ASTVผู้จัดการรายวัน - ตลาดหุ้นไทย รีบาวนด์ 8.83 จุด หลังได้รับสัญญาณไม่ต้องลดอัตราดอกเบี้ยรอบใหม่ ด้านโบรกเกอร์มองดัชนีตลาดหุ้นไทยเดือนมิ.ย.ผันผวนหนัก บล.ทรีนีตี้ ให้กรอบอยู่ระหว่าง 1,450-1,550 จุด ขณะที่บล.โกลเบล็ก แนะฉวยจังหวะทยอยลงทุนสะสมหุ้น รอการฟื้นตัวรอบใหม่ใกล้ปิดงบไตรมาส 2/58 หวังการทำ Window Dressing เน้นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (4 มิ.ย.) เปิดการซื้อขายในแดนลบเกือบตลอดทั้งวัน แม้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นบ้างก่อนปิดตลาดในช่วงบ่าย โดยมีระดับราคาต่ำสุดที่ 1,476.16 จุด สูงสุด 1,491.81 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,490.90 จุด เพิ่มขึ้น 8.83 จุด หรือคิดเป็น 0.60% มูลค่าการซื้อขายรวม 36,487.33 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงขายสุทธิต่อเนื่องจำนวน 1,688.38 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 1,413.33 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 307.72 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ 582.77 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ PTT ราคาปิด 337 บาท ลดลงจากวันก่อน 3 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,456.75 ล้านบาท KTB ราคาปิด 18.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท มูลค่า 1,855.63 ล้านบาท และ TIPCO ราคาปิด 13.70 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท มูลค่า 1,725.10 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ให้ความเห็นว่า ดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัวทั้งแดนบวกและลบ โดยมีปัจจัยลบจากความกังวลการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ และการเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานที่ทิศทางราคาน้ำมันโลกปรับตัวลดลง แม้จะได้รับผลดีจากแรงซื้อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในช่วงท้ายตลาด หลังจากกระทรวงการคลังส่งสัญญาณไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว โดยทางเทคนิคมองแนวรับ 1,475 เป็นสำคัญ หากหลุดมีโอกาสไหลลงต่อไปที่แนวรับ 1,450 จุด กลยุทธ์ แนะขึ้นขาย ถือเงินสดเพิ่ม พร้อมกับประเมินแนวรับ 1,475-1,450 จุด แนวต้าน 1,500 จุด
*** มิ.ย.ดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวนหนัก
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในเดือนมิ.ย.นี้ ตลาดหุ้นไทย ยังคงปรับตัวผันผวนอย่างหนักจากหลายปัจจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เข้ามากระทบ โดยมองกรอบดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ 1,450 – 1,550 จุด แต่ในช่วงครึ่งเดือนหลังจะดีกว่าครึ่งเดือนแรก
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ การประชุมพิจารณาดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 10 มิ.ย. 58 และการประชุมองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (OPEC) (5 มิ.ย.) หากมีมติลดกำลังการผลิตลง คาดราคาน้ำมันจะปรับตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และส่งผลบวกต่อราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน รวมถึงดัชนีตลาดหุ้นไทย
ขณะเดียวกัน ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ ถ้าออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาด อาจทำให้เกิดจิตวิทยา (Sentiment) เชิงบวก เนื่องจากตลาดจะเลื่อนคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ (Fed Fund) ออกไป
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบภาพรวมการลงทุน ได้แก่ สัญญาณการไหลของเม็ดเงินลงทุน (Fund Flow) ยังคงอ่อนแรงต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดล่วงหน้า หลังนักลงทุนต่างชาติมีการสะสมสถานะขาย (Short) กว่า 70,000 สัญญาในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ขณะเดียวกันตลาดจะเริ่มเป็นกังวลมากขึ้นหากการประชุมคณะรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยุโรป ในวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ไม่มีบทสรุปการช่วยเหลือกรีซอีกครั้ง เนื่องจากในเดือนนี้ถึงกำหนดเวลาที่กรีซจะต้องชำระหนี้ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กว่า 1,600 ล้านยูโรแล้ว
นอกจากนั้น หากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 16-17 มิถุนายน 2558 มีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ย หรือ Dot plots มีการปรับตัวสูงขึ้น มองเป็นจิตวิทยาเชิงลบต่อตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่
ด้านกลยุทธ์การลงทุนในเดือนมิถุนายน แนะนำ ปรับตัวขึ้นให้ขาย – ปรับตัวลงให้ซื้อ ตามกรอบดัชนี 1,450-1,550 จุด โดยหากดัชนีมีการปรับตัวลงมาบริเวณ 1,450 จุด มองเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มน้ำหนักหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นระดับที่มูลค่า (Valuation) มีความน่าสนใจแล้ว
***หนี้กรีซฉุดดัชนีหุ้นไทยร่วง
น.ส.วิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล. โกลเบล็ก กล่าวว่า เดือนมิ.ย.นนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวนมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศกรีซที่ยังไม่มีความชัดเจนในการชำระหนี้จำนวน 1,600 ล้านยูโร จึงให้กรอบดัชนีไว้ที่ระดับ 1,460 - 1,520 จุด รวมถึงแรงกดดันจากกลุ่มธนาคารจากความกังวล NPL ในส่วนของ SME และรายย่อย รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงขาเดียวซึ่งกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM)แต่ถือเป็นจังหวะทยอยเข้าซื้อสะสมในระยะกลาง-ยาว เนื่่องจากดัชนีตลาดหุ้นไทยคาดจะมีการฟื้นตัวช่่วงปลายเดือนจากการทำ Window Dressing ปิดงบไตรมาส 2/2558 อีกทั้งคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลังจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจไทยเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2558 มีแนวโน้มฟื้นตัวล่าช้า และเปราะบางเช่นเดียวกับไตรมาส 1/2558 การส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปียังติดลบเกือบ 4% การบริโภคภายในประเทศอยู่ในกรอบจำกัดจากภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และธนาคารแห่งประเทศไทยมีแนวโน้มปรับลดประมาณการตัวเลข GDP ลงอีกในวันที่ 19 มิถุนายนจากเดิม 3.8%
ด้านนายชัยยศ จิวางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.โกลเบล็ก ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเพื่อทดสอบแนวรับ 1,460 จุด แต่เป็นจังหวะในการเข้าซื้อสะสมระยะกลาง-ยาว เพื่อหวังการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐบาล
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (4 มิ.ย.) เปิดการซื้อขายในแดนลบเกือบตลอดทั้งวัน แม้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นบ้างก่อนปิดตลาดในช่วงบ่าย โดยมีระดับราคาต่ำสุดที่ 1,476.16 จุด สูงสุด 1,491.81 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,490.90 จุด เพิ่มขึ้น 8.83 จุด หรือคิดเป็น 0.60% มูลค่าการซื้อขายรวม 36,487.33 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงขายสุทธิต่อเนื่องจำนวน 1,688.38 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 1,413.33 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 307.72 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ 582.77 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ PTT ราคาปิด 337 บาท ลดลงจากวันก่อน 3 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,456.75 ล้านบาท KTB ราคาปิด 18.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท มูลค่า 1,855.63 ล้านบาท และ TIPCO ราคาปิด 13.70 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท มูลค่า 1,725.10 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ให้ความเห็นว่า ดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัวทั้งแดนบวกและลบ โดยมีปัจจัยลบจากความกังวลการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ และการเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานที่ทิศทางราคาน้ำมันโลกปรับตัวลดลง แม้จะได้รับผลดีจากแรงซื้อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในช่วงท้ายตลาด หลังจากกระทรวงการคลังส่งสัญญาณไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว โดยทางเทคนิคมองแนวรับ 1,475 เป็นสำคัญ หากหลุดมีโอกาสไหลลงต่อไปที่แนวรับ 1,450 จุด กลยุทธ์ แนะขึ้นขาย ถือเงินสดเพิ่ม พร้อมกับประเมินแนวรับ 1,475-1,450 จุด แนวต้าน 1,500 จุด
*** มิ.ย.ดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวนหนัก
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในเดือนมิ.ย.นี้ ตลาดหุ้นไทย ยังคงปรับตัวผันผวนอย่างหนักจากหลายปัจจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เข้ามากระทบ โดยมองกรอบดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ 1,450 – 1,550 จุด แต่ในช่วงครึ่งเดือนหลังจะดีกว่าครึ่งเดือนแรก
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ การประชุมพิจารณาดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 10 มิ.ย. 58 และการประชุมองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (OPEC) (5 มิ.ย.) หากมีมติลดกำลังการผลิตลง คาดราคาน้ำมันจะปรับตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และส่งผลบวกต่อราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน รวมถึงดัชนีตลาดหุ้นไทย
ขณะเดียวกัน ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ ถ้าออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาด อาจทำให้เกิดจิตวิทยา (Sentiment) เชิงบวก เนื่องจากตลาดจะเลื่อนคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ (Fed Fund) ออกไป
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบภาพรวมการลงทุน ได้แก่ สัญญาณการไหลของเม็ดเงินลงทุน (Fund Flow) ยังคงอ่อนแรงต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดล่วงหน้า หลังนักลงทุนต่างชาติมีการสะสมสถานะขาย (Short) กว่า 70,000 สัญญาในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ขณะเดียวกันตลาดจะเริ่มเป็นกังวลมากขึ้นหากการประชุมคณะรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยุโรป ในวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ไม่มีบทสรุปการช่วยเหลือกรีซอีกครั้ง เนื่องจากในเดือนนี้ถึงกำหนดเวลาที่กรีซจะต้องชำระหนี้ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กว่า 1,600 ล้านยูโรแล้ว
นอกจากนั้น หากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 16-17 มิถุนายน 2558 มีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ย หรือ Dot plots มีการปรับตัวสูงขึ้น มองเป็นจิตวิทยาเชิงลบต่อตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่
ด้านกลยุทธ์การลงทุนในเดือนมิถุนายน แนะนำ ปรับตัวขึ้นให้ขาย – ปรับตัวลงให้ซื้อ ตามกรอบดัชนี 1,450-1,550 จุด โดยหากดัชนีมีการปรับตัวลงมาบริเวณ 1,450 จุด มองเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มน้ำหนักหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นระดับที่มูลค่า (Valuation) มีความน่าสนใจแล้ว
***หนี้กรีซฉุดดัชนีหุ้นไทยร่วง
น.ส.วิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล. โกลเบล็ก กล่าวว่า เดือนมิ.ย.นนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวนมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศกรีซที่ยังไม่มีความชัดเจนในการชำระหนี้จำนวน 1,600 ล้านยูโร จึงให้กรอบดัชนีไว้ที่ระดับ 1,460 - 1,520 จุด รวมถึงแรงกดดันจากกลุ่มธนาคารจากความกังวล NPL ในส่วนของ SME และรายย่อย รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงขาเดียวซึ่งกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM)แต่ถือเป็นจังหวะทยอยเข้าซื้อสะสมในระยะกลาง-ยาว เนื่่องจากดัชนีตลาดหุ้นไทยคาดจะมีการฟื้นตัวช่่วงปลายเดือนจากการทำ Window Dressing ปิดงบไตรมาส 2/2558 อีกทั้งคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลังจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจไทยเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2558 มีแนวโน้มฟื้นตัวล่าช้า และเปราะบางเช่นเดียวกับไตรมาส 1/2558 การส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปียังติดลบเกือบ 4% การบริโภคภายในประเทศอยู่ในกรอบจำกัดจากภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และธนาคารแห่งประเทศไทยมีแนวโน้มปรับลดประมาณการตัวเลข GDP ลงอีกในวันที่ 19 มิถุนายนจากเดิม 3.8%
ด้านนายชัยยศ จิวางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.โกลเบล็ก ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเพื่อทดสอบแนวรับ 1,460 จุด แต่เป็นจังหวะในการเข้าซื้อสะสมระยะกลาง-ยาว เพื่อหวังการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐบาล