วธ.เร่งอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญา วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้ง หมอลำ ลำตัด โปงลาง กลองยาว มโนราห์ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลาง แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ของอาเซียน
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวเปิดงานมหกรรมวิชาการภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์นานาชาติลุ่มน้ำโขง สานสัมพันธ์ ไทย-ลาว-เวียดนาม -จีน ประจำปี 2558 ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทย ลาว เวียดนาม และจีน มีความสัมพันธ์อันดีมาช้านาน ก่อให้เกิดการพัฒนาวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย นับเป็นต้นทุนในการส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติรับทราบแผนปฏิบัติงานให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประชาคมอาเซียน ตามที่ วธ. เสนอเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี 2558 ทั้งการประกวดภาพวิถีชีวิตคนอาเซียน การจัดสัมมนากลุ่มชาติพันธุ์ การแสดงพื้นบ้านอาเซียน เทศกาลภาพยนตร์อาเซียน และ มหกรรมโขนอาเซียน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และสังคมร่วมกันกับประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน
รมว.วัฒนธรรม กล่าวอีกว่า จากข้อมูลทางวิชาการ เรื่อง แนวทางการอนุรักษ์ และสืบทอดศิลปการแสดงหมอลำเพลินโบราณ ใน จ. ยโสธร ซึ่งจัดทำโดย คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สะท้อนให้เห็นว่าสภาพปัจจุบันของคณะหมอลำเพลิน ซึ่งเคยเป็นการแสดงพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เสื่อมความนิยมลงเนื่องจากชาวอีสานได้รับอิทธิพลการแสดงทางวัฒนธรรมสมัยใหม่ ขาดการอนุรักษ์สืบทอดจากคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า คนไทยรุ่นใหม่ ไม่สนใจในรากเหง้ามรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่น่ากังวลถึง การพัฒนาประเทศในอนาคต เพราะประเทศไทยจำเป็นจะต้องใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสร้างชาติ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ
ดังนั้น วธ.จึงมีแนวทางที่จะให้การดูแลผู้ประกอบการการแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้านทุกแขนง เพื่อให้เป็นฐานการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญา ทั้ง หมอลำ โปงลาง ลำตัด กลองยาว มโนราห์ ฯลฯ นอกจากนี้ จะประสานขอความร่วมมือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมส่งเสริมให้ครูภูมิปัญญา ครูในสถานศึกษา ศิลปินแห่งชาติ ร่วมถ่ายทอดความรู้การแสดงพื้นบ้าน สู่เยาวชนทั้งใน และนอกสถานศึกษา ขณะเดียวกันก็จะสนับสนุนให้มีการเปิดตลาดการแสดงพื้นบ้าน รณรงค์ให้คนไทยหันมาอนุรักษ์การแสดงพื้นบ้าน เพื่อให้คณะการแสดงต่างๆ มีรายได้มากยิ่งขึ้นด้วย
" ถึงเวลาแล้ว ที่วธ.จะต้องร่วมกันกับทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสถาบันการศึกษา กระตุ้นและผลักดันให้มีการนำศิลปะ และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นแกนขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องเริ่มจากส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัย และต้องจัดกระบวนการเรียนรู้กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อไป" นายวีระ กล่าว
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวเปิดงานมหกรรมวิชาการภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์นานาชาติลุ่มน้ำโขง สานสัมพันธ์ ไทย-ลาว-เวียดนาม -จีน ประจำปี 2558 ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทย ลาว เวียดนาม และจีน มีความสัมพันธ์อันดีมาช้านาน ก่อให้เกิดการพัฒนาวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย นับเป็นต้นทุนในการส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติรับทราบแผนปฏิบัติงานให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประชาคมอาเซียน ตามที่ วธ. เสนอเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี 2558 ทั้งการประกวดภาพวิถีชีวิตคนอาเซียน การจัดสัมมนากลุ่มชาติพันธุ์ การแสดงพื้นบ้านอาเซียน เทศกาลภาพยนตร์อาเซียน และ มหกรรมโขนอาเซียน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และสังคมร่วมกันกับประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน
รมว.วัฒนธรรม กล่าวอีกว่า จากข้อมูลทางวิชาการ เรื่อง แนวทางการอนุรักษ์ และสืบทอดศิลปการแสดงหมอลำเพลินโบราณ ใน จ. ยโสธร ซึ่งจัดทำโดย คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สะท้อนให้เห็นว่าสภาพปัจจุบันของคณะหมอลำเพลิน ซึ่งเคยเป็นการแสดงพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เสื่อมความนิยมลงเนื่องจากชาวอีสานได้รับอิทธิพลการแสดงทางวัฒนธรรมสมัยใหม่ ขาดการอนุรักษ์สืบทอดจากคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า คนไทยรุ่นใหม่ ไม่สนใจในรากเหง้ามรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่น่ากังวลถึง การพัฒนาประเทศในอนาคต เพราะประเทศไทยจำเป็นจะต้องใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสร้างชาติ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ
ดังนั้น วธ.จึงมีแนวทางที่จะให้การดูแลผู้ประกอบการการแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้านทุกแขนง เพื่อให้เป็นฐานการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญา ทั้ง หมอลำ โปงลาง ลำตัด กลองยาว มโนราห์ ฯลฯ นอกจากนี้ จะประสานขอความร่วมมือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมส่งเสริมให้ครูภูมิปัญญา ครูในสถานศึกษา ศิลปินแห่งชาติ ร่วมถ่ายทอดความรู้การแสดงพื้นบ้าน สู่เยาวชนทั้งใน และนอกสถานศึกษา ขณะเดียวกันก็จะสนับสนุนให้มีการเปิดตลาดการแสดงพื้นบ้าน รณรงค์ให้คนไทยหันมาอนุรักษ์การแสดงพื้นบ้าน เพื่อให้คณะการแสดงต่างๆ มีรายได้มากยิ่งขึ้นด้วย
" ถึงเวลาแล้ว ที่วธ.จะต้องร่วมกันกับทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสถาบันการศึกษา กระตุ้นและผลักดันให้มีการนำศิลปะ และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นแกนขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องเริ่มจากส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัย และต้องจัดกระบวนการเรียนรู้กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อไป" นายวีระ กล่าว