ASTV ผู้จัดการรายวัน -“ประจิน”เร่งทอท.สรุปแผนพัฒนาสุวรรณภูมิ เฟส 2และชี้แจงความจำเป็นอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ใน 15 พ.ค. นี้ ย้ำเฟส 2 ต้องเดินตามกรอบเดิม โดยหวังประมูลรันเวย์สำรองได้ก่อน สั่งปรับแผนพัฒนาดอนเมืองใช้พื้นที่คลังสินค้าเป็นศูนย์ซ่อม ส่วนเชียงใหม่ให้พัฒนาในพื้นที่เดิม ไม่เห็นด้วย สร้างสนามบินแห่งที่ 2
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดให้ทางบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เร่งสรุปแผนการพัฒนาเพื่อขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะ 2 ,ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยในส่วนของสุวรรณภูมินั้น ได้เร่งให้ทอท.จัดทำแผนการขยายขีดความสามารถซึ่งมี 3 ส่วน คือ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) วงเงิน 62,503.214 ล้านบาท ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553 เพื่อขยายขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารเป็น 60 ล้านคนต่อปี โดยทอท.จะต้องดำเนินการภายใต้กรอบที่ครม.อนุมัติ เพื่อยืนยันการดำเนินโครงการว่ายังเป็นไปตามเดิม
พร้อมกันนี้ ทอท.จะต้องอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ด้านทิศเหนือของท่าอากาศยาน (Multi-Function Terminal) วงเงิน 27,684.392 ล้านบาท เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มอีก 20 ล้านคนต่อปีในอนาคต เพื่อรายงานครม.ให้เข้าใจ
ทั้งนี้ ทอท.จะต้องแยกเรื่องที่ติดขัด ปัญหา ความก้าวหน้าให้ชัดเจน เพื่อที่กระทรวงจะได้ช่วยติดตามได้ถูกต้อง ซึ่งขณะนี้มี 3 ส่วนโดยเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนที่สุดคือ การก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) สำรองหรือรันเวย์ที่ 3 ,การพัฒนาตามแผนสุวรรณภูมิเฟส 2 และการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ซึ่ง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแผนงานที่จะเสร็จก่อนหลัง รวมถึงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) ที่ยังไม่ยังผ่าน
“ขณะนี้เรื่องรันเวย์คาดว่าจะเสนอมาที่กระทรวงได้ภายในสัปดาห์หน้า ส่วนเรื่องเฟส 2 และอาคารผู้โดยสารใหม่ให้ทอท.สรุปเรื่องมาภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้เพื่อกระทรวงจะได้นำแผนงานไปประสานงานกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป เพราะจะต้องเสนอ EIA 3 ส่วน คือรันเวย์ งานเฟส 2 และอาคารหลังใหม่ อันไหนผ่าน EIA ก่อน ก็จะประมูลก่อน ”พล.อ.อ.ประจินกล่าว
สำหรับสนามบินดอนเมืองนั้น อยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ซึ่งจะเสร็จเร็วๆนี้ จากนั้นมีแผนจะปรับปรุงอาคารผู้โดยสารภายในประเทศเดิมที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งได้ให้ทอท.พิจารณาปรับปรุงอาคารคลังสินค้า 1-5 เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยเน้นใช้เป็นศูนย์ซ่อม โดยให้ทอท.เร่งพิจารณาเป็นกรณีพิเศษในรายละเอียดการใช้ประโยชน์พื้นที่ต่างๆ และแผนการปรับปรุงที่ชัดเจน เสนอให้กระทรวงรับทราบ
ในส่วนสนามบินเชียงใหม่ ทางทอท.อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการพัฒนาซึ่งจะมีการปรับปรุงเพื่อขยายลานจอดอากาศยานจาก 17 หลุมจอดเป็น 25 หลุมจอด ขยายขีดความสามารถอาคารผู้โดยสารจากรองรับผู้โดยสารได้ 8 ล้านคนต่อปีเป็น 12.5 ล้านคนต่อปี และปรับปรุงพื้นที่จอดรถ เป็นอาคาร 5-7 ชั้น ซึ่งทอท.รายงานว่ามีปัญหาเรื่องพื้นที่สนามบินเชียงใหม่ไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนา
ซึ่งอาจจะต้องมีการขยายพื้นที่เพิ่มจากเดิมหรือหาพื้นที่ใหม่เพื่อทำสนามบินแห่งที่ 2 ซึ่งกระทรวงเห็นว่า ควรใช้พื้นที่เดิมมากกว่า หาพื้นที่ใหม่ โดยให้เน้นออกแบบเพื่อใช้ประโยชน์ในแนวตั้ง โดยก่อสร้างเป็นอาคารจอดรถใต้ดินรองรับได้ประมาณ 100 คัน และมี Gate Terminal สำหรับรองรับผู้โดยสารจำนวนหนึ่งเชื่อมกับที่จอดรถดังกล่าว และมีอาคารจอดรถที่คร่อมเหนือลานจอดเดิมด้วย จึงได้มอบหมายให้ทอท.นำไปพิจารณาในแผน
สำหรับความคืบหน้าความร่วมมือกับกองทัพเรือ การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่3 นั้น เป้าหมายตามมติครม. แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 (2558-2560) เพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารจาก 8 แสนคนต่อปี เป็น 3 ล้านต่อปี ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ คาดแล้วเสร็จในปี 2559 ระยะที่2 (2561-2563) ขยายเป็น 5 ล้านคนต่อปี บนพื้นฐานอัตราการเติบโตของปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้น 7 % และระยะที่ 3 (หลังปี 2563) ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่2 ความยาวทางวิ่งไม่ต่ำกว่า 2,700เมตร
อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมและกองทัพเรือจะลงนามบันทึกความร่วมมือ MOC ในช่วงปลายเดือนพ.ค. 2558 พร้อมกันนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน 2 ชุดประกอบด้วย คณะทำงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการภายในท่าอากายานอู่ตะเภา และการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมกับภายนอกท่าอากาศยาน และ คณะทำงานวางแผนธุรกิจส่งเสริมกิจการของท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดให้ทางบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เร่งสรุปแผนการพัฒนาเพื่อขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะ 2 ,ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยในส่วนของสุวรรณภูมินั้น ได้เร่งให้ทอท.จัดทำแผนการขยายขีดความสามารถซึ่งมี 3 ส่วน คือ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) วงเงิน 62,503.214 ล้านบาท ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553 เพื่อขยายขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารเป็น 60 ล้านคนต่อปี โดยทอท.จะต้องดำเนินการภายใต้กรอบที่ครม.อนุมัติ เพื่อยืนยันการดำเนินโครงการว่ายังเป็นไปตามเดิม
พร้อมกันนี้ ทอท.จะต้องอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ด้านทิศเหนือของท่าอากาศยาน (Multi-Function Terminal) วงเงิน 27,684.392 ล้านบาท เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มอีก 20 ล้านคนต่อปีในอนาคต เพื่อรายงานครม.ให้เข้าใจ
ทั้งนี้ ทอท.จะต้องแยกเรื่องที่ติดขัด ปัญหา ความก้าวหน้าให้ชัดเจน เพื่อที่กระทรวงจะได้ช่วยติดตามได้ถูกต้อง ซึ่งขณะนี้มี 3 ส่วนโดยเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนที่สุดคือ การก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) สำรองหรือรันเวย์ที่ 3 ,การพัฒนาตามแผนสุวรรณภูมิเฟส 2 และการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ซึ่ง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแผนงานที่จะเสร็จก่อนหลัง รวมถึงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) ที่ยังไม่ยังผ่าน
“ขณะนี้เรื่องรันเวย์คาดว่าจะเสนอมาที่กระทรวงได้ภายในสัปดาห์หน้า ส่วนเรื่องเฟส 2 และอาคารผู้โดยสารใหม่ให้ทอท.สรุปเรื่องมาภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้เพื่อกระทรวงจะได้นำแผนงานไปประสานงานกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป เพราะจะต้องเสนอ EIA 3 ส่วน คือรันเวย์ งานเฟส 2 และอาคารหลังใหม่ อันไหนผ่าน EIA ก่อน ก็จะประมูลก่อน ”พล.อ.อ.ประจินกล่าว
สำหรับสนามบินดอนเมืองนั้น อยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ซึ่งจะเสร็จเร็วๆนี้ จากนั้นมีแผนจะปรับปรุงอาคารผู้โดยสารภายในประเทศเดิมที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งได้ให้ทอท.พิจารณาปรับปรุงอาคารคลังสินค้า 1-5 เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยเน้นใช้เป็นศูนย์ซ่อม โดยให้ทอท.เร่งพิจารณาเป็นกรณีพิเศษในรายละเอียดการใช้ประโยชน์พื้นที่ต่างๆ และแผนการปรับปรุงที่ชัดเจน เสนอให้กระทรวงรับทราบ
ในส่วนสนามบินเชียงใหม่ ทางทอท.อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการพัฒนาซึ่งจะมีการปรับปรุงเพื่อขยายลานจอดอากาศยานจาก 17 หลุมจอดเป็น 25 หลุมจอด ขยายขีดความสามารถอาคารผู้โดยสารจากรองรับผู้โดยสารได้ 8 ล้านคนต่อปีเป็น 12.5 ล้านคนต่อปี และปรับปรุงพื้นที่จอดรถ เป็นอาคาร 5-7 ชั้น ซึ่งทอท.รายงานว่ามีปัญหาเรื่องพื้นที่สนามบินเชียงใหม่ไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนา
ซึ่งอาจจะต้องมีการขยายพื้นที่เพิ่มจากเดิมหรือหาพื้นที่ใหม่เพื่อทำสนามบินแห่งที่ 2 ซึ่งกระทรวงเห็นว่า ควรใช้พื้นที่เดิมมากกว่า หาพื้นที่ใหม่ โดยให้เน้นออกแบบเพื่อใช้ประโยชน์ในแนวตั้ง โดยก่อสร้างเป็นอาคารจอดรถใต้ดินรองรับได้ประมาณ 100 คัน และมี Gate Terminal สำหรับรองรับผู้โดยสารจำนวนหนึ่งเชื่อมกับที่จอดรถดังกล่าว และมีอาคารจอดรถที่คร่อมเหนือลานจอดเดิมด้วย จึงได้มอบหมายให้ทอท.นำไปพิจารณาในแผน
สำหรับความคืบหน้าความร่วมมือกับกองทัพเรือ การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่3 นั้น เป้าหมายตามมติครม. แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 (2558-2560) เพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารจาก 8 แสนคนต่อปี เป็น 3 ล้านต่อปี ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ คาดแล้วเสร็จในปี 2559 ระยะที่2 (2561-2563) ขยายเป็น 5 ล้านคนต่อปี บนพื้นฐานอัตราการเติบโตของปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้น 7 % และระยะที่ 3 (หลังปี 2563) ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่2 ความยาวทางวิ่งไม่ต่ำกว่า 2,700เมตร
อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมและกองทัพเรือจะลงนามบันทึกความร่วมมือ MOC ในช่วงปลายเดือนพ.ค. 2558 พร้อมกันนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน 2 ชุดประกอบด้วย คณะทำงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการภายในท่าอากายานอู่ตะเภา และการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมกับภายนอกท่าอากาศยาน และ คณะทำงานวางแผนธุรกิจส่งเสริมกิจการของท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ