ASTVผู้จัดการรายวัน-กรมชลประทานลดการระบายน้ำลุ่มเจ้าพระยาจาก 62 ล้านลบ.ม.ต่อวัน เหลือ 35 ล้านลบ.ม. ยืดเวลาได้อีกแค่ 45 วัน ขณะที่ลพบุรี สระบุรี อยุธยา ปทุมธานี ระทึก เขื่อนป่าสักเหลือน้ำแค่ 7% ใช้ได้อีก 20 วัน "ประยุทธ์"สั่งเร่งขุดบ่อบาดาลช่วยนาข้าวก่อน เผยมีพื้นที่เสี่ยงกว่า 8.5 แสนไร่ วอนพื้นที่ที่ยังไม่เพาะปลูก ขอให้เลื่อนออกไปก่อน หรือหันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน มท.1 วอนอย่าสร้างกระแสแย่งชิงน้ำ
นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการติดตามและสถานการณ์น้ำ เปิดเผยว่า เนื่องจากปริมาณฝนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาภาคกลาง ปี 2557 ค่อนข้างน้อย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 50 ขณะที่สถานการณ์ฝนปีนี้ค่อนข้างไม่น่าจะไว้วางใจ เพราะตกน้อยกว่าปี 2557 จึงต้องทบทวนการบริหารจัดการน้ำใหม่
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและสถานการณ์น้ำเห็นว่า ปริมาณฝนในเดือนพ.ค.2558 ซึ่งควรจะใช้เพื่อการเกษตรได้ ปรากฏว่าไม่มี ทำให้ต้องพึ่งน้ำจากเขื่อนเป็นหลัก และได้ปรับลดการใช้น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากวันละ 62 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เหลือ 35 ล้านลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีแผนระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล จ.ตาก วันละ 11 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ 22 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พษณุโลก 3.4 ล้านลบ.ม. และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 3.4 ล้านลบ.ม. รวม 35 ล้านลบ.ม.ต่อวัน เพื่อความมั่นคงของน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และกรณีที่ไม่มีฝนตกลงมาในช่วงนี้ โดยจะมีน้ำใช้ไปอีก 45 วัน
ขณะเดียวกัน ขอความร่วมมือเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไป จนกว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ
***ลุ่มน้ำป่าสักวิกฤตเหลือน้ำใช้แค่20วัน
นายอรรถพร ปัญญาโฉม ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 10 ลพบุรี กล่าวว่า ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักขณะนี้ถือว่าวิกฤต และน่าเป็นห่วงมาก น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เหลืออยู่แค่ 73 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 7 ซึ่งต้องระบายน้ำทางประตูฉุกเฉินเพื่อรักษาระบบนิเวศท้ายเขื่อนวันละ 5 ลบ.ม.ต่อวินาที หรือวันละ 1.3 ล้านลบ.ม. โดยที่ไม่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนมาหลายเดือนแล้ว สถานการณ์เช่นนี้ทำให้น้ำในอ่างใช้ได้อีกแค่ 20 วันหรือแค่กลางเดือนก.ค.เท่านั้น
“การบริหารจัดการเขื่อนป่าสักขณะนี้ คือ ประคับประคองให้ใช้น้ำได้ที่สุด แต่หลังน้ำหมด ตั้งแต่ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี จะได้รับผลกระทบทั้งน้ำอุปโภคบริโภค ทำการเกษตร ไล่น้ำเสีย และน้ำเค็ม”
นายอรรถพร กล่าวว่า ขณะนี้ได้ประสานศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง เพื่อเพิ่มเที่ยวบินทำฝนเทียมในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก โดยหวังว่าฝนจะตกเหนือเขื่อนเพื่อเติมน้ำในอ่างให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้
***"ประยุทธ์"สั่งเน้นช่วยนาข้าวก่อน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า ตนสั่งในที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ เพื่อพิจารณามาตรการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ว่า หากตรงไหนมีการปลูกข้าว จะต้องจ่ายน้ำเพื่อให้ชาวนาเลี้ยงข้าวได้ รัฐจะได้ไม่ต้องจ่ายเงิน ตนสั่งให้ขุดไปกว่า 1,000 บ่อ ต้องเร่งด่วน ขุดให้ทัน โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวไปแล้ว เพื่อให้ข้าวไม่ตาย รวมถึงมีน้ำอุปโภคบริโภค
"วันนี้ไม่ต้องพูดเรื่องน้ำปลูกข้าว แค่น้ำจะกินยังไม่มีเลยจะบอกให้ จึงต้องขุดบ่อบาดาลเพิ่ม นั่นล่ะคือความเดือดร้อนทั้งประเทศ มาจากการทำลายป่า ฝนไม่ตก มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะไทย แต่เป็นทั้งโลก แล้วจะมาเรียกร้องอะไร แต่รัฐบาลจะดูช่วยเรื่องน้ำเร่งด่วนระยะแรก ส่วนระยะที่สองจะต้องดูความเสียหายต่อชาวนาที่ไม่ได้ปลูกข้าวรอบสอง มันต้องคิดอย่างนี้ อย่าคิดว่าจะต้องทุ่มเงินเท่านั้นเท่านี้ ไม่เช่นนั้นจะเคยตัวอยู่แบบนี้ เพราะไม่แก้ปัญหากัน ดังนั้นประชาชนต้องเรียนรู้ ผมเห็นใจ ไม่ทอดทิ้งอยู่แล้ว ถ้าข้าวตายก็ต้องปล่อย แล้วค่อยมาพิจารณาชดเชยกัน ต้องแก้ทีละเปลาะ ไม่ใช่แก้โครมเดียว เพราะถ้าโยนเงินลงไปเดี๋ยวก็หมดอีก ยังมีพวกที่ไม่ปลูกข้าวอีก ต้องมาพิจารณาว่าจะดูแลเขาอย่างไร"
***เร่งขุดบ่อบาดาลช่วยพื้นที่เพาะปลูก
นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้พื้นที่ที่มีปัญหา คือ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่เพาะปลูก 7.45 ล้านไร่ ลงมือเพาะปลูกแล้ว 3.44 ล้านไร่ มีความเสี่ยงกว่า 8 แสนไร่ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาดไทย และเกษตรฯ จะร่วมกันขุดเจาะบ่อบาดาล และปรับปรุงบ่อบาดาลเดิมเข้าช่วย ส่วนพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มหลังจากประกาศให้ชะลอส่วนใหญ่อยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ จะขุดเจาะบ่อบาดาลให้ดูแลตัวเองได้จนถึงฤดูฝน
ส่วนที่ยังไม่เพาะปลูก 3.45 ล้านไร่ มี 4 มาตรการรองรับ คือ1.ขอให้เลื่อนเป็นช่วงเดือนก.ค.-ส.ค. ซึ่งประกาศหลายครั้งแล้ว 2.ปรับเปลี่ยนพืชไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุสั้น ตลาดต้องการของตลาด เช่น ข้าวโพดและถั่วเขียว เพราะฝนจะมาช้าและมีน้อย 3.ปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกไปเลย คือ เป็นเกษตรผสมผสานหรือเกษตรปราณีต ที่เกษตรฯ จะหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดหาทุนปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต และ 4.ถ้าต้องเลื่อนการเพาะปลูกออกไปเรื่อยๆ กระทรวงการคลังจะต้องพิจารณาว่า การเลื่อนหนี้หรือการพักชำระหนี้ ทั้งต้นและดอกเบี้ยว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ภารกิจของกระทรวงฯ คือ ขุดเจาะบ่อบาดาลพื้นที่เพาะปลูกที่มีความเสี่ยง 8.5 แสนไร่ ให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือนก.ค. โดยจะสนับสนุนได้ 880 บ่อ เป็นบ่อเดิมที่มีน้ำ แต่ยังไม่มีเครื่องปั๊ม 380 บ่อ อีก 500 บ่อต้องเจาะใหม่ ใช้แรงงานเกษตรกรที่ปลูกอะไรไม่ได้ประมาณ 2,000 คน ใช้งบประมาณเพิ่มเติม 84 ล้านบาท ซึ่งได้น้ำประมาณ 2 แสนลบ.ม. ช่วยได้ 1-1.3 แสนไร่
***วอนอย่าสร้างกระแสแย่งชิงน้ำ
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) กล่าวว่า ขอสื่อมวลชนอย่าสร้างข่าวให้เป็นประเด็น แต่ขอให้ทำความเข้าใจให้ประชาชนเข้าใจว่าน้ำมีน้อย อย่าสร้างวัฒนธรรมที่ว่าเมื่อจวนตัวแล้วก็จะแย่งน้ำกัน ซึ่งเราพยายามดูแลอยู่ ตอนนี้เราต้องร่วมมือกันระหว่างกรมชลประทาน ฝ่ายปกครอง และทหาร ต้องเร่งทำความเข้าใจว่าจุดใดปล่อยน้ำได้หรือไม่ได้ มากน้อยแค่ไหน ส่วนนักการเมืองท้องถิ่น ก็อย่าไปสร้างกระแส
***คาดเอลนีโญทำภัยแล้งรุนแรง
นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสต์ด้า กล่าวว่า ภาวะเอลนีโญได้เกิดขึ้นแล้ว และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แต่เพียงประเทศไทย หลายประเทศก็ได้รับผลกระทบ อาทิ เกาหลีเหนือ จีน ไต้หวัน และอินเดีย หลายสำนักคาดว่าภาวะเอลนีโญปีนี้อาจเท่ากับปี 2540 ซึ่งเป็นรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ สำหรับประเทศไทยช่วงฤดูฝน มรสุมและร่องฝนมีกำลงอ่อนลงมาก ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ ดังนั้น ต้องเตรียมการรับมือ
นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการติดตามและสถานการณ์น้ำ เปิดเผยว่า เนื่องจากปริมาณฝนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาภาคกลาง ปี 2557 ค่อนข้างน้อย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 50 ขณะที่สถานการณ์ฝนปีนี้ค่อนข้างไม่น่าจะไว้วางใจ เพราะตกน้อยกว่าปี 2557 จึงต้องทบทวนการบริหารจัดการน้ำใหม่
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและสถานการณ์น้ำเห็นว่า ปริมาณฝนในเดือนพ.ค.2558 ซึ่งควรจะใช้เพื่อการเกษตรได้ ปรากฏว่าไม่มี ทำให้ต้องพึ่งน้ำจากเขื่อนเป็นหลัก และได้ปรับลดการใช้น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากวันละ 62 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เหลือ 35 ล้านลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีแผนระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล จ.ตาก วันละ 11 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ 22 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พษณุโลก 3.4 ล้านลบ.ม. และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 3.4 ล้านลบ.ม. รวม 35 ล้านลบ.ม.ต่อวัน เพื่อความมั่นคงของน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และกรณีที่ไม่มีฝนตกลงมาในช่วงนี้ โดยจะมีน้ำใช้ไปอีก 45 วัน
ขณะเดียวกัน ขอความร่วมมือเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไป จนกว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ
***ลุ่มน้ำป่าสักวิกฤตเหลือน้ำใช้แค่20วัน
นายอรรถพร ปัญญาโฉม ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 10 ลพบุรี กล่าวว่า ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักขณะนี้ถือว่าวิกฤต และน่าเป็นห่วงมาก น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เหลืออยู่แค่ 73 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 7 ซึ่งต้องระบายน้ำทางประตูฉุกเฉินเพื่อรักษาระบบนิเวศท้ายเขื่อนวันละ 5 ลบ.ม.ต่อวินาที หรือวันละ 1.3 ล้านลบ.ม. โดยที่ไม่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนมาหลายเดือนแล้ว สถานการณ์เช่นนี้ทำให้น้ำในอ่างใช้ได้อีกแค่ 20 วันหรือแค่กลางเดือนก.ค.เท่านั้น
“การบริหารจัดการเขื่อนป่าสักขณะนี้ คือ ประคับประคองให้ใช้น้ำได้ที่สุด แต่หลังน้ำหมด ตั้งแต่ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี จะได้รับผลกระทบทั้งน้ำอุปโภคบริโภค ทำการเกษตร ไล่น้ำเสีย และน้ำเค็ม”
นายอรรถพร กล่าวว่า ขณะนี้ได้ประสานศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง เพื่อเพิ่มเที่ยวบินทำฝนเทียมในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก โดยหวังว่าฝนจะตกเหนือเขื่อนเพื่อเติมน้ำในอ่างให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้
***"ประยุทธ์"สั่งเน้นช่วยนาข้าวก่อน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า ตนสั่งในที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ เพื่อพิจารณามาตรการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ว่า หากตรงไหนมีการปลูกข้าว จะต้องจ่ายน้ำเพื่อให้ชาวนาเลี้ยงข้าวได้ รัฐจะได้ไม่ต้องจ่ายเงิน ตนสั่งให้ขุดไปกว่า 1,000 บ่อ ต้องเร่งด่วน ขุดให้ทัน โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวไปแล้ว เพื่อให้ข้าวไม่ตาย รวมถึงมีน้ำอุปโภคบริโภค
"วันนี้ไม่ต้องพูดเรื่องน้ำปลูกข้าว แค่น้ำจะกินยังไม่มีเลยจะบอกให้ จึงต้องขุดบ่อบาดาลเพิ่ม นั่นล่ะคือความเดือดร้อนทั้งประเทศ มาจากการทำลายป่า ฝนไม่ตก มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่เฉพาะไทย แต่เป็นทั้งโลก แล้วจะมาเรียกร้องอะไร แต่รัฐบาลจะดูช่วยเรื่องน้ำเร่งด่วนระยะแรก ส่วนระยะที่สองจะต้องดูความเสียหายต่อชาวนาที่ไม่ได้ปลูกข้าวรอบสอง มันต้องคิดอย่างนี้ อย่าคิดว่าจะต้องทุ่มเงินเท่านั้นเท่านี้ ไม่เช่นนั้นจะเคยตัวอยู่แบบนี้ เพราะไม่แก้ปัญหากัน ดังนั้นประชาชนต้องเรียนรู้ ผมเห็นใจ ไม่ทอดทิ้งอยู่แล้ว ถ้าข้าวตายก็ต้องปล่อย แล้วค่อยมาพิจารณาชดเชยกัน ต้องแก้ทีละเปลาะ ไม่ใช่แก้โครมเดียว เพราะถ้าโยนเงินลงไปเดี๋ยวก็หมดอีก ยังมีพวกที่ไม่ปลูกข้าวอีก ต้องมาพิจารณาว่าจะดูแลเขาอย่างไร"
***เร่งขุดบ่อบาดาลช่วยพื้นที่เพาะปลูก
นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้พื้นที่ที่มีปัญหา คือ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่เพาะปลูก 7.45 ล้านไร่ ลงมือเพาะปลูกแล้ว 3.44 ล้านไร่ มีความเสี่ยงกว่า 8 แสนไร่ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาดไทย และเกษตรฯ จะร่วมกันขุดเจาะบ่อบาดาล และปรับปรุงบ่อบาดาลเดิมเข้าช่วย ส่วนพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มหลังจากประกาศให้ชะลอส่วนใหญ่อยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ จะขุดเจาะบ่อบาดาลให้ดูแลตัวเองได้จนถึงฤดูฝน
ส่วนที่ยังไม่เพาะปลูก 3.45 ล้านไร่ มี 4 มาตรการรองรับ คือ1.ขอให้เลื่อนเป็นช่วงเดือนก.ค.-ส.ค. ซึ่งประกาศหลายครั้งแล้ว 2.ปรับเปลี่ยนพืชไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุสั้น ตลาดต้องการของตลาด เช่น ข้าวโพดและถั่วเขียว เพราะฝนจะมาช้าและมีน้อย 3.ปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกไปเลย คือ เป็นเกษตรผสมผสานหรือเกษตรปราณีต ที่เกษตรฯ จะหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดหาทุนปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต และ 4.ถ้าต้องเลื่อนการเพาะปลูกออกไปเรื่อยๆ กระทรวงการคลังจะต้องพิจารณาว่า การเลื่อนหนี้หรือการพักชำระหนี้ ทั้งต้นและดอกเบี้ยว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ภารกิจของกระทรวงฯ คือ ขุดเจาะบ่อบาดาลพื้นที่เพาะปลูกที่มีความเสี่ยง 8.5 แสนไร่ ให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือนก.ค. โดยจะสนับสนุนได้ 880 บ่อ เป็นบ่อเดิมที่มีน้ำ แต่ยังไม่มีเครื่องปั๊ม 380 บ่อ อีก 500 บ่อต้องเจาะใหม่ ใช้แรงงานเกษตรกรที่ปลูกอะไรไม่ได้ประมาณ 2,000 คน ใช้งบประมาณเพิ่มเติม 84 ล้านบาท ซึ่งได้น้ำประมาณ 2 แสนลบ.ม. ช่วยได้ 1-1.3 แสนไร่
***วอนอย่าสร้างกระแสแย่งชิงน้ำ
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) กล่าวว่า ขอสื่อมวลชนอย่าสร้างข่าวให้เป็นประเด็น แต่ขอให้ทำความเข้าใจให้ประชาชนเข้าใจว่าน้ำมีน้อย อย่าสร้างวัฒนธรรมที่ว่าเมื่อจวนตัวแล้วก็จะแย่งน้ำกัน ซึ่งเราพยายามดูแลอยู่ ตอนนี้เราต้องร่วมมือกันระหว่างกรมชลประทาน ฝ่ายปกครอง และทหาร ต้องเร่งทำความเข้าใจว่าจุดใดปล่อยน้ำได้หรือไม่ได้ มากน้อยแค่ไหน ส่วนนักการเมืองท้องถิ่น ก็อย่าไปสร้างกระแส
***คาดเอลนีโญทำภัยแล้งรุนแรง
นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสต์ด้า กล่าวว่า ภาวะเอลนีโญได้เกิดขึ้นแล้ว และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แต่เพียงประเทศไทย หลายประเทศก็ได้รับผลกระทบ อาทิ เกาหลีเหนือ จีน ไต้หวัน และอินเดีย หลายสำนักคาดว่าภาวะเอลนีโญปีนี้อาจเท่ากับปี 2540 ซึ่งเป็นรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ สำหรับประเทศไทยช่วงฤดูฝน มรสุมและร่องฝนมีกำลงอ่อนลงมาก ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ ดังนั้น ต้องเตรียมการรับมือ