ASTVผู้จัดการรายวัน-รองปลัดกระทรวงยุติธรรมชงแนวทางแก้ปัญหา "เด็กแว้น" แนะให้ระดมจับกุมต่อเนื่อง หากจับได้ ห้ามให้ประกันตัว ต้องส่งเข้าสถานพินิจฯ สถานเดียว "ไพบูลย์"รับลูก เชิญหารือ 15 มิ.ย.นี้ "สมยศ"ยันไม่คาดโทษท้องที่มีแก๊งแว้น แต่ต้องดำเนินการสกัดเต็มที่ สั่ง บก.ปอท. ติดตามเอาผิดเว็บ เฟซบุ๊ก ให้ข้อมูลตำรวจตั้งด่าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (10 มิ.ย.) นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้เขียนข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงการแก้ปัญหา กลุ่มเด็กแว้น โดยเสนอแนวทางแก้ไข ทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว
โดยเนื้อหาในเฟซบุ๊ก สรุปใจความได้ว่า แว้นบอย สก๊อยเกิร์ล กับราชพฤกษ์โมเดล เฉพาะกลุ่มเด็กหรือเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี จากทั้งหมด 125 คน เป็นเยาวชนหญิง 1 คน เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และไม่เรียนหนังสือ 84 คน โดยการแก้ปัญหา อย่าแก้แบบไฟไหม้ฟาง ต้องทำเชิงระบบยาวๆ เพื่อป้องกันมิให้มันเกิดขึ้นอีก หรือเกิดขึ้นก็ในสัดส่วนที่ลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหา เพราะพฤติกรรมนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมพัฒนาการตามวัยเท่านั้น ดั่งเราจะเห็นว่าเด็กชุดนี้ จะไม่มีทางแว้นไปตลอดชีวิต อีกไม่กี่ปีก็คิดได้ว่า กู...ทำไปทำไม?
สำหรับข้อเสนอ การแก้ปัญหาระยะสั้น ต้องระดมจับอย่างต่อเนื่อง เพื่อหยุดพฤติกรรม และเป็นการยุติโรคฉวยโอกาสที่จะตามมา เช่น อุบัติเหตุ พิการ เสียชีวิต หรือท้องก่อนวัยจากการนำสก๊อยเกิร์ลไปเป็นหลักประกันในการแข่งขัน และศาลต้องไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวทุกกรณี โดยสั่งให้เด็กหรือเยาวชนเข้าโปรแกรมปรับพฤติกรรมของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หรือจัดโปรแกรมบำบัดที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลตามผลการเมินจากเครื่องมือจำแนกปัจจัยจำเป็นและปัจจัยเสี่ยง โดยให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งต่อไป
ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว โรงเรียนต้องเลิกระบบขับไสไล่ส่งเด็กที่มีพฤติกรรมเสียหาย , ใช้ทฤษฎีจับถูก ไม่จับผิด , นำเด็กหรือเยาวชนไปจัดกิจกรรมจิตอาสา , ส่งเสริมให้เยาวชนทำงานในช่วงปิดเทอม , ควรจัดโรงหรือหรือหลักสูตรเตรียมคู่สมรสก่อนการสมรส , การดูแลเด็กหรือเยาวชน , จัดการศึกษานอกโรงเรียน , บังคับใช้มาตรการเอาผิดผู้ปกครองที่ไม่ส่งบุตรหลานเข้าเรียน , จัดให้มีบ้านพักกลุ่มเด็กหรือเยาวชนที่ไร้ที่พึ่ง ,
ทั้งนี้ ล่าสุด พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้รับทราบข้อเสนอแนวทางการแก้ไขของนายธวัชชัยแล้ว และได้เชิญให้เข้าร่วมประชุมแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในวันที่ 15 มิ.ย.2558 เวลา 13.00 น.
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผบ.ตร.และโฆษกตร. นำตัวนายมิ้ม คงอยู่ อายุ 27 ปี ผู้โพสต์ข้อความกล่าวหาเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิต่างๆ ขโมยอะไหล่รถจักรยานยนต์ ภายหลังตำรวจทหารจับกุมกลุ่มวัยรุ่นแข่งรถจักรยานยนต์บนทางสาธารณะในพื้นที่ สน.ตลาดพลู จับกุมผู้กระทำผิดได้กว่า 400 คน เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นายมิ้มได้กล่าวขอโทษในสิ่งที่กระทำลงไป โดยยอมรับว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยที่ผ่านมา มีการโพสต์ข้อความขอโทษเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร รวมทั้งตำรวจและทหารที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในวันเกิดเหตุแล้ว และขอฝากถึงกลุ่มวัยรุ่นที่แข่งรถว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อาสาถือเป็นการไปช่วยเหลือเวลาได้รับบาดเจ็บเท่านั้น
พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า จะไม่มีการดำเนินคดีนายมิ้น แต่กำลังติดตามผู้ที่โพสต์ข้อความข่มขู่และล้างแค้นเจ้าหน้าที่อาสาขณะที่ความคืบหน้าคดีจับกุมเด็กแว้นในราชพฤกษ์โมเดล พนักงานสอบสวนได้เชิญผู้ปกครองมาสอบปากคำว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการปล่อยปละละเลยบุตรหลานในการกระทำความผิดหรือไม่ เบื้องต้นพบว่าเข้าข่ายมีความผิด 2-3 ราย ผู้ปกครองบางรายยอมรับว่าบุตรของตนเองเคยถูกจับกุมเช่นนี้มาแล้ว บางคนก็รับว่าไม่เคยดูแลบุตรเลย โดยไม่เคยพบหน้ากันเป็นปี และพบว่ากลุ่มเยาวชนที่การกระทำผิดซ้ำ 41 คน และร้อยละ 80 เกี่ยวกับคดียาเสพติด
ด้านพล.ต.อ.สมยศกล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีและมาตรการปราบปรามเด็กแว้นว่า การดำเนินคดี พนักงานสอบสวนกำลังดำเนินการ โดยในส่วนของตำรวจมีการวางกำลังอย่างเต็มที่ในการตั้งด่านสกัด แต่ขั้นนี้ไม่มีการคาดโทษแก่ตำรวจ หากท้องที่ไหนยังมีเด็กแว้น เพราะจะเป็นการทำลายขวัญกำลังใจ
ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.ประวุฒิ เข้าหารือพล.อ.ไพบูลย์ เพื่อชี้แจงแนวทางในการแก้ปัญหาการจัดระเบียบร้านสุรา สถานบริการรอบสถานศึกษา โดยจะเสนอให้มีการเชิญภาคส่วนอื่นๆ เช่น ฝ่ายปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร (กทม.) จังหวัด กรมสรรพสามิต ร่วมหารือหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันด้วย
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวด้วยว่า ได้สั่งการให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บก.ปอท.) ตรวจสอบหาเว็บไซต์ เว็บเพจ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ตั้ง เวลา การตั้งด่านของตำรวจ ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีเพจเฟซบุ๊กหรือเว็บไซต์ลักษณะนี้จำนวนมากนำเสนอข้อมูลการตั้งด่าน ทั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ ด่านความั่นคง ด่านกวดขันวินัยจราจร ของตำรวจทุกวัน แต่ละเพจมีผู้ติดตามร่วมแสน เช่นเพจ "คนรักด่าน" โดยบางเพจอ้างว่า ทำเพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเตรียมตัวรับการตรวจเมื่อถึงด่าน ตรงนี้ต้องบอกว่าไม่จำเป็น เพราะการตรวจที่ด่านไม่จำเป็นต้องเตรีมเอกสารหรือเตรียมตัวอะไร ขอแจ้งว่าเพจหรือเว็บที่ให้ข้อมูลการตั้งด่านถือว่ามีความผิด เพราะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลด้านความมั่นคงตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) และหากมิจฉาชีพ คนร้ายนำข้อมูลนี้ไปใช้หลบเลี่ยงด่าน หนีการถูกจับกุม ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลการตั้งด่านถือว่าสนับสนุนการกระทำผิดและการหลบหนี มีโทษทางอาญาด้วย
"ผมว่าข้อมูลการตั้งด่านของตำรวจไม่เป็นประโยชน์อะไรที่จะต้องนำมาแพร่ สุจริตชนไม่จำเป็นต้องรู้ เพราะไม่ต้องหนี ต้องเลี่ยง เนื่องจากไม่ได้ทำอะไรผิด คนที่เอามาแพร่เพื่อใช้หลบหนี ใช้เลี่ยงถือว่าเป็นพวกทำผิด พวกเจตนาไม่สุจริต ดังนั้น ใครที่ทำอยู่ขอให้หยุด ผมสั่งการ ปอท.ตรวจสอบติดตามจับกุมและจำต้องดำเนินคดีทุกราย"ผบ.ตร.กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (10 มิ.ย.) นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้เขียนข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงการแก้ปัญหา กลุ่มเด็กแว้น โดยเสนอแนวทางแก้ไข ทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว
โดยเนื้อหาในเฟซบุ๊ก สรุปใจความได้ว่า แว้นบอย สก๊อยเกิร์ล กับราชพฤกษ์โมเดล เฉพาะกลุ่มเด็กหรือเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี จากทั้งหมด 125 คน เป็นเยาวชนหญิง 1 คน เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และไม่เรียนหนังสือ 84 คน โดยการแก้ปัญหา อย่าแก้แบบไฟไหม้ฟาง ต้องทำเชิงระบบยาวๆ เพื่อป้องกันมิให้มันเกิดขึ้นอีก หรือเกิดขึ้นก็ในสัดส่วนที่ลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหา เพราะพฤติกรรมนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมพัฒนาการตามวัยเท่านั้น ดั่งเราจะเห็นว่าเด็กชุดนี้ จะไม่มีทางแว้นไปตลอดชีวิต อีกไม่กี่ปีก็คิดได้ว่า กู...ทำไปทำไม?
สำหรับข้อเสนอ การแก้ปัญหาระยะสั้น ต้องระดมจับอย่างต่อเนื่อง เพื่อหยุดพฤติกรรม และเป็นการยุติโรคฉวยโอกาสที่จะตามมา เช่น อุบัติเหตุ พิการ เสียชีวิต หรือท้องก่อนวัยจากการนำสก๊อยเกิร์ลไปเป็นหลักประกันในการแข่งขัน และศาลต้องไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวทุกกรณี โดยสั่งให้เด็กหรือเยาวชนเข้าโปรแกรมปรับพฤติกรรมของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หรือจัดโปรแกรมบำบัดที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลตามผลการเมินจากเครื่องมือจำแนกปัจจัยจำเป็นและปัจจัยเสี่ยง โดยให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งต่อไป
ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว โรงเรียนต้องเลิกระบบขับไสไล่ส่งเด็กที่มีพฤติกรรมเสียหาย , ใช้ทฤษฎีจับถูก ไม่จับผิด , นำเด็กหรือเยาวชนไปจัดกิจกรรมจิตอาสา , ส่งเสริมให้เยาวชนทำงานในช่วงปิดเทอม , ควรจัดโรงหรือหรือหลักสูตรเตรียมคู่สมรสก่อนการสมรส , การดูแลเด็กหรือเยาวชน , จัดการศึกษานอกโรงเรียน , บังคับใช้มาตรการเอาผิดผู้ปกครองที่ไม่ส่งบุตรหลานเข้าเรียน , จัดให้มีบ้านพักกลุ่มเด็กหรือเยาวชนที่ไร้ที่พึ่ง ,
ทั้งนี้ ล่าสุด พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้รับทราบข้อเสนอแนวทางการแก้ไขของนายธวัชชัยแล้ว และได้เชิญให้เข้าร่วมประชุมแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในวันที่ 15 มิ.ย.2558 เวลา 13.00 น.
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผบ.ตร.และโฆษกตร. นำตัวนายมิ้ม คงอยู่ อายุ 27 ปี ผู้โพสต์ข้อความกล่าวหาเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิต่างๆ ขโมยอะไหล่รถจักรยานยนต์ ภายหลังตำรวจทหารจับกุมกลุ่มวัยรุ่นแข่งรถจักรยานยนต์บนทางสาธารณะในพื้นที่ สน.ตลาดพลู จับกุมผู้กระทำผิดได้กว่า 400 คน เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นายมิ้มได้กล่าวขอโทษในสิ่งที่กระทำลงไป โดยยอมรับว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยที่ผ่านมา มีการโพสต์ข้อความขอโทษเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร รวมทั้งตำรวจและทหารที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในวันเกิดเหตุแล้ว และขอฝากถึงกลุ่มวัยรุ่นที่แข่งรถว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อาสาถือเป็นการไปช่วยเหลือเวลาได้รับบาดเจ็บเท่านั้น
พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า จะไม่มีการดำเนินคดีนายมิ้น แต่กำลังติดตามผู้ที่โพสต์ข้อความข่มขู่และล้างแค้นเจ้าหน้าที่อาสาขณะที่ความคืบหน้าคดีจับกุมเด็กแว้นในราชพฤกษ์โมเดล พนักงานสอบสวนได้เชิญผู้ปกครองมาสอบปากคำว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการปล่อยปละละเลยบุตรหลานในการกระทำความผิดหรือไม่ เบื้องต้นพบว่าเข้าข่ายมีความผิด 2-3 ราย ผู้ปกครองบางรายยอมรับว่าบุตรของตนเองเคยถูกจับกุมเช่นนี้มาแล้ว บางคนก็รับว่าไม่เคยดูแลบุตรเลย โดยไม่เคยพบหน้ากันเป็นปี และพบว่ากลุ่มเยาวชนที่การกระทำผิดซ้ำ 41 คน และร้อยละ 80 เกี่ยวกับคดียาเสพติด
ด้านพล.ต.อ.สมยศกล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีและมาตรการปราบปรามเด็กแว้นว่า การดำเนินคดี พนักงานสอบสวนกำลังดำเนินการ โดยในส่วนของตำรวจมีการวางกำลังอย่างเต็มที่ในการตั้งด่านสกัด แต่ขั้นนี้ไม่มีการคาดโทษแก่ตำรวจ หากท้องที่ไหนยังมีเด็กแว้น เพราะจะเป็นการทำลายขวัญกำลังใจ
ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.ประวุฒิ เข้าหารือพล.อ.ไพบูลย์ เพื่อชี้แจงแนวทางในการแก้ปัญหาการจัดระเบียบร้านสุรา สถานบริการรอบสถานศึกษา โดยจะเสนอให้มีการเชิญภาคส่วนอื่นๆ เช่น ฝ่ายปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร (กทม.) จังหวัด กรมสรรพสามิต ร่วมหารือหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันด้วย
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวด้วยว่า ได้สั่งการให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บก.ปอท.) ตรวจสอบหาเว็บไซต์ เว็บเพจ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ตั้ง เวลา การตั้งด่านของตำรวจ ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีเพจเฟซบุ๊กหรือเว็บไซต์ลักษณะนี้จำนวนมากนำเสนอข้อมูลการตั้งด่าน ทั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ ด่านความั่นคง ด่านกวดขันวินัยจราจร ของตำรวจทุกวัน แต่ละเพจมีผู้ติดตามร่วมแสน เช่นเพจ "คนรักด่าน" โดยบางเพจอ้างว่า ทำเพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเตรียมตัวรับการตรวจเมื่อถึงด่าน ตรงนี้ต้องบอกว่าไม่จำเป็น เพราะการตรวจที่ด่านไม่จำเป็นต้องเตรีมเอกสารหรือเตรียมตัวอะไร ขอแจ้งว่าเพจหรือเว็บที่ให้ข้อมูลการตั้งด่านถือว่ามีความผิด เพราะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลด้านความมั่นคงตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) และหากมิจฉาชีพ คนร้ายนำข้อมูลนี้ไปใช้หลบเลี่ยงด่าน หนีการถูกจับกุม ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลการตั้งด่านถือว่าสนับสนุนการกระทำผิดและการหลบหนี มีโทษทางอาญาด้วย
"ผมว่าข้อมูลการตั้งด่านของตำรวจไม่เป็นประโยชน์อะไรที่จะต้องนำมาแพร่ สุจริตชนไม่จำเป็นต้องรู้ เพราะไม่ต้องหนี ต้องเลี่ยง เนื่องจากไม่ได้ทำอะไรผิด คนที่เอามาแพร่เพื่อใช้หลบหนี ใช้เลี่ยงถือว่าเป็นพวกทำผิด พวกเจตนาไม่สุจริต ดังนั้น ใครที่ทำอยู่ขอให้หยุด ผมสั่งการ ปอท.ตรวจสอบติดตามจับกุมและจำต้องดำเนินคดีทุกราย"ผบ.ตร.กล่าว