิต แต่การดึงจิตไร้สำนึกซึ่งเป็นเรื่องของกรรมเก่า ฟรอยด์ ยังทำไม่สำเร็จ ดังนั้น การรักษาตามเทคนิคของฟรอยด์ จึงมีอัตราของการประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งนั่นก็คือเปอร์เซ็นต์ของจิตใต้สำนึกที่บรรจุข้อมูลอยู่ 10 เปอร์เซ็นต์ อีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นจิตสำนึก ส่วนอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นจิตไร้สำนึก ทำอะไรไม่ได้เลย
ผมว่า...ที่เราเล่นกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะในรูปแบบใด ละคร ลิเก หมอลำ ฯลฯ ดูแล้วไม่ต่างกับ “ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา” คือท่าดีทีเหลว แล้วค่อยๆ ออกลายในที่สุด
ก็จิตที่โผล่เล่นบทให้เห็นเพียงน้อยนิด ขณะที่จิตส่วนใหญ่อันมหึมาหลบอยู่ในความมืด จะไปหวังอะไรนักหนากับภาพที่เห็นซึ่งเป็นมายา หลอกกิน ตีกินไปวันๆ เช่นนั้นเอง
ศรัทธาเพราะเชื่ออย่างงมงายกับศรัทธาเพราะเชื่ออย่างสร้างสรรค์ มันต่างกัน เพราะมาจากใจที่มีปัญญา และใจที่ไร้ปัญญา
เศร้าหมองผ่องใส
“เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง และเมื่อจิตไม่เศร้าหมองหรือผ่องใส สุคติเป็นอันหวังได้” นั่นคือพุทธภาษิตที่เป็นสัจธรรมอยู่นิรันดร์
จิตของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นจิตสำนึก จิตใต้สำนึก จิตไร้สำนึก ต่างก็มีโอกาสเศร้าหมองและผ่องใสได้มากน้อยแตกต่างกันไป
จิตผ่องใสเหมือนแสงตะวันไร้เมฆหมอก จิตเศร้าหมองเหมือนเมฆหมอกที่สัญจรมาบดบังแสงตะวันเป็นครั้งเป็นคราว แสงตะวันเหมือนจิตเดิมแท้ เมฆหมอกเหมือนจิตใหม่เทียม
จิตเดิมแท้ เหมือนจิตตื่นรู้ จิตใหม่เทียม เหมือนจิตหลับยืน “หลับยืน” และ “ตื่นรู้” จึงเป็นสองด้านของชีวิต เป็นผู้ลิขิตชีวิตหรือดีไซน์ชีวิตนั่นเอง
ทำอย่างไร “เศร้าหมอง” จึงจะลดลงและหมดไป ทำอย่างไร “ผ่องใส” จึงจะเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไป ถ้ามีฉันทะ ที่จะทำจริง
เป็นไปตามเหตุ
สรรพสิ่งทั้งมวล ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย จะให้เศร้าหมองดับก็ได้ จะให้ผ่องใสเกิดก็ได้
“สิบสองคำ จำให้แม่น ทุกข์ไม่ทุกข์ อยู่ตรงนี้”
เรามีสิ่งที่ต้องจำมากมาย บางทีสิ่งที่ให้จำนั้นก็ไร้สาระ แต่ก็พากันจำได้จำดี ในขณะที่สิ่งดีเลิศประเสริฐศรี ดั่งเพชรน้ำหนึ่งกลับไม่จำ ไม่ส่งเสริมให้จำ ไม่สนใจ แม้แต่จะเมียงมอง พวกเราจึงพลาดโอกาสที่จะรู้จะเข้าใจอย่างจริงจังกับมัน นั่นคือ...
“สิบสองคำ จำให้แม่น ทุกข์ไม่ทุกข์ อยู่ตรงนี้” ได้แก่...
1. อวิชชา เป็นปัจจัยทำให้เกิดสังขาร
2. สังขาร เป็นปัจจัยทำให้เกิดวิญญาณ
3. วิญญาณ เป็นปัจจัยทำให้เกิดนามรูป
4. นามรูป เป็นปัจจัยทำให้เกิดอายตนะ
5. อายตนะ เป็นปัจจัยทำให้เกิดผัสสะ
6. ผัสสะ เป็นปัจจัยทำให้เกิดเวทนา
7. เวทนา เป็นปัจจัยทำให้เกิดตัณหา
8. ตัณหา เป็นปัจจัยทำให้เกิดอุปาทาน
9. อุปาทาน เป็นปัจจัยทำให้เกิดภพ
10. ภพ เป็นปัจจัยทำให้เกิดชาติ
11. ชาติ เป็นปัจจัยทำให้เกิดชรามรณะ
12. ชรามรณะ เป็นปัจจัยทำให้เกิดอวิชชา
นี่คือ...ปฏิจจสมุปบาท 12 ข้อ หมายถึงการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น หรือความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวง หรือเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
ทุกข์ไม่ทุกข์อยู่ตรงนี้ ทุกข์ก็คือปล่อยให้มันหมุนไปเรื่อยๆ เกิดไปเรื่อยๆ ไม่ทุกข์ก็คือหยุด หรือตัดขาดการหมุนการเกิดของมันเสีย
เช่น ชรามรณะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอวิชชา ถ้าเราตายแล้วไม่เกิดอีก ก็คือตัดขาดหรือหยุดหมุนก็จบ คือไม่ทุกข์อีกต่อไป หากตายแล้วเกิดอีก ก็คือหมุนต่อไปเป็นอวิชชา สังขาร วิญญาญไปเรื่อยๆ...ไหนๆ ก็เกิดแล้ว เมื่อหมุนมาถึงผัสสะให้ตัดขาดอยู่ตรงนี้ อย่าให้เกิดเวทนา ตัณหาต่อไป เพราะมันจะตัดยากยิ่งขึ้น อายตนะภายนอกห้ามไม่ได้ เมื่ออายตนะภายในกระทบหรือผัสสะกับอายตนะภายนอก ก็ให้มีสติรู้ทัน สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน เป็นต้น ฝึกบ่อยๆ ก็จะชำนาญ และว่องไวไฟแลบไปเอง
พระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ พวกเราปุถุชนควรจะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ ก็แล้วแต่ละบุคคลที่ถูกต้องที่สุดคือ มีสติมากเท่าไหร่ ยิ่งตัดวงจรทุกข์ได้มากเท่านั้น เป็นการสร้างเหตุดี สะสมเหตุดีที่เป็นอริยทรัพย์ให้แก่ตนเอง
เรื่องโลกิยธรรม และโลกุตตรธรรมนำไปใช้ได้กับทุกคนทุกระดับ ในสถานการณ์ที่เหมาะสม ไม่เคยแบ่งแยกโลกิยธรรมสำหรับปุถุชน โลกุตตรธรรมสำหรับอริยบุคคล (ที่แบ่งแยกเป็นกลลวงถ่วงรู้จริงรู้เท่ารู้ทันเท่านั้น)
“สรรพสิ่งทั้งมวล ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย” เหตุทุกข์ก็ทุกข์ เหตุไม่ทุกข์ก็ไม่ทุกข์
“ความเชื่อศรัทธา
เกิดมาจากใจ
เศร้าหมองผ่องใส
เป็นไปตามเหตุ”
ศาสนาพุทธสอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยอริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ใครๆ แม้เด็กอนุบาลก็รู้ และจำได้ ถามเมื่อไร ตอบได้เมื่อนั้น
แต่พวกเราทั้งหลายทั้งปวง ก็นิยมเสพทุกข์กันเป็นนิสัย ไปเยี่ยมนรกานต์กันเฮฮา
ทุกข์-ควรกำหนดรู้ สมุทัย-ควรละ นิโรธ-ควรทำให้แจ้ง มรรค-ควรเจริญ ตรงนี้ ซึ่งเป็นกิจในอริยสัจ 4 ไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อยเน้นกัน จึงไม่รู้จริง รู้กันเล่นๆ หลอกๆ ตามสูตร... “ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา”
ศรัทธา 4 เป็นความเชื่ออย่างมีเหตุมีผล เชื่ออย่างมีปัญญา
อริยสัจ 4 เป็นการแก้ทุกข์ ชุดเล็ก ชุดย่อ
ปฏิจจสมุปบาท 12 เป็นการแก้ทุกข์ ชุดใหญ่ ชุดเต็ม
ต้องเชื่ออย่างนี้ ศรัทธาอย่างนี้ สอนอย่างนี้ ส่งเสริมอย่างนี้ จึงจะรู้เรื่องทุกข์ และดับทุกข์ ดับปัญหาได้จริง ตามที่ผู้ตื่นรู้ชี้แนะ
อย่ามัวแต่เล่นละครดูละคร หัดย้อนดูตัวเองบ้าง จะได้รู้จักตน-เห็นตน อย่างที่ตนเป็นจริงๆ