วานนี้ (12พ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่นักการเมือง และนานาประเทศ นำโรดแมป มาเป็นเงื่อนไขขีดเส้นเวลาในการทำงานของ คสช. และรัฐบาล ว่า วันนี้มีแม่น้ำ 4 สาย ต้นแม่น้ำคือ คสช. เวลานี้อยู่ระหว่างการพิจารณารวบรวมข้อเสนอแนะร่างรัฐธรรมนูญ และจะส่งข้อพิจารณาดังกล่าว ไปให้กรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมญ โดยคสช.และ ครม. จะปรึกษาร่วมกัน และส่งข้อเสนอแนะไปในนามของครม. ฐานะต้นน้ำ
ทั้งนี้ โรดแมปที่วางไว้ไม่ใช่ของตน แต่เป็นโรดแมปของรัฐธรรมนูญ การดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นโรดแมปของรัฐบาล ของ คสช. คือรัฐธรรมนูญชั่วคราว ยืนยันว่าโรดแมปไม่ได้กดดันการทำงานของตน และใครก็กดดันตนเองไม่ได้ทั้งนั้น การจะอยู่หรือไป ไม่ได้อยู่ที่ตน แต่อยู่ที่รัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า สุดทางของโรดแมปของนายกฯ อยู่ที่จุดไหน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อยู่ที่รัฐธรรมนูญจะออกมาได้หรือไม่ได้ ออกไม่ได้ ก็ต้องร่างใหม่ เมื่อถามว่า นายกฯ จะต้องส่งไม้ต่อ ซึ่งหนีไม่พ้นนักการเมือง ถ้าเห็นว่าบ้านเมืองยังมีความขัดแย้งกันอยู่ นายกฯ จะส่งไม้ต่อหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ช่วยไม่ได้ โรดแมปว่าอย่างไร และตนจะอยู่ได้ด้วยอะไร และตัวโรดแมป คือ ถ้ารัฐธรรมนูญผ่านได้ ก็ต้องไปว่ากันอีกที โดยพิจารณาว่า จะต้องจัดทำประชามติ หรือไม่ แต่หากตนพูดไป จะกลายเป็นว่าตนอยากอยู่ต่อ 3 เดือน 6 เดือน ซึ่งเป็นเรื่องของกระบวนการไปทำมา เข้าใจหรือยัง อยากไล่กันนักหรืออย่างไร ถามจังเมื่อไรจะไป เมื่อไรจะไป
เมื่อถามว่า นายกฯ จะไปตามเสียเชียร์หรือไม่ หากบ้านเมืองยังไม่สงบ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า บ้านเมืองจะสงบหรือไม่สงบ ไม่ใช่ตนเป็นคนตัดสิน หากท่านเห็นว่าวันนี้ยังมีความขัดแย้งอยู่ ก็ต้องไปบอกคนที่ทำว่า ถ้าอยากมีการเลือกตั้ง ก็อย่าทำ ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญถ้าผ่าน ก็ต้องดูอีกว่า ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศหรือไม่ ผ่านมาแล้วจะเกิดข้อขัดแย้งในวันข้างหน้าอีกหรือไม่ การเลือกตั้งใครจะเข้ามารับการเลือกตั้ง เลือกตั้งมาแล้วจะบริหารกันอย่างไร จะรักษาความต่อเนื่องในการทำงานปฏิรูปของเราในขณะนี้หรือไม่ นี่เขาเรียกคำถามสร้างสรรค์
**"บิ๊กตู่" ส่งสัญญาณแยกหน้าอันตราย
เมื่อถามว่า หมายความว่า นายกฯ ต้องการให้ประชาชนส่งเสียงดังๆ ว่าหากรัฐธรรมนูญจบแล้ว ควรจะจัดการเลือกตั้งเลยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ ต้องไปทีละขั้น ไม่รู้ว่ารัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ เมื่อถามว่า มีการประเมินว่า อนาคตในวันข้างหน้าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้ำว่า "วันนี้เป็นการทำงานตามโรดแมป หากยังไม่ถึงแยกนั้น เราต้องระวังตัว ขับไปอย่างระมัดระวัง มันมีหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ทั้งหมด อย่าขับมาชนกันก็แล้วกัน พอชนกัน ก็ปิดถนน
เมื่อถามว่า ประเมินหรือยังว่า โค้งข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คิดแล้ว เป็นทหารๆ เมื่อถามว่า คิดดังๆ หน่อย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " ไม่ แต่คิดไว้แล้ว ถ้าคิดดังๆ กับ คิดกะปู้ คนละเรื่อง เมื่อถามว่าปิดถนนในความหมายของนายกฯ คืออะไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ปิดถนน หยุด ในความหมายคือ รัฐธรรมนูญชั่วคราวเขียนไว้แล้ว ก็ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ใช่มั้ย ใครจะมาปฏิวัติ มีเหรอ ใครจะมาปฏิวัติให้อีก ไม่มีแล้ว เข้าใจหรือยัง ตนพยายามพูดแล้ว รัฐธรรมนูญออกได้หรือไม่ แค่นั้น
เมื่อถามว่า จะอย่างไรก็ตาม นายกฯ มั่นใจว่าสิ่งที่ทำมาจะไม่เสียของ ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ไม่เสียของเวลาผมอยู่ แต่ถ้าผมไม่อยู่ ผมก็ไม่มั่นใจ เพราะท่านเลือกของท่านมา ผมไม่ได้มีอำนาจกับเขา ท่านก็ต้องไปหาว่า ถ้าเลือกตั้งแล้วจะมีมาตรการใดๆ ให้นักการเมืองใหม่ หรือผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ที่เข้ามา แล้วทำสิ่งที่ผมทำ โดยไม่ต้องถึง 100 เปอร์เซนต์หรอก ซึ่งวันนี้ผมได้วางมาตรฐานไว้เกินหน้านั้น แต่ต้องเดินตามสเตป ถ้าอยากให้คนที่เข้ามาบริหารเดินหน้าต่อในสิ่งที่ผมทำไว้ ท่านก็ต้องหากลไกให้มีใครสักคน หรือคณะอะไรสักอย่าง ให้เขาปฏิรูปให้ได้ เข้าใจหรือไม่ และไม่ต้องเอาผมเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่อยากยุ่ง "
** "กำนัน-ผญบ."ไม่ต้องกังวล
เมื่อถามว่า สหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย และสมาคมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย เรียกร้องให้ยกเลิก มาตรา 285 ในร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเกรงว่ามาตราดังกล่าวจะทำให้ไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาค พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทราบแล้ว และได้ถามทางมหาดไทยแล้ว เขาบอกว่า มีการมายื่นข้อไม่เห็นด้วยอะไรต่างๆ ก็ว่ากันไป ซึ่งตนบอกแล้วว่า วันนี้รัฐธรรมนูญยังไม่ผ่านกันเอง ข้างในสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็ยังไม่ได้ผ่าน ต้องดูทีละเปลาะก่อน
เมื่อถามว่า นายกฯ จะให้คำมั่นกับ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ตามคำเรียกร้องได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มันอยู่ในรัฐธรรมนูญ ถ้าในรัฐธรรมนูญไม่มี ก็ไม่มี ยังไม่จบ ตนบอกแล้วจะไปตีกันทำไม ตอนนี้เป็นเพียงข้อเสนอของสภาปฏิรูป และการปฏิรูปจะไปเกิดในรัฐบาลหน้า หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ก็ไม่มีผลอะไรทั้งสิ้น เข้าใจหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่เห็นชอบอย่างไร ทางกระทรวงมหาดไทย ก็ต้องรวบรวมความเห็นอยู่แล้ว ว่ามาจากไหน ทั้ง อบต. และ อบจ. ซึ่งแต่ละกระทรวง จะมีข้อพิจารณาส่งไปว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะต้องแก้ไขตรงไหนบ้าง และว่ากันต่อ ถ้าจะต้องร่างใหม่ก็ร่างใหม่
เมื่อถามว่า ทางกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน เกิดความกังวล พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ต้องกังวล ไม่มีใครอยากให้คนเดือดร้อนหรอก จะกังวลอะไรกันนักหนา เมื่อถามว่า อาจจะกังวลในเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวทันทีว่า บอกแล้วว่า ยังไม่เกิด จะเอาอะไรอีก ปัทโธ่ ให้ตนสัญญา แล้วตนไม่อยู่แล้วมันเกิดในวันหน้า จะให้ตนทำอย่างไร วันนี้ยังไม่เกิดอะไรทั้งสิ้น เข้าใจหรือยัง
**"ปนัดดา" ยันขรก.ส่วนภูมิภาคยังจำเป็น
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กำนันผู้ใหญ่บ้าน เรียกร้องให้ยกเลิก ร่าง รัฐธรรมนูญ มาตรา 82 (3) มาตรา 284 (5) และมาตรา 285 ที่จะส่งผลให้ไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาค ข้าราชการฝ่ายปกครอง รวมถึงกำนันผู้ใหญ่บ้าน ว่า เท่าที่ตนรับฟังทางข้าราชการเองก็กลัวว่า จะไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาค ส่วนจะกลายเป็นความขัดแย้งหรือไม่นั้น ทุกฝ่ายก็มีความห่วงใย โดยข้อเท็จจริงระบบราชการส่วนภูมิภาค ทำให้เราเป็นประเทศไทยเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในประเทศ สิ่งที่เหล่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เรียกร้องตนคิดว่าก็เป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ว่า หากไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาคแล้วใครจะทำหน้าที่แทนรัฐบาล ในการทำงานระดับจังหวัด และระบบท้องถิ่น เพราะทุกฝ่ายต้องทำงานเชื่อมโยงกัน ตนยืนยันว่าข้าราชการส่วนภูมิภาคยังมีความจำเป็นกับประเทศแน่นอน
ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลและข้าราชการส่วนภูมิภาค ต้องทำความเข้าใจกัน ถ้าถามตนคิดว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมือง หลายคนก็มองเห็นความสำคัญในระบบราชการส่วนนี้ และละเลยไม่ได้
เมื่อถามว่า จะเป็นตัวแทนของรัฐบาลรับข้อเสนอกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เสนอไปยังกมธ.ยกร่างฯ หรือไม่ ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า ก็มีข้าราชการบางส่วนเข้ามาพูดคุยกับตน และในการไปราชการต่างจังหวัด ก็มีเสียงสะท้อนของข้าราชการในระดับท้องถิ่นเข้ามาพูดคุยเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ในส่วนของร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องส่งข้อเสนอแนะให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 14 พ.ค.นั้น ยังอยู่ระหว่างการอ่านร่างที่ว่าด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบริหารท้องถิ่น และในฐานะที่ทำงานสายปกครองมาตลอดชีวิต ต้องรอบคอบ และต้องเสนอโดยเร็วที่สุด ซึ่งนายกรัฐมนตรี ย้ำว่า รัฐบาลจะต้องทำทุกอย่างอย่างพินิจพิเคราะห์และรอบคอบ
**สชป.ท้องถิ่นแปรญัตติ ตัด ม.284,258
ด้านนายไพโรจน์ พรหมสาส์น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกรณีที่ ปลัดอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เรียกร้องให้ตัด มาตรา 82 ,284 และ 285 เกี่ยวกับการเตรียมยุบราชการส่วนภูมิภาค ว่า ตนเข้าใจว่า มาตรา 284 และ 285 ทำให้กลุ่มผู้คัดค้านมีความกังวล เนื่องจากทั้ง 2 มาตรานี้ ได้กำหนดไว้ว่า จะต้องมีการตรากฎหมายและสร้างกลไก จัดตั้งองค์กรบริหารท้องถิ่นเต็มพื้นที่จังหวัดภายใน 1 ปี นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ซึ่งจะทำให้ข้าราชการส่วนภูมิภาค ที่รวมไปถึงกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จะไม่มีอำนาจ หรือบทบาทในท้องถิ่นอีกแล้ว ตนในฐานะผู้เสนอคำแปรญัตติ ได้เสนอขอแก้ไขให้ตัด มาตรา 284 และ 285 เพราะการกำหนดหลักการใน มาตรา 82 ที่กำหนดหลักการ การกระจายอำนาจและอำนาจหน้าที่ ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาจังหวัดให้เป็นองค์กรบริหารท้องถิ่นขนาดใหญ่ไว้ดีแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักปฏิบัติว่า หากจะเป็นองค์กรบริหารท้องถิ่น ต้องเป็นทั้งจังหวัด และต้องทำภายใน 1 ปี ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 284 และ 285 ซึ่งทั้งรายละเอียดทั้ง 2 มาตรานี้ ควรจะไปกำหนดไว้ในกฎหมายลูก หรือกฎหมายอื่นแทน
ทั้งนี้ โรดแมปที่วางไว้ไม่ใช่ของตน แต่เป็นโรดแมปของรัฐธรรมนูญ การดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นโรดแมปของรัฐบาล ของ คสช. คือรัฐธรรมนูญชั่วคราว ยืนยันว่าโรดแมปไม่ได้กดดันการทำงานของตน และใครก็กดดันตนเองไม่ได้ทั้งนั้น การจะอยู่หรือไป ไม่ได้อยู่ที่ตน แต่อยู่ที่รัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า สุดทางของโรดแมปของนายกฯ อยู่ที่จุดไหน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อยู่ที่รัฐธรรมนูญจะออกมาได้หรือไม่ได้ ออกไม่ได้ ก็ต้องร่างใหม่ เมื่อถามว่า นายกฯ จะต้องส่งไม้ต่อ ซึ่งหนีไม่พ้นนักการเมือง ถ้าเห็นว่าบ้านเมืองยังมีความขัดแย้งกันอยู่ นายกฯ จะส่งไม้ต่อหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ช่วยไม่ได้ โรดแมปว่าอย่างไร และตนจะอยู่ได้ด้วยอะไร และตัวโรดแมป คือ ถ้ารัฐธรรมนูญผ่านได้ ก็ต้องไปว่ากันอีกที โดยพิจารณาว่า จะต้องจัดทำประชามติ หรือไม่ แต่หากตนพูดไป จะกลายเป็นว่าตนอยากอยู่ต่อ 3 เดือน 6 เดือน ซึ่งเป็นเรื่องของกระบวนการไปทำมา เข้าใจหรือยัง อยากไล่กันนักหรืออย่างไร ถามจังเมื่อไรจะไป เมื่อไรจะไป
เมื่อถามว่า นายกฯ จะไปตามเสียเชียร์หรือไม่ หากบ้านเมืองยังไม่สงบ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า บ้านเมืองจะสงบหรือไม่สงบ ไม่ใช่ตนเป็นคนตัดสิน หากท่านเห็นว่าวันนี้ยังมีความขัดแย้งอยู่ ก็ต้องไปบอกคนที่ทำว่า ถ้าอยากมีการเลือกตั้ง ก็อย่าทำ ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญถ้าผ่าน ก็ต้องดูอีกว่า ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศหรือไม่ ผ่านมาแล้วจะเกิดข้อขัดแย้งในวันข้างหน้าอีกหรือไม่ การเลือกตั้งใครจะเข้ามารับการเลือกตั้ง เลือกตั้งมาแล้วจะบริหารกันอย่างไร จะรักษาความต่อเนื่องในการทำงานปฏิรูปของเราในขณะนี้หรือไม่ นี่เขาเรียกคำถามสร้างสรรค์
**"บิ๊กตู่" ส่งสัญญาณแยกหน้าอันตราย
เมื่อถามว่า หมายความว่า นายกฯ ต้องการให้ประชาชนส่งเสียงดังๆ ว่าหากรัฐธรรมนูญจบแล้ว ควรจะจัดการเลือกตั้งเลยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ ต้องไปทีละขั้น ไม่รู้ว่ารัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ เมื่อถามว่า มีการประเมินว่า อนาคตในวันข้างหน้าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้ำว่า "วันนี้เป็นการทำงานตามโรดแมป หากยังไม่ถึงแยกนั้น เราต้องระวังตัว ขับไปอย่างระมัดระวัง มันมีหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ทั้งหมด อย่าขับมาชนกันก็แล้วกัน พอชนกัน ก็ปิดถนน
เมื่อถามว่า ประเมินหรือยังว่า โค้งข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คิดแล้ว เป็นทหารๆ เมื่อถามว่า คิดดังๆ หน่อย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " ไม่ แต่คิดไว้แล้ว ถ้าคิดดังๆ กับ คิดกะปู้ คนละเรื่อง เมื่อถามว่าปิดถนนในความหมายของนายกฯ คืออะไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ปิดถนน หยุด ในความหมายคือ รัฐธรรมนูญชั่วคราวเขียนไว้แล้ว ก็ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ใช่มั้ย ใครจะมาปฏิวัติ มีเหรอ ใครจะมาปฏิวัติให้อีก ไม่มีแล้ว เข้าใจหรือยัง ตนพยายามพูดแล้ว รัฐธรรมนูญออกได้หรือไม่ แค่นั้น
เมื่อถามว่า จะอย่างไรก็ตาม นายกฯ มั่นใจว่าสิ่งที่ทำมาจะไม่เสียของ ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ไม่เสียของเวลาผมอยู่ แต่ถ้าผมไม่อยู่ ผมก็ไม่มั่นใจ เพราะท่านเลือกของท่านมา ผมไม่ได้มีอำนาจกับเขา ท่านก็ต้องไปหาว่า ถ้าเลือกตั้งแล้วจะมีมาตรการใดๆ ให้นักการเมืองใหม่ หรือผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ที่เข้ามา แล้วทำสิ่งที่ผมทำ โดยไม่ต้องถึง 100 เปอร์เซนต์หรอก ซึ่งวันนี้ผมได้วางมาตรฐานไว้เกินหน้านั้น แต่ต้องเดินตามสเตป ถ้าอยากให้คนที่เข้ามาบริหารเดินหน้าต่อในสิ่งที่ผมทำไว้ ท่านก็ต้องหากลไกให้มีใครสักคน หรือคณะอะไรสักอย่าง ให้เขาปฏิรูปให้ได้ เข้าใจหรือไม่ และไม่ต้องเอาผมเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่อยากยุ่ง "
** "กำนัน-ผญบ."ไม่ต้องกังวล
เมื่อถามว่า สหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย และสมาคมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย เรียกร้องให้ยกเลิก มาตรา 285 ในร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเกรงว่ามาตราดังกล่าวจะทำให้ไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาค พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทราบแล้ว และได้ถามทางมหาดไทยแล้ว เขาบอกว่า มีการมายื่นข้อไม่เห็นด้วยอะไรต่างๆ ก็ว่ากันไป ซึ่งตนบอกแล้วว่า วันนี้รัฐธรรมนูญยังไม่ผ่านกันเอง ข้างในสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็ยังไม่ได้ผ่าน ต้องดูทีละเปลาะก่อน
เมื่อถามว่า นายกฯ จะให้คำมั่นกับ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ตามคำเรียกร้องได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มันอยู่ในรัฐธรรมนูญ ถ้าในรัฐธรรมนูญไม่มี ก็ไม่มี ยังไม่จบ ตนบอกแล้วจะไปตีกันทำไม ตอนนี้เป็นเพียงข้อเสนอของสภาปฏิรูป และการปฏิรูปจะไปเกิดในรัฐบาลหน้า หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ก็ไม่มีผลอะไรทั้งสิ้น เข้าใจหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่เห็นชอบอย่างไร ทางกระทรวงมหาดไทย ก็ต้องรวบรวมความเห็นอยู่แล้ว ว่ามาจากไหน ทั้ง อบต. และ อบจ. ซึ่งแต่ละกระทรวง จะมีข้อพิจารณาส่งไปว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะต้องแก้ไขตรงไหนบ้าง และว่ากันต่อ ถ้าจะต้องร่างใหม่ก็ร่างใหม่
เมื่อถามว่า ทางกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน เกิดความกังวล พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ต้องกังวล ไม่มีใครอยากให้คนเดือดร้อนหรอก จะกังวลอะไรกันนักหนา เมื่อถามว่า อาจจะกังวลในเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวทันทีว่า บอกแล้วว่า ยังไม่เกิด จะเอาอะไรอีก ปัทโธ่ ให้ตนสัญญา แล้วตนไม่อยู่แล้วมันเกิดในวันหน้า จะให้ตนทำอย่างไร วันนี้ยังไม่เกิดอะไรทั้งสิ้น เข้าใจหรือยัง
**"ปนัดดา" ยันขรก.ส่วนภูมิภาคยังจำเป็น
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี กำนันผู้ใหญ่บ้าน เรียกร้องให้ยกเลิก ร่าง รัฐธรรมนูญ มาตรา 82 (3) มาตรา 284 (5) และมาตรา 285 ที่จะส่งผลให้ไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาค ข้าราชการฝ่ายปกครอง รวมถึงกำนันผู้ใหญ่บ้าน ว่า เท่าที่ตนรับฟังทางข้าราชการเองก็กลัวว่า จะไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาค ส่วนจะกลายเป็นความขัดแย้งหรือไม่นั้น ทุกฝ่ายก็มีความห่วงใย โดยข้อเท็จจริงระบบราชการส่วนภูมิภาค ทำให้เราเป็นประเทศไทยเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในประเทศ สิ่งที่เหล่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เรียกร้องตนคิดว่าก็เป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ว่า หากไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาคแล้วใครจะทำหน้าที่แทนรัฐบาล ในการทำงานระดับจังหวัด และระบบท้องถิ่น เพราะทุกฝ่ายต้องทำงานเชื่อมโยงกัน ตนยืนยันว่าข้าราชการส่วนภูมิภาคยังมีความจำเป็นกับประเทศแน่นอน
ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลและข้าราชการส่วนภูมิภาค ต้องทำความเข้าใจกัน ถ้าถามตนคิดว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมือง หลายคนก็มองเห็นความสำคัญในระบบราชการส่วนนี้ และละเลยไม่ได้
เมื่อถามว่า จะเป็นตัวแทนของรัฐบาลรับข้อเสนอกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เสนอไปยังกมธ.ยกร่างฯ หรือไม่ ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า ก็มีข้าราชการบางส่วนเข้ามาพูดคุยกับตน และในการไปราชการต่างจังหวัด ก็มีเสียงสะท้อนของข้าราชการในระดับท้องถิ่นเข้ามาพูดคุยเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ในส่วนของร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องส่งข้อเสนอแนะให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 14 พ.ค.นั้น ยังอยู่ระหว่างการอ่านร่างที่ว่าด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบริหารท้องถิ่น และในฐานะที่ทำงานสายปกครองมาตลอดชีวิต ต้องรอบคอบ และต้องเสนอโดยเร็วที่สุด ซึ่งนายกรัฐมนตรี ย้ำว่า รัฐบาลจะต้องทำทุกอย่างอย่างพินิจพิเคราะห์และรอบคอบ
**สชป.ท้องถิ่นแปรญัตติ ตัด ม.284,258
ด้านนายไพโรจน์ พรหมสาส์น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกรณีที่ ปลัดอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เรียกร้องให้ตัด มาตรา 82 ,284 และ 285 เกี่ยวกับการเตรียมยุบราชการส่วนภูมิภาค ว่า ตนเข้าใจว่า มาตรา 284 และ 285 ทำให้กลุ่มผู้คัดค้านมีความกังวล เนื่องจากทั้ง 2 มาตรานี้ ได้กำหนดไว้ว่า จะต้องมีการตรากฎหมายและสร้างกลไก จัดตั้งองค์กรบริหารท้องถิ่นเต็มพื้นที่จังหวัดภายใน 1 ปี นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ซึ่งจะทำให้ข้าราชการส่วนภูมิภาค ที่รวมไปถึงกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จะไม่มีอำนาจ หรือบทบาทในท้องถิ่นอีกแล้ว ตนในฐานะผู้เสนอคำแปรญัตติ ได้เสนอขอแก้ไขให้ตัด มาตรา 284 และ 285 เพราะการกำหนดหลักการใน มาตรา 82 ที่กำหนดหลักการ การกระจายอำนาจและอำนาจหน้าที่ ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาจังหวัดให้เป็นองค์กรบริหารท้องถิ่นขนาดใหญ่ไว้ดีแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักปฏิบัติว่า หากจะเป็นองค์กรบริหารท้องถิ่น ต้องเป็นทั้งจังหวัด และต้องทำภายใน 1 ปี ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 284 และ 285 ซึ่งทั้งรายละเอียดทั้ง 2 มาตรานี้ ควรจะไปกำหนดไว้ในกฎหมายลูก หรือกฎหมายอื่นแทน