"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ความเคลื่อนไหวทางการเมือง" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 10 ก.ค.58 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,257 ตัวอย่าง เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนทั่วไป ที่ควรจะเป็นในสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.65 ระบุว่า ควรอยู่เฉยๆ เฝ้าติดตามการทำงานของรัฐบาล และคสช.อย่างเดียว เพราะไม่ต้องการเห็นบ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ไม่ควรสร้างความแตกแยก การปฏิรูปต้องใช้เวลา ควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานไปก่อน สิ่งที่รัฐบาล และ คสช.ทำอยู่ก็ดีอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 13.45 ระบุว่า ควรออกมาสนับสนุนรัฐบาล และ คสช.เพราะเห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาล ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการชื่นชม และให้กำลังใจรัฐบาล ต้องการเห็นประชาธิปไตยที่ไม่มีการทุจริต โดยรวมรัฐบาลบริหารประเทศถือว่าเป็นที่น่าพอใจ ควรให้การสนับสนุนการทำงานต่อไป ร้อยละ 6.28 ระบุว่า ควรออกมาต่อต้านรัฐบาล และ คสช. เพราะไม่ชอบระบบการทำงานของรัฐบาล ถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นมากเกินไป การทำรัฐประหารโดย คสช. ส่งผลต่อเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ ร้อยละ 1.03 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ควรออกมาแสดงความคิดเห็นตามผลงานของรัฐบาล ในรูปแบบการจัดเสวนาทางวิชาการ การสัมมนา เป็นต้น โดยแสดงออกอย่างเป็นกลางภายใต้ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และไม่ขัดต่อกฎหมาย และ ร้อยละ 1.59 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนักศึกษา นักวิชาการ องค์กรทางสังคมและการเมือง และพรรคการเมืองที่ควรจะเป็น ในสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.34 ระบุว่า ควรอยู่เฉยๆ เฝ้าติดตามการทำงานของรัฐบาล และ คสช.อย่างเดียว เพราะควรให้โอกาสรัฐบาลได้ทำตามแผนที่วางไว้ ไม่ต้องการเห็นกลุ่มคนต่างๆ ออกมาแทรกแซงหรือเข้ามาวุ่นวาย สร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศชาติอีก ซึ่งขัดกับหลักความปรองดองและการปฏิรูปประเทศ ซ้ำยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกด้วย รองลงมา ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ควรออกมาสนับสนุนรัฐบาล และ คสช.เพราะเป็นการชี้แนะถึงแนวทางในการทำงานและการแก้ไขปัญหาของประเทศ ซึ่งจะสามารถช่วย
ให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ไปได้ และขณะนี้รัฐบาลก็ทำงานอย่างเต็มที่ในการปฏิรูปประเทศ ร้อยละ 8.59 ระบุว่า ควรออกมาต่อต้านรัฐบาล และ คสช.เพราะต้องการเห็นความคิดเห็นที่หลากหลายจากหลายๆ ฝ่าย เช่น นักวิชาการ บุคคลในแวดวงต่างๆ ออกมาแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะการทำงาน/แก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนที่ควรได้รับการแก้ไขเป็นอันดับแรก ร้อยละ 1.59 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ควรแสดงความคิดเห็นในด้านจุดเด่น จุดด้อย ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงาน การทำงานของรัฐบาลในเชิงสร้างสรรค์ และควรแสดงออกอย่างสันติ และร้อยละ 6.21 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อรูปแบบของการแสดงออกทางการเมือง ในกรณีที่ประชาชนไม่เห็นด้วยกับนโยบาย หรือการดำเนินงานของรัฐบาล หรือ คสช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.77 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นไปถึงรัฐบาล และ คสช.ตามช่องทางที่เปิดให้ตามกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 20.68 ระบุว่า ควรอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย ร้อยละ 12.97 ระบุว่า ควรจัดเสวนาวิชาการ ร้อยละ 3.98 ระบุว่า ควรออกมาชุมนุมหรือจัดกิจกรรมต่อต้านรัฐบาล หรือ คสช.ร้อยละ 3.74 ระบุว่า ควรวิพากษ์ วิจารณ์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ควรเสนอการทำประชามติ/ประชาพิจารณ์ และร้อยละ 2.78 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ
จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนทั่วไป ที่ควรจะเป็นในสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.65 ระบุว่า ควรอยู่เฉยๆ เฝ้าติดตามการทำงานของรัฐบาล และคสช.อย่างเดียว เพราะไม่ต้องการเห็นบ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ไม่ควรสร้างความแตกแยก การปฏิรูปต้องใช้เวลา ควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานไปก่อน สิ่งที่รัฐบาล และ คสช.ทำอยู่ก็ดีอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 13.45 ระบุว่า ควรออกมาสนับสนุนรัฐบาล และ คสช.เพราะเห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาล ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการชื่นชม และให้กำลังใจรัฐบาล ต้องการเห็นประชาธิปไตยที่ไม่มีการทุจริต โดยรวมรัฐบาลบริหารประเทศถือว่าเป็นที่น่าพอใจ ควรให้การสนับสนุนการทำงานต่อไป ร้อยละ 6.28 ระบุว่า ควรออกมาต่อต้านรัฐบาล และ คสช. เพราะไม่ชอบระบบการทำงานของรัฐบาล ถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นมากเกินไป การทำรัฐประหารโดย คสช. ส่งผลต่อเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ ร้อยละ 1.03 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ควรออกมาแสดงความคิดเห็นตามผลงานของรัฐบาล ในรูปแบบการจัดเสวนาทางวิชาการ การสัมมนา เป็นต้น โดยแสดงออกอย่างเป็นกลางภายใต้ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และไม่ขัดต่อกฎหมาย และ ร้อยละ 1.59 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนักศึกษา นักวิชาการ องค์กรทางสังคมและการเมือง และพรรคการเมืองที่ควรจะเป็น ในสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.34 ระบุว่า ควรอยู่เฉยๆ เฝ้าติดตามการทำงานของรัฐบาล และ คสช.อย่างเดียว เพราะควรให้โอกาสรัฐบาลได้ทำตามแผนที่วางไว้ ไม่ต้องการเห็นกลุ่มคนต่างๆ ออกมาแทรกแซงหรือเข้ามาวุ่นวาย สร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศชาติอีก ซึ่งขัดกับหลักความปรองดองและการปฏิรูปประเทศ ซ้ำยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกด้วย รองลงมา ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ควรออกมาสนับสนุนรัฐบาล และ คสช.เพราะเป็นการชี้แนะถึงแนวทางในการทำงานและการแก้ไขปัญหาของประเทศ ซึ่งจะสามารถช่วย
ให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ไปได้ และขณะนี้รัฐบาลก็ทำงานอย่างเต็มที่ในการปฏิรูปประเทศ ร้อยละ 8.59 ระบุว่า ควรออกมาต่อต้านรัฐบาล และ คสช.เพราะต้องการเห็นความคิดเห็นที่หลากหลายจากหลายๆ ฝ่าย เช่น นักวิชาการ บุคคลในแวดวงต่างๆ ออกมาแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะการทำงาน/แก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนที่ควรได้รับการแก้ไขเป็นอันดับแรก ร้อยละ 1.59 ระบุว่า อื่นๆ ได้แก่ ควรแสดงความคิดเห็นในด้านจุดเด่น จุดด้อย ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงาน การทำงานของรัฐบาลในเชิงสร้างสรรค์ และควรแสดงออกอย่างสันติ และร้อยละ 6.21 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อรูปแบบของการแสดงออกทางการเมือง ในกรณีที่ประชาชนไม่เห็นด้วยกับนโยบาย หรือการดำเนินงานของรัฐบาล หรือ คสช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.77 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นไปถึงรัฐบาล และ คสช.ตามช่องทางที่เปิดให้ตามกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 20.68 ระบุว่า ควรอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย ร้อยละ 12.97 ระบุว่า ควรจัดเสวนาวิชาการ ร้อยละ 3.98 ระบุว่า ควรออกมาชุมนุมหรือจัดกิจกรรมต่อต้านรัฐบาล หรือ คสช.ร้อยละ 3.74 ระบุว่า ควรวิพากษ์ วิจารณ์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ควรเสนอการทำประชามติ/ประชาพิจารณ์ และร้อยละ 2.78 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ