ASTVผู้จัดการรายวัน - ภาคธุรกิจอสังหาฯแนะหากรัฐจะทำโครงการอพาร์ตเมนต์ ราคาขาย 3 แสนบาทตามแนวรถไฟฟ้า ควรศึกษาข้อมูลโครงการบ้านเอื้ออาทร ยังเหลือขายอื้อ พร้อมชงให้กคช.รับผิดชอบ ด้านผู้บริหารเสนาฯ รัฐต้องชัดเจนและรัดกุมเรื่องการบริหารจัดการ หวั่นเป็นภาระผู้ซื้อในอนาคต เชื่อไม่กระทบตลาดอาคารชุด คนละกลุ่มลูกค้า
นายอธิป พีขานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า แนวคิดในการพัฒนาอพาร์ทเมนต์ ให้เช่า หรือ ซื้อ ตามแนวรถไฟฟ้าราคา 3 แสนบาท เพื่อผู้มีรายได้น้อยของนายกรัฐมนตรี เข้าใจว่าต้องการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ทำให้เกิดการจ้างงาน มีเงินหมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องการให้รัฐบาลไปเร่งผลักดันโครงการสาธารูปโภคพื้นฐานและการเร่งให้มีโครงการรถไฟฟ้าทุกสายมากกว่า เพราะเป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยาวอีกทั้งยังโครงการที่มีความจำอย่างมากที่จะต้องใช้ในอนาคต
นอกจากนี้รัฐบาลควรศึกษาข้อมูลของโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ปัจจุบันมียูนิตหลือขายพอสมควร และหากจะมีการพัฒนาโครงการอพาร์ตเมนต์สำหรับผู้มีรายได้น้อย สิ่งที่รัฐบาลต้องคำนึงถึง คือ ควรมอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาติ(กคช.)เป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ควรตั้งทีมเฉพาะกิจขึ้นมาทำให้เกิดความซ้ำซ้อน ควบคุมปริมาณให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เหลือขายเช่นบ้านเอื้ออาทรที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงการทำให้เกิดความโปร่งใสไม่มีทุจริตคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ควรพิจารณาว่าในทำเลที่เปิดโครงการมีความต้องการหรือไม่ เช่น อยู่ใกล้แหล่งงาน มหาวิทยาลัย เพราะไม่เช่นนั้นโครงการที่ทำไปแล้วจะไม่มีผู้มาซื้อหรือเช่าอยู่
รศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริหาร บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า น่าจะเป็นโครงการที่ดี โดยน่าจะเป็นการนำที่ดินของภาครัฐมาพัฒนา ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถขายขาดได้ ดังนั้นที่น่าจะทำได้คือโครงการเพื่อเช่าและเช่าซื้อระยะยาว แต่ปัญหาของโครงการประเภทนี้คือ การหาที่ดินซึ่งในขณะนี้ที่ดินในแนวรถไฟฟ้ามีอยู่จำกัด ทำให้ปริมาณในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นได้น้อย และมีความเป็นไปได้น้อยกว่าโครงการบ้านเอื้ออาทร
ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องมีการศึกษาและกำหนดรูปแบบให้ชัดเจน และมีความรอบครอบรัดกุมคือ ระบบการบริหารจัดการ การจัดเก็บค่าส่วนกลาง เพราะโครงการประเภทนี้หากมีค่าส่วนกลางสูงจะทำให้ผู้อยู่อาศัยลำบาก แต่หากจัดเก็บค่าส่วนกลางต่ำเกินไปจะส่งผลให้เกิดภาระต่อนิติบุคคลอาคารชุดในระยะยาว และจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมาในอนาคต
นอกจากนี้ การกำหนดระยะเวลาในการเช่าซื้อ ให้สัมพันธ์กับไฟแนนช์ ซึ่งก็มีความสำคัญ ในกรณีที่เมื่อหมดสัญญาเช่าซื้อในอนาคตอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ เช่นเดียวกับกรณีของแฟลตดินแดง ซึ่งในส่วนดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดรูปแบบไฟแนนช์และสัญญาให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา
“โครงการดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบกับตลาดอาคารชุด เพราะเชื่อว่าหากเกิดขึ้นจะมีจำนวนจำกัด เมื่อเทียบกับบ้านเอื้ออาทรที่เกิดขึ้นจำนวนมากและมีการกระจายตัวไปทุกที่ ผลกระทบบ้านเอื้ออาทรจะชัดเจนมากกว่า นอกจากนี้ อพาร์ตเมนต์ในโครงการดังกล่าวยังเป็นคนละตลาดกับคอนโดแนวรถไฟฟ้าในปัจจุบันด้วย”
นายอธิป พีขานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า แนวคิดในการพัฒนาอพาร์ทเมนต์ ให้เช่า หรือ ซื้อ ตามแนวรถไฟฟ้าราคา 3 แสนบาท เพื่อผู้มีรายได้น้อยของนายกรัฐมนตรี เข้าใจว่าต้องการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ทำให้เกิดการจ้างงาน มีเงินหมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องการให้รัฐบาลไปเร่งผลักดันโครงการสาธารูปโภคพื้นฐานและการเร่งให้มีโครงการรถไฟฟ้าทุกสายมากกว่า เพราะเป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยาวอีกทั้งยังโครงการที่มีความจำอย่างมากที่จะต้องใช้ในอนาคต
นอกจากนี้รัฐบาลควรศึกษาข้อมูลของโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ปัจจุบันมียูนิตหลือขายพอสมควร และหากจะมีการพัฒนาโครงการอพาร์ตเมนต์สำหรับผู้มีรายได้น้อย สิ่งที่รัฐบาลต้องคำนึงถึง คือ ควรมอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาติ(กคช.)เป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ควรตั้งทีมเฉพาะกิจขึ้นมาทำให้เกิดความซ้ำซ้อน ควบคุมปริมาณให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เหลือขายเช่นบ้านเอื้ออาทรที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงการทำให้เกิดความโปร่งใสไม่มีทุจริตคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ควรพิจารณาว่าในทำเลที่เปิดโครงการมีความต้องการหรือไม่ เช่น อยู่ใกล้แหล่งงาน มหาวิทยาลัย เพราะไม่เช่นนั้นโครงการที่ทำไปแล้วจะไม่มีผู้มาซื้อหรือเช่าอยู่
รศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริหาร บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า น่าจะเป็นโครงการที่ดี โดยน่าจะเป็นการนำที่ดินของภาครัฐมาพัฒนา ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถขายขาดได้ ดังนั้นที่น่าจะทำได้คือโครงการเพื่อเช่าและเช่าซื้อระยะยาว แต่ปัญหาของโครงการประเภทนี้คือ การหาที่ดินซึ่งในขณะนี้ที่ดินในแนวรถไฟฟ้ามีอยู่จำกัด ทำให้ปริมาณในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นได้น้อย และมีความเป็นไปได้น้อยกว่าโครงการบ้านเอื้ออาทร
ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องมีการศึกษาและกำหนดรูปแบบให้ชัดเจน และมีความรอบครอบรัดกุมคือ ระบบการบริหารจัดการ การจัดเก็บค่าส่วนกลาง เพราะโครงการประเภทนี้หากมีค่าส่วนกลางสูงจะทำให้ผู้อยู่อาศัยลำบาก แต่หากจัดเก็บค่าส่วนกลางต่ำเกินไปจะส่งผลให้เกิดภาระต่อนิติบุคคลอาคารชุดในระยะยาว และจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมาในอนาคต
นอกจากนี้ การกำหนดระยะเวลาในการเช่าซื้อ ให้สัมพันธ์กับไฟแนนช์ ซึ่งก็มีความสำคัญ ในกรณีที่เมื่อหมดสัญญาเช่าซื้อในอนาคตอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ เช่นเดียวกับกรณีของแฟลตดินแดง ซึ่งในส่วนดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดรูปแบบไฟแนนช์และสัญญาให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา
“โครงการดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบกับตลาดอาคารชุด เพราะเชื่อว่าหากเกิดขึ้นจะมีจำนวนจำกัด เมื่อเทียบกับบ้านเอื้ออาทรที่เกิดขึ้นจำนวนมากและมีการกระจายตัวไปทุกที่ ผลกระทบบ้านเอื้ออาทรจะชัดเจนมากกว่า นอกจากนี้ อพาร์ตเมนต์ในโครงการดังกล่าวยังเป็นคนละตลาดกับคอนโดแนวรถไฟฟ้าในปัจจุบันด้วย”