ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)เมื่อวานนี้ (14พ.ค.) มีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... (ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก) เป็น วาระที่ 2 และ 3 ซึ่งเสนอโดย น.ส.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร และคณะ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งมี พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ เป็นประธานได้พิจารณาเสร็จแล้ว
สำหรับสาระสำคัญของร่างนี้ คือกำหนดคำนิยามคำว่า "สื่อลามกอนาจารเด็ก" ไว้ใน มาตรา 1 ของประมวลกฎหมายอาญา และแก้ไขมาตรา 287 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งว่าด้วยการค้า และการทำให้แพร่หลายซึ่งสื่อลามก กำหนดให้ผู้ใดที่มีวัตถุ หรือสื่อลามกอนาจารเด็ก อายุไม่เกิน 18 ปี ไว้ในความครอบครอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากส่งต่อสื่อลามกอนาจารเด็ก แก่ผู้อื่นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากทำการค้า และทำให้แพร่หลายซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และ ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท
สมาชิก สนช. ได้อภิปรายใน มาตรา 3 บทนิยามของคำว่า "สื่อลามกอนาจารเด็ก" ที่มีการแก้ไขจากคำว่า "วัตถุอันลามก" เป็นคำว่า "สิ่ง" ซึ่งหากใช้คำว่า "วัตถุ" จะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าคำว่า "สิ่ง" ซึ่งตีความได้กว้าง ส่วนคำว่า "หรือต่อหน้าเด็ก" จะทำให้เกิดการตีความได้กว้างอีกเช่นกัน และคำว่า "ข้อความ" ซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับคำว่า"เอกสาร" ทำให้กรรมาธิการยอมปรับแก้ไขต่อที่ประชุมใน มาตรา 3 ให้เปลี่ยนจากคำว่า "สิ่ง" เป็นคำว่า "วัตถุหรือสิ่ง" ตัดคำว่า "หรือต่อหน้าเด็ก" และตัดคำว่า "ข้อความ" ออก เปลี่ยนจากคำว่า "แสดงผลเป็นภาพ หรือข้อความ หรือเสียงได้ " เป็นคำว่า "แสดงผลให้เข้าใจความหมายได้"
นอกจากนี้ กรรมาธิการยังได้ปรับแก้ไขต่อที่ประชุมโดยการนำการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 287/2 ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งอยู่ภายใน มาตรา 4 ของร่างนี้ กลับเข้ามาพร้อมแก้ไขคำเพียงเล็กน้อย แล้วตัด มาตรา 3/1 ของร่างนี้ ที่แก้ไขเพิ่มเติมบทลงโทษกรณีทำการค้าและทำให้
แพร่หลายซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก ย้ายไปไว้ใน มาตรา 4 ของร่างนี้ที่แก้ไข มาตรา 287/2 ในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อความชัดเจน โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการแก้ไขดังกล่าว
ต่อมา สมาชิกสนช. ได้มีการลงมติในวาระ 3 โดยผลปรากฏว่า สมาชิกได้ลงมติเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฉบับนี้ ด้วยคะแนนเสียง 193 ต่อ 1 งดออกเสียง 2 ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป หลังการลงมติ น.ส.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร ได้กล่าวขอบคุณต่อสมาชิกสนช. ที่มีมติผ่านร่างแก้ไขกฎหมายนี้ เพราะตนสู้เรื่องนี้มา 8 ปี และถือว่าในวันนี้ทุกคนได้ทำบุญร่วมกันในการคุ้มครองเด็ก
สำหรับสาระสำคัญของร่างนี้ คือกำหนดคำนิยามคำว่า "สื่อลามกอนาจารเด็ก" ไว้ใน มาตรา 1 ของประมวลกฎหมายอาญา และแก้ไขมาตรา 287 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งว่าด้วยการค้า และการทำให้แพร่หลายซึ่งสื่อลามก กำหนดให้ผู้ใดที่มีวัตถุ หรือสื่อลามกอนาจารเด็ก อายุไม่เกิน 18 ปี ไว้ในความครอบครอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากส่งต่อสื่อลามกอนาจารเด็ก แก่ผู้อื่นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากทำการค้า และทำให้แพร่หลายซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และ ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท
สมาชิก สนช. ได้อภิปรายใน มาตรา 3 บทนิยามของคำว่า "สื่อลามกอนาจารเด็ก" ที่มีการแก้ไขจากคำว่า "วัตถุอันลามก" เป็นคำว่า "สิ่ง" ซึ่งหากใช้คำว่า "วัตถุ" จะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าคำว่า "สิ่ง" ซึ่งตีความได้กว้าง ส่วนคำว่า "หรือต่อหน้าเด็ก" จะทำให้เกิดการตีความได้กว้างอีกเช่นกัน และคำว่า "ข้อความ" ซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับคำว่า"เอกสาร" ทำให้กรรมาธิการยอมปรับแก้ไขต่อที่ประชุมใน มาตรา 3 ให้เปลี่ยนจากคำว่า "สิ่ง" เป็นคำว่า "วัตถุหรือสิ่ง" ตัดคำว่า "หรือต่อหน้าเด็ก" และตัดคำว่า "ข้อความ" ออก เปลี่ยนจากคำว่า "แสดงผลเป็นภาพ หรือข้อความ หรือเสียงได้ " เป็นคำว่า "แสดงผลให้เข้าใจความหมายได้"
นอกจากนี้ กรรมาธิการยังได้ปรับแก้ไขต่อที่ประชุมโดยการนำการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 287/2 ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งอยู่ภายใน มาตรา 4 ของร่างนี้ กลับเข้ามาพร้อมแก้ไขคำเพียงเล็กน้อย แล้วตัด มาตรา 3/1 ของร่างนี้ ที่แก้ไขเพิ่มเติมบทลงโทษกรณีทำการค้าและทำให้
แพร่หลายซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก ย้ายไปไว้ใน มาตรา 4 ของร่างนี้ที่แก้ไข มาตรา 287/2 ในประมวลกฎหมายอาญา เพื่อความชัดเจน โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการแก้ไขดังกล่าว
ต่อมา สมาชิกสนช. ได้มีการลงมติในวาระ 3 โดยผลปรากฏว่า สมาชิกได้ลงมติเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฉบับนี้ ด้วยคะแนนเสียง 193 ต่อ 1 งดออกเสียง 2 ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป หลังการลงมติ น.ส.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร ได้กล่าวขอบคุณต่อสมาชิกสนช. ที่มีมติผ่านร่างแก้ไขกฎหมายนี้ เพราะตนสู้เรื่องนี้มา 8 ปี และถือว่าในวันนี้ทุกคนได้ทำบุญร่วมกันในการคุ้มครองเด็ก