นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีความกังวลว่า ศิลปินพื้นบ้านจะสูญหาย เพราะความนิยมของคนไทยลดน้อยลง และอาจส่งผลให้ศิลปการแสดง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่นต่างๆ สูญหายตามไปด้วย เพราะไม่มีผู้สืบทอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเก็บข้อมูลช่วงเดือน มิ.ย.-ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่า แทบไม่มีการจ้างงานของศิลปินพื้นบ้าน เนื่องจากไม่เป็นช่วงเทศกาล งานประเพณี และยังอยู่ในช่วงหน้าฝน จึงทำให้ขาดรายได้เลี้ยงตนเอง และลูกน้อง
ดังนั้นตนจึงมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมส่งเสริมวัฒนธรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สำนักปลัด วธ. ให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์สนับสนุน และผลักดันให้ศิลปินพื้นบ้านมีพื้นที่แสดงออกหารายได้เลี้ยงคณะการแสดงได้ โดยแบ่งเป็นแผนระยะสั้น ไปจนถึงระยะยาว
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานแบบเร่งด่วน ได้สั่งการให้จัดมหกรรมการแสดงศิลปินพื้นบ้าน โดยใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท โดยระดมศิลปะพื้นบ้านทุกแขนงมาจัดแสดง แลกเปลี่ยนกัน กระจายไป 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ อาทิ เพลงฉ่อย เพลงซอ หนังตะลุง มโนราห์ โปงลาง ลำตัด ฟ้อน งิ้ว เป็นต้น เพื่อปลุกกระแสความตื่นตัวของประชาชนในพื้นที่ ให้เกิดความสนใจ เรียนรู้และอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลศิลปะพื้นบ้าน พร้อมกันนี้ ต้องมีการเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาร่วมทบทวนถึงประเด็นปัญหาของการลดความนิยมของศิลปินพื้นบ้าน โดยใช้เอกสารงานวิจัยมาร่วมวิเคราะห์อ้างอิง เพื่อให้เกิดการประมวลผล และสามารถหามาตรการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ จะต้องมีการรวบรวมองค์ความรู้ของศิลปะพื้นบ้านให้ครบถ้วน เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างแพร่หลาย
"ในส่วนของกลุ่มศิลปินพื้นบ้านเอง ต้องมีการปรับตัว ปรับการแสดง ให้เข้ากับรสนิยมของคนยุคใหม่ และยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่เคยเล่นยังไงก็ยังเหมือนเดิม นอกจากนี้ ผมได้เสนอให้มีการจัดตั้งสมาคมศิลปินพื้นบ้าน เพื่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มศิลปินทั่วประเทศ ให้เกิดการอุดหนุน ดูแลกันทั้งระบบ ทั้ง การดูแลถ่ายทอดท่วงท่าของศิลปะการแสดง การแลกเปลี่ยนศิลปินพื้นบ้าน การหาพื้นที่ หาตลาดในการจ้างงาน เพื่อหารายได้ให้กันเองซึ่งจะเป็นผลในระยะยาว" นายวีระ กล่าว
ดังนั้นตนจึงมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมส่งเสริมวัฒนธรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สำนักปลัด วธ. ให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์สนับสนุน และผลักดันให้ศิลปินพื้นบ้านมีพื้นที่แสดงออกหารายได้เลี้ยงคณะการแสดงได้ โดยแบ่งเป็นแผนระยะสั้น ไปจนถึงระยะยาว
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานแบบเร่งด่วน ได้สั่งการให้จัดมหกรรมการแสดงศิลปินพื้นบ้าน โดยใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท โดยระดมศิลปะพื้นบ้านทุกแขนงมาจัดแสดง แลกเปลี่ยนกัน กระจายไป 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ อาทิ เพลงฉ่อย เพลงซอ หนังตะลุง มโนราห์ โปงลาง ลำตัด ฟ้อน งิ้ว เป็นต้น เพื่อปลุกกระแสความตื่นตัวของประชาชนในพื้นที่ ให้เกิดความสนใจ เรียนรู้และอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลศิลปะพื้นบ้าน พร้อมกันนี้ ต้องมีการเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาร่วมทบทวนถึงประเด็นปัญหาของการลดความนิยมของศิลปินพื้นบ้าน โดยใช้เอกสารงานวิจัยมาร่วมวิเคราะห์อ้างอิง เพื่อให้เกิดการประมวลผล และสามารถหามาตรการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ จะต้องมีการรวบรวมองค์ความรู้ของศิลปะพื้นบ้านให้ครบถ้วน เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างแพร่หลาย
"ในส่วนของกลุ่มศิลปินพื้นบ้านเอง ต้องมีการปรับตัว ปรับการแสดง ให้เข้ากับรสนิยมของคนยุคใหม่ และยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่เคยเล่นยังไงก็ยังเหมือนเดิม นอกจากนี้ ผมได้เสนอให้มีการจัดตั้งสมาคมศิลปินพื้นบ้าน เพื่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มศิลปินทั่วประเทศ ให้เกิดการอุดหนุน ดูแลกันทั้งระบบ ทั้ง การดูแลถ่ายทอดท่วงท่าของศิลปะการแสดง การแลกเปลี่ยนศิลปินพื้นบ้าน การหาพื้นที่ หาตลาดในการจ้างงาน เพื่อหารายได้ให้กันเองซึ่งจะเป็นผลในระยะยาว" นายวีระ กล่าว