ASTVผู้จัดการรายวัน- เอกชนคาดปีหน้ายุคทองพลังงานทดแทนคาดเงินลงทุนสะพัดแสนล้านบาท พร้อมจับมือ ยูบีเอ็มจัดงาน RENEWABLE ENERGY ASIA 2015 ระหว่าง 3-6 มิ.ย.ที่ไบเทค บางนา ด้านกระทรวงพลังงานเร่งสรุป 3 โครงการพลังงาน1.รับซื้อไฟฟ้า 2.ส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าโซล่าเซลล์ 3.แปรรูปขยะ
นายพิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกลุ่มพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า เม็ดเงินลงทุนด้านพลังงานทดแทนหากจะเกิดขึ้นชัดเจนครึ่งปีหลังปี 2558 คาดว่าจะเป็นในส่วนของโซลาร์เพราะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าเมื่อรวมกับโครงการค้างท่อเดิมคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ 1,000 เมกะวัตต์คิดเป็นเงินประมาณ 60,000 ล้านบาท แต่ปี 2559 คาดว่าพลังงานทดแทนจะเป็นยุคทองอย่างแท้จริงเพราะคาดว่าโดยรวมจะก่อให้เกิดการลงทุนได้ไม่น้อยกว่า 2,000 เมกะวัตต์ลงทุนไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท
นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานบริษัทยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า งานดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างท3-6 มิ.ย.นี้ที่ไบเทค บางนา โดยงานดังกล่าวเป็นการแสดงสินค้าและเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่ใหญ่สุดในอาเซียนโดยปีนี้จะมีการแสดงนวตกรรมล่าสุดจาก 450 บริษัท 35 ประเทศทั่วโลก 8 พาวิลเลี่ยมชั้นนำได้แก่ เยอรมัน อิสราเอล สาธารณรัฐเช็ก สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวันและเกาหลี รวมถึงการนำเสนองานกว่า 100 หัวข้อจากบริษัทชั้นนำ
ด้านนายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานแถลงการจัดงาน RENEWABLE ASIA 2015 ว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางส่งเสริมพลังงานทดแทนซึ่งจะชัดเจนภายในมิ.ย.-ก.ค.58เพื่อให้เกิดเม็ดเงินการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ใน3โครงการสำคัญได้แก่ 1.การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนรูปแบบการแข่งขันด้านราคาหรือ (Competitive Bidding ) 2. การส่งเสริมผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์)สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ และ3.การส่งเสริมการแปรรูปจากขยะเป็นไฟฟ้า น้ำมันและความร้อน
" การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนได้กำหนดอัตราการรับซื้อรูปแบบสะท้อนต้นทุนหรือ Feed in Tariff ซึ่งตามกรอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ได้เห็นชอบที่จะกำหนดรูปแบบรับซื้อไว้ 2 ส่วน คือ 1. ที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ก็ให้เปิดประมูลหรือCompettive Bidding ก๊าซชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ลม 2. พลังงานทดแทนพิเศษที่มีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ก็ไม่ต้องประมูลคือ ขยะ และน้ำ"นายทวารัฐกล่าว
อย่างไรก็ตามทั้ง 3 โครงการข้างต้นจะต้องรอความชัดเจนในเรื่องของระบบส่งที่ทั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กระทรวงฯและ 3 การไฟฟ้าอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อความชัดเจน ซึ่งการเปิดประมูลก็จะมีการกำหนดโซนนิ่งของระบบส่งเพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบ ส่วนการกำหนดให้ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือ PPAแล้วกำหนดจ่ายไฟเข้าระบบ(COD)ภายในสิ้นปีนี้นั้นจะมีการขยายเวลาต่อหรือไม่ก็คงจะต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
สำหรับการจัดงาน RENEWABLE ENERGY ASIA 2015 กระทรวงฯได้สนับสนุนจัดงานมาเป็นปีที่ 5 ต่อเนื่องเพราะมองว่าไทยมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และมีความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านนี้มากสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
นายพิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกลุ่มพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า เม็ดเงินลงทุนด้านพลังงานทดแทนหากจะเกิดขึ้นชัดเจนครึ่งปีหลังปี 2558 คาดว่าจะเป็นในส่วนของโซลาร์เพราะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าเมื่อรวมกับโครงการค้างท่อเดิมคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ 1,000 เมกะวัตต์คิดเป็นเงินประมาณ 60,000 ล้านบาท แต่ปี 2559 คาดว่าพลังงานทดแทนจะเป็นยุคทองอย่างแท้จริงเพราะคาดว่าโดยรวมจะก่อให้เกิดการลงทุนได้ไม่น้อยกว่า 2,000 เมกะวัตต์ลงทุนไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท
นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานบริษัทยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า งานดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างท3-6 มิ.ย.นี้ที่ไบเทค บางนา โดยงานดังกล่าวเป็นการแสดงสินค้าและเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่ใหญ่สุดในอาเซียนโดยปีนี้จะมีการแสดงนวตกรรมล่าสุดจาก 450 บริษัท 35 ประเทศทั่วโลก 8 พาวิลเลี่ยมชั้นนำได้แก่ เยอรมัน อิสราเอล สาธารณรัฐเช็ก สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวันและเกาหลี รวมถึงการนำเสนองานกว่า 100 หัวข้อจากบริษัทชั้นนำ
ด้านนายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานแถลงการจัดงาน RENEWABLE ASIA 2015 ว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางส่งเสริมพลังงานทดแทนซึ่งจะชัดเจนภายในมิ.ย.-ก.ค.58เพื่อให้เกิดเม็ดเงินการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ใน3โครงการสำคัญได้แก่ 1.การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนรูปแบบการแข่งขันด้านราคาหรือ (Competitive Bidding ) 2. การส่งเสริมผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์)สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ และ3.การส่งเสริมการแปรรูปจากขยะเป็นไฟฟ้า น้ำมันและความร้อน
" การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนได้กำหนดอัตราการรับซื้อรูปแบบสะท้อนต้นทุนหรือ Feed in Tariff ซึ่งตามกรอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ได้เห็นชอบที่จะกำหนดรูปแบบรับซื้อไว้ 2 ส่วน คือ 1. ที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ก็ให้เปิดประมูลหรือCompettive Bidding ก๊าซชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ลม 2. พลังงานทดแทนพิเศษที่มีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ก็ไม่ต้องประมูลคือ ขยะ และน้ำ"นายทวารัฐกล่าว
อย่างไรก็ตามทั้ง 3 โครงการข้างต้นจะต้องรอความชัดเจนในเรื่องของระบบส่งที่ทั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กระทรวงฯและ 3 การไฟฟ้าอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อความชัดเจน ซึ่งการเปิดประมูลก็จะมีการกำหนดโซนนิ่งของระบบส่งเพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบ ส่วนการกำหนดให้ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือ PPAแล้วกำหนดจ่ายไฟเข้าระบบ(COD)ภายในสิ้นปีนี้นั้นจะมีการขยายเวลาต่อหรือไม่ก็คงจะต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
สำหรับการจัดงาน RENEWABLE ENERGY ASIA 2015 กระทรวงฯได้สนับสนุนจัดงานมาเป็นปีที่ 5 ต่อเนื่องเพราะมองว่าไทยมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และมีความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านนี้มากสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น