คำสัมภาษณ์ของพล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่อ้างถึงคำแนะนำของนายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ที่เขียนเฟซบุ๊กรำพึงรำพันว่าจะไปถอดยศ ยึดพาสปอร์ต ยึดเครื่องราชฯ ทักษิณทำไม พล.ต.อ.สมยศอ้างมีคนท้วงติงว่าการถอดยศเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง อ้างอดีต ผบ.ตร.หลายคนโทรศัพท์มาแนะนำ บอกกรรมการชุดพล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล แค่ทำหน้าที่กลั่นกรอง ตอนนี้อยู่ระหว่างพิจารณาให้ฝ่ายกฎหมายตั้งเรื่องก่อนสั่งการให้สำนักกำลังพล (สกพ.) ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนต่อไป บอกขอทำตามระเบียบแม้จะไม่เสร็จในสมัยตัวเองก็ตาม
น่าแปลกมากที่ก่อนหน้านี้ความเห็นของพล.ต.อ.สมยศไม่ได้เป็นเช่นนั้น ครั้งแรกเมื่อกรรมการชุดพล.ต.อ.ชัยยะมีมติมาถึง พล.ต.อ.สมยศ อ้างว่า กรรมการยังไม่เซ็นรับรองมติให้ส่งกลับไป แต่เมื่อกรรมการชุดพล.ต.อ.ชัยยะเซ็นรับรองเรียบร้อยแล้วส่งกลับมา พล.ต.อ.สมยศยื้อไปยื้อมาอยู่อีกรอบ ก็หันไปพิงนายพิเชษฐและอ้างถึงอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนอื่น
ส่วนที่อ้างว่า ต้องส่งให้สำนักกำลังพลพิจารณานั้นจริงครับตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ข้อ 2 (3) ที่ว่า ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่รับทราบข้อมูลการต้องหาคดีอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือถูกฟ้องในคดีล้มละลายอันเนื่องมาจากการก่อหนี้สินขึ้นโดยทุจริตของผู้ที่ดำรงยศตำรวจทั้งในส่วนของผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว หรือยังคงรับราชการอยู่ในหน่วยงานอื่นของรัฐหาข้อมูลเบื้องต้นให้แน่ชัดแล้วส่งเรื่องให้กองวินัยพิจารณา หากเห็นว่าผู้ใดมีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศก็ให้ส่งเรื่องไปยังกองทะเบียนพลดำเนินการรวบรวมเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาถอดยศต่อไป
แต่กรณีของทักษิณนั้นเห็นว่า ทางกรรมการชุดพล.ต.อ.ชัยยะได้พิจารณาเรียบร้อยแล้ว เมื่อส่งไปยังกองทะเบียนพลก็น่าจะมีหน้าที่แค่รวบรวมเอกสารส่งให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณาถอดยศเท่านั้น ไม่มีเหตุให้ล่าช้าออกไปอีกได้เลย แถม ผบช.สำนักงานกำลังพลก็ร่วมพิจารณาอยู่ในกรรมการชุดพล.ต.อ.ชัยยะด้วย แต่พล.ต.อ.สมยศพูดเหมือนว่าจะต้องใช้เวลานาน
น่าตั้งคำถามว่าการถอดยศของพ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกทำไมถึงเป็นเรื่องยากเย็น จึงต้องพลิกระเบียบและข้อกฎหมายมาชำแหละดูกลับพบว่า ข้อกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ซับซ้อนเลย
แถมสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยมีบันทึกข้อหารือเรื่อง แนวทางการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดยศตำรวจและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นแนวทางไว้ชัดเจนแล้วทั้ง 2 ประเด็นตั้งแต่ปี 2552
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ประเด็นที่หนึ่ง เห็นว่า การเสนอขอถอดยศตำรวจทั้งแก่ผู้ที่อยู่ในราชการตำรวจ และที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้วตามข้อ 1 (2) แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ซึ่งการกำหนดเหตุแห่งการถอดยศมุ่งหมายถึงผลที่ผู้นั้นได้รับจากคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเท่านั้น โดยไม่ได้มุ่งหมายถึงสถานะของบุคคล กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดี หรือฐานความผิดว่าจะต้องเป็นไปตามกฎหมายใด ดังนั้น ถ้าข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าเป็นคำพิพากษาของศาลใด ย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 (2) แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ข้อ 1 การเสนอขอถอดยศตำรวจทั้งแก่ผู้ที่อยู่ในราชการตำรวจ และที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว ให้กระทำได้เมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (2) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
เมื่อทักษิณต้องคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.มาตรา 100 (1) วรรคสาม และมาตรา 122 วรรคหนึ่งให้ลงโทษจำคุก 2 ปี จึงเข้าเงื่อนไขตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ข้อ 1 (2) อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ต้องมีคำถามด้วยซ้ำว่า ตั้งแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ผ่านมาหลายคนทำอะไรจึงไม่ดำเนินการในเรื่องนี้ และเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่
ประเด็นที่สองคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548 ได้บัญญัติเหตุแห่งการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไว้ในข้อ 7 (2) โดยมีความมุ่งหมายเดียวกันกับเหตุแห่งการถอดยศตำรวจตามข้อ 1 (2) แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ดังนั้น ถ้าข้าราชการตำรวจผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ย่อมอยู่ในเหตุตามข้อ 7 (2) แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548 ด้วย
ข้อ 7 เหตุแห่งการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีดังต่อไปนี้ (2) เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ส่วนการเรียกคืนทำอย่างไร ระบุไว้ในข้อ 8 ว่า เมื่อผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รายใดมีกรณีที่ต้องถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามข้อ 7 ให้ส่วนราชการต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานและประวัติการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของผู้นั้นเพื่อส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับเรื่องแล้วหรือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควรให้เสนอรายชื่อพร้อมทั้งชั้นตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สมควรขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอรายชื่อและชั้นตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนไปยังสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ที่นายพิเชษฐเขียนเฟซบุ๊กตั้งคำถามว่าใครจะเสนอให้เพิกถอนนั้น มีระเบียบเขียนไว้ชัดอยู่แล้ว
โดยข้อ 6 ระบุว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุแห่งการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามข้อ 7 ให้ดำเนินการเรียกคืนทุกชั้นตรา เว้นแต่กรณีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่เพียงบางชั้นตรา
กฎหมายเขียนไว้ชัดเจน แต่ไม่น่าเชื่อว่า ผบ.ตร.ที่ผ่านมาหลายสมัยกลับละเว้นที่จะดำเนินการ รวมถึงที่กำลังตีลูกชิ่งอย่างพล.ต.อ.สมยศที่คุยโวไว้ว่า ใหญ่แค่ไหนก็จับ
น่าแปลกมากที่ก่อนหน้านี้ความเห็นของพล.ต.อ.สมยศไม่ได้เป็นเช่นนั้น ครั้งแรกเมื่อกรรมการชุดพล.ต.อ.ชัยยะมีมติมาถึง พล.ต.อ.สมยศ อ้างว่า กรรมการยังไม่เซ็นรับรองมติให้ส่งกลับไป แต่เมื่อกรรมการชุดพล.ต.อ.ชัยยะเซ็นรับรองเรียบร้อยแล้วส่งกลับมา พล.ต.อ.สมยศยื้อไปยื้อมาอยู่อีกรอบ ก็หันไปพิงนายพิเชษฐและอ้างถึงอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนอื่น
ส่วนที่อ้างว่า ต้องส่งให้สำนักกำลังพลพิจารณานั้นจริงครับตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ข้อ 2 (3) ที่ว่า ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่รับทราบข้อมูลการต้องหาคดีอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือถูกฟ้องในคดีล้มละลายอันเนื่องมาจากการก่อหนี้สินขึ้นโดยทุจริตของผู้ที่ดำรงยศตำรวจทั้งในส่วนของผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว หรือยังคงรับราชการอยู่ในหน่วยงานอื่นของรัฐหาข้อมูลเบื้องต้นให้แน่ชัดแล้วส่งเรื่องให้กองวินัยพิจารณา หากเห็นว่าผู้ใดมีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศก็ให้ส่งเรื่องไปยังกองทะเบียนพลดำเนินการรวบรวมเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาถอดยศต่อไป
แต่กรณีของทักษิณนั้นเห็นว่า ทางกรรมการชุดพล.ต.อ.ชัยยะได้พิจารณาเรียบร้อยแล้ว เมื่อส่งไปยังกองทะเบียนพลก็น่าจะมีหน้าที่แค่รวบรวมเอกสารส่งให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณาถอดยศเท่านั้น ไม่มีเหตุให้ล่าช้าออกไปอีกได้เลย แถม ผบช.สำนักงานกำลังพลก็ร่วมพิจารณาอยู่ในกรรมการชุดพล.ต.อ.ชัยยะด้วย แต่พล.ต.อ.สมยศพูดเหมือนว่าจะต้องใช้เวลานาน
น่าตั้งคำถามว่าการถอดยศของพ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกทำไมถึงเป็นเรื่องยากเย็น จึงต้องพลิกระเบียบและข้อกฎหมายมาชำแหละดูกลับพบว่า ข้อกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ซับซ้อนเลย
แถมสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยมีบันทึกข้อหารือเรื่อง แนวทางการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดยศตำรวจและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นแนวทางไว้ชัดเจนแล้วทั้ง 2 ประเด็นตั้งแต่ปี 2552
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ประเด็นที่หนึ่ง เห็นว่า การเสนอขอถอดยศตำรวจทั้งแก่ผู้ที่อยู่ในราชการตำรวจ และที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้วตามข้อ 1 (2) แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ซึ่งการกำหนดเหตุแห่งการถอดยศมุ่งหมายถึงผลที่ผู้นั้นได้รับจากคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเท่านั้น โดยไม่ได้มุ่งหมายถึงสถานะของบุคคล กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดี หรือฐานความผิดว่าจะต้องเป็นไปตามกฎหมายใด ดังนั้น ถ้าข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าเป็นคำพิพากษาของศาลใด ย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 (2) แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ข้อ 1 การเสนอขอถอดยศตำรวจทั้งแก่ผู้ที่อยู่ในราชการตำรวจ และที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว ให้กระทำได้เมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (2) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
เมื่อทักษิณต้องคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.มาตรา 100 (1) วรรคสาม และมาตรา 122 วรรคหนึ่งให้ลงโทษจำคุก 2 ปี จึงเข้าเงื่อนไขตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ข้อ 1 (2) อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ต้องมีคำถามด้วยซ้ำว่า ตั้งแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ผ่านมาหลายคนทำอะไรจึงไม่ดำเนินการในเรื่องนี้ และเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่
ประเด็นที่สองคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548 ได้บัญญัติเหตุแห่งการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไว้ในข้อ 7 (2) โดยมีความมุ่งหมายเดียวกันกับเหตุแห่งการถอดยศตำรวจตามข้อ 1 (2) แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ดังนั้น ถ้าข้าราชการตำรวจผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ย่อมอยู่ในเหตุตามข้อ 7 (2) แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548 ด้วย
ข้อ 7 เหตุแห่งการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีดังต่อไปนี้ (2) เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ส่วนการเรียกคืนทำอย่างไร ระบุไว้ในข้อ 8 ว่า เมื่อผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รายใดมีกรณีที่ต้องถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามข้อ 7 ให้ส่วนราชการต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานและประวัติการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของผู้นั้นเพื่อส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับเรื่องแล้วหรือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควรให้เสนอรายชื่อพร้อมทั้งชั้นตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สมควรขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอรายชื่อและชั้นตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนไปยังสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ที่นายพิเชษฐเขียนเฟซบุ๊กตั้งคำถามว่าใครจะเสนอให้เพิกถอนนั้น มีระเบียบเขียนไว้ชัดอยู่แล้ว
โดยข้อ 6 ระบุว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุแห่งการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามข้อ 7 ให้ดำเนินการเรียกคืนทุกชั้นตรา เว้นแต่กรณีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่เพียงบางชั้นตรา
กฎหมายเขียนไว้ชัดเจน แต่ไม่น่าเชื่อว่า ผบ.ตร.ที่ผ่านมาหลายสมัยกลับละเว้นที่จะดำเนินการ รวมถึงที่กำลังตีลูกชิ่งอย่างพล.ต.อ.สมยศที่คุยโวไว้ว่า ใหญ่แค่ไหนก็จับ