วธ.ทุ่มงบ 20 ล้านบาท จัดมหกรรมการแสดงศิลปินพื้นบ้าน หวั่นสูญหาย เหตุคนจ้างน้อยและฤดูฝน ชงอุ้มศิลปินพื้นบ้าน ชงตั้งสมาคมดูแลกันเอง
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีความกังวลว่าศิลปินพื้นบ้านจะสูญหาย เพราะความนิยมของคนไทยลดน้อยลง และอาจส่งผลให้ศิลปการแสดง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่นต่างๆ สูญหายตามไปด้วยเพราะไม่มีผู้สืบทอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการเก็บข้อมูลช่วงเดือน มิ.ย.-ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่าแทบไม่มีการจ้างงานของศิลปินพื้นบ้าน เนื่องจากไม่เป็นช่วงเทศกาล งานประเพณี และยังอยู่ในช่วงหน้าฝน จึงทำให้ขาดรายได้เลี้ยงตนเอง และลูกน้องดังนั้นตนจึงมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมส่งเสริมวัฒนธรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สำนักปลัด วธ. ให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์สนับสนุนและผลักดันให้ศิลปินพื้นบ้านมีพื้นที่แสดงออกหารายได้เลี้ยงคณะการแสดงได้ โดยแบ่งเป็นแผนระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว
นายวีระกล่าวว่า ในการดำเนินงานแบบเร่งด่วน ตนได้สั่งการให้จัดมหกรรมการแสดงศิลปินพื้นบ้าน โดยใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท โดยระดมศิลปะพื้นบ้านทุกแขนงมาจัดแสดง แลกเปลี่ยนกัน กระจายไป 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เช่น เพลงฉ่อย เพลงซอ หนังตะลุง มโนราห์ โปงลาง ลำตัด ฟ้อน งิ้ว เป็นต้น เพื่อปลุกกระแสความตื่นตัวของประชาชนในพื้นที่ให้เกิดความสนใจ เรียนรู้และอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลศิลปะพื้นบ้าน พร้อมกันนี้ต้องมีการเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมทบทวนถึงประเด็นปัญหาของการลดความนิยมของศิลปินพื้นบ้าน โดยใช้เอกสารงานวิจัยมาร่วมวิเคราะห์อ้างอิง เพื่อให้เกิดการประมวลผล และสามารถหามาตรการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้จะต้องมีการรวบรวมองค์ความรู้ของศิลปะพื้นบ้านให้ครบถ้วน เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างแพร่หลาย
“ในส่วนของกลุ่มศิลปินพื้นบ้านเอง ต้องมีการปรับตัว ปรับการแสดง ให้เข้ากับรสนิยมของคนยุคใหม่ และยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่เคยเล่นยังไงก็ยังเหมือนเดิม นอกจากนี้ ผมได้เสนอให้มีการจัดตั้งสมาคมศิลปินพื้นบ้าน เพื่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มศิลปินทั่วประเทศ ให้เกิดการอุดหนุน ดูแลกันทั้งระบบ ทั้งการดูแลถ่ายทอดท่วงท่าของศิลปะการแสดง การแลกเปลี่ยนศิลปินพื้นบ้าน การหาพื้นที่ หาตลาดในการจ้างงาน เพื่อหารายได้ให้กันเองซึ่งจะเป็นผลในระยะยาว” นายวีระกล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีความกังวลว่าศิลปินพื้นบ้านจะสูญหาย เพราะความนิยมของคนไทยลดน้อยลง และอาจส่งผลให้ศิลปการแสดง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่นต่างๆ สูญหายตามไปด้วยเพราะไม่มีผู้สืบทอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการเก็บข้อมูลช่วงเดือน มิ.ย.-ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่าแทบไม่มีการจ้างงานของศิลปินพื้นบ้าน เนื่องจากไม่เป็นช่วงเทศกาล งานประเพณี และยังอยู่ในช่วงหน้าฝน จึงทำให้ขาดรายได้เลี้ยงตนเอง และลูกน้องดังนั้นตนจึงมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมส่งเสริมวัฒนธรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สำนักปลัด วธ. ให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์สนับสนุนและผลักดันให้ศิลปินพื้นบ้านมีพื้นที่แสดงออกหารายได้เลี้ยงคณะการแสดงได้ โดยแบ่งเป็นแผนระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว
นายวีระกล่าวว่า ในการดำเนินงานแบบเร่งด่วน ตนได้สั่งการให้จัดมหกรรมการแสดงศิลปินพื้นบ้าน โดยใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท โดยระดมศิลปะพื้นบ้านทุกแขนงมาจัดแสดง แลกเปลี่ยนกัน กระจายไป 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เช่น เพลงฉ่อย เพลงซอ หนังตะลุง มโนราห์ โปงลาง ลำตัด ฟ้อน งิ้ว เป็นต้น เพื่อปลุกกระแสความตื่นตัวของประชาชนในพื้นที่ให้เกิดความสนใจ เรียนรู้และอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลศิลปะพื้นบ้าน พร้อมกันนี้ต้องมีการเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมทบทวนถึงประเด็นปัญหาของการลดความนิยมของศิลปินพื้นบ้าน โดยใช้เอกสารงานวิจัยมาร่วมวิเคราะห์อ้างอิง เพื่อให้เกิดการประมวลผล และสามารถหามาตรการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้จะต้องมีการรวบรวมองค์ความรู้ของศิลปะพื้นบ้านให้ครบถ้วน เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างแพร่หลาย
“ในส่วนของกลุ่มศิลปินพื้นบ้านเอง ต้องมีการปรับตัว ปรับการแสดง ให้เข้ากับรสนิยมของคนยุคใหม่ และยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่ใช่เคยเล่นยังไงก็ยังเหมือนเดิม นอกจากนี้ ผมได้เสนอให้มีการจัดตั้งสมาคมศิลปินพื้นบ้าน เพื่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มศิลปินทั่วประเทศ ให้เกิดการอุดหนุน ดูแลกันทั้งระบบ ทั้งการดูแลถ่ายทอดท่วงท่าของศิลปะการแสดง การแลกเปลี่ยนศิลปินพื้นบ้าน การหาพื้นที่ หาตลาดในการจ้างงาน เพื่อหารายได้ให้กันเองซึ่งจะเป็นผลในระยะยาว” นายวีระกล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่