ASTVผู้จัดการรายวัน-กรมทางหลวงเร่งเครื่องมอเตอร์เวย์ 3 สาย ดีเดย์ ส.ค.นี้ประกาศทีโออาร์ สายพัทยา-มาบตาพุด 2.02 หมื่นล.ประมูลอี-บิดดิ้ง นำร่อง ตั้งเป้าตอกเข็มในต.ค.58 ส่วนบางปะอิน-โคราชและบางใหญ่-กาญจนบุรี คาดขายซองต้นปี 59 คาดคลังออกพันธบัตรระดมเงินค่าก่อสร้าง ด้านกรมทางหลวงชนบท ล้อมคอกปัญหาถนนทรุดเตรียมประกาศลดน้ำหนักบรรทุกปลายก.ค.นี้ บนถนนคันคลองชลประทาน 56 สาย พร้อมของบรัฐซ่อมถนนเสี่ยง 850 ล้านบาท
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 3 เส้นทางคือ สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กม. วงเงิน 20,200 ล้านบาท สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 84,600 ล้านบาทและ .สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงิน 55,620ล้านบาท หลังจากนี้กรมทางหลวง (ทล.) จะเร่งกระบวนออกประกาศร่างทีโออาร์จัดซื้อจัดจ้างสายแรกคือ พัทยา-มาบตาพุด เนื่องจากมีความพร้อมด้านค่าก่อสร้างซึ่งจะใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ ส่วนสายสายบางปะอิน-นครราชสีมาและ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณาจัดหาเงินลงทุนภายในประเทศซึ่งอาจจะเป็นการออกพันธบัตรเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการ แต่หากไม่ กู้เงินภายในประเทศ
ด้านนายชูศักดิ์ เกวี อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ขณะนี้กำลังตรวจสอบรายละเอียดแบบในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งแบ่งการก่อสร้างเป็น 13 สัญญามูลค่าสัญญาละประมาณ 800-900 ล้านบาทคาดว่าจะประกาศร่างทีโออาร์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-บิดดิ้ง (Electronic Bidding : e – bidding) มอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด ภายในเดือน ส.ค.2558 นี้โดยจะทยอยประกาศทีโออาร์เป็นชุดๆ ละ 3-4 ตอนครบทั้ง 13 สัญญา ในเดือนก.ย. 2558และเริ่มการก่อสร้างได้ในเดือนต.ค. 2558 ส่วนงานระบบอีก 1 สัญญานั้น จะประกวดราคาหลังจากนั้น ส่วนการประกวดราคา สายบางใหญ่- กาญจนบุรี และ สายบางปะอิน-นครราชสีมา การออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาแบ่งจำนวนสัญญาก่อสร้าง โดยมูลค่าสัญญาละประมาณ 1,500-2,000
ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะประกาศร่างทีโออาร์ได้ต้นปี 2559
ทั้งนี้ ในการจัดเก็บค่าผ่านทางนั้น สายพัทยา-มาบตาพุด กรมทางหลวงจะดำเนินการเองเนื่องจากมีความพร้อมบุคลากรอยู่แล้ว ส่วนสายบางใหญ่- กาญจนบุรี และ สายบางปะอิน-นครราชสีมานั้นมีแนวคิดในการว่าจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการจัดเก็บค่าผ่านทางให้บริการและซ่อมบำรุง เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยรายได้จากค่าผ่านทางจะนำส่งเข้ากองทุนมอเตอร์เวย์ ซึ่งปัจจุบันมีเงินสะสมประมาณ 14,000-15,000 ล้านบาท โดยมีรายได้จากค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์สาย สาย7(กรุงเทพฯ-ชลบุรี) และ มอเตอร์เวย์สาย 9 (วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันออก ช่วงบางพลี – บางปะอิน) ประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาทต่อปีมีรายจ่ายประมาณ 3,000 ล้านบาท
โดยวานนี้ (16 ก.ค.) นายอาคม ได้เป็นประธานเปิดตัว ระบบเก็บเงินค่าผ่านทางอัตโนมัติด้วยบัตร M -Pass ซึ่งจะให้บริการบน มอเตอร์เวย์สาย 7 และ สาย 9 ตั้งแต่ วันที่ 31 ก.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 00.01น.เป็นต้นไปเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการและแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บเงินได้โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาวที่มีปริมาณรถสูงถึง 8,000คัน/ชั่วโมง แต่ด่านเก็บเงินสามารถระบายรถได้เฉลี่ยเพียง400คัน /ชั่วโมง แต่หากมีการนำระบบเก็บเงินอัตโนมัติด้วยบัตรM -Passมาใช้จะสามารถระบายรถได้ถึง 800คัน/ชั่วโมง โดยร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยซึ่งเปิดรับสมัคร ผ่านช่องทางของธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค.ถึงวันที่ 16 ก.ค.มีสมาชิกแล้ว 4,000 ใบ โดยผู้ใช้บัตรต้องเติมเงินขั้นต่ำที่ 1,000 บาท โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ซึ่งได้สำรองบัตรไว้รองรับขั้นแรก 60,000 ใบ ซึ่งปริมาณจราจรบนมอเตอร์เวย์ 2 สาย มีประมาณ 5.6 แสนคันต่อวัน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 3 เส้นทางคือ สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กม. วงเงิน 20,200 ล้านบาท สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 84,600 ล้านบาทและ .สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงิน 55,620ล้านบาท หลังจากนี้กรมทางหลวง (ทล.) จะเร่งกระบวนออกประกาศร่างทีโออาร์จัดซื้อจัดจ้างสายแรกคือ พัทยา-มาบตาพุด เนื่องจากมีความพร้อมด้านค่าก่อสร้างซึ่งจะใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ ส่วนสายสายบางปะอิน-นครราชสีมาและ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณาจัดหาเงินลงทุนภายในประเทศซึ่งอาจจะเป็นการออกพันธบัตรเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการ แต่หากไม่ กู้เงินภายในประเทศ
ด้านนายชูศักดิ์ เกวี อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ขณะนี้กำลังตรวจสอบรายละเอียดแบบในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งแบ่งการก่อสร้างเป็น 13 สัญญามูลค่าสัญญาละประมาณ 800-900 ล้านบาทคาดว่าจะประกาศร่างทีโออาร์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-บิดดิ้ง (Electronic Bidding : e – bidding) มอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด ภายในเดือน ส.ค.2558 นี้โดยจะทยอยประกาศทีโออาร์เป็นชุดๆ ละ 3-4 ตอนครบทั้ง 13 สัญญา ในเดือนก.ย. 2558และเริ่มการก่อสร้างได้ในเดือนต.ค. 2558 ส่วนงานระบบอีก 1 สัญญานั้น จะประกวดราคาหลังจากนั้น ส่วนการประกวดราคา สายบางใหญ่- กาญจนบุรี และ สายบางปะอิน-นครราชสีมา การออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาแบ่งจำนวนสัญญาก่อสร้าง โดยมูลค่าสัญญาละประมาณ 1,500-2,000
ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะประกาศร่างทีโออาร์ได้ต้นปี 2559
ทั้งนี้ ในการจัดเก็บค่าผ่านทางนั้น สายพัทยา-มาบตาพุด กรมทางหลวงจะดำเนินการเองเนื่องจากมีความพร้อมบุคลากรอยู่แล้ว ส่วนสายบางใหญ่- กาญจนบุรี และ สายบางปะอิน-นครราชสีมานั้นมีแนวคิดในการว่าจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการจัดเก็บค่าผ่านทางให้บริการและซ่อมบำรุง เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยรายได้จากค่าผ่านทางจะนำส่งเข้ากองทุนมอเตอร์เวย์ ซึ่งปัจจุบันมีเงินสะสมประมาณ 14,000-15,000 ล้านบาท โดยมีรายได้จากค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์สาย สาย7(กรุงเทพฯ-ชลบุรี) และ มอเตอร์เวย์สาย 9 (วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันออก ช่วงบางพลี – บางปะอิน) ประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาทต่อปีมีรายจ่ายประมาณ 3,000 ล้านบาท
โดยวานนี้ (16 ก.ค.) นายอาคม ได้เป็นประธานเปิดตัว ระบบเก็บเงินค่าผ่านทางอัตโนมัติด้วยบัตร M -Pass ซึ่งจะให้บริการบน มอเตอร์เวย์สาย 7 และ สาย 9 ตั้งแต่ วันที่ 31 ก.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 00.01น.เป็นต้นไปเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการและแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บเงินได้โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือวันหยุดยาวที่มีปริมาณรถสูงถึง 8,000คัน/ชั่วโมง แต่ด่านเก็บเงินสามารถระบายรถได้เฉลี่ยเพียง400คัน /ชั่วโมง แต่หากมีการนำระบบเก็บเงินอัตโนมัติด้วยบัตรM -Passมาใช้จะสามารถระบายรถได้ถึง 800คัน/ชั่วโมง โดยร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยซึ่งเปิดรับสมัคร ผ่านช่องทางของธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค.ถึงวันที่ 16 ก.ค.มีสมาชิกแล้ว 4,000 ใบ โดยผู้ใช้บัตรต้องเติมเงินขั้นต่ำที่ 1,000 บาท โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ซึ่งได้สำรองบัตรไว้รองรับขั้นแรก 60,000 ใบ ซึ่งปริมาณจราจรบนมอเตอร์เวย์ 2 สาย มีประมาณ 5.6 แสนคันต่อวัน