อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
นับเป็นความมหัศจรรย์ยิ่งเมื่อพบว่า โองการในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ที่ประทานลงมาคำแรก คือ คำว่า จงอ่าน (อิกเราะฮ์) โองการ แห่งคำว่า จงอ่านนี้ จึงเป็นหลักการสำคัญในคำสอนของอิสลามที่ประสงค์ให้ศาสนิกได้ตระหนักและใช้เป็นวิธีการหาความรู้ ในศาสนาพุทธคำสอนเรื่องอินทรียสังวร เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเน้นมาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ. ปยุตฺโต)1 ขยายความไว้ว่า การศึกษาเริ่มต้นที่คน รู้จักใช้อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจให้เกิดประโยชน์จะต้องใช้ตาดูให้เป็น ใช้ตาอ่านให้เป็น ใช้หูฟังให้เป็น เพราะชีวิตของเรา มีการสื่อสารกับโลกภายนอก
การอ่านในที่นี้ จึงเป็นความหมายในการใช้ตานอก (ดวงตา) และตาใน (ปัญญา) เพื่อทำความรู้จักกับตัวอักษร ภาพ สัญลักษณ์ วัตถุ หรือพฤติกรรมของสิ่งต่างๆ แล้วทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านั้น เพื่อเกิดการตอบสนองตามความต้องการ การอ่าน จึงเป็นเครื่องมือ และวิธีการสำคัญที่เราจะต้องอยู่กับมันอย่างมีความหมาย จอร์จ อาร์ อาร์ มาร์ติน นักเขียนนิยายแฟนซี กล่าวว่า คนที่เป็นนักอ่านจะมีชีวิตเป็นพันครั้งส่วนคนที่ไม่อ่านอะไรเลย มีเพียงชีวิตเดียว นั่นเท่ากับว่าการอ่าน ก่อให้เกิดความมีชีวิตที่เป็นความคิดไม่สิ้นสุด
นักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตหลายคนพูดตรงกันว่า สะพานแห่งความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของพวกเขาเป็นเพราะการอ่าน ตัวอย่างบุคคลหนึ่งในนั้น คือ โหน่ง a day ซึ่งเป็นชื่อเรียกของวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งนิตยสารอะเดย์ (A day) นิตยสารที่ได้รับความนิยมสูงอันดับต้นๆ ของประเทศ พี่โหน่ง a day เล่าถึงชีวิตของตนเอง ว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมหายเหงาได้ คือ การอ่านหนังสือ เพราะปกติผมมีอุปนิสัยชอบอยู่คนเดียว เมื่อได้อ่านหนังสือก็สามารถช่วยเยียวยาชีวิตจนถือได้ว่า หนังสือเป็นโลกแห่งความมหัศจรรย์ที่อ่านแล้วสนุกให้ความรู้ ความคิด และจินตนาการกับผมเสมอ
ถึงแม้ว่าทุกวันนี้วิถีการอ่านจะเปลี่ยนพื้นที่และรูปแบบจากหน้ากระดาษหนังสือชนิดต่างๆ ไปสู่กระดานจอเทคโนโลยีนานาชนิด ต่างชื่อเรียก แต่ผมเชื่ออยู่เสมอว่า การอ่าน คือการสร้างสรรค์ เพราะการอ่าน ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการช่วยให้พบช่องว่างความรู้ สร้างไอเดียใหม่ๆ ขยายฐานความรู้สามารถต่อยอดความคิด และใช้ประโยชน์ในตามสถานการณ์ และที่สำคัญ คือ ได้รับความสุขภายใน
ถ้าไม่ชอบอ่านหนังสือ ก็ลองอ่านความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในชีวิต อ่านความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ธรรมชาติ อ่านเพื่อนมนุษย์ ที่อยู่ร่วมกัน หรือไม่ก็นั่งนิ่งๆ แล้วลองอ่านใจตัวเองดู เพื่อว่า จะเกิดความคิดอะไรสักอย่างขึ้น
1พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ. ปยุตฺโต). 2547. การศึกษาเริ่มต้น เมื่อคนกินอยู่เป็น. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: อุษา การพิมพ์. หน้า 2
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
นับเป็นความมหัศจรรย์ยิ่งเมื่อพบว่า โองการในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ที่ประทานลงมาคำแรก คือ คำว่า จงอ่าน (อิกเราะฮ์) โองการ แห่งคำว่า จงอ่านนี้ จึงเป็นหลักการสำคัญในคำสอนของอิสลามที่ประสงค์ให้ศาสนิกได้ตระหนักและใช้เป็นวิธีการหาความรู้ ในศาสนาพุทธคำสอนเรื่องอินทรียสังวร เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเน้นมาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ. ปยุตฺโต)1 ขยายความไว้ว่า การศึกษาเริ่มต้นที่คน รู้จักใช้อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจให้เกิดประโยชน์จะต้องใช้ตาดูให้เป็น ใช้ตาอ่านให้เป็น ใช้หูฟังให้เป็น เพราะชีวิตของเรา มีการสื่อสารกับโลกภายนอก
การอ่านในที่นี้ จึงเป็นความหมายในการใช้ตานอก (ดวงตา) และตาใน (ปัญญา) เพื่อทำความรู้จักกับตัวอักษร ภาพ สัญลักษณ์ วัตถุ หรือพฤติกรรมของสิ่งต่างๆ แล้วทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านั้น เพื่อเกิดการตอบสนองตามความต้องการ การอ่าน จึงเป็นเครื่องมือ และวิธีการสำคัญที่เราจะต้องอยู่กับมันอย่างมีความหมาย จอร์จ อาร์ อาร์ มาร์ติน นักเขียนนิยายแฟนซี กล่าวว่า คนที่เป็นนักอ่านจะมีชีวิตเป็นพันครั้งส่วนคนที่ไม่อ่านอะไรเลย มีเพียงชีวิตเดียว นั่นเท่ากับว่าการอ่าน ก่อให้เกิดความมีชีวิตที่เป็นความคิดไม่สิ้นสุด
นักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตหลายคนพูดตรงกันว่า สะพานแห่งความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของพวกเขาเป็นเพราะการอ่าน ตัวอย่างบุคคลหนึ่งในนั้น คือ โหน่ง a day ซึ่งเป็นชื่อเรียกของวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งนิตยสารอะเดย์ (A day) นิตยสารที่ได้รับความนิยมสูงอันดับต้นๆ ของประเทศ พี่โหน่ง a day เล่าถึงชีวิตของตนเอง ว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมหายเหงาได้ คือ การอ่านหนังสือ เพราะปกติผมมีอุปนิสัยชอบอยู่คนเดียว เมื่อได้อ่านหนังสือก็สามารถช่วยเยียวยาชีวิตจนถือได้ว่า หนังสือเป็นโลกแห่งความมหัศจรรย์ที่อ่านแล้วสนุกให้ความรู้ ความคิด และจินตนาการกับผมเสมอ
ถึงแม้ว่าทุกวันนี้วิถีการอ่านจะเปลี่ยนพื้นที่และรูปแบบจากหน้ากระดาษหนังสือชนิดต่างๆ ไปสู่กระดานจอเทคโนโลยีนานาชนิด ต่างชื่อเรียก แต่ผมเชื่ออยู่เสมอว่า การอ่าน คือการสร้างสรรค์ เพราะการอ่าน ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการช่วยให้พบช่องว่างความรู้ สร้างไอเดียใหม่ๆ ขยายฐานความรู้สามารถต่อยอดความคิด และใช้ประโยชน์ในตามสถานการณ์ และที่สำคัญ คือ ได้รับความสุขภายใน
ถ้าไม่ชอบอ่านหนังสือ ก็ลองอ่านความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในชีวิต อ่านความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ธรรมชาติ อ่านเพื่อนมนุษย์ ที่อยู่ร่วมกัน หรือไม่ก็นั่งนิ่งๆ แล้วลองอ่านใจตัวเองดู เพื่อว่า จะเกิดความคิดอะไรสักอย่างขึ้น
1พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ. ปยุตฺโต). 2547. การศึกษาเริ่มต้น เมื่อคนกินอยู่เป็น. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: อุษา การพิมพ์. หน้า 2