ASTVผู้จัดการรายวัน - เบื้องหลังเกมประชุมผู้ถือหุ้นเนชั่น ถ้ามีเขาก็ต้องไม่มีเรา ประธานสั่งฯกีดกันผู้ถือหุ้นใหม่ จัดสถานที่ลึกลับซับซ้อน ประชุมรวบรัด เสี่ยงผิดกฏหมาย แค่เพียงรักษาเก้าอี้บริหารกลุ่มสุทธิชัยหยุ่น ผิดจากนี้ไม่ใช่เรา
เหตุวุ่นวายในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) NMG เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 เป็นการแสดงท่าทีที่ชัดเจนยิ่งของกลุ่มนายสุทธิชัย หยุ่น ทึ่ต้องการรักษาอำนาจในการบริหารเนชั่นฯ แม้จะถูกสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นายสุทธิชัย ทุ่มสุดตัวรักษาอำนาจของตนและพวกพ้อง อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู
ย้อนกลับไปไล่เรียงเหตุการณ์นับจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลง มีกลุ่มใหม่ที่เป็นเจ้าของธุรกิจสื่อใหญ่และมาแรงแห่งยุคอย่างบริษัท SLC หรือชื่อใหม่ บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS เขาก็ใช้ทุกกระบวนท่า ทั้งเจรจา เปิดสงครามข่าว และสุดท้ายชิงเป็นฝ่ายลงมือกระทำในการประชุมผู้ถือหุ้นอย่างชนิดที่ผู้ถือหุ้นบางคนเรียกว่า ปฎิบัติการหน้าด้านที่สุด
ก่อนนี้เมื่อทราบว่ามีผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามาและมีแนวโน้มที่จะใช้สิทธิของความเป็นผู้ถือใหญ่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร เขาก็พยายามเจรจาต่อรองกับทุนใหม่เหมือนที่เคยผ่านมา เหมือนกรณีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เหมือนกรณีนายเสริมสิน สมะลาภา
กรณีของนายฉาย บุนนาค และ บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS ก็เช่นเดียวกัน ตามคำบอกเล่าของนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี กรรมการ บริษัท นิวส์ฯ ก่อนการประชุมใหญ่ 1 วัน ชี้ให้เห็น
ค่ำของวันที่ 16 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ หลังจากกลุ่มNewsเข้าซื้อหุ้นกว่า12% มีการนัดพบกันของนายสุทธิชัย และ ฉาย ผ่านนายยุทธ ชินสุภัคกุล บิดาของฉาย การสนทนา 2 ชั่วโมงตัวแทนของ NEWSตอบรับทุกข้อเสนอของนายสุทธิชัย รวมถึงยืนยันว่าจะไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน และระบบการทำงานของสื่อเนชั่น อีกทั้งยืนยันการเข้ามาลงทุนในครั้งนี้เพื่อกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ และมองว่า NMG เป็นสื่อที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่ดีอยู่แล้ว
นายฉายเรียกข้อเสนอคืนนั้นว่า สัญญาสุภาพบุรุษ ซึ่งประกอบด้วย 1.จะไม่ส่งคณะกรรมการเข้าไปบริหาร 2.กลับมาปรึกษากันให้ชื่อของคุณสุทธิชัยยังคงเป็นอันดับหนึ่งในการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งที่คุณสุทธิชัยมีหุ้นเพียง 9% และ 3.ไม่ส่ง Poxcy
ทว่า ไม่ทราบเกิดอะไรขึ้น การกระทำของนายสุทธิชัยหลังจากการทานอาหารมื้อนั้นกลับไม่เป็นไปตามที่เจรจากัน สัญญาถูกฉีกทิ้งตามด้วยการเปิดพื้นที่ข่าวโจมตีกลุ่มนายฉายและNewsบนสื่อของเนชั่นอย่างสาดเสียเทเสียต่อเนื่อง ซึ่งทางฝั่งนายฉายถึงขั้นนับนิ้วรวมทั้งสิ้นที่ถูกเขียนถูกกล่าวอ้าง133วัน!
จนมาสู่ไฟล์ทบังคับการจัดประชุมผู้ถือหุ้น เนชั่นฯได้ประกาศผ่านแถลงการณ์ออกสื่อถึงจุดยืนว่า ถ้ามีเขา ก็ต้องไม่มีเรา ก็กระทำอย่างที่แถลง กล่าวคือ ถ้ามีพวกเขาซึ่งหมายถึงกลุ่มนายฉายและ News มาประชุมกับพวกเราที่ทำหน้าที่จัดประชุมและนั่งหัวโต๊ะประธานฯก็ต้องกีดกันกันถึงที่สุด
เริ่มตั้งแต่การเลือกโรงแรมแลนด์มาร์คที่มีความสัมพันธ์อันดีเป็นสถานที่ประชุม ทางหนีทีไล่ถูกวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนมอย่างดี
ห้องประชุมและสถานที่ลงทะเบียนอยู่กันคนละชั้น สื่อมวลชนที่ตามมาทำข่าวถูกแยกไว้อีกทีหนึ่ง บริษัททั่วๆไปมักไม่ประพฤติปฏิบัติกัน เนื่องเพราะหลักการประชุมที่ดีควรอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นให้มากที่สุด แต่ผิดจากนี้ไม่ใช่เรา
เพราะต้องการกีดกันฝ่ายตรงข้าม เราจึงได้เห็นการประชุมที่สลับซับซ้อน กลยุทธ์ของ NMG ในฐานะ “ผู้จัดการประชุม” เริ่มตั้งแต่ตั้งโต๊ะตรวจหลักฐานผู้ถือหุ้น ณ ชั้น 9 ขณะที่ห้องแลนด์มาร์ค บอลรูม ซึ่งเป็นห้องประชุมอยู่ชั้น 7 อีกทั้งมีการ “ปิดลิฟท์” ขึ้นลงด้านหน้าห้องประชุมต้องขึ้นลิฟท์ที่ไปยัง “ด้านข้าง” ห้องประชุมเท่านั้น
การตั้งโต๊ะลงทะเบียนเริ่มตั้งแต่ 12.00 น. ขณะที่การประชุมเริ่ม 14.00 น. ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ได้ “รับโทรศัพท์” แจ้งล่วงหน้าต่างเดินทางมาลงทะเบียนและเข้าไปนั่งรอในห้องประชุมแต่เนิ่นๆ
ขณะที่ผู้ถือหุ้น “ส่วนใหญ่” ไม่ทราบต่างทยอยเดินทางมาแต่ “ไม่สามารถลงทะเบียนได้” เพราะปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่ 13.30 น. รวมถึงมีเอกสารปึกใหญ่ระบุรายชื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ “ประธาน” ไม่อนุญาตให้เข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นวางอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ลงทะเบียนทุกตัว
แม้ว่ามีผู้ถือหุ้นบางรายที่พยายามจะเข้าร่วมประชุมแต่พอถึงหน้าประตูก็ต้องถอยกรูด เนื่องจากหน้าประตูมีชายฉกรรจ์ที่คล้ายคนในเครื่องแบบสีเขียวตั้งกำแพงเป็นชั้นๆผลักดันออกมา
ว่ากันว่า ชายฉกรรจ์เหล่านี้ถูกไหว้วานว่าจ้างมาจากค่ายแห่งหนึ่งใจกลางกรุง เพื่อมารับสถานการณ์นี้โดยเฉพาะผ่านสายสัมพันธ์ระหว่างคนในกองทัพกับผู้บริหารเนชั่นคนหนึ่ง ตลอดระยะเวลาการประชุมฯ ประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ถือหุ้นรายย่อยบางส่วน รวมถึงตัวแทนของ NEWS และ POLAR ไม่ยินยอมถูกตัดสิทธิ์การเข้าร่วมประชุม ตามคำสั่งของประธานคนใหม่เนชั่น กรุ๊ป จนเกิดการประท้วงมีการเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก 3 สถานีประกอบด้วยสน.ท่าเรือ สน.ปทุมวัน และสน.ลุมพินี รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยของโรงแรมมาสังเกตการณ์ รวมถึงระงับเหตุวิวาทะเป็นระยะ
ขณะเดียวกันในห้องประชุมที่มีการเตรียมการไว้พร้อมก็ดำเนินการประชุมไปจนครบ 9 วาระ โดยมีผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 936 ราย รวมจำนวนหุ้นสุทธิ 1,377,958,516 หุ้น คิดเป็น 41.55% โดยได้พิจารณาและมีมติในวาระต่างๆ ทั้งสิ้น 9.4 วาระ โดยนายสุทธิชัย หยุ่น และนายเสริมสิน สะมะลาภา ไม่ได้ออกคะแนนเสียง มีวาระที่สำคัญเป็นที่น่าสังเกตดังนี้ 1.มติรับรองรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทและรายงานคณะกรรมการบริษัท สำหรับปี 2557 โดยที่ประชุมได้มีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงรวมทั้งสึ้น 870,899,974 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100.00
2.มีมติอนุมัติและรับรองงบการเงินประจำปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 โดยที่ประชุมได้มีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงรวมทั้งสิ้น 870,899,974 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100.00
3.มีมติรับทราบและเห็นชอบการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 แทนการจ่ายเงินปันผลประจำปี โดยที่ประชุมได้มีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงรวมทั้งสิ้น 870,899,974 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100.00
4.มีมติอนุมัติกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทประจำปี 2558 เป็นแบบรายไตรมาสโดยไม่มีค่าตอบแทนรูปแบบอื่นดังนี้ 4.1 ประธานกรรมการ ค่าตอบแทน 400,000 บาท/คน/ปี 4.2 กรรมการตรวจสอบค่าตอบแทน 300,000 บาท/คน/ปี 4.3 กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร ค่าตอบแทน 200,000 บาท/คน/ปี และ 4.4 กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ค่าตอบแทน 200,000 บาท/คน/ปี โดยที่ประชุมได้มีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงรวมทั้งสิ้น 870,899,974 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100.00
และ 5.มีมติอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้ในวงเงินรวมไม่เกิน 2,500 ล้านบาท โดยที่ประชุมได้มีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงรวมทั้งสิ้น 870,899,974 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100.00
พร้อมกันนี้กรรมการ NMG ส่งผลการประชุมฯ ดังกล่าวให้กับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. เมื่อเวลา 17.00 น.ของวันที่ 29 เม.ย.58 พร้อมคำชี้แจงของนายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ประธานกรรมการNMG ในฐานะประธานในที่ประชุม ซึ่งชี้แจงในที่ประชุมฯ ว่า
“เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ได้เข้าถือหุ้นของบริษัทในช่วงที่ผ่านมา และมีข่าวปรากฏแพร่หลายว่า ได้เข้าถือหุ้นของบริษัทโดยมีเจตนาที่จะร่วมกันใช้สิทธิ์ออกเสียงในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อร่วมกัน “ครอบงำกิจการ” โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และบทบัญญัติของกฏหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการครอบงำกิจการ ซึ่งหากเป็นจริงการหลีกเลี่ยงและไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของกฏหมายถือเป็นเรื่อง “ไม่ถูกต้อง” ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นเดิม และการะทบต่อสิทธิและประโยชน์โดยรวมของผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ดังนั้น ประธานฯ จึงใช้อำนาจตามกฏหมายตามที่ “จำเป็น” และสมควรเพื่อปกป้องสิทธิและประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท โดย “ไม่อนุญาต” ให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ที่มีพฤติกรรมร่วมกันกระทำ “ตามข่าว” เข้าร่วมประชุมฯ และไม่อนุญาตให้นายสุทธิชัย หยุ่น และนายเสริมสิน สะมะลาภา ไม่ได้ออกคะแนนเสียงในทุกวาระ”
การประชุมวันนั้นแม้จะจบลงตามที่ฝ่ายนายสุทธิชัยต้องการ แต่ก็เปิดคดีตามมาอีกพรวน
เช้าวันที่ 30 เม.ย. 58 ก่อนวันหยุดยาวตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ก.ล.ต. ออกหนังสือขอให้ NMG ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลกรณีปรากฏข้อมูลว่าประธานในที่ประชุมไม่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นบางรายเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 29 เมษายน 2558 โดยตลท.ขอให้ NMG ชี้แจงข้อมูลภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 และขอให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคำชี้แจงของ NMG เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนต่อไป
นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ตัวแทนฝ่ายกฎหมายของกลุ่ม News ผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ของเนชั่นฯ กล่าวในฐานะผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการตามกฏหมาย ถึงการดำการต่อจากนี้ คือการยื่นฟ้องกรรมการบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (NMG) ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พุทธศักราช 2535 มาตา 89/7 และมาตรา 311 รวมถึงการยื่นคัดค้านผลการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 ของบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ผ่านมาให้เป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการประชุมโดยมิชอบตามกฏหมาย
จากนั้นจะใช้สิทธิผู้ถือหุ้น 12% เรียกประชุมผู้ถือหุ้นใหม่ เพื่อทำทุกอย่างให้กลับมาถูกต้องตามกฏหมาย และหลักเกณฑ์การกำกับกิจการที่ดี หรือ Good Corporate Governance โดยยืนยันว่า การที่นายสุทธิชัย หยุ่น ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานการประชุมฯ รวมถึงลาออกจากประธานเครือเนชั่นฯ นั้นไม่ส่งผลกระทบต่อการยื่นฟ้องตามกฏหมายทุกรณี อีกทั้งยังถือเป็นการเพิ่มโทษการกระทำผิดให้กับตัวเอง เนื่องจากนายสุทธิชัยไม่มีอำนาจแต่งตั้งประธานการประชุมคนใหม่
“คุณสุทธิชัย ไม่มีอำนาจแต่งตั้งประธานฯใหม่ได้นะครับ ขั้นตอนตามกฏหมาย ผู้ถือหุ้นเลือกกรรมการ กรรมการเลือกประธาน แล้วคุณสุทธิชัยเป็นใครมาตัดสินใจแทนผู้ถือหุ้น นี่ก็ผิดอย่างชัดเจน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าคุณสุทธิชัยกลัวอะไรทำไมต้องลงมาเสี่ยงถึงขนาดนี้” นายสุวัตร กล่าว
ด้านนางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. กล่าวถึงกรณีข้างต้น ว่า ขอรอฟังจำชี้แจงจาก NMG ตามที่มีหนังสือให้ส่งภายในวันที่ 7 พ.ค. ก่อน อย่างไรก็ตามทุกบริษัทที่ดำเนินธุรกิจต้องไปจนทะเบียนประกอบกิจการกับทางกระทรวงพาณิชย์ หน้าที่การกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนจึงเป็นของกระทรวงพาณิชย์ ตลท.ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อ-ขายหลักทรัพย์เท่านั้น
"เหตุการณ์ความวุ่นวายในการประชุมผู้ถือหุ้นของ NMG เมื่อวันที่ 29 ที่ผ่านมานี้ ในส่วนของการปฏิเสธหรือห้ามผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม และแสดงความเห็นนั้น จะเป็นความผิดซึ่งระบุไว้แล้วในกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ตามมาตรา 33 ผู้จองหุ้นซึ่งผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทได้จัดสรรหุ้นให้แล้ว มีสิทธิเข้าประชุม และออกเสียงลงคะแนนในการประชุมจัดตั้งบริษัท มาตรา 34 ในการประชุมผู้จองหุ้น ผู้จองหุ้นจะมอบฉันทะให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วเข้าประชุม และออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้มาตรา 102 ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น แต่จะมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนก็ได้และมาตรา 107 ทั้งนี้ ยังอาจหมายถึงกรณีที่ผู้ถือหุ้นนั้นได้ขึ้นเครื่องหมาย XM (ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น) ได้ซื้อหุ้นหลังจากที่บริษัทจดทะเบียนนั้นๆได้ประกาศเรียกประชุมผู้ถือหุ้นไปก่อนแล้ว ซึ่งมีอยู่ในระเบียบข้อบังคับตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนของกระทรวงพาณิชย์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ที่ซื้อขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์แต่อย่างใด เพราะ ตลท.เป็นเพียงคนกลางในการดูแลการซื้อขายหุ้นเท่านั้น”นางเกศรา กล่าว
น่าสนใจยิ่ง จากนี้ศึกในเนชั่นจะเป็นอย่างไร ต่อไป!
เหตุวุ่นวายในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) NMG เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 เป็นการแสดงท่าทีที่ชัดเจนยิ่งของกลุ่มนายสุทธิชัย หยุ่น ทึ่ต้องการรักษาอำนาจในการบริหารเนชั่นฯ แม้จะถูกสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นายสุทธิชัย ทุ่มสุดตัวรักษาอำนาจของตนและพวกพ้อง อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู
ย้อนกลับไปไล่เรียงเหตุการณ์นับจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลง มีกลุ่มใหม่ที่เป็นเจ้าของธุรกิจสื่อใหญ่และมาแรงแห่งยุคอย่างบริษัท SLC หรือชื่อใหม่ บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS เขาก็ใช้ทุกกระบวนท่า ทั้งเจรจา เปิดสงครามข่าว และสุดท้ายชิงเป็นฝ่ายลงมือกระทำในการประชุมผู้ถือหุ้นอย่างชนิดที่ผู้ถือหุ้นบางคนเรียกว่า ปฎิบัติการหน้าด้านที่สุด
ก่อนนี้เมื่อทราบว่ามีผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามาและมีแนวโน้มที่จะใช้สิทธิของความเป็นผู้ถือใหญ่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร เขาก็พยายามเจรจาต่อรองกับทุนใหม่เหมือนที่เคยผ่านมา เหมือนกรณีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เหมือนกรณีนายเสริมสิน สมะลาภา
กรณีของนายฉาย บุนนาค และ บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS ก็เช่นเดียวกัน ตามคำบอกเล่าของนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี กรรมการ บริษัท นิวส์ฯ ก่อนการประชุมใหญ่ 1 วัน ชี้ให้เห็น
ค่ำของวันที่ 16 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ หลังจากกลุ่มNewsเข้าซื้อหุ้นกว่า12% มีการนัดพบกันของนายสุทธิชัย และ ฉาย ผ่านนายยุทธ ชินสุภัคกุล บิดาของฉาย การสนทนา 2 ชั่วโมงตัวแทนของ NEWSตอบรับทุกข้อเสนอของนายสุทธิชัย รวมถึงยืนยันว่าจะไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน และระบบการทำงานของสื่อเนชั่น อีกทั้งยืนยันการเข้ามาลงทุนในครั้งนี้เพื่อกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ และมองว่า NMG เป็นสื่อที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่ดีอยู่แล้ว
นายฉายเรียกข้อเสนอคืนนั้นว่า สัญญาสุภาพบุรุษ ซึ่งประกอบด้วย 1.จะไม่ส่งคณะกรรมการเข้าไปบริหาร 2.กลับมาปรึกษากันให้ชื่อของคุณสุทธิชัยยังคงเป็นอันดับหนึ่งในการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งที่คุณสุทธิชัยมีหุ้นเพียง 9% และ 3.ไม่ส่ง Poxcy
ทว่า ไม่ทราบเกิดอะไรขึ้น การกระทำของนายสุทธิชัยหลังจากการทานอาหารมื้อนั้นกลับไม่เป็นไปตามที่เจรจากัน สัญญาถูกฉีกทิ้งตามด้วยการเปิดพื้นที่ข่าวโจมตีกลุ่มนายฉายและNewsบนสื่อของเนชั่นอย่างสาดเสียเทเสียต่อเนื่อง ซึ่งทางฝั่งนายฉายถึงขั้นนับนิ้วรวมทั้งสิ้นที่ถูกเขียนถูกกล่าวอ้าง133วัน!
จนมาสู่ไฟล์ทบังคับการจัดประชุมผู้ถือหุ้น เนชั่นฯได้ประกาศผ่านแถลงการณ์ออกสื่อถึงจุดยืนว่า ถ้ามีเขา ก็ต้องไม่มีเรา ก็กระทำอย่างที่แถลง กล่าวคือ ถ้ามีพวกเขาซึ่งหมายถึงกลุ่มนายฉายและ News มาประชุมกับพวกเราที่ทำหน้าที่จัดประชุมและนั่งหัวโต๊ะประธานฯก็ต้องกีดกันกันถึงที่สุด
เริ่มตั้งแต่การเลือกโรงแรมแลนด์มาร์คที่มีความสัมพันธ์อันดีเป็นสถานที่ประชุม ทางหนีทีไล่ถูกวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนมอย่างดี
ห้องประชุมและสถานที่ลงทะเบียนอยู่กันคนละชั้น สื่อมวลชนที่ตามมาทำข่าวถูกแยกไว้อีกทีหนึ่ง บริษัททั่วๆไปมักไม่ประพฤติปฏิบัติกัน เนื่องเพราะหลักการประชุมที่ดีควรอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นให้มากที่สุด แต่ผิดจากนี้ไม่ใช่เรา
เพราะต้องการกีดกันฝ่ายตรงข้าม เราจึงได้เห็นการประชุมที่สลับซับซ้อน กลยุทธ์ของ NMG ในฐานะ “ผู้จัดการประชุม” เริ่มตั้งแต่ตั้งโต๊ะตรวจหลักฐานผู้ถือหุ้น ณ ชั้น 9 ขณะที่ห้องแลนด์มาร์ค บอลรูม ซึ่งเป็นห้องประชุมอยู่ชั้น 7 อีกทั้งมีการ “ปิดลิฟท์” ขึ้นลงด้านหน้าห้องประชุมต้องขึ้นลิฟท์ที่ไปยัง “ด้านข้าง” ห้องประชุมเท่านั้น
การตั้งโต๊ะลงทะเบียนเริ่มตั้งแต่ 12.00 น. ขณะที่การประชุมเริ่ม 14.00 น. ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ได้ “รับโทรศัพท์” แจ้งล่วงหน้าต่างเดินทางมาลงทะเบียนและเข้าไปนั่งรอในห้องประชุมแต่เนิ่นๆ
ขณะที่ผู้ถือหุ้น “ส่วนใหญ่” ไม่ทราบต่างทยอยเดินทางมาแต่ “ไม่สามารถลงทะเบียนได้” เพราะปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่ 13.30 น. รวมถึงมีเอกสารปึกใหญ่ระบุรายชื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ “ประธาน” ไม่อนุญาตให้เข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นวางอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ลงทะเบียนทุกตัว
แม้ว่ามีผู้ถือหุ้นบางรายที่พยายามจะเข้าร่วมประชุมแต่พอถึงหน้าประตูก็ต้องถอยกรูด เนื่องจากหน้าประตูมีชายฉกรรจ์ที่คล้ายคนในเครื่องแบบสีเขียวตั้งกำแพงเป็นชั้นๆผลักดันออกมา
ว่ากันว่า ชายฉกรรจ์เหล่านี้ถูกไหว้วานว่าจ้างมาจากค่ายแห่งหนึ่งใจกลางกรุง เพื่อมารับสถานการณ์นี้โดยเฉพาะผ่านสายสัมพันธ์ระหว่างคนในกองทัพกับผู้บริหารเนชั่นคนหนึ่ง ตลอดระยะเวลาการประชุมฯ ประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ถือหุ้นรายย่อยบางส่วน รวมถึงตัวแทนของ NEWS และ POLAR ไม่ยินยอมถูกตัดสิทธิ์การเข้าร่วมประชุม ตามคำสั่งของประธานคนใหม่เนชั่น กรุ๊ป จนเกิดการประท้วงมีการเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก 3 สถานีประกอบด้วยสน.ท่าเรือ สน.ปทุมวัน และสน.ลุมพินี รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยของโรงแรมมาสังเกตการณ์ รวมถึงระงับเหตุวิวาทะเป็นระยะ
ขณะเดียวกันในห้องประชุมที่มีการเตรียมการไว้พร้อมก็ดำเนินการประชุมไปจนครบ 9 วาระ โดยมีผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 936 ราย รวมจำนวนหุ้นสุทธิ 1,377,958,516 หุ้น คิดเป็น 41.55% โดยได้พิจารณาและมีมติในวาระต่างๆ ทั้งสิ้น 9.4 วาระ โดยนายสุทธิชัย หยุ่น และนายเสริมสิน สะมะลาภา ไม่ได้ออกคะแนนเสียง มีวาระที่สำคัญเป็นที่น่าสังเกตดังนี้ 1.มติรับรองรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทและรายงานคณะกรรมการบริษัท สำหรับปี 2557 โดยที่ประชุมได้มีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงรวมทั้งสึ้น 870,899,974 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100.00
2.มีมติอนุมัติและรับรองงบการเงินประจำปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 โดยที่ประชุมได้มีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงรวมทั้งสิ้น 870,899,974 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100.00
3.มีมติรับทราบและเห็นชอบการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 แทนการจ่ายเงินปันผลประจำปี โดยที่ประชุมได้มีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงรวมทั้งสิ้น 870,899,974 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100.00
4.มีมติอนุมัติกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทประจำปี 2558 เป็นแบบรายไตรมาสโดยไม่มีค่าตอบแทนรูปแบบอื่นดังนี้ 4.1 ประธานกรรมการ ค่าตอบแทน 400,000 บาท/คน/ปี 4.2 กรรมการตรวจสอบค่าตอบแทน 300,000 บาท/คน/ปี 4.3 กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร ค่าตอบแทน 200,000 บาท/คน/ปี และ 4.4 กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ค่าตอบแทน 200,000 บาท/คน/ปี โดยที่ประชุมได้มีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงรวมทั้งสิ้น 870,899,974 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100.00
และ 5.มีมติอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้ในวงเงินรวมไม่เกิน 2,500 ล้านบาท โดยที่ประชุมได้มีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงรวมทั้งสิ้น 870,899,974 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100.00
พร้อมกันนี้กรรมการ NMG ส่งผลการประชุมฯ ดังกล่าวให้กับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. เมื่อเวลา 17.00 น.ของวันที่ 29 เม.ย.58 พร้อมคำชี้แจงของนายณิทธิมน หัสดินทร ณ อยุธยา ประธานกรรมการNMG ในฐานะประธานในที่ประชุม ซึ่งชี้แจงในที่ประชุมฯ ว่า
“เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ได้เข้าถือหุ้นของบริษัทในช่วงที่ผ่านมา และมีข่าวปรากฏแพร่หลายว่า ได้เข้าถือหุ้นของบริษัทโดยมีเจตนาที่จะร่วมกันใช้สิทธิ์ออกเสียงในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อร่วมกัน “ครอบงำกิจการ” โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และบทบัญญัติของกฏหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการครอบงำกิจการ ซึ่งหากเป็นจริงการหลีกเลี่ยงและไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของกฏหมายถือเป็นเรื่อง “ไม่ถูกต้อง” ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นเดิม และการะทบต่อสิทธิและประโยชน์โดยรวมของผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ดังนั้น ประธานฯ จึงใช้อำนาจตามกฏหมายตามที่ “จำเป็น” และสมควรเพื่อปกป้องสิทธิและประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท โดย “ไม่อนุญาต” ให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ที่มีพฤติกรรมร่วมกันกระทำ “ตามข่าว” เข้าร่วมประชุมฯ และไม่อนุญาตให้นายสุทธิชัย หยุ่น และนายเสริมสิน สะมะลาภา ไม่ได้ออกคะแนนเสียงในทุกวาระ”
การประชุมวันนั้นแม้จะจบลงตามที่ฝ่ายนายสุทธิชัยต้องการ แต่ก็เปิดคดีตามมาอีกพรวน
เช้าวันที่ 30 เม.ย. 58 ก่อนวันหยุดยาวตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ก.ล.ต. ออกหนังสือขอให้ NMG ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลกรณีปรากฏข้อมูลว่าประธานในที่ประชุมไม่อนุญาตให้ผู้ถือหุ้นบางรายเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 29 เมษายน 2558 โดยตลท.ขอให้ NMG ชี้แจงข้อมูลภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 และขอให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคำชี้แจงของ NMG เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนต่อไป
นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ตัวแทนฝ่ายกฎหมายของกลุ่ม News ผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ของเนชั่นฯ กล่าวในฐานะผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการตามกฏหมาย ถึงการดำการต่อจากนี้ คือการยื่นฟ้องกรรมการบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (NMG) ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พุทธศักราช 2535 มาตา 89/7 และมาตรา 311 รวมถึงการยื่นคัดค้านผลการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2558 ของบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ผ่านมาให้เป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการประชุมโดยมิชอบตามกฏหมาย
จากนั้นจะใช้สิทธิผู้ถือหุ้น 12% เรียกประชุมผู้ถือหุ้นใหม่ เพื่อทำทุกอย่างให้กลับมาถูกต้องตามกฏหมาย และหลักเกณฑ์การกำกับกิจการที่ดี หรือ Good Corporate Governance โดยยืนยันว่า การที่นายสุทธิชัย หยุ่น ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานการประชุมฯ รวมถึงลาออกจากประธานเครือเนชั่นฯ นั้นไม่ส่งผลกระทบต่อการยื่นฟ้องตามกฏหมายทุกรณี อีกทั้งยังถือเป็นการเพิ่มโทษการกระทำผิดให้กับตัวเอง เนื่องจากนายสุทธิชัยไม่มีอำนาจแต่งตั้งประธานการประชุมคนใหม่
“คุณสุทธิชัย ไม่มีอำนาจแต่งตั้งประธานฯใหม่ได้นะครับ ขั้นตอนตามกฏหมาย ผู้ถือหุ้นเลือกกรรมการ กรรมการเลือกประธาน แล้วคุณสุทธิชัยเป็นใครมาตัดสินใจแทนผู้ถือหุ้น นี่ก็ผิดอย่างชัดเจน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าคุณสุทธิชัยกลัวอะไรทำไมต้องลงมาเสี่ยงถึงขนาดนี้” นายสุวัตร กล่าว
ด้านนางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. กล่าวถึงกรณีข้างต้น ว่า ขอรอฟังจำชี้แจงจาก NMG ตามที่มีหนังสือให้ส่งภายในวันที่ 7 พ.ค. ก่อน อย่างไรก็ตามทุกบริษัทที่ดำเนินธุรกิจต้องไปจนทะเบียนประกอบกิจการกับทางกระทรวงพาณิชย์ หน้าที่การกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนจึงเป็นของกระทรวงพาณิชย์ ตลท.ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อ-ขายหลักทรัพย์เท่านั้น
"เหตุการณ์ความวุ่นวายในการประชุมผู้ถือหุ้นของ NMG เมื่อวันที่ 29 ที่ผ่านมานี้ ในส่วนของการปฏิเสธหรือห้ามผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม และแสดงความเห็นนั้น จะเป็นความผิดซึ่งระบุไว้แล้วในกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ตามมาตรา 33 ผู้จองหุ้นซึ่งผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทได้จัดสรรหุ้นให้แล้ว มีสิทธิเข้าประชุม และออกเสียงลงคะแนนในการประชุมจัดตั้งบริษัท มาตรา 34 ในการประชุมผู้จองหุ้น ผู้จองหุ้นจะมอบฉันทะให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วเข้าประชุม และออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้มาตรา 102 ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น แต่จะมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนก็ได้และมาตรา 107 ทั้งนี้ ยังอาจหมายถึงกรณีที่ผู้ถือหุ้นนั้นได้ขึ้นเครื่องหมาย XM (ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้รับสิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น) ได้ซื้อหุ้นหลังจากที่บริษัทจดทะเบียนนั้นๆได้ประกาศเรียกประชุมผู้ถือหุ้นไปก่อนแล้ว ซึ่งมีอยู่ในระเบียบข้อบังคับตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนของกระทรวงพาณิชย์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ที่ซื้อขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์แต่อย่างใด เพราะ ตลท.เป็นเพียงคนกลางในการดูแลการซื้อขายหุ้นเท่านั้น”นางเกศรา กล่าว
น่าสนใจยิ่ง จากนี้ศึกในเนชั่นจะเป็นอย่างไร ต่อไป!