วานนี้ (21 ก.ค.) ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของชาติ นำโดย พล.อ.สำเริง พินกลาง ประธาน และ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการ เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบจริยธรรม และการมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียของ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์การต่อต้านคอร์รัปชัน( ประเทศไทย) สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในกรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเป็นคู่กรณีกับรัฐ โดยนายมงคลกิตติ์ กล่าวว่า ปัจจุบันนายประมนต์ ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ทั้งคณะกรรมการคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ รวมทั้งเป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มาตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งมีข้อมูลว่า บริษัท โตโยต้า ได้รับหนังสือแจ้งจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.55 ว่า มีการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์โตโยต้า พริอุส ไม่ถูกต้อง โดยแจ้งนำเข้าเป็นชิ้นส่วน แต่ข้อเท็จจริงกลับมีการนำเข้าเป็นตัวรถยนต์ทั้งคัน ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิลด หรือยกเว้นภาษีอากรตามความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ( JTEPA)และประกาศกระทรวงการคลัง มาตรา 12 ได้ โดยล่าสุดอธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ฯ มีความผิดยังไม่ชำระภาษีอากรให้ถูกต้อง ฐานสำแดงเท็จ จากการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ดังกล่าว ช่วงปี 53-55 ตาม มาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และเรียกให้ชำระคืนภาษีรวม 11,667 ล้านบาท
ดังนั้น นายประมนต์ ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัทโตโยต้า จึงถือเป็นผู้ที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์ และเป็นผู้มีส่วนได้เสีย แม้ว่าปัจจุบันดคีนี้จะมีการฟ้องร้องกันอยู่ในศาลแพ่ง แต่การดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งของนายประมนต์ ถ้าเทียบตามกฎหมายคดีพิเศษ ต้องถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพล อาจใช้อำนาจที่มีเบียดบังคดี ดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลว่า นายประมนต์ ซึ่งก็ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งขึ้น และมีการตั้งคณะกรรมการข้อตกลงคุณธรรมขึ้น เพื่อจัดทำข้อตกลงคุณธรรมระหว่างรัฐ กับเอกชน ในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่างๆ ปรากฏในโครงการจัดซื้อรถโดยสารเอ็นจีวี ของ ขสมก. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่ตามข้อตกลงคุณธรรมให้มีการส่งผู้สังเกตการณ์เข้าพิจารณาเสนอราคาการจัดซื้อจัดจ้าง ก็พบว่า องค์การต่อต้านการคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) ที่นายประมนต์ ก็เป็นประธานอยู่ ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมสังเกตการณ์ จำนวน 2 ราย แต่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือแจ้งว่าขาดคุณสมบัติ เพราะทั้งสองรายเป็นผู้ที่เข้าเสนอราคาแข่งขันกับโครการจัดซื้อรถโดยสารเอนจีวีด้วย ซึ่งต้องถือว่า คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต กระทำผิดกฎข้อตกลงคุณธรรม และกฎหมาย ป.ป.ช. ส่อทุจริตประพฤติมิชอบ หรือไม่
" นายประมนต์ ถือเป็นุบคคลที่มีบทบาทสำคัญในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง หากมีพฤติดังกล่าวจริง ก็เข้าข่ายบกพร่องทางจริยธรรม และมีประโยชน์ทับซ้อน จึงอยากให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เร่งตรวจสอบให้เหมือนกับ คดีพระธัมมชโย ที่ทำเสร็จภายใน 2-3 เดือน และคดีพระธัมมชโย ผู้ตรวจ ก็บอกว่าเป็นความผิดตั้งแต่เริ่มต้น กรณีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ก็เช่นกัน ถือเป็นการกระทำผิดตั้งแต่ต้น ถ้าผู้ตรวจฯ สอบแล้วว่าผิดจริง มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ให้ส่ง ป.ป.ช.ดำเนินการตามกฎหมายป.ป.ช. ในเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน และให้เรียกคืนสิทธิประโยชน์ต่างที่ นายประมนต์ได้รับได้ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำเงินดังกล่าวกลับมาเป็นของแผ่นดิน" นายมงคลกิตติ์ กล่าว
**"ประมนต์"ปัดเบี้ยวภาษีให้รอศาลตัดสิน
ด้านนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง กรณีที่ตัวแทนภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ภตช.) ยื่นเรื่องร้องเรียน ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบจริยธรรม และการมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการปฏิบัติหน้าที่ของตนว่า ยังไม่ทราบเลยว่ามีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น และหากมีเรื่องดังกล่าว ก็จะไปดูในรายละเอียดว่า เป็นเรื่องอะไร อย่างไร เวลานี้ยังไม่ทราบ ยืนยันได้ว่า สิ่งที่ตนทำมาทุกเรื่อง เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะถ้าไม่ถูกต้อง คงไม่กล้าที่จะมายืนอยู่ตรงนี้ คนเราการจะบอกว่า ทำอะไรถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ก็ต้องดูพฤติกรรมที่ทำทั้งในปัจจุบัน และในอดีตที่ผ่านมา
นายวรวิทย์ ศรีอนันตรักษา โฆษกคณะกรรมาธิการฯ กล่าวถึงกรณีที่จะมีการนำเรื่องการเสียภาษีศุลกากรของ บริษัทโตโยต้าฯ มาประกอบด้วยว่า สปช. เป็นสภาวิชาการ ไม่อำนาจใจการบริหารใดๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้นเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ไม่มี ประเด็นที่เกิดขึ้นกับ นายประมนต์ เป็นเรื่องของความเห็นของ 2 ฝ่ายที่ต่างกัน แต่คนที่จะตัดสินได้คือศาลเท่านั้น ไม่ใช่ภาคีอะไรที่จะมาตัดสิน และเรื่องนี้อยู่ในกระบวนการของศาล คนที่เสียภาษี จะทราบดีว่า เรื่องไหนควรเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร อะไรเป็นเรื่องที่ได้รับการยกเว้น อะไรเป็นเรื่องของการต้องห้าม มีเป็นประจำอยู่ที่แต่ละคนจะมอง ทางฝ่ายผู้จัดเก็บอาจจะบอกว่าใช้ คนเสียบอกว่าไม่ใช่ แต่เรื่องจะไปจบที่ศาล ยืนยันได้ว่า เรื่องนี้ไม่เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
"เรื่องนี้ไม่มีอะไรตอบโต้ และเรื่องนี้เป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องเด็กทะเลาะกัน ภาคีนี้ก็ยื่นเรื่องนี้มานานแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องเก่า" นายวรวิทย์ กล่าว
ดังนั้น นายประมนต์ ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัทโตโยต้า จึงถือเป็นผู้ที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์ และเป็นผู้มีส่วนได้เสีย แม้ว่าปัจจุบันดคีนี้จะมีการฟ้องร้องกันอยู่ในศาลแพ่ง แต่การดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งของนายประมนต์ ถ้าเทียบตามกฎหมายคดีพิเศษ ต้องถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพล อาจใช้อำนาจที่มีเบียดบังคดี ดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลว่า นายประมนต์ ซึ่งก็ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งขึ้น และมีการตั้งคณะกรรมการข้อตกลงคุณธรรมขึ้น เพื่อจัดทำข้อตกลงคุณธรรมระหว่างรัฐ กับเอกชน ในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่างๆ ปรากฏในโครงการจัดซื้อรถโดยสารเอ็นจีวี ของ ขสมก. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่ตามข้อตกลงคุณธรรมให้มีการส่งผู้สังเกตการณ์เข้าพิจารณาเสนอราคาการจัดซื้อจัดจ้าง ก็พบว่า องค์การต่อต้านการคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) ที่นายประมนต์ ก็เป็นประธานอยู่ ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมสังเกตการณ์ จำนวน 2 ราย แต่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือแจ้งว่าขาดคุณสมบัติ เพราะทั้งสองรายเป็นผู้ที่เข้าเสนอราคาแข่งขันกับโครการจัดซื้อรถโดยสารเอนจีวีด้วย ซึ่งต้องถือว่า คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต กระทำผิดกฎข้อตกลงคุณธรรม และกฎหมาย ป.ป.ช. ส่อทุจริตประพฤติมิชอบ หรือไม่
" นายประมนต์ ถือเป็นุบคคลที่มีบทบาทสำคัญในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง หากมีพฤติดังกล่าวจริง ก็เข้าข่ายบกพร่องทางจริยธรรม และมีประโยชน์ทับซ้อน จึงอยากให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เร่งตรวจสอบให้เหมือนกับ คดีพระธัมมชโย ที่ทำเสร็จภายใน 2-3 เดือน และคดีพระธัมมชโย ผู้ตรวจ ก็บอกว่าเป็นความผิดตั้งแต่เริ่มต้น กรณีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ก็เช่นกัน ถือเป็นการกระทำผิดตั้งแต่ต้น ถ้าผู้ตรวจฯ สอบแล้วว่าผิดจริง มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ให้ส่ง ป.ป.ช.ดำเนินการตามกฎหมายป.ป.ช. ในเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน และให้เรียกคืนสิทธิประโยชน์ต่างที่ นายประมนต์ได้รับได้ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำเงินดังกล่าวกลับมาเป็นของแผ่นดิน" นายมงคลกิตติ์ กล่าว
**"ประมนต์"ปัดเบี้ยวภาษีให้รอศาลตัดสิน
ด้านนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง กรณีที่ตัวแทนภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ภตช.) ยื่นเรื่องร้องเรียน ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบจริยธรรม และการมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการปฏิบัติหน้าที่ของตนว่า ยังไม่ทราบเลยว่ามีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น และหากมีเรื่องดังกล่าว ก็จะไปดูในรายละเอียดว่า เป็นเรื่องอะไร อย่างไร เวลานี้ยังไม่ทราบ ยืนยันได้ว่า สิ่งที่ตนทำมาทุกเรื่อง เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะถ้าไม่ถูกต้อง คงไม่กล้าที่จะมายืนอยู่ตรงนี้ คนเราการจะบอกว่า ทำอะไรถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ก็ต้องดูพฤติกรรมที่ทำทั้งในปัจจุบัน และในอดีตที่ผ่านมา
นายวรวิทย์ ศรีอนันตรักษา โฆษกคณะกรรมาธิการฯ กล่าวถึงกรณีที่จะมีการนำเรื่องการเสียภาษีศุลกากรของ บริษัทโตโยต้าฯ มาประกอบด้วยว่า สปช. เป็นสภาวิชาการ ไม่อำนาจใจการบริหารใดๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้นเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ไม่มี ประเด็นที่เกิดขึ้นกับ นายประมนต์ เป็นเรื่องของความเห็นของ 2 ฝ่ายที่ต่างกัน แต่คนที่จะตัดสินได้คือศาลเท่านั้น ไม่ใช่ภาคีอะไรที่จะมาตัดสิน และเรื่องนี้อยู่ในกระบวนการของศาล คนที่เสียภาษี จะทราบดีว่า เรื่องไหนควรเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร อะไรเป็นเรื่องที่ได้รับการยกเว้น อะไรเป็นเรื่องของการต้องห้าม มีเป็นประจำอยู่ที่แต่ละคนจะมอง ทางฝ่ายผู้จัดเก็บอาจจะบอกว่าใช้ คนเสียบอกว่าไม่ใช่ แต่เรื่องจะไปจบที่ศาล ยืนยันได้ว่า เรื่องนี้ไม่เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
"เรื่องนี้ไม่มีอะไรตอบโต้ และเรื่องนี้เป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องเด็กทะเลาะกัน ภาคีนี้ก็ยื่นเรื่องนี้มานานแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องเก่า" นายวรวิทย์ กล่าว