เอกชนยื่นตรวจคุณสมบัติประมูลข้าวสต๊อกรัฐ 1.06 ล้านตันบางตา แค่ 43 ราย ต่ำกว่า 2 ครั้งก่อนมาก พบสาเหตุไม่มั่นใจคุณภาพข้าว หลังประมูลได้ไปก่อนหน้าเจอปัญหาเพียบ แถมราคาตลาดยังปรับตัวลดลง จนใกล้ราคาขั้นต่ำที่รัฐกำหนด ซื้อไปเกรงไม่คุ้ม
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า วานนี้ (15 มิ.ย.) กรมการค้าต่างประเทศได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลข้าวสารสต๊อกรัฐบาลแบบรายคลัง ครั้งที่ 3/2558 ปริมาณ 1.06 ล้านตัน ยื่นซองเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติก่อนที่จะให้ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติยื่นซองเสนอราคาในวันนี้ (16 มิ.ย.) ปรากฏว่ามีผู้สนใจยื่นตรวจสอบคุณสมบัติเพียง 43 ราย น้อยกว่า 2ครั้งที่ผ่านมา โดยครั้งแรกมีผู้ผ่านคุณสมบัติ 96 ราย ครั้งที่ 2 ผ่าน 45 ราย
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว ระบุว่า สาเหตุที่มีผู้เข้าร่วมตรวจสอบคุณสมบัติประมูลข้าวน้อยกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ประกอบการไม่มั่นใจคุณภาพข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล เพราะผู้ที่ได้รับการอนุมัติซื้อข้าวรัฐบาลเมื่อ 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ต่างประสบปัญหาการรับมอบข้าวแล้วบางส่วนไม่ได้คุณภาพทำให้ต้องมีการร้องเรียนเข้ามายังองค์การคลังสินค้า (อคส.) ซึ่งเป็นคู่สัญญาข้าวในโกดังที่ขายกับภาคเอกชนให้ช่วยแก้ไขปัญหาให้
ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหา อคส. กำลังดำเนินการกับคู่สัญญาที่รับผิดชอบคุณภาพและปริมาณข้าว โดยหากเป็นข้าวที่ได้จากโครงการรับจำนำปี 2556/57 ผู้ที่รับผิดชอบค่าเสียหายจะเป็นเจ้าของโกดังกลาง ส่วนข้าวที่ได้จากโครงการรับจำนำปี 2554/55 และ 2555/56 ผู้ที่รับผิดชอบค่าเสียหาย คือ บริษัทผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าวที่จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ปัจจัยเรื่องคุณภาพข้าวเป็นเหตุผลส่วนน้อย แต่เหตุผลหลัก คือ ราคาข้าวในตลาดลดลง โดยข้าวขาวใหม่ราคาปรับลดมาอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 11 บาท ทำให้ราคาใกล้เคียงกับข้าวในสต๊อก ที่รัฐประกาศราคาขั้นต่ำ (Floor Value) เฉลี่ยกก.ละ 9.40-9.50 บาท ทำให้ผู้ประกอบการรอดูสถานการณ์ เพราะหากข้าวใหม่ปรับตัวลดลง ไปซื้อข้าวใหม่จะคุ้มกว่า เพราะข้าวเก่าซื้อไปแล้ว ก็ต้องนำไปรับปรุง
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ราคาข้าวในตลาดปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดข้าวค่อนข้างซบเซา โดยคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชะลอตัว ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะเวียดนามได้ปรับลดราคาข้าวส่งออกเหลือแค่ตันละ 340-350 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ข้าวไทยส่งออกตันละ 380-390 เหรียญสหรัฐ
นายสมพงษ์ กิตติเรียงลาภประธานบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด หนึ่งในผู้ร่วมเสนอตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อร่วมประมูลซื้อข้าวในสต็อกรัฐบาล กล่าวว่า จำนวนผู้ยื่นตรวจสอบคุณสมบัติที่มีเพียง 43 ราย ถือว่าไม่น้อยจนเกินไป ชี้ให้เห็นว่าตลาดยังมีความต้องการข้าวจากรัฐบาลอยู่แต่สาเหตุที่ทำให้ผู้ซื้อมีน้อยรายเมื่อเทียบกับการประมูลครั้งก่อนๆ เป็นเพราะเอกชนไม่มั่นใจคุณภาพข้าวที่อยู่ในสต็อกรัฐบาล เนื่องจากเงื่อนไขสัญญาการซื้อข้าวจะระบุว่าให้เอกชนรับข้าวในสภาพหน้าคลัง โดยคู่สัญญาคือกระทรวงพาณิชย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น แต่ข้อมูลที่เอกชนมีอยู่พบว่าข้าวที่อยู่ข้างในกองข้าวมีคุณภาพต่ำมาก หากเอกชนซื้อข้าวไปแล้วจะขาดทุนทันที เพราะได้สินค้าคุณภาพต่ำ และไม่สามารถไปเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น เซอร์เวย์เยอร์ได้ เพราะไม่ใช่คู่สัญญา ขณะที่คู่สัญญาที่แท้จริงคือกระทรวงพาณิชย์ได้ปฎิเสธความรับผิดชอบไปแล้ว
“จริงๆ 43 ราย ไม่น้อยมาก เพราะคนที่จะซื้อข้าวได้จริงๆ ก็มีไม่กี่ราย หากจะให้ดูว่าทำไมคนร่วมประมูลน้อยก็คงเป็นเพราะไม่กล้าซื้อข้าวรัฐ เนื่องจากมีข้อมูลว่าข้าวส่วนข้างในจะคุณภาพต่ำต่างจากข้าวที่อยู่ด้านหน้าที่ตอนตรวจสต็อกสามารถมองเห็นได้แล้วสรุปว่าเป็นกองข้าวที่มีคุณภาพดี ซึ่งประสบการณ์มีคนซื้อข้าว 5% แต่ได้ข้าว 25% ก็ต้องแบกรับภาระและการขาดทุนไป”นายสมพงษ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า วานนี้ (15 มิ.ย.) กรมการค้าต่างประเทศได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลข้าวสารสต๊อกรัฐบาลแบบรายคลัง ครั้งที่ 3/2558 ปริมาณ 1.06 ล้านตัน ยื่นซองเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติก่อนที่จะให้ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติยื่นซองเสนอราคาในวันนี้ (16 มิ.ย.) ปรากฏว่ามีผู้สนใจยื่นตรวจสอบคุณสมบัติเพียง 43 ราย น้อยกว่า 2ครั้งที่ผ่านมา โดยครั้งแรกมีผู้ผ่านคุณสมบัติ 96 ราย ครั้งที่ 2 ผ่าน 45 ราย
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว ระบุว่า สาเหตุที่มีผู้เข้าร่วมตรวจสอบคุณสมบัติประมูลข้าวน้อยกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ประกอบการไม่มั่นใจคุณภาพข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล เพราะผู้ที่ได้รับการอนุมัติซื้อข้าวรัฐบาลเมื่อ 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ต่างประสบปัญหาการรับมอบข้าวแล้วบางส่วนไม่ได้คุณภาพทำให้ต้องมีการร้องเรียนเข้ามายังองค์การคลังสินค้า (อคส.) ซึ่งเป็นคู่สัญญาข้าวในโกดังที่ขายกับภาคเอกชนให้ช่วยแก้ไขปัญหาให้
ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหา อคส. กำลังดำเนินการกับคู่สัญญาที่รับผิดชอบคุณภาพและปริมาณข้าว โดยหากเป็นข้าวที่ได้จากโครงการรับจำนำปี 2556/57 ผู้ที่รับผิดชอบค่าเสียหายจะเป็นเจ้าของโกดังกลาง ส่วนข้าวที่ได้จากโครงการรับจำนำปี 2554/55 และ 2555/56 ผู้ที่รับผิดชอบค่าเสียหาย คือ บริษัทผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าวที่จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ปัจจัยเรื่องคุณภาพข้าวเป็นเหตุผลส่วนน้อย แต่เหตุผลหลัก คือ ราคาข้าวในตลาดลดลง โดยข้าวขาวใหม่ราคาปรับลดมาอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 11 บาท ทำให้ราคาใกล้เคียงกับข้าวในสต๊อก ที่รัฐประกาศราคาขั้นต่ำ (Floor Value) เฉลี่ยกก.ละ 9.40-9.50 บาท ทำให้ผู้ประกอบการรอดูสถานการณ์ เพราะหากข้าวใหม่ปรับตัวลดลง ไปซื้อข้าวใหม่จะคุ้มกว่า เพราะข้าวเก่าซื้อไปแล้ว ก็ต้องนำไปรับปรุง
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ราคาข้าวในตลาดปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดข้าวค่อนข้างซบเซา โดยคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชะลอตัว ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะเวียดนามได้ปรับลดราคาข้าวส่งออกเหลือแค่ตันละ 340-350 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ข้าวไทยส่งออกตันละ 380-390 เหรียญสหรัฐ
นายสมพงษ์ กิตติเรียงลาภประธานบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด หนึ่งในผู้ร่วมเสนอตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อร่วมประมูลซื้อข้าวในสต็อกรัฐบาล กล่าวว่า จำนวนผู้ยื่นตรวจสอบคุณสมบัติที่มีเพียง 43 ราย ถือว่าไม่น้อยจนเกินไป ชี้ให้เห็นว่าตลาดยังมีความต้องการข้าวจากรัฐบาลอยู่แต่สาเหตุที่ทำให้ผู้ซื้อมีน้อยรายเมื่อเทียบกับการประมูลครั้งก่อนๆ เป็นเพราะเอกชนไม่มั่นใจคุณภาพข้าวที่อยู่ในสต็อกรัฐบาล เนื่องจากเงื่อนไขสัญญาการซื้อข้าวจะระบุว่าให้เอกชนรับข้าวในสภาพหน้าคลัง โดยคู่สัญญาคือกระทรวงพาณิชย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น แต่ข้อมูลที่เอกชนมีอยู่พบว่าข้าวที่อยู่ข้างในกองข้าวมีคุณภาพต่ำมาก หากเอกชนซื้อข้าวไปแล้วจะขาดทุนทันที เพราะได้สินค้าคุณภาพต่ำ และไม่สามารถไปเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น เซอร์เวย์เยอร์ได้ เพราะไม่ใช่คู่สัญญา ขณะที่คู่สัญญาที่แท้จริงคือกระทรวงพาณิชย์ได้ปฎิเสธความรับผิดชอบไปแล้ว
“จริงๆ 43 ราย ไม่น้อยมาก เพราะคนที่จะซื้อข้าวได้จริงๆ ก็มีไม่กี่ราย หากจะให้ดูว่าทำไมคนร่วมประมูลน้อยก็คงเป็นเพราะไม่กล้าซื้อข้าวรัฐ เนื่องจากมีข้อมูลว่าข้าวส่วนข้างในจะคุณภาพต่ำต่างจากข้าวที่อยู่ด้านหน้าที่ตอนตรวจสต็อกสามารถมองเห็นได้แล้วสรุปว่าเป็นกองข้าวที่มีคุณภาพดี ซึ่งประสบการณ์มีคนซื้อข้าว 5% แต่ได้ข้าว 25% ก็ต้องแบกรับภาระและการขาดทุนไป”นายสมพงษ์กล่าว