ในวงสนทนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงสังสรรค์เพื่อนฝูงมักจะมีการเล่าเรื่องตลกเพื่อเรียกเสียงหัวเราะ แต่เรื่องตลกบางเรื่องก็อาจจะไม่ขำสำหรับคนต่างอาชีพกัน เพราะไม่มีความเข้าใจในลักษณะพิเศษ หรือความเชื่อ ความคิดของเพื่อนต่างอาชีพ เรื่องตลกหรือ Joke จึงถูกจำแนกออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มมักจะเข้าใจกันเอง เช่น ในกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์ เป็นต้น ผมเองเคยเล่าเรื่องตลกบางเรื่อง ปรากฏว่าผู้ฟังซึ่งอยู่คนละวงการไม่ขำเลย ในขณะที่ผมเองขำเสียจนเล่าได้ลำบาก
ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ ผมเห็นว่า ตลกคณิตศาสตร์ (Mathematical Joke) มีประโยชน์มาก เพราะมันสะท้อนถึงลักษณะสำคัญลึกๆ ของวิชาที่คนไม่มีวันลืม
เรื่องตลกคณิตศาสตร์ที่ผมจะนำมาเล่านี้ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องจำนำข้าวที่สร้างความเสียหายให้กับคนไทยคิดเป็นมูลค่า 6-7 แสนล้านบาท และเกี่ยวข้องกับเรื่องถ่านหินราคาถูกที่ท่านนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พูดถึงในกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ที่กำลังเป็นประเด็นของสังคมไทยอยู่ในขณะนี้
เริ่มเลยนะครับ
กาลครั้งหนึ่ง นักวิชาการซึ่งถูกกล่าวหาว่าอยู่แต่บนหอคอยงาช้าง จึงได้รวมตัวกัน 3 คนเพื่อออกไปหาชาวบ้าน ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย วิศวกร นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์
ชาวนาคนหนึ่งได้ขอคำปรึกษาต่อนักวิชาการกลุ่มนี้ว่า “ผมต้องการจะทำคอกวัว มีวัสดุที่จะใช้ทำคอกวัวยาว 100 เมตร ผมควรจะทำคอกวัวเป็นรูปทรงอะไรดีจึงจะสามารถขังวัวได้จำนวนมากที่สุด”
วิศวกรใช้เวลาครุ่นคิดอยู่เพียงแป๊บเดียวก็ได้คำตอบว่า “ต้องทำเป็นรูปวงกลมซิ จึงจะได้พื้นที่มากที่สุด” (หมายเหตุ ถ้าทำเป็นรูปวงกลมจะได้พื้นที่ 796 ตารางเมตรซึ่งมากที่สุด ในขณะที่ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะได้พื้นที่ 625 ตารางเมตรเท่านั้นความรู้ส่วนนี้อยู่ในหัวข้อว่าด้วยการหาค่าสูงสุดและต่ำสุดซึ่งใช้สอนกันในระดับชั้นปีที่หนึ่งของมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ พื้นที่ภาคตัดขวางของลำต้นของพืชจึงเป็นรูปวงกลม ไม่เป็นรูปเหลี่ยมเลย-เท่าที่เคยเห็น)
นักฟิสิกส์กล่าวเสริมว่า “ถ้าจะให้ดีกว่านี้ก็จงต้อนฝูงวัวให้ยืนกันแบบชิดๆแน่นๆ ด้วย ก็จะสามารถขังวัวได้มากขึ้น”
นักคณิตศาสตร์ก็กล่าวตบท้ายในเชิงขี้โม้ว่า “ผมมีวิธีการที่ดีกว่า ขังวัวได้มากกว่าและมากที่สุดด้วย คือโดยการเปลี่ยนนิยามใหม่”
“ทำอย่างไรนะครับ” ชาวนาถามด้วยความกระหายใคร่รู้
นักคณิตศาสตร์ผู้ถูกฝึกฝนมาว่าให้เริ่มต้นด้วยบทนิยาม แล้วตามด้วยทฤษฎีบท แล้วบทพิสูจน์ในที่สุดเขาขยายความว่า “เราก็เขียนนิยามใหม่โดยเรียกพื้นที่ที่อยู่ในคอกว่านอกวงกลมหรือนอกคอก และส่วนที่อยู่ข้างนอกคอกว่า ในวงกลมหรือในคอก เพียงเท่านี้คอกวัวของคุณก็จะสามารถขังวัวได้จำนวนมากมายมหาศาล”
ถ้ายังไม่ขำ กรุณาอ่านอีกครั้งครับ
คราวนี้มาถึงเรื่องของโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในราคาเกวียนละ 15,000 บาท ในขณะที่ราคาตลาดในขณะนั้นไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาทต่อเกวียน สาเหตุสำคัญที่โครงการรับจำนำข้าวนำไปสู่ความสูญเสียเงินรายได้ของรัฐจำนวนมหาศาลก็เนื่องมาจากการเปลี่ยนความหมายหรือนิยามของคำว่า “จำนำ” เสียใหม่ ในลักษณะเดียวกับที่นักคณิตศาสตร์ทำกับเรื่องคอกวัวของชาวนานั่นแหละครับ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำว่า “จำนำ” พร้อมยกตัวอย่างว่า “ทำสัญญาส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้”
พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ 2505 ได้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า “โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย” นอกจากนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้กำหนดให้เจ้าของโรงรับจำนำสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 2 ต่อเดือน
แต่โครงการ “จำนำ” ข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้ยกเลิกนิยามเดิมทิ้งไป แล้วสร้างนิยามใหม่ขึ้นมาแทน คือ (1) ไม่ต้องไถ่คืนในภายหลัง เพราะมูลค่าสังหาริมทรัพย์หรือมูลค่าข้าวที่นำไปเป็นหลักประกันนั้นมีค่าน้อยกว่าจำนวนเงินที่ชาวนาได้รับไปแล้ว และ (2) และไม่มีการคิดดอกเบี้ย
แล้วจะมีชาวนาเจ้าของข้าวสติไม่ดีที่ไหนจะมาไถ่เอาข้าวคืนไป ดังนั้นความหมายดั้งเดิมที่กำหนดในกฎหมายของคำว่า “จำนำ” จึงได้ถูกฉีกทิ้งไปเฉยเลย แล้วสร้างนิยามขึ้นมาใหม่
ข่าวล่าสุดที่ผมได้ยินจากโทรทัศน์ว่า ทางรัฐบาลชุดนี้กำลังจะเอาข้าวที่รับจำนำไว้ไปเผาทำเป็นเชื้อเพลิง เพราะนอกจากจะเป็นข้าวเสียใช้บริโภคไม่ได้แล้วยังต้องจ่ายค่าเช่าโกดังเก็บอีกเดือนละประมาณสองพันล้าน (ถ้าผมจำไม่ผิด)
ตลกคณิตศาสตร์ในเรื่องนี้ช่างเหมือนกับเรื่องโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปี๊ยบเลย ต่างกันเพียงแต่ว่าเรื่องหลังเป็นเรื่องจริงที่น่าเศร้าเท่านั้นเองคราวนี้มาถึงเรื่อง ถ่านหินราคาถูกในการนำมาผลิตไฟฟ้าที่ท่านนายกฯ ประยุทธ์พูดในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ก็เป็นเรื่องของการสร้างนิยามที่ไม่สอดคล้องกับหลักความจริงของระบบธรรมชาติ โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ก่อความสูญเสียต่องบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลในระดับ 6-7 แสนล้านบาทซึ่งเราคิดว่ามากมายมหาศาลแล้ว แต่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่จะสูญเสียมากกว่านั้นอีก ไม่เชื่อตามผมมาครับ ผมมีหลักฐานอ้างอิงครบถ้วน ไม่กล่าวอะไรลอยๆ
สาระสำคัญของเรื่องอยู่ตรงนี้ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนของโรงไฟฟ้าถ่านหินประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ต้นทุนภายใน (Internal Cost) คือต้นทุนที่บริษัทผลิตไฟฟ้าจะต้องจ่าย ซึ่งประกอบไปด้วย ค่าเชื้อเพลิงคือถ่านหิน ค่าดำเนินการรวมทั้งค่าสายส่งไฟฟ้า กับต้นทุนภายนอก (External Cost) ซึ่งหมายถึงต้นทุนผลกระทบเชิงลบต่อบุคคลภายนอก ตั้งแต่การทำเหมืองถ่านหิน การดำเนินการผลิตไฟฟ้า น้ำเสีย มลพิษทางอากาศ สารพิษจากขี้เถ้าถ่านหิน รวมถึงความเสียหายในระยะยาวต่อระบบนิเวศน์และการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศที่เป็นต้นเหตุสำคัญของภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ แผ่นดินไหว ปะการังฟอกขาวจนตายเกือบหมด ตลอดจนการระบาดของเชื้อโรคบางชนิด
แต่ที่ท่านนายกฯ ประยุทธ์บอกว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมีราคาถูกที่สุดนั้น ก็เป็นเพราะว่า ท่านคิดเฉพาะต้นทุนภายในซึ่งเป็นต้นทุนของบริษัทเท่านั้น แต่ท่านไม่คิดถึงต้นทุนภายนอกซึ่งชุมชนใกล้โรงไฟฟ้าและสังคมโดยรวมเป็นผู้จ่าย
ท่านนำนิยามของต้นทุนมาใช้ไม่ครบถ้วนซึ่งก็ไม่ต่างอะไรจากเรื่องตลกคณิตศาสตร์ที่ผมได้เล่ามาแล้ว แต่นั่นมันเป็นเรื่องเล็กๆ แต่คราวนี้มันมีมูลค่ามหาศาลและผลกระทบระยะยาวนานนับ 30-40 ปีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
เรามาดูกันซิว่าผลกระทบหรือต้นทุนภายนอกที่สังคมต้องแบกรับนั้นมีค่าเท่าใดกันแน่ จากรายงานการวิจัยโดย Epstein และคณะ (2011) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Annals of the New York Academy of Sciences ซึ่งเป็นวารสารทางวิชาการทางวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ (ก่อตั้งปี 1823) พบว่าต้นทุนภายนอกของโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ระหว่าง 9-27 เซ็นต์ ต่อหน่วยไฟฟ้า(kwh) โดยมีค่าเฉลี่ยมัธยฐานที่ 18 เซ็นต์ คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 6.16 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า
ถ้าโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ขนาด 800 เมกะวัตต์ (ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างที่จะประมูลในราคากลางประมาณ 5 หมื่นล้านบาท) จะมีต้นทุนภายนอกปีละ 28,000 ล้านบาท (ถ้าอยากรู้ทั้งโครงการก็คูณด้วยอายุการใช้งาน) รายละเอียดของต้นทุนภายนอกอยู่ในแผ่นสไลด์พร้อมกับแหล่งอ้างอิงครับ ซึ่งผู้วิจัยอ้างว่าเป็นการประเมินที่ค่อนข้างต่ำ
เรื่องราวที่ได้กล่าวมาแล้วไม่มีอะไรมากไปกว่าการหลอกลวงกันทางปัญญา คือการเปลี่ยนนิยามหรือความหมายเพื่อให้คนหลงเชื่อตามว่า ถ่านหินราคาถูก แต่ในความเป็นจริงแล้วหาได้ถูกจริงไม่ แต่กลับแพงกว่าการผลิตจากเชื้อเพลิงชนิดอื่น วัตถุประสงค์ของการหลอกลวงก็เพื่อต้องการจะขายถ่านหินที่พ่อค้ามีสำรองไว้เป็นจำนวนมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์อนุญาตให้ใช้ได้ถึง 5 เท่าตัวเท่านั้นเอง
ผมเคยเปรียบเทียบการหลอกลวงเรื่องถ่านหินซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน ยากที่คนที่ไม่ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดจะรู้ทันกับการนับจำนวนขาช้างจากภาพลวงตาข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ซับซ้อน แต่เราก็นับผิดกันเพราะเขาหลอกเรา
เรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่กำลังได้รับการคัดค้านจากคนกระบี่และคนใน 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน แต่กระทรวงพลังงานและกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ไม่สนใจ จนนำไปสู่การอดอาหารประท้วงนานกว่า 7 วันติดต่อกันแล้ว
ข้อเรียกร้องของพวกเขาง่ายๆ คือ ไม่ได้คัดค้านโรงไฟฟ้า แต่คัดค้านเชื้อเพลิงถ่านหินเพราะ (1) จะทำลายการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้ที่มากที่สุดของประเทศ และ (2) ทำลายสุขภาพและวิถีชีวิตรวมทั้งอาชีพของพวกเขา
พวกเขาซึ่งประกอบด้วยทุกภาคส่วน ทั้งอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และอื่นๆ เสนอให้ใช้ของเสียจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มซึ่งข้อมูลจากราชการเองก็ยืนยันว่ามีมากเหลือเฟือ แต่กระทรวงพลังงานก็ไม่รับฟัง กลับฉวยโอกาสใช้อำนาจพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติผลักดัน
ท่านนายกฯ ประยุทธ์เองแม้จะเข้ามาด้วยเหตุผลเพราะการยับยั้งไม่ให้คนถูกฆ่ารายวัน ท่านอาจจะไม่มีเวลามากพอที่จะครุ่นคิดในเรื่องที่ซับซ้อน แต่ขณะนี้ท่านอาจจะยังไม่รู้ตัวเองว่ากำลังถูกพ่อค้าถ่านหินใช้เป็นเครื่องมือซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อประเทศและต่อโลกไปอีกยาวนาน
คำถามที่ชาวบ้านถามว่า ทำไมไม่ใช้ของเสียจากโรงหีบน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นไบโอแก๊ส สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องทั้งกลางวันและกลางคืนทุกฤดูกาลและมีจำนวนเยอะด้วย ไม่มีคำตอบจากภาครัฐครับ
ท่านอาจจะคิดว่าไบโอแก๊สเป็นเรื่องจิ๊บๆ แต่ข้อมูลจากประเทศเยอรมนีในปี 2557 เขาสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 49,100 ล้านหน่วย หรือเกือบ 1 ใน 3 ของปริมาณไฟฟ้าที่คนไทยทั้งประเทศใช้
นี่ยังไม่นับจากแสงแดดอีก 34,930 ล้านหน่วยถ้าไม่เชื่อก็ลองเข้าไปดูที่ http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php
อีกเรื่องหนึ่งที่ทางหน่วยงานของรัฐอ้างว่า โรงไฟฟ้าในภาคใต้ไม่พอ นั่นเป็นการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่นไม่นับระบบสายส่งจากภาคกลางซึ่งเป็นการลงทุนตามแผนแล้ว ไม่นับความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียที่น่าเกลียดกว่านั้น ในการชี้แจงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ประมาณเดือนพฤษภาคมนี้) เขาไม่นับโรงไฟฟ้าจะนะ 2 ซึ่งเปิดใช้งานแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557
ท่านที่สนใจในรายละเอียดกรุณาดูในแผ่นภาพนะครับ ถ้าการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในภาคใต้เท่ากับ 2,683 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าสำรองในภาคใต้จะอยู่ที่ 52%
เมื่อปี 2545 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยกล่าวว่า “ขณะนี้เรามีโรงไฟฟ้าสำรองสูงเกินไปคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านบาท เพราะการคำนวณที่ผิดพลาด จึงเป็นภาระกับประชาชน”
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติท่านหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า ในกรรมาธิการพลังงานมีการเสนอให้นำไฟฟ้าจากประเทศไทยไปขายให้ประเทศอินเดีย เพราะเรามีสำรองล้นเกินซึ่งจะเกินมากในอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้า แต่ความคิดนี้ก็ตกไปเพราะต้องใช้เวลาและทุนในการเตรียมสายส่ง
ทำไมเราจึงผิดแล้วผิดอีกโดยไม่มีการทบทวนหรือที่หลอกๆ กันว่า “ปฏิรูป” อะไรเลย?
ผมค่อนข้างจะแปลกใจมากว่า ทำไมสังคมไทยจึงไม่เชื่อมโยงระหว่างปัญหาภัยแล้งรุนแรงที่เรากำลังเผชิญอยู่กับปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่สุดของปัญหาโลกร้อนและนำมาสู่ปัญหาภัยแล้ง
เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา องค์พระสันตะปาปาฟรานซิสได้ทรงเรียกร้องให้ชาวโลกแก้ปัญหาโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งก็คือการลดการเผาพลังงานฟอสซิลนั่นเอง
ในวันถัดมาองค์ดาไล ลามะก็ออกมาตอกย้ำด้วยกล่าวว่า “ผู้นำทางศาสนาทั้งหลายมีหน้าที่ในการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ”
ผมขอปิดท้ายบทความนี้ด้วยการนำเสนอทางออกในการจัดการพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกา จากรายงานล่าสุดของ Energy Information Administration สรุปได้ดังนี้ในช่วงเมษายน 2014 ถึงเมษายน 2015
(1) การผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินลดลง 20% และไม่มีแผนจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเลยอย่างน้อยจนถึงปี 2016
(2) การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้น 60%
นอกจากนี้จากเอกสารของหน่วยงานการตรวจสอบของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา Government Accountability Office พบว่าในช่วงประมาณ 15 ปีมานี้ การใช้ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาลดลง (ประเทศเยอรมนีก็เป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ)
ในปี 2001 สหรัฐอเมริกาใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าร้อยละ 51 แต่ในปี 2013 ได้ลดลงมาเหลือเพียง 40% เท่านั้น
ขอแถมอีกนิดครับ สั้นๆ เมื่อคืนผมไปงานสังสรรค์ศิษย์เก่า เพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นรองศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ทางเคมี ได้บอกผมว่า การเผาปิโตรเลียมจะทำให้น้ำท่วมโลก ไม่ใช่แค่เรื่องน้ำแข็งละลายเท่านั้น
ผมถามด้วยความตื่นเต้นว่า “ยังไง? เขียนสมการให้ดูซิ” แม้ผมจะได้เกรดเอในวิชาเคมี แต่ผมก็ลืมไปเกือบหมดแล้วเพื่อนเขียนให้ผมดู แล้วบอกว่ายังไม่มีใครคิดเรื่องนี้ ชาวโลกใช้ปิโตรเลียมวันละกว่า 100 ล้านบาร์เรล สมการที่ว่าคือ “มีเทนบวกออกซิเจน (เพราะการเผาไหม้) จะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับสองโมเลกุลของน้ำ”
ผมได้แต่ร้องว่า “เออ เป็นไปได้โว้ย!”
ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ ผมเห็นว่า ตลกคณิตศาสตร์ (Mathematical Joke) มีประโยชน์มาก เพราะมันสะท้อนถึงลักษณะสำคัญลึกๆ ของวิชาที่คนไม่มีวันลืม
เรื่องตลกคณิตศาสตร์ที่ผมจะนำมาเล่านี้ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องจำนำข้าวที่สร้างความเสียหายให้กับคนไทยคิดเป็นมูลค่า 6-7 แสนล้านบาท และเกี่ยวข้องกับเรื่องถ่านหินราคาถูกที่ท่านนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พูดถึงในกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ที่กำลังเป็นประเด็นของสังคมไทยอยู่ในขณะนี้
เริ่มเลยนะครับ
กาลครั้งหนึ่ง นักวิชาการซึ่งถูกกล่าวหาว่าอยู่แต่บนหอคอยงาช้าง จึงได้รวมตัวกัน 3 คนเพื่อออกไปหาชาวบ้าน ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย วิศวกร นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์
ชาวนาคนหนึ่งได้ขอคำปรึกษาต่อนักวิชาการกลุ่มนี้ว่า “ผมต้องการจะทำคอกวัว มีวัสดุที่จะใช้ทำคอกวัวยาว 100 เมตร ผมควรจะทำคอกวัวเป็นรูปทรงอะไรดีจึงจะสามารถขังวัวได้จำนวนมากที่สุด”
วิศวกรใช้เวลาครุ่นคิดอยู่เพียงแป๊บเดียวก็ได้คำตอบว่า “ต้องทำเป็นรูปวงกลมซิ จึงจะได้พื้นที่มากที่สุด” (หมายเหตุ ถ้าทำเป็นรูปวงกลมจะได้พื้นที่ 796 ตารางเมตรซึ่งมากที่สุด ในขณะที่ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะได้พื้นที่ 625 ตารางเมตรเท่านั้นความรู้ส่วนนี้อยู่ในหัวข้อว่าด้วยการหาค่าสูงสุดและต่ำสุดซึ่งใช้สอนกันในระดับชั้นปีที่หนึ่งของมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ พื้นที่ภาคตัดขวางของลำต้นของพืชจึงเป็นรูปวงกลม ไม่เป็นรูปเหลี่ยมเลย-เท่าที่เคยเห็น)
นักฟิสิกส์กล่าวเสริมว่า “ถ้าจะให้ดีกว่านี้ก็จงต้อนฝูงวัวให้ยืนกันแบบชิดๆแน่นๆ ด้วย ก็จะสามารถขังวัวได้มากขึ้น”
นักคณิตศาสตร์ก็กล่าวตบท้ายในเชิงขี้โม้ว่า “ผมมีวิธีการที่ดีกว่า ขังวัวได้มากกว่าและมากที่สุดด้วย คือโดยการเปลี่ยนนิยามใหม่”
“ทำอย่างไรนะครับ” ชาวนาถามด้วยความกระหายใคร่รู้
นักคณิตศาสตร์ผู้ถูกฝึกฝนมาว่าให้เริ่มต้นด้วยบทนิยาม แล้วตามด้วยทฤษฎีบท แล้วบทพิสูจน์ในที่สุดเขาขยายความว่า “เราก็เขียนนิยามใหม่โดยเรียกพื้นที่ที่อยู่ในคอกว่านอกวงกลมหรือนอกคอก และส่วนที่อยู่ข้างนอกคอกว่า ในวงกลมหรือในคอก เพียงเท่านี้คอกวัวของคุณก็จะสามารถขังวัวได้จำนวนมากมายมหาศาล”
ถ้ายังไม่ขำ กรุณาอ่านอีกครั้งครับ
คราวนี้มาถึงเรื่องของโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในราคาเกวียนละ 15,000 บาท ในขณะที่ราคาตลาดในขณะนั้นไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาทต่อเกวียน สาเหตุสำคัญที่โครงการรับจำนำข้าวนำไปสู่ความสูญเสียเงินรายได้ของรัฐจำนวนมหาศาลก็เนื่องมาจากการเปลี่ยนความหมายหรือนิยามของคำว่า “จำนำ” เสียใหม่ ในลักษณะเดียวกับที่นักคณิตศาสตร์ทำกับเรื่องคอกวัวของชาวนานั่นแหละครับ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำว่า “จำนำ” พร้อมยกตัวอย่างว่า “ทำสัญญาส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้”
พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ 2505 ได้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า “โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย” นอกจากนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้กำหนดให้เจ้าของโรงรับจำนำสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 2 ต่อเดือน
แต่โครงการ “จำนำ” ข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้ยกเลิกนิยามเดิมทิ้งไป แล้วสร้างนิยามใหม่ขึ้นมาแทน คือ (1) ไม่ต้องไถ่คืนในภายหลัง เพราะมูลค่าสังหาริมทรัพย์หรือมูลค่าข้าวที่นำไปเป็นหลักประกันนั้นมีค่าน้อยกว่าจำนวนเงินที่ชาวนาได้รับไปแล้ว และ (2) และไม่มีการคิดดอกเบี้ย
แล้วจะมีชาวนาเจ้าของข้าวสติไม่ดีที่ไหนจะมาไถ่เอาข้าวคืนไป ดังนั้นความหมายดั้งเดิมที่กำหนดในกฎหมายของคำว่า “จำนำ” จึงได้ถูกฉีกทิ้งไปเฉยเลย แล้วสร้างนิยามขึ้นมาใหม่
ข่าวล่าสุดที่ผมได้ยินจากโทรทัศน์ว่า ทางรัฐบาลชุดนี้กำลังจะเอาข้าวที่รับจำนำไว้ไปเผาทำเป็นเชื้อเพลิง เพราะนอกจากจะเป็นข้าวเสียใช้บริโภคไม่ได้แล้วยังต้องจ่ายค่าเช่าโกดังเก็บอีกเดือนละประมาณสองพันล้าน (ถ้าผมจำไม่ผิด)
ตลกคณิตศาสตร์ในเรื่องนี้ช่างเหมือนกับเรื่องโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปี๊ยบเลย ต่างกันเพียงแต่ว่าเรื่องหลังเป็นเรื่องจริงที่น่าเศร้าเท่านั้นเองคราวนี้มาถึงเรื่อง ถ่านหินราคาถูกในการนำมาผลิตไฟฟ้าที่ท่านนายกฯ ประยุทธ์พูดในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ก็เป็นเรื่องของการสร้างนิยามที่ไม่สอดคล้องกับหลักความจริงของระบบธรรมชาติ โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ก่อความสูญเสียต่องบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลในระดับ 6-7 แสนล้านบาทซึ่งเราคิดว่ามากมายมหาศาลแล้ว แต่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่จะสูญเสียมากกว่านั้นอีก ไม่เชื่อตามผมมาครับ ผมมีหลักฐานอ้างอิงครบถ้วน ไม่กล่าวอะไรลอยๆ
สาระสำคัญของเรื่องอยู่ตรงนี้ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนของโรงไฟฟ้าถ่านหินประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ต้นทุนภายใน (Internal Cost) คือต้นทุนที่บริษัทผลิตไฟฟ้าจะต้องจ่าย ซึ่งประกอบไปด้วย ค่าเชื้อเพลิงคือถ่านหิน ค่าดำเนินการรวมทั้งค่าสายส่งไฟฟ้า กับต้นทุนภายนอก (External Cost) ซึ่งหมายถึงต้นทุนผลกระทบเชิงลบต่อบุคคลภายนอก ตั้งแต่การทำเหมืองถ่านหิน การดำเนินการผลิตไฟฟ้า น้ำเสีย มลพิษทางอากาศ สารพิษจากขี้เถ้าถ่านหิน รวมถึงความเสียหายในระยะยาวต่อระบบนิเวศน์และการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศที่เป็นต้นเหตุสำคัญของภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ แผ่นดินไหว ปะการังฟอกขาวจนตายเกือบหมด ตลอดจนการระบาดของเชื้อโรคบางชนิด
แต่ที่ท่านนายกฯ ประยุทธ์บอกว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมีราคาถูกที่สุดนั้น ก็เป็นเพราะว่า ท่านคิดเฉพาะต้นทุนภายในซึ่งเป็นต้นทุนของบริษัทเท่านั้น แต่ท่านไม่คิดถึงต้นทุนภายนอกซึ่งชุมชนใกล้โรงไฟฟ้าและสังคมโดยรวมเป็นผู้จ่าย
ท่านนำนิยามของต้นทุนมาใช้ไม่ครบถ้วนซึ่งก็ไม่ต่างอะไรจากเรื่องตลกคณิตศาสตร์ที่ผมได้เล่ามาแล้ว แต่นั่นมันเป็นเรื่องเล็กๆ แต่คราวนี้มันมีมูลค่ามหาศาลและผลกระทบระยะยาวนานนับ 30-40 ปีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
เรามาดูกันซิว่าผลกระทบหรือต้นทุนภายนอกที่สังคมต้องแบกรับนั้นมีค่าเท่าใดกันแน่ จากรายงานการวิจัยโดย Epstein และคณะ (2011) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Annals of the New York Academy of Sciences ซึ่งเป็นวารสารทางวิชาการทางวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ (ก่อตั้งปี 1823) พบว่าต้นทุนภายนอกของโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ระหว่าง 9-27 เซ็นต์ ต่อหน่วยไฟฟ้า(kwh) โดยมีค่าเฉลี่ยมัธยฐานที่ 18 เซ็นต์ คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 6.16 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า
ถ้าโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ขนาด 800 เมกะวัตต์ (ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างที่จะประมูลในราคากลางประมาณ 5 หมื่นล้านบาท) จะมีต้นทุนภายนอกปีละ 28,000 ล้านบาท (ถ้าอยากรู้ทั้งโครงการก็คูณด้วยอายุการใช้งาน) รายละเอียดของต้นทุนภายนอกอยู่ในแผ่นสไลด์พร้อมกับแหล่งอ้างอิงครับ ซึ่งผู้วิจัยอ้างว่าเป็นการประเมินที่ค่อนข้างต่ำ
เรื่องราวที่ได้กล่าวมาแล้วไม่มีอะไรมากไปกว่าการหลอกลวงกันทางปัญญา คือการเปลี่ยนนิยามหรือความหมายเพื่อให้คนหลงเชื่อตามว่า ถ่านหินราคาถูก แต่ในความเป็นจริงแล้วหาได้ถูกจริงไม่ แต่กลับแพงกว่าการผลิตจากเชื้อเพลิงชนิดอื่น วัตถุประสงค์ของการหลอกลวงก็เพื่อต้องการจะขายถ่านหินที่พ่อค้ามีสำรองไว้เป็นจำนวนมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์อนุญาตให้ใช้ได้ถึง 5 เท่าตัวเท่านั้นเอง
ผมเคยเปรียบเทียบการหลอกลวงเรื่องถ่านหินซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน ยากที่คนที่ไม่ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดจะรู้ทันกับการนับจำนวนขาช้างจากภาพลวงตาข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ซับซ้อน แต่เราก็นับผิดกันเพราะเขาหลอกเรา
เรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่กำลังได้รับการคัดค้านจากคนกระบี่และคนใน 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน แต่กระทรวงพลังงานและกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ไม่สนใจ จนนำไปสู่การอดอาหารประท้วงนานกว่า 7 วันติดต่อกันแล้ว
ข้อเรียกร้องของพวกเขาง่ายๆ คือ ไม่ได้คัดค้านโรงไฟฟ้า แต่คัดค้านเชื้อเพลิงถ่านหินเพราะ (1) จะทำลายการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้ที่มากที่สุดของประเทศ และ (2) ทำลายสุขภาพและวิถีชีวิตรวมทั้งอาชีพของพวกเขา
พวกเขาซึ่งประกอบด้วยทุกภาคส่วน ทั้งอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และอื่นๆ เสนอให้ใช้ของเสียจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มซึ่งข้อมูลจากราชการเองก็ยืนยันว่ามีมากเหลือเฟือ แต่กระทรวงพลังงานก็ไม่รับฟัง กลับฉวยโอกาสใช้อำนาจพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติผลักดัน
ท่านนายกฯ ประยุทธ์เองแม้จะเข้ามาด้วยเหตุผลเพราะการยับยั้งไม่ให้คนถูกฆ่ารายวัน ท่านอาจจะไม่มีเวลามากพอที่จะครุ่นคิดในเรื่องที่ซับซ้อน แต่ขณะนี้ท่านอาจจะยังไม่รู้ตัวเองว่ากำลังถูกพ่อค้าถ่านหินใช้เป็นเครื่องมือซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อประเทศและต่อโลกไปอีกยาวนาน
คำถามที่ชาวบ้านถามว่า ทำไมไม่ใช้ของเสียจากโรงหีบน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นไบโอแก๊ส สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องทั้งกลางวันและกลางคืนทุกฤดูกาลและมีจำนวนเยอะด้วย ไม่มีคำตอบจากภาครัฐครับ
ท่านอาจจะคิดว่าไบโอแก๊สเป็นเรื่องจิ๊บๆ แต่ข้อมูลจากประเทศเยอรมนีในปี 2557 เขาสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 49,100 ล้านหน่วย หรือเกือบ 1 ใน 3 ของปริมาณไฟฟ้าที่คนไทยทั้งประเทศใช้
นี่ยังไม่นับจากแสงแดดอีก 34,930 ล้านหน่วยถ้าไม่เชื่อก็ลองเข้าไปดูที่ http://www.volker-quaschning.de/datserv/ren-Strom-D/index_e.php
อีกเรื่องหนึ่งที่ทางหน่วยงานของรัฐอ้างว่า โรงไฟฟ้าในภาคใต้ไม่พอ นั่นเป็นการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่นไม่นับระบบสายส่งจากภาคกลางซึ่งเป็นการลงทุนตามแผนแล้ว ไม่นับความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียที่น่าเกลียดกว่านั้น ในการชี้แจงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ประมาณเดือนพฤษภาคมนี้) เขาไม่นับโรงไฟฟ้าจะนะ 2 ซึ่งเปิดใช้งานแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557
ท่านที่สนใจในรายละเอียดกรุณาดูในแผ่นภาพนะครับ ถ้าการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในภาคใต้เท่ากับ 2,683 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าสำรองในภาคใต้จะอยู่ที่ 52%
เมื่อปี 2545 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยกล่าวว่า “ขณะนี้เรามีโรงไฟฟ้าสำรองสูงเกินไปคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านบาท เพราะการคำนวณที่ผิดพลาด จึงเป็นภาระกับประชาชน”
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติท่านหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า ในกรรมาธิการพลังงานมีการเสนอให้นำไฟฟ้าจากประเทศไทยไปขายให้ประเทศอินเดีย เพราะเรามีสำรองล้นเกินซึ่งจะเกินมากในอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้า แต่ความคิดนี้ก็ตกไปเพราะต้องใช้เวลาและทุนในการเตรียมสายส่ง
ทำไมเราจึงผิดแล้วผิดอีกโดยไม่มีการทบทวนหรือที่หลอกๆ กันว่า “ปฏิรูป” อะไรเลย?
ผมค่อนข้างจะแปลกใจมากว่า ทำไมสังคมไทยจึงไม่เชื่อมโยงระหว่างปัญหาภัยแล้งรุนแรงที่เรากำลังเผชิญอยู่กับปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่สุดของปัญหาโลกร้อนและนำมาสู่ปัญหาภัยแล้ง
เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา องค์พระสันตะปาปาฟรานซิสได้ทรงเรียกร้องให้ชาวโลกแก้ปัญหาโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งก็คือการลดการเผาพลังงานฟอสซิลนั่นเอง
ในวันถัดมาองค์ดาไล ลามะก็ออกมาตอกย้ำด้วยกล่าวว่า “ผู้นำทางศาสนาทั้งหลายมีหน้าที่ในการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ”
ผมขอปิดท้ายบทความนี้ด้วยการนำเสนอทางออกในการจัดการพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกา จากรายงานล่าสุดของ Energy Information Administration สรุปได้ดังนี้ในช่วงเมษายน 2014 ถึงเมษายน 2015
(1) การผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินลดลง 20% และไม่มีแผนจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเลยอย่างน้อยจนถึงปี 2016
(2) การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้น 60%
นอกจากนี้จากเอกสารของหน่วยงานการตรวจสอบของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา Government Accountability Office พบว่าในช่วงประมาณ 15 ปีมานี้ การใช้ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาลดลง (ประเทศเยอรมนีก็เป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ)
ในปี 2001 สหรัฐอเมริกาใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าร้อยละ 51 แต่ในปี 2013 ได้ลดลงมาเหลือเพียง 40% เท่านั้น
ขอแถมอีกนิดครับ สั้นๆ เมื่อคืนผมไปงานสังสรรค์ศิษย์เก่า เพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นรองศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ทางเคมี ได้บอกผมว่า การเผาปิโตรเลียมจะทำให้น้ำท่วมโลก ไม่ใช่แค่เรื่องน้ำแข็งละลายเท่านั้น
ผมถามด้วยความตื่นเต้นว่า “ยังไง? เขียนสมการให้ดูซิ” แม้ผมจะได้เกรดเอในวิชาเคมี แต่ผมก็ลืมไปเกือบหมดแล้วเพื่อนเขียนให้ผมดู แล้วบอกว่ายังไม่มีใครคิดเรื่องนี้ ชาวโลกใช้ปิโตรเลียมวันละกว่า 100 ล้านบาร์เรล สมการที่ว่าคือ “มีเทนบวกออกซิเจน (เพราะการเผาไหม้) จะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับสองโมเลกุลของน้ำ”
ผมได้แต่ร้องว่า “เออ เป็นไปได้โว้ย!”