วานนี้ (17 พ.ค.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง "อนาคตการปรองดองและสมานฉันท์สังคมไทย" ในพิธีรำลึก และสืบสาน 23 ปี พฤษภาประชาธรรม จัดขึ้นโดย มูลนิธิพฤษภาประชาธรรม และคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ณ สวนสันติพร อนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า การปรองดอง และสมานฉันท์เป็นสิ่งที่คนไทยคาดหวัง ประเทศประสบกับความขัดแย้งมาหลายยุค ฉากแรก คือความขัดแย้งของชนชั้นนำ ตั้งแต่สมัยอยุธยา ฉากที่ 2 ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ และนิรโทษกรรมในที่สุด ฉากที่ 3 ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล และประชาชน เช่น เหตุการณ์ในเดือน พ.ค.ปี 35 และ ฉากที่ 4 ยุคที่ผู้นำที่มีประชาชนบางกลุ่มสนับสนุนจำนวนมาก และประชาชนที่ไม่สนับสนุน ซึ่งในฉากสุดท้ายนี้ มีผู้ประเมินความเสียหาย คาดว่ามีมูลค่ากว่า 3.3 หมื่นล้านบาท ในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งในอดีตจบลงด้วยการที่ประมุขลงมาระงับความขัดแย้ง และจบลงด้วยการนิรโทษกรรม แต่วิกฤตที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า สังคมเกิดความไม่ไว้วางใจในการนิรโทษกรรม ซึ่งหากจัดให้มีการเลือกตั้ง และเข้าสู่ระบบการเมือง ความขัดแย้งเหล่านี้จะยังคงอยู่
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ฉะนั้นคณะกมธ.ยกร่างฯ จึงจัดให้มี คณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ (คปช.) เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง คือ 1. จัดตั้งคณะกรรมการ 15 คน โดยมีตัวแทนของทุกฝ่าย 2. สร้างความปรองดองอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงการนำแกนนำแต่ละฝ่ายมาตกลงกัน ที่เรียกว่า "เกี้ยเซียะ" 3. คปช. เป็นคนกลางประสานผู้นำในความขัดแย้ง 4. รายงานข้อเท็จจริง การละเมิดกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้อง-ผู้กระทำ 5. คปช. มีหน้าที่เยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย 6. เสนอพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ แก่บุคคลที่เกี่ยวกับการดำเนินการ และผู้ได้สำนึกผิดต่อคปช. แล้ว 7. คปช. ให้การศึกษาแก่ประชาชน สร้างเครื่องเตือนใจผลร้าย และความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก 8. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม สร้างการยอมรับกลุ่มคนหลากหลาย
" คณะกมธ.ยกร่างฯ ไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะพระราชกฤษฎีกา ประกาศใช้กับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะใครคนใดคนหนึ่ง เราไม่ได้แก้ไขเฉพาะความขัดแย้งเฉพาะหน้า เพราะชนชั้นจะเจรจากันได้วันนี้ แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างคนมั่งมี-คนไม่มี ยังอยู่ คำถามสุดท้าย คือจะสามารถแก้ไขได้สำเร็จหรือไม่ ตนตอบไม่ได้ แต่สัญญาณที่เห็นคือ ทุกคนยังปราศจากความไว้วางใจ พรรคใหญ่ 2 พรรค ยังมีจุดยืนเดิม พูดภาษาเดิมเหมือน 8 ปี ที่ผ่านมา ไม่สร้างความหวังเท่าไหร่"
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า การสร้างความหวังที่ถูกต้อง คือ 1. คนที่เป็นผู้นำความขัดแย้ง จะต้องนำทุกคนเข้ามาและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม 2. ประชาชนที่เป็นเสียงเงียบ ต้องแสดงเจตจำนงให้ชัด ไม่ยอมรับความขัดแย้งที่เต็มไปด้วยความรุนแรง และมิจฉาวาจา เพราะฉะนั้น ความเงียบของคนไทยจะเป็นอุปสรรคสำคัญอีกประการ 3. สื่อมวลชนยุติการเลือกข้าง วันนี้สื่อสารมวลชนหลายแห่ง หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อยู่ในความขัดแย้งไม่ได้รายงานสาร แต่เป็นการรายงานความขัดแย้ง โดยการให้ข้อมูลข้างเดียว และ 4. สร้างความยุติธรรมในสังคม หากยังมี 2 มาตรฐาน การยอมรับด้วยสันติวิธี จะยังไม่เกิดขึ้น ความสร้างยุติธรรม คือ ไม่มีพรรคหนึ่ง-พรรคสองได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เสื้อแดง-นกหวีด มีถูกบางส่วน ไม่ถูกบางส่วน นี่คือ เงื่อนไขความสำเร็จความปรองดอง หวังว่าจะเป็นก้าวแรกในการปรองดองสมานฉันท์ ไม่ใช่แค่วาจา และอยู่ที่เดิม
** กลุ่ม"เมล็ดพริก"ชูป้ายต้านรธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่ นายบวรศักดิ์ กำลังกล่าวปาฐกถาอยู่นั้นได้มีกลุ่มผู้หญิง จำนวน 4 คน ในนาม กลุ่มเมล็ดพริก ได้เข้ามาชูป้ายต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อความว่า "เนติบริกรตัวพ่อ รับจ้างทำลายประชาธิปไตย" , "ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2558" และ "ไม่ปรองดองกับฆาตกรรม" พร้อมได้อ่านแถลงการณ์ของกลุ่ม ว่า ก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภา 35 มีข้อเรียกร้องของสังคมในเวลานั้น ที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้กองทัพเข้ามาสืบทอดอำนาจทางการเมือง และให้นายกรัฐมนตรี มาจากการ เลือกตั้งของประชาชน ซึ่งถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนที่ชัดเจน จนนำมาสู่การปราบปรามประชาชนในที่สุด
แม้หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว กองทัพจะถอยออกจากการเมือง แต่เจตนารมณ์การต่อสู้ของประชาชน ได้หายไป และถูกลืมไปในที่สุด วันนี้เรามีรัฐบาลทหาร และคนที่ร่วมต่อสู้ในเหตุการณ์วันนั้น ได้ทรยศต่ออุดมการณ์อย่างไม่น่าให้อภัย ดังนั้นทางกลุ่มจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล
1. ประกาศยกเลิก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึด และควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 ก.พ.34 2. ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหาร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารประชาชนในเหตุการณ์พฤษภา 35 3. นายกรัฐมนตรี และ ส.ว.จะต้องมาจากการเลือกตั้ง 4. ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ และ 5. กองทัพต้องไม่เข้ามาแทรกแซงการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่กลุ่มดังกล่าวแสดงออก และอ่านแถลงการณ์นั้น ทางกลุ่มญาติวีรชน ได้พยายามขอร้องให้หยุดการแสดงออกดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมกับบรรยากาศการรำลึกถึงวีรชน แต่กลุ่มดังกล่าว ก็ยังเดินหน้าจัดกิจกรรมต่อไป จนเจ้าหน้าที่เทศกิจ ต้องเข้าไปแย่ง และฉีกทำลายป้ายข้อความของกลุ่ม แต่ทางกลุ่มก็ยังดำเนินการกิจกรรมจนจบ ก่อนแยกย้ายออกจากงาน โดยที่ไม่มีการควบคุมตัวแต่อย่างใด
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า การปรองดอง และสมานฉันท์เป็นสิ่งที่คนไทยคาดหวัง ประเทศประสบกับความขัดแย้งมาหลายยุค ฉากแรก คือความขัดแย้งของชนชั้นนำ ตั้งแต่สมัยอยุธยา ฉากที่ 2 ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ และนิรโทษกรรมในที่สุด ฉากที่ 3 ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล และประชาชน เช่น เหตุการณ์ในเดือน พ.ค.ปี 35 และ ฉากที่ 4 ยุคที่ผู้นำที่มีประชาชนบางกลุ่มสนับสนุนจำนวนมาก และประชาชนที่ไม่สนับสนุน ซึ่งในฉากสุดท้ายนี้ มีผู้ประเมินความเสียหาย คาดว่ามีมูลค่ากว่า 3.3 หมื่นล้านบาท ในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งในอดีตจบลงด้วยการที่ประมุขลงมาระงับความขัดแย้ง และจบลงด้วยการนิรโทษกรรม แต่วิกฤตที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า สังคมเกิดความไม่ไว้วางใจในการนิรโทษกรรม ซึ่งหากจัดให้มีการเลือกตั้ง และเข้าสู่ระบบการเมือง ความขัดแย้งเหล่านี้จะยังคงอยู่
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ฉะนั้นคณะกมธ.ยกร่างฯ จึงจัดให้มี คณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ (คปช.) เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง คือ 1. จัดตั้งคณะกรรมการ 15 คน โดยมีตัวแทนของทุกฝ่าย 2. สร้างความปรองดองอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงการนำแกนนำแต่ละฝ่ายมาตกลงกัน ที่เรียกว่า "เกี้ยเซียะ" 3. คปช. เป็นคนกลางประสานผู้นำในความขัดแย้ง 4. รายงานข้อเท็จจริง การละเมิดกฎหมาย และผู้เกี่ยวข้อง-ผู้กระทำ 5. คปช. มีหน้าที่เยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย 6. เสนอพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ แก่บุคคลที่เกี่ยวกับการดำเนินการ และผู้ได้สำนึกผิดต่อคปช. แล้ว 7. คปช. ให้การศึกษาแก่ประชาชน สร้างเครื่องเตือนใจผลร้าย และความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก 8. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม สร้างการยอมรับกลุ่มคนหลากหลาย
" คณะกมธ.ยกร่างฯ ไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะพระราชกฤษฎีกา ประกาศใช้กับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะใครคนใดคนหนึ่ง เราไม่ได้แก้ไขเฉพาะความขัดแย้งเฉพาะหน้า เพราะชนชั้นจะเจรจากันได้วันนี้ แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างคนมั่งมี-คนไม่มี ยังอยู่ คำถามสุดท้าย คือจะสามารถแก้ไขได้สำเร็จหรือไม่ ตนตอบไม่ได้ แต่สัญญาณที่เห็นคือ ทุกคนยังปราศจากความไว้วางใจ พรรคใหญ่ 2 พรรค ยังมีจุดยืนเดิม พูดภาษาเดิมเหมือน 8 ปี ที่ผ่านมา ไม่สร้างความหวังเท่าไหร่"
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า การสร้างความหวังที่ถูกต้อง คือ 1. คนที่เป็นผู้นำความขัดแย้ง จะต้องนำทุกคนเข้ามาและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม 2. ประชาชนที่เป็นเสียงเงียบ ต้องแสดงเจตจำนงให้ชัด ไม่ยอมรับความขัดแย้งที่เต็มไปด้วยความรุนแรง และมิจฉาวาจา เพราะฉะนั้น ความเงียบของคนไทยจะเป็นอุปสรรคสำคัญอีกประการ 3. สื่อมวลชนยุติการเลือกข้าง วันนี้สื่อสารมวลชนหลายแห่ง หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อยู่ในความขัดแย้งไม่ได้รายงานสาร แต่เป็นการรายงานความขัดแย้ง โดยการให้ข้อมูลข้างเดียว และ 4. สร้างความยุติธรรมในสังคม หากยังมี 2 มาตรฐาน การยอมรับด้วยสันติวิธี จะยังไม่เกิดขึ้น ความสร้างยุติธรรม คือ ไม่มีพรรคหนึ่ง-พรรคสองได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เสื้อแดง-นกหวีด มีถูกบางส่วน ไม่ถูกบางส่วน นี่คือ เงื่อนไขความสำเร็จความปรองดอง หวังว่าจะเป็นก้าวแรกในการปรองดองสมานฉันท์ ไม่ใช่แค่วาจา และอยู่ที่เดิม
** กลุ่ม"เมล็ดพริก"ชูป้ายต้านรธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่ นายบวรศักดิ์ กำลังกล่าวปาฐกถาอยู่นั้นได้มีกลุ่มผู้หญิง จำนวน 4 คน ในนาม กลุ่มเมล็ดพริก ได้เข้ามาชูป้ายต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อความว่า "เนติบริกรตัวพ่อ รับจ้างทำลายประชาธิปไตย" , "ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2558" และ "ไม่ปรองดองกับฆาตกรรม" พร้อมได้อ่านแถลงการณ์ของกลุ่ม ว่า ก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภา 35 มีข้อเรียกร้องของสังคมในเวลานั้น ที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้กองทัพเข้ามาสืบทอดอำนาจทางการเมือง และให้นายกรัฐมนตรี มาจากการ เลือกตั้งของประชาชน ซึ่งถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนที่ชัดเจน จนนำมาสู่การปราบปรามประชาชนในที่สุด
แม้หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว กองทัพจะถอยออกจากการเมือง แต่เจตนารมณ์การต่อสู้ของประชาชน ได้หายไป และถูกลืมไปในที่สุด วันนี้เรามีรัฐบาลทหาร และคนที่ร่วมต่อสู้ในเหตุการณ์วันนั้น ได้ทรยศต่ออุดมการณ์อย่างไม่น่าให้อภัย ดังนั้นทางกลุ่มจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล
1. ประกาศยกเลิก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึด และควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 ก.พ.34 2. ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหาร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารประชาชนในเหตุการณ์พฤษภา 35 3. นายกรัฐมนตรี และ ส.ว.จะต้องมาจากการเลือกตั้ง 4. ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ และ 5. กองทัพต้องไม่เข้ามาแทรกแซงการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่กลุ่มดังกล่าวแสดงออก และอ่านแถลงการณ์นั้น ทางกลุ่มญาติวีรชน ได้พยายามขอร้องให้หยุดการแสดงออกดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมกับบรรยากาศการรำลึกถึงวีรชน แต่กลุ่มดังกล่าว ก็ยังเดินหน้าจัดกิจกรรมต่อไป จนเจ้าหน้าที่เทศกิจ ต้องเข้าไปแย่ง และฉีกทำลายป้ายข้อความของกลุ่ม แต่ทางกลุ่มก็ยังดำเนินการกิจกรรมจนจบ ก่อนแยกย้ายออกจากงาน โดยที่ไม่มีการควบคุมตัวแต่อย่างใด