ASTVผู้จัดการรายวัน - โรงไฟฟ้าหงสาจ่อขยายกำลังการผลิตไฟเพิ่ม หลังพบปริมาณสำรองถ่านหินที่เหมืองลิกไนต์เพียงพอป้อนให้อีก 900เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 25 ปี จากกำลังผลิตติดตั้งรวม 1,878 เมกะวัตต์ เตรียมเจรจารัฐบาลสปป.ลาวเพื่ออนุมัติ
นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)(RATCH) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา หลังจากพบว่าปริมาณสำรองถ่านหินลิกไนต์มีเพียงพอที่จะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มได้คาดว่าจะมีความชัดเจนใน 3 เดือนข้างหน้านี้หากผลศึกษาพบว่าสามารถขยายกำลังการผลิตได้ก็จะเสนอต่อรัฐบาลสปป.ลาวเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
ทั้งนี้ คงต้องศึกษาเรื่องสายส่งว่าสามารถรองรับกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ หรือถ้าไม่พอจะต้องสร้างสายส่งใหม่จะมีความคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ จากปัจจุบัน โรงไฟฟ้าหงสามีสายส่ง 500 เควี จากโครงการไปชายแดนไทย-ลาวเพื่อไปจำหน่ายไฟไปยังไทย และสายส่ง 115 เควี เพื่อจ่ายไฟไปยังหลวงพระบาง ที่สปป.ลาว
นายสมศักดิ์ สิทธินามสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด กล่าวว่า เหมืองถ่านหินลิกไนต์ที่ป้อนโรงไฟฟ้าหงสามีปริมาณ 577 ล้านตัน ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้ง 3ยูนิตจะใช้ถ่านหินตลอดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปีอยู่ที่ 370 ล้านตัน ทำให้มีปริมาณถ่านหินเหลือเพียงพอที่จะขึ้นโรงไฟฟ้าได้อีก 900 เมกะวัตต์ คงต้องมาดูว่าเทคโนโลยีใหม่จะขึ้นโรงไฟฟ้าได้ขนาดใด
นอกจากนี้ค่าความร้อนของถ่านหินที่เหมืองลิกไนต์เฉลี่ยอยู่ที่ 2,492 กิโลแครอรี่/กิโลกรัม ซึ่งมีถ่านหินบางส่วนที่ค่าความร้อนสูงอยู่ระดับ 3,000 กิโลแครอรี่/กิโลกรัม บางส่วนค่าความร้อนต่ำกว่าเกณฑ์อยู่ที่ 1,900 กิโลแครอรี่/กิโลกรัม ดังนั้นบริษัทจะนำถ่านหินที่ค่าความร้อนต่างกันมาผสมกันเพื่อให้ได้ค่าความร้อนตามที่โรงไฟฟ้าต้องการ
ทำให้มีปริมาณสำรองถ่านหินที่จะใช้ในโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้อีก
ส่วนซัลเฟอร์ของถ่านหินลิกไนต์ที่เหมืองดังกล่าวอยู่ระดับต่ำเพียง 0.7%เมื่อเทียบกับถ่านหินลิกไนต์ที่แม่เมาะในไทย ซึ่งมีปริมาณซัลเฟอร์สูงถึง 2.8% ดังนั้นปัญหาเรื่องมลภาวะและสิ่งแวดล้อมในโครงการโรงไฟฟ้าหงสาจึงน้อยมากแม้ว่าจะใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการป้อนโรงไฟฟ้าก็ตาม
โรงไฟฟ้าหงสามีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 3 ยูนิตๆละ 626 เมกะวัตต์ หรือกำลังการผลิตรวม 1,878 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนรวม 3,710 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 1.2 แสนล้านบาท โดยยูนิตแรก จะจ่ายไฟเข้าระบบในวันที่ 2 มิ.ย.นี้ และยูนิตจะจ่ายไฟวันที่ 2 พ.ย. 58 และยูนิตสุดท้ายจ่ายไฟเดือนมี.ค. 59 โดยขายไฟฟ้าให้ไทย 1473เมกะวัตต์ ขายให้ลาว 100 เมกะวัตต์และที่เหลือใช้เองภายในโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหิน
โรงไฟฟ้าหงสา มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นประกอบด้วย บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด 40% บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง 40 %และรัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาว 20 %
นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)(RATCH) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสา หลังจากพบว่าปริมาณสำรองถ่านหินลิกไนต์มีเพียงพอที่จะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มได้คาดว่าจะมีความชัดเจนใน 3 เดือนข้างหน้านี้หากผลศึกษาพบว่าสามารถขยายกำลังการผลิตได้ก็จะเสนอต่อรัฐบาลสปป.ลาวเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
ทั้งนี้ คงต้องศึกษาเรื่องสายส่งว่าสามารถรองรับกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ หรือถ้าไม่พอจะต้องสร้างสายส่งใหม่จะมีความคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ จากปัจจุบัน โรงไฟฟ้าหงสามีสายส่ง 500 เควี จากโครงการไปชายแดนไทย-ลาวเพื่อไปจำหน่ายไฟไปยังไทย และสายส่ง 115 เควี เพื่อจ่ายไฟไปยังหลวงพระบาง ที่สปป.ลาว
นายสมศักดิ์ สิทธินามสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด กล่าวว่า เหมืองถ่านหินลิกไนต์ที่ป้อนโรงไฟฟ้าหงสามีปริมาณ 577 ล้านตัน ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้ง 3ยูนิตจะใช้ถ่านหินตลอดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปีอยู่ที่ 370 ล้านตัน ทำให้มีปริมาณถ่านหินเหลือเพียงพอที่จะขึ้นโรงไฟฟ้าได้อีก 900 เมกะวัตต์ คงต้องมาดูว่าเทคโนโลยีใหม่จะขึ้นโรงไฟฟ้าได้ขนาดใด
นอกจากนี้ค่าความร้อนของถ่านหินที่เหมืองลิกไนต์เฉลี่ยอยู่ที่ 2,492 กิโลแครอรี่/กิโลกรัม ซึ่งมีถ่านหินบางส่วนที่ค่าความร้อนสูงอยู่ระดับ 3,000 กิโลแครอรี่/กิโลกรัม บางส่วนค่าความร้อนต่ำกว่าเกณฑ์อยู่ที่ 1,900 กิโลแครอรี่/กิโลกรัม ดังนั้นบริษัทจะนำถ่านหินที่ค่าความร้อนต่างกันมาผสมกันเพื่อให้ได้ค่าความร้อนตามที่โรงไฟฟ้าต้องการ
ทำให้มีปริมาณสำรองถ่านหินที่จะใช้ในโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้อีก
ส่วนซัลเฟอร์ของถ่านหินลิกไนต์ที่เหมืองดังกล่าวอยู่ระดับต่ำเพียง 0.7%เมื่อเทียบกับถ่านหินลิกไนต์ที่แม่เมาะในไทย ซึ่งมีปริมาณซัลเฟอร์สูงถึง 2.8% ดังนั้นปัญหาเรื่องมลภาวะและสิ่งแวดล้อมในโครงการโรงไฟฟ้าหงสาจึงน้อยมากแม้ว่าจะใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการป้อนโรงไฟฟ้าก็ตาม
โรงไฟฟ้าหงสามีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 3 ยูนิตๆละ 626 เมกะวัตต์ หรือกำลังการผลิตรวม 1,878 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนรวม 3,710 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 1.2 แสนล้านบาท โดยยูนิตแรก จะจ่ายไฟเข้าระบบในวันที่ 2 มิ.ย.นี้ และยูนิตจะจ่ายไฟวันที่ 2 พ.ย. 58 และยูนิตสุดท้ายจ่ายไฟเดือนมี.ค. 59 โดยขายไฟฟ้าให้ไทย 1473เมกะวัตต์ ขายให้ลาว 100 เมกะวัตต์และที่เหลือใช้เองภายในโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหิน
โรงไฟฟ้าหงสา มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นประกอบด้วย บริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด 40% บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง 40 %และรัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาว 20 %