นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึง กรณีที่มีการเรียกร้องให้รัฐบาลใช้ มาตรา 44 ในการจัดการกับร้านเหล้ารอบสถานศึกษาว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะร้านเหล้ารอบสถานศึกษา เป็นสถานอบายมุขที่ทำลายสติปัญญาผู้เป็นอนาคตของชาติ น่ากลัวมากกว่าการรุกป่า รุกชายหาด ที่รัฐบาลใช้ มาตรา 44 ในการจัดการมาแล้ว จึงคิดว่า มีเหตุผลเพียงพอในการใช้ มาตรา 44 จัดการกับร้านเหล้ารอบสถานศึกษา
อย่างไรก็ตาม ยังอยากให้ใช้มาตราปกติ มากกว่า คือ การออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามจำหน่ายเครื่องแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาในรัศมีที่กำหนด โดยนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีทั้ง 8 กระทรวง ต้องเห็นชอบ ประกาศ และบังคับใช้ จึงจะสำเร็จ ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยทำได้ เพราะมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย และการทำโพลไม่ว่ากี่ครั้ง 80-90% ก็สนับสนุนในเรื่องนี้
นพ.สมาน กล่าวด้วยว่า ผ่านมามีการจัดทำร่างประกาศเรื่องห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รอบสถานศึกษา ออกตาม มาตรา 27 พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งนักวิชาการเขียนทางเลือกเอาไว้ เช่น รัศมี 1 กม. - 500 ม. และ 300 ม. รอบมหาวิทยาลัย โดยละเว้นยกเว้นโซนนิ่งตามที่กฎหมายกำหนด เช่น แหล่งท่องเที่ยว อย่างพัฒน์พงศ์ ซึ่งอยู่ใกล้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้กำหนดระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการหาช่องทางในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วย
ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวเคยเข้าไปถึงชั้นคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ รอประกาศใช้แล้ว แต่อยู่ๆ ก็มีปัญหาและถูกตีกลับมาศึกษาใหม่ ตอนนี้ร่างฯจึงอยู่ที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตอนนี้อยู่ที่ฝ่ายบริหาร ว่าจะกล้าตัดสินใจมากแค่ไหน ดังนั้นการใช้มาตรา 44 ก็ทำได้เร็วขึ้น และทำทั้ง 2 วิธี คู่กันด้วย รวมถึงต้องควบคุมเรื่องการโฆษณา การทำมิวสิกมาร์เก็ตติ้ง ต่าง ๆ
ด้านนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกฯ ด้านสังคม กล่าวถึงการแก้ปัญหาร้านเหล้าใกล้สถานศึกษา ว่า เรื่องดังกล่าวมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว แต่ความเป็นจริง ก็ยังมีร้านเหล้าที่อยู่ใกล้สถานศึกษาอยู่ ซึ่งต้องค่อยๆจัดระเบียบไป เพราะยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ เกี่ยวกับคำว่าใกล้สถานศึกษาว่าความชัดเจนเป็นอย่างไร ตรงนี้ต้องใช้เวลา ไม่เหมือนจัดระเบียบร้านค้าริมถนนที่สามารถจัดระเบียบได้ทันที แต่ยืนยันว่าต้องจัดระเบียนให้ได้ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรังไปอีก โดยเห็นว่าต้องเริ่มจากเจ้าหน้าที่ ที่ต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง
เมื่อถามถึงการใช้ รัฐธรรมนูญชั่วคราว ม.44 แก้ปัญหา นายยงยุทธ กล่าวว่า ม. 44 เป็นเป็นกฎหมายที่มีความเด็จขาด ส่วนตัวมองว่า ต้องสงวนไว้ใช้ในเรื่องที่มีความจำเป็น เพราะถ้าใช้มากไป คนก็จะไม่เกรงกลัวกฎหมายดังกล่าว
พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึง กรณีที่มีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้า คสช. อาศัยอำนาจตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ปิดสถานบันเทิง และร้านเหล้ารอบมหาวิทยาลัย ว่า เรื่องนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงต่างๆ จะต้องมาหารือร่วมกัน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ที่ผ่านมา คสช. เคยมีการหารือการดำเนินการกับร้านเหล้าในชุมชน แต่เรื่องร้านเหล้ารอบสถานศึกษายังไม่ได้ ดำเนินการ ดังนั้น จะต้องมีการหารือร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คิดว่ายังไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ มาตรา 44 เพราะยังมีกฎหมายปกติที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการได้
อย่างไรก็ตาม ยังอยากให้ใช้มาตราปกติ มากกว่า คือ การออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามจำหน่ายเครื่องแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาในรัศมีที่กำหนด โดยนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีทั้ง 8 กระทรวง ต้องเห็นชอบ ประกาศ และบังคับใช้ จึงจะสำเร็จ ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยทำได้ เพราะมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย และการทำโพลไม่ว่ากี่ครั้ง 80-90% ก็สนับสนุนในเรื่องนี้
นพ.สมาน กล่าวด้วยว่า ผ่านมามีการจัดทำร่างประกาศเรื่องห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รอบสถานศึกษา ออกตาม มาตรา 27 พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งนักวิชาการเขียนทางเลือกเอาไว้ เช่น รัศมี 1 กม. - 500 ม. และ 300 ม. รอบมหาวิทยาลัย โดยละเว้นยกเว้นโซนนิ่งตามที่กฎหมายกำหนด เช่น แหล่งท่องเที่ยว อย่างพัฒน์พงศ์ ซึ่งอยู่ใกล้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้กำหนดระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการหาช่องทางในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วย
ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวเคยเข้าไปถึงชั้นคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ รอประกาศใช้แล้ว แต่อยู่ๆ ก็มีปัญหาและถูกตีกลับมาศึกษาใหม่ ตอนนี้ร่างฯจึงอยู่ที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตอนนี้อยู่ที่ฝ่ายบริหาร ว่าจะกล้าตัดสินใจมากแค่ไหน ดังนั้นการใช้มาตรา 44 ก็ทำได้เร็วขึ้น และทำทั้ง 2 วิธี คู่กันด้วย รวมถึงต้องควบคุมเรื่องการโฆษณา การทำมิวสิกมาร์เก็ตติ้ง ต่าง ๆ
ด้านนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกฯ ด้านสังคม กล่าวถึงการแก้ปัญหาร้านเหล้าใกล้สถานศึกษา ว่า เรื่องดังกล่าวมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว แต่ความเป็นจริง ก็ยังมีร้านเหล้าที่อยู่ใกล้สถานศึกษาอยู่ ซึ่งต้องค่อยๆจัดระเบียบไป เพราะยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ เกี่ยวกับคำว่าใกล้สถานศึกษาว่าความชัดเจนเป็นอย่างไร ตรงนี้ต้องใช้เวลา ไม่เหมือนจัดระเบียบร้านค้าริมถนนที่สามารถจัดระเบียบได้ทันที แต่ยืนยันว่าต้องจัดระเบียนให้ได้ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรังไปอีก โดยเห็นว่าต้องเริ่มจากเจ้าหน้าที่ ที่ต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง
เมื่อถามถึงการใช้ รัฐธรรมนูญชั่วคราว ม.44 แก้ปัญหา นายยงยุทธ กล่าวว่า ม. 44 เป็นเป็นกฎหมายที่มีความเด็จขาด ส่วนตัวมองว่า ต้องสงวนไว้ใช้ในเรื่องที่มีความจำเป็น เพราะถ้าใช้มากไป คนก็จะไม่เกรงกลัวกฎหมายดังกล่าว
พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึง กรณีที่มีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้า คสช. อาศัยอำนาจตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ปิดสถานบันเทิง และร้านเหล้ารอบมหาวิทยาลัย ว่า เรื่องนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงต่างๆ จะต้องมาหารือร่วมกัน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ที่ผ่านมา คสช. เคยมีการหารือการดำเนินการกับร้านเหล้าในชุมชน แต่เรื่องร้านเหล้ารอบสถานศึกษายังไม่ได้ ดำเนินการ ดังนั้น จะต้องมีการหารือร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คิดว่ายังไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ มาตรา 44 เพราะยังมีกฎหมายปกติที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการได้