วานนี้ (16 มิ.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีการประชุมร่วมกับธุรกิจท่องเที่ยว และสมาคมต่างๆ อาทิ สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว สมาคมมัคคุเทศก์ ตัวแทนสำนักจุฬาราชมนตรี ฯลฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส โดย นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดี คร. กล่าวภายหลังการประชุมว่า จากการเฝ้าระวังการระบาดของโรคยังพบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้จะยังไม่ลุกลามมาไทย แต่ต้องมีการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะกลุ่มผู้เดินทางไปแสวงบุญที่ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย และกลุ่มนักท่องเที่ยว นักธุรกิจที่เดินทางไปมาในประเทศแถบตะวันออกกลาง และสาธารณรัฐเกาหลี เพราะโรคนี้สามารถแพร่กระจายผ่านละอองฝอยน้ำมูก น้ำลาย ไอ และจาม
นพ.โสภณ กล่าวว่า กรมควบคุมโรค จึงออกประกาศกรมควบคุมโรค ณ วันที่ 16 มิ.ย. 58 เรื่อง โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ฉบับที่ 2 โดยออกเป็นคำแนะนำ สำหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค ว่า กลุ่มเสี่ยงที่มีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคไตวาย หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงการเดินทาง ส่วนผู้เดินทางทั่วไป ควรปฏิบัติตน ดังนี้ 1.หากไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานพยาบาลในช่วงที่มีการระบาดของโรค 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้มีอาการไอ จาม 3. หลีกเลี่ยงการเข้าไปหรือสัมผัสฟาร์มสัตว์ หรือสัตว์ป่าต่างๆ หรือดื่มน้ำนมดิบ โดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค โดยเฉพาะน้ำนมอูฐ ซึ่งอาจเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อได้
4.ปฏิบัติตามสุขอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ด้วยน้ำสบู่บ่อยๆ 5.ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่น เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ เมื่อไอ หรือจามควรใช้กระดาษชำระปิดปากและจมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงถังขยะที่ปิดมิดชิดและล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัย กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ควรไอหรือจามลงบนเสื้อผ้าบริเวณแขน ไม่ควรจามรดมือและรีบพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที และ 6. หลังจากกลับจากการเดินทางหากภายใน 14 วันมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก ให้รีบพบแพทย์ทันที
นายกฤชณัฐ มีสำราญ อุปนายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในสมาคมราว 700 บริษัท ซึ่งจะดูแลนักท่องเที่ยวตามประเทศต่างๆ แต่หลังจากมีข่าวการระบาดของโรคเมอร์สในเกาหลีใต้ ส่งผลต่อนักท่องเที่ยวไทย ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงประมาณ 30% จากปกติเดินทางประมาณ 1,500-1,600 คนต่อวัน เนื่องจากหวาดวิตกจากสถานการณ์ที่กระจายไปเกือบทุกจังหวัดในเกาหลีใต้ โดยบางกลุ่มก็ขอเลื่อนการเดินทางไปอีก 1-2 เดือน ซึ่งในสัปดาห์หน้า จะมีการประเมินสถานการณ์การท่องเที่ยวในเกาหลีอีกครั้ง
นายเชิดศักดิ์ ดาวแก้ว นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่นำนักท่องเที่ยวเข้าไทยประมาณ 100 แห่ง เบื้องต้นได้แนะนำมัคคุเทศก์ ให้สังเกตอาการป่วยของลูกทัวร์ทุกคน หากพบอาการไอ จาม มีไข้ ให้รีบนำส่งแพทย์ทันที
นายอรุณ บุญมาเลิศ รองประธานกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพฯ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ 90 กว่าแห่ง ที่ดูแลผู้แสวงบุญไปยังซาอุดิอาระเบีย ซึ่งที่ผ่านมาได้ประสาน คร.ในการตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น และไข้หวัดใหญ่ พร้อมทั้งติดตามหลังกลับมาไทย ซึ่งจะมีสมุดสุขภาพให้แต่ละคน แต่ล่าสุดเมื่อมีโรคเมอร์สเข้ามาก็จะมีการใส่ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวในสมุดสุขภาพของผู้แสวงบุญด้วย
ด้านนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว. การท่องเที่ยวและกีฬา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมครม. กรณีที่ประเทศไวรัสเมอร์ส ระบาดในเกาหลีใต้ ว่า เรื่องนี้ไม่กระทบกับการท่องเที่ยวในประเทศไทยแต่อย่างใด โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข ในการสร้างความเข้าใจกับนักท่องเที่ยว เกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง และยืนยันว่าไม่กระทบกับตัวเลขการท่องเที่ยวในประเทศไทย เพราะขณะนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และสองปีก่อนหน้านี้ด้วย ดังนั้นเชื่อว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวจะเป็นตามเป้าที่ 28.8 ล้านคน และตามเป้ารายได้ที่ 2.2 ล้านล้านบาท
นพ.โสภณ กล่าวว่า กรมควบคุมโรค จึงออกประกาศกรมควบคุมโรค ณ วันที่ 16 มิ.ย. 58 เรื่อง โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ฉบับที่ 2 โดยออกเป็นคำแนะนำ สำหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค ว่า กลุ่มเสี่ยงที่มีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคไตวาย หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงการเดินทาง ส่วนผู้เดินทางทั่วไป ควรปฏิบัติตน ดังนี้ 1.หากไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานพยาบาลในช่วงที่มีการระบาดของโรค 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้มีอาการไอ จาม 3. หลีกเลี่ยงการเข้าไปหรือสัมผัสฟาร์มสัตว์ หรือสัตว์ป่าต่างๆ หรือดื่มน้ำนมดิบ โดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค โดยเฉพาะน้ำนมอูฐ ซึ่งอาจเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อได้
4.ปฏิบัติตามสุขอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ด้วยน้ำสบู่บ่อยๆ 5.ถ้ามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่น เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ เมื่อไอ หรือจามควรใช้กระดาษชำระปิดปากและจมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงถังขยะที่ปิดมิดชิดและล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัย กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ควรไอหรือจามลงบนเสื้อผ้าบริเวณแขน ไม่ควรจามรดมือและรีบพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที และ 6. หลังจากกลับจากการเดินทางหากภายใน 14 วันมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก ให้รีบพบแพทย์ทันที
นายกฤชณัฐ มีสำราญ อุปนายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในสมาคมราว 700 บริษัท ซึ่งจะดูแลนักท่องเที่ยวตามประเทศต่างๆ แต่หลังจากมีข่าวการระบาดของโรคเมอร์สในเกาหลีใต้ ส่งผลต่อนักท่องเที่ยวไทย ทำให้นักท่องเที่ยวลดลงประมาณ 30% จากปกติเดินทางประมาณ 1,500-1,600 คนต่อวัน เนื่องจากหวาดวิตกจากสถานการณ์ที่กระจายไปเกือบทุกจังหวัดในเกาหลีใต้ โดยบางกลุ่มก็ขอเลื่อนการเดินทางไปอีก 1-2 เดือน ซึ่งในสัปดาห์หน้า จะมีการประเมินสถานการณ์การท่องเที่ยวในเกาหลีอีกครั้ง
นายเชิดศักดิ์ ดาวแก้ว นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่นำนักท่องเที่ยวเข้าไทยประมาณ 100 แห่ง เบื้องต้นได้แนะนำมัคคุเทศก์ ให้สังเกตอาการป่วยของลูกทัวร์ทุกคน หากพบอาการไอ จาม มีไข้ ให้รีบนำส่งแพทย์ทันที
นายอรุณ บุญมาเลิศ รองประธานกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพฯ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ 90 กว่าแห่ง ที่ดูแลผู้แสวงบุญไปยังซาอุดิอาระเบีย ซึ่งที่ผ่านมาได้ประสาน คร.ในการตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น และไข้หวัดใหญ่ พร้อมทั้งติดตามหลังกลับมาไทย ซึ่งจะมีสมุดสุขภาพให้แต่ละคน แต่ล่าสุดเมื่อมีโรคเมอร์สเข้ามาก็จะมีการใส่ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวในสมุดสุขภาพของผู้แสวงบุญด้วย
ด้านนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว. การท่องเที่ยวและกีฬา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมครม. กรณีที่ประเทศไวรัสเมอร์ส ระบาดในเกาหลีใต้ ว่า เรื่องนี้ไม่กระทบกับการท่องเที่ยวในประเทศไทยแต่อย่างใด โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข ในการสร้างความเข้าใจกับนักท่องเที่ยว เกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง และยืนยันว่าไม่กระทบกับตัวเลขการท่องเที่ยวในประเทศไทย เพราะขณะนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และสองปีก่อนหน้านี้ด้วย ดังนั้นเชื่อว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวจะเป็นตามเป้าที่ 28.8 ล้านคน และตามเป้ารายได้ที่ 2.2 ล้านล้านบาท