วานนี้ (5 ก.ค.) ประชาคมเกษตรศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากหลายคณะได้รวมตัวให้กำลังใจ รศ. บดินทร์ รัศมีเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีมติให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีคนใหม่ แต่ปรากฏว่า พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ ได้ใชอำนาจชะลอการนำชื่อ รศ.บดินทร์ ขึ้นทูลเกล้าฯ พร้อมกับให้คณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เข้าไปตรวจสอบคุณสมบัติ ทั้งที่ สภามก.ได้ตรวจสอบคุณสมบัติรศ.บดินทร์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สร้างความกังขา และส่อพิรุธ ต่อกระบวนการใช้อำนาจของ รมว.ศึกษาธิการ และ สกอ. ในการเข้ามาแทรกแซงกระบวนการทำงานของสภามหาวิทยาลัย พร้อมกันนี้ ทางประชาคมมก. เตรียมนัดรวมตัวเพื่อเข้าพบผู้เกี่ยวข้องในกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงในวันนี้ (6 ก.ค. )
วันเดียวกัน รศ. สุรวิช วรรณไกรโรจน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะ แอดมินของ-เฟซบุ๊ก“ประชาคมเกษตรศาสตร์”ได้ระบุเกี่ยวกับปัญหาการเสนอชื่อผู้ได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดี มก. ว่า การที่ สกอ. มีหนังสือส่งคืนเรื่องดังกล่าวกลับมาที่ มก. โดยอ้างเหตุว่า มีผู้ร้องเรียนเรื่องความไม่เหมาะสมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ พร้อมกับระบุว่า รมว.ศึกษาธิการ ได้มีบัญชาให้ดำเนินกระบวนการเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสม เพื่อทรงพิจารณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดี หลังจาก พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ให้เป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีผลบังคับใช้ โดยตั้งข้อสังเกตว่า สกอ. ทะยอยสอบถามประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับผู้ถูกเสนอชื่อ ทำให้กระบวนการล่าช้ามากว่า 6 เดือน
จนในที่สุด รมว.ศึกษาฯ ตัดสินใจที่จะเชื่อตามเอกสารของผู้ร้องเรียน โดยอาจพิจารณาเห็นว่า เป็นความผิดวินัยร้ายแรงที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ไม่จำเป็นต้องสอบข้อเท็จจริง จึงไม่ได้ขอคำชี้แจงจาก มก.นั้น เรื่องดังกล่าว สภามก.ชุดที่แล้ว ได้ทราบข้อมูลที่ถูกใช้ร้องเรียนทั้งหมดนานแล้ว ซึ่งบางเรื่องนั้น ผู้ร้องเรียนได้แจ้งต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตลอดจนคณะกรรมาธิการการศึกษาในรัฐบาลชุดก่อน แต่ไม่มีหน่วยงานใดชี้มูลและสั่งให้ยุติเรื่อง
"ส่วนเรื่องการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของ 4 บริษัท นั้น เป็นความผิดทางวินัยที่ไม่ร้ายแรง และ มก.ได้ตรวจสอบแล้วว่า บริษัททั้งสี่ ก็ไม่เคยทำธุรกรรมใดๆกับมหาวิทยาลัย ดังนั้นประเด็นต่างๆ เหล่านี้ จึงไม่ทำให้ สภามก.ชุดที่แล้ว เห็นว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อ มีลักษณะต้องห้าม หรือขาดคุณสมบัติที่ระบุใน พ.ร.บ. ฉบับปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งฉบับที่จะประกาศใช้ใหม่ หรืออีกนัยหนึ่งคือ สภามก.ชุดที่แล้ว เห็นว่า รศ. บดินทร์ รัศมีเทศ เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ และคุณลักษณะโดยรวมเหมาะสมที่สุดในบรรดาผู้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการสรรหาฯ ตาม พ.ร.บ. มก. และข้อบังคับ มก. ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทย่าลัยเกษตรศาสตร์ โดยไม่มีลักษณะต้องห้ามในกฏระเบียบหรือข้อบังคับของมก. แต่ประการใด"
ส่วนการที่ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีบัญชาให้ดำเนินกระบวนการเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสม เพื่อทรงพิจารณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดี หลังจาก พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ให้เป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีผลบังคับใช้นั้น สามารถเข้าใจได้ว่า รมว.ศึกษาฯ ไม่วางใจในการทำงานของ สภามก.ชุดที่แล้ว ซึ่งดำเนินกระบวนการสรรหา อธิการบดี แต่การที่ รมว.ศึกษาฯ ไม่ให้ สภามก.ชุดปัจจุบันดำเนินกระบวนการสรรหาฯ ใหม่นั้น ก็เสมือนว่า สภามก. ชุดปัจจุบันไม่เป็นที่ยอมรับของ รมว.ศึกษาฯ ทั้งที่ สภามก.ชุดนี้ไม่ได้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับกระบวนการเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเพื่อทรงพิจารณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดีเลยแม้แต่น้อย
"การที่บัญชาให้ดำเนินกระบวนการเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเพื่อทรงพิจารณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดี หลังจาก มก.เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับนั้น เสมือนหนึ่งว่า รมว.ศึกษาฯ คิดว่า สภามก.ชุดปัจจุบัน ซึ่งมีคนในมก.เป็นกรรมการเสียงข้างมาก ไม่สามารถสรรหาอธิการบดีที่เป็นที่พอใจของรมว.ศึกษาฯ ได้ โดยประสงค์ให้ สภามก. ชุดใหม่ ซึ่งมีคนนอก มก. เป็นกรรมการเสียงข้างมาก เป็นผู้ดำเนินกระบวนการสรรหาฯ จึงเสมือนกับสื่อสารว่า คนมก.ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการหาตัวบุคคลที่เหมาะจะเป็นผู้นำระดับอธิการบดีของมหาวิทยาลัยของตนเองได้"
วันเดียวกัน รศ. สุรวิช วรรณไกรโรจน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะ แอดมินของ-เฟซบุ๊ก“ประชาคมเกษตรศาสตร์”ได้ระบุเกี่ยวกับปัญหาการเสนอชื่อผู้ได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดี มก. ว่า การที่ สกอ. มีหนังสือส่งคืนเรื่องดังกล่าวกลับมาที่ มก. โดยอ้างเหตุว่า มีผู้ร้องเรียนเรื่องความไม่เหมาะสมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ พร้อมกับระบุว่า รมว.ศึกษาธิการ ได้มีบัญชาให้ดำเนินกระบวนการเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสม เพื่อทรงพิจารณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดี หลังจาก พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ให้เป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีผลบังคับใช้ โดยตั้งข้อสังเกตว่า สกอ. ทะยอยสอบถามประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับผู้ถูกเสนอชื่อ ทำให้กระบวนการล่าช้ามากว่า 6 เดือน
จนในที่สุด รมว.ศึกษาฯ ตัดสินใจที่จะเชื่อตามเอกสารของผู้ร้องเรียน โดยอาจพิจารณาเห็นว่า เป็นความผิดวินัยร้ายแรงที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ไม่จำเป็นต้องสอบข้อเท็จจริง จึงไม่ได้ขอคำชี้แจงจาก มก.นั้น เรื่องดังกล่าว สภามก.ชุดที่แล้ว ได้ทราบข้อมูลที่ถูกใช้ร้องเรียนทั้งหมดนานแล้ว ซึ่งบางเรื่องนั้น ผู้ร้องเรียนได้แจ้งต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตลอดจนคณะกรรมาธิการการศึกษาในรัฐบาลชุดก่อน แต่ไม่มีหน่วยงานใดชี้มูลและสั่งให้ยุติเรื่อง
"ส่วนเรื่องการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของ 4 บริษัท นั้น เป็นความผิดทางวินัยที่ไม่ร้ายแรง และ มก.ได้ตรวจสอบแล้วว่า บริษัททั้งสี่ ก็ไม่เคยทำธุรกรรมใดๆกับมหาวิทยาลัย ดังนั้นประเด็นต่างๆ เหล่านี้ จึงไม่ทำให้ สภามก.ชุดที่แล้ว เห็นว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อ มีลักษณะต้องห้าม หรือขาดคุณสมบัติที่ระบุใน พ.ร.บ. ฉบับปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งฉบับที่จะประกาศใช้ใหม่ หรืออีกนัยหนึ่งคือ สภามก.ชุดที่แล้ว เห็นว่า รศ. บดินทร์ รัศมีเทศ เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ และคุณลักษณะโดยรวมเหมาะสมที่สุดในบรรดาผู้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการสรรหาฯ ตาม พ.ร.บ. มก. และข้อบังคับ มก. ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทย่าลัยเกษตรศาสตร์ โดยไม่มีลักษณะต้องห้ามในกฏระเบียบหรือข้อบังคับของมก. แต่ประการใด"
ส่วนการที่ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีบัญชาให้ดำเนินกระบวนการเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสม เพื่อทรงพิจารณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดี หลังจาก พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ให้เป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีผลบังคับใช้นั้น สามารถเข้าใจได้ว่า รมว.ศึกษาฯ ไม่วางใจในการทำงานของ สภามก.ชุดที่แล้ว ซึ่งดำเนินกระบวนการสรรหา อธิการบดี แต่การที่ รมว.ศึกษาฯ ไม่ให้ สภามก.ชุดปัจจุบันดำเนินกระบวนการสรรหาฯ ใหม่นั้น ก็เสมือนว่า สภามก. ชุดปัจจุบันไม่เป็นที่ยอมรับของ รมว.ศึกษาฯ ทั้งที่ สภามก.ชุดนี้ไม่ได้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับกระบวนการเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเพื่อทรงพิจารณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดีเลยแม้แต่น้อย
"การที่บัญชาให้ดำเนินกระบวนการเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเพื่อทรงพิจารณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดี หลังจาก มก.เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับนั้น เสมือนหนึ่งว่า รมว.ศึกษาฯ คิดว่า สภามก.ชุดปัจจุบัน ซึ่งมีคนในมก.เป็นกรรมการเสียงข้างมาก ไม่สามารถสรรหาอธิการบดีที่เป็นที่พอใจของรมว.ศึกษาฯ ได้ โดยประสงค์ให้ สภามก. ชุดใหม่ ซึ่งมีคนนอก มก. เป็นกรรมการเสียงข้างมาก เป็นผู้ดำเนินกระบวนการสรรหาฯ จึงเสมือนกับสื่อสารว่า คนมก.ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการหาตัวบุคคลที่เหมาะจะเป็นผู้นำระดับอธิการบดีของมหาวิทยาลัยของตนเองได้"