ASTVผู้จัดการรายวัน-"ปานเทพ" นำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ยื่นหนังสือต่อ “ประยุทธ์” เสนอแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนก๊าซใน 6 ปีข้างหน้า แนะใช้อำนาจตาม ม.44 เปิดประมูลแข่งขันผลิตปิโตรเลียมโดยใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ย้ำต้องกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลยอมปรับเงื่อนไขให้การผลิตดำเนินต่อไปโดยไม่ขาดตอน และมอบอุปกรณ์ เครื่องมือเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ พร้อมแนะให้แก้กฎหมายปิโตรเลียมด้วย ชาวบ้านบุรีรัมย์เรียกร้องรัฐ เอกชน ชี้แจงผลกระทบการขุดเจาะรอบใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (4 มิ.ย.) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำโดยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านนายจำเริญ ยุติธรรมสกุล รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอการแก้ไขปัญหาขาดแคลนก๊าซธรรมชาติใน 6 ปีข้างหน้า
นายปานเทพกล่าวว่า สัมปทานปิโตรเลียมเดิมที่จะหมดลงในปี 2565-2566 ไม่มีเงื่อนไขให้รัฐบาลเข้าพื้นที่เพื่อโอนถ่ายการผลิตปิโตรเลียม ทำให้รัฐไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ ก่อนที่จะสิ้นสุดสัญญา ซึ่งอาจทำให้เกิดวิกฤตพลังงานได้ เป็นเหตุให้รัฐต้องตัดสินเปิดสัมปทานรอบที่ 21 เพื่อหาพลังงานทดแทน โดยไม่ผ่านการประมูล หรืออาจจะถูกกดดันให้มีการต่ออายุการผลิตแก่ผู้ผลิตรายเดิม
ดังนั้น คปพ. จึงเห็นว่ารัฐต้องสร้างเงื่อนไขที่ชอบธรรม ให้อำนาจต่อรองกลับมาเป็นของรัฐ จึงเสนอให้นายกฯ ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เปิดประมูลแข่งขันในการผลิตปิโตรเลียมที่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตเฉพาะแปลงที่มีศักยภาพสูง และต้องกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องยินยอมปรับปรุงเงื่อนไขของสัญญาเพื่อให้การผลิตดำเนินต่อไปโดยไม่ขาดตอน รวมทั้งต้องมอบอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ และให้รัฐสามารถเข้าพื้นที่เพื่อรับมอบการโอนถ่ายการผลิตปิโตรเลียมก่อนหมดอายุสัมปทาน
นายปานเทพกล่าวว่า ยังขอให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยขอเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการปิโตรเลียมของ คปพ. ให้เปรียบเทียบและทำประชาพิจารณ์แล้วจึงส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบต่อไป
ที่ จ.บุรีรัมย์ ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมบนบกใน 4 อำเภอ ประกอบ อ.เมือง อ.คูเมือง อ.แคนดง และอ.สตึก กว่า 120 คนร่วมเวทีเสริมสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการพลังงาน ของเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ห้องประชุมเทศบาลหินเหล็กไฟ อ.คูเมือง เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างภาครัฐ และเอกชนที่จะเข้ามาขุดเจาะสำรวจรอบใหม่ในปีงบประมาณ 2558 โดยใช้วิธีระเบิดวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ
โดยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการขุดเจาะครั้งที่ผ่านมา และประชาชนในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการสำรวจรอบใหม่ใน 5 อำเภอ ต้องการให้ทางหน่วยงานของรัฐ และบริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาขุดเจาะสำรวจ ชี้แจงข้อเท็จจริงของผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สุขภาพของประชาชน พื้นที่การเกษตร รวมถึงน้ำใต้ดินที่ชาวบ้านใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรมาโดยตลอด โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงด้วย
เพราะที่ผ่านมา ทั้งทางภาครัฐและเอกชนไม่มีการทำความเข้าใจกับประชาชนเท่าที่ควร แม้การชดเชยเยียวยาความเสียหายของไร่นาและบ้านเรือนประชาชน ก็ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือแต่อย่างใด ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชน จึงอยากให้ทั้งภาครัฐและเอกชนเร่งทำความเข้าใจ และชี้แจงให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดก่อนที่จะมีการสำรวจรอบใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (4 มิ.ย.) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำโดยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านนายจำเริญ ยุติธรรมสกุล รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอการแก้ไขปัญหาขาดแคลนก๊าซธรรมชาติใน 6 ปีข้างหน้า
นายปานเทพกล่าวว่า สัมปทานปิโตรเลียมเดิมที่จะหมดลงในปี 2565-2566 ไม่มีเงื่อนไขให้รัฐบาลเข้าพื้นที่เพื่อโอนถ่ายการผลิตปิโตรเลียม ทำให้รัฐไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ ก่อนที่จะสิ้นสุดสัญญา ซึ่งอาจทำให้เกิดวิกฤตพลังงานได้ เป็นเหตุให้รัฐต้องตัดสินเปิดสัมปทานรอบที่ 21 เพื่อหาพลังงานทดแทน โดยไม่ผ่านการประมูล หรืออาจจะถูกกดดันให้มีการต่ออายุการผลิตแก่ผู้ผลิตรายเดิม
ดังนั้น คปพ. จึงเห็นว่ารัฐต้องสร้างเงื่อนไขที่ชอบธรรม ให้อำนาจต่อรองกลับมาเป็นของรัฐ จึงเสนอให้นายกฯ ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เปิดประมูลแข่งขันในการผลิตปิโตรเลียมที่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตเฉพาะแปลงที่มีศักยภาพสูง และต้องกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องยินยอมปรับปรุงเงื่อนไขของสัญญาเพื่อให้การผลิตดำเนินต่อไปโดยไม่ขาดตอน รวมทั้งต้องมอบอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ และให้รัฐสามารถเข้าพื้นที่เพื่อรับมอบการโอนถ่ายการผลิตปิโตรเลียมก่อนหมดอายุสัมปทาน
นายปานเทพกล่าวว่า ยังขอให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยขอเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการปิโตรเลียมของ คปพ. ให้เปรียบเทียบและทำประชาพิจารณ์แล้วจึงส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบต่อไป
ที่ จ.บุรีรัมย์ ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมบนบกใน 4 อำเภอ ประกอบ อ.เมือง อ.คูเมือง อ.แคนดง และอ.สตึก กว่า 120 คนร่วมเวทีเสริมสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการพลังงาน ของเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ห้องประชุมเทศบาลหินเหล็กไฟ อ.คูเมือง เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างภาครัฐ และเอกชนที่จะเข้ามาขุดเจาะสำรวจรอบใหม่ในปีงบประมาณ 2558 โดยใช้วิธีระเบิดวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ
โดยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการขุดเจาะครั้งที่ผ่านมา และประชาชนในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการสำรวจรอบใหม่ใน 5 อำเภอ ต้องการให้ทางหน่วยงานของรัฐ และบริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาขุดเจาะสำรวจ ชี้แจงข้อเท็จจริงของผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สุขภาพของประชาชน พื้นที่การเกษตร รวมถึงน้ำใต้ดินที่ชาวบ้านใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรมาโดยตลอด โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงด้วย
เพราะที่ผ่านมา ทั้งทางภาครัฐและเอกชนไม่มีการทำความเข้าใจกับประชาชนเท่าที่ควร แม้การชดเชยเยียวยาความเสียหายของไร่นาและบ้านเรือนประชาชน ก็ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือแต่อย่างใด ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชน จึงอยากให้ทั้งภาครัฐและเอกชนเร่งทำความเข้าใจ และชี้แจงให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดก่อนที่จะมีการสำรวจรอบใหม่